กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย. นี้ ภายใต้งาน “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิดงาน
โครงการ “30 บาทรักษาทุกที่” ได้กำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2567 โดยมีการขยายพื้นที่ออกไปมากขึ้น ครอบคลุมแล้ว 46 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการมาสักระยะ และกำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย. นี้ ภายใต้งาน “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิดงาน
สำหรับรายละเอียด พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้มีสิทธิบัตรทองในพื้นที่ กทม. มีประมาณ 5.4 ล้านคน ไม่รวมประชากรแฝง โดยผู้มีสิทธิบัตรทอง นอกจากการรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำตามสิทธิแล้ว ยังสามารถรับบริการได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นประมาณ 280 แห่ง และ สปสช. ยังอำนวยความสะดวกให้สามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการทางเลือกใหม่อีก 1,369 แห่ง ที่มีตราสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
พญ.ลลิตยา กล่าวอีกว่า หน่วยบริการทางเลือกใหม่ทั้ง 1,369 แห่ง สามารถแยกตามเป็นประเภทวิชาชีพ ดังนี้
1.คลินิกเวชกรรม จำนวน 171 แห่ง ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแบบผู้ป่วยนอก เช่น เจ็บ ไข้ ไอ ปวด เป็นต้น
2.คลินิกทันตกรรม จำนวน 195 แห่ง ให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ 3 ครั้งต่อปี
3.ร้านยาคุณภาพ จำนวน 910 แห่ง ให้บริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการ
4.คลินิกกายภาพบำบัด จำนวน 23 แห่ง ให้บริการฟื้นฟูผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ช่วง 6 เดือนหลังพ้นวิกฤต จากโรงพยาบาลที่ทำการรักษา ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองได้รับบาดเจ็บ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ และกระดูกสะโพกหัก
5.คลินิกพยาบาล จำนวน 13 แห่ง ให้บริการการพยาบาลพื้นฐาน อาทิ ทำแผล ล้างตาล้างจมูก เปลี่ยนสายอาหาร ฉีดยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 กลุ่มอาการ เช่น เป็นไข้ตัวร้อน ไอ ปวดศรีษะ ปวดท้อง เป็นต้น
6.คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 28 แห่ง ให้บริการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษา และ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย 4 กลุ่ม โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต โรคสันนิบาต และฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด
7. คลินิกเทคนิคการแพทย์ จำนวน 29 แห่ง ให้บริการตรวจแล็บ 22 รายการตามใบสั่งแพทย์ บริการตรวจจากโรงพยาบาลที่ให้การรักษา เช่น ตรวจความเข้มข้นและผิดปกติของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมัน/น้ำตาล ตรวจการทำงานของตับ ไต เป็นต้น
นอกจากนี้ สปสช. ยังขยายนวัตกรรมบริการในพื้นที่ กทม. เพิ่มเติมอีก 10 ประเภท ประกอบด้วย 1.บริการการแพทย์ทางไกลพร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน จำนวน 4 แอปพลิเคชัน 2.บริการเจาะเลือดที่บ้านผู้ป่วยให้กับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 16 แห่ง 3.รถทันตกรรมเคลื่อนที่ จำนวน 3 คัน ดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเปราะบาง 4.รถเวชกรรมเคลื่อนที่ในชุมชน เพิ่มการเข้าถึงการรักษาโรคเบื้องต้น 5.บริการการระบบการแพทย์ทางไกล ผ่านแอปสุขภาพ ณ ห้องพยาบาลโรงเรียน จำนวน 93 แห่ง.
... สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/3892116/
สำรวจจุดบริการ 30 บาทรักษาทุกที่…เจ็บป่วย…ไปที่ไหน เลือกดูเลย!
โครงการ “30 บาทรักษาทุกที่” ได้กำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2567 โดยมีการขยายพื้นที่ออกไปมากขึ้น ครอบคลุมแล้ว 46 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการมาสักระยะ และกำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย. นี้ ภายใต้งาน “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิดงาน
สำหรับรายละเอียด พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้มีสิทธิบัตรทองในพื้นที่ กทม. มีประมาณ 5.4 ล้านคน ไม่รวมประชากรแฝง โดยผู้มีสิทธิบัตรทอง นอกจากการรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำตามสิทธิแล้ว ยังสามารถรับบริการได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นประมาณ 280 แห่ง และ สปสช. ยังอำนวยความสะดวกให้สามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการทางเลือกใหม่อีก 1,369 แห่ง ที่มีตราสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
พญ.ลลิตยา กล่าวอีกว่า หน่วยบริการทางเลือกใหม่ทั้ง 1,369 แห่ง สามารถแยกตามเป็นประเภทวิชาชีพ ดังนี้
1.คลินิกเวชกรรม จำนวน 171 แห่ง ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแบบผู้ป่วยนอก เช่น เจ็บ ไข้ ไอ ปวด เป็นต้น
2.คลินิกทันตกรรม จำนวน 195 แห่ง ให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ 3 ครั้งต่อปี
3.ร้านยาคุณภาพ จำนวน 910 แห่ง ให้บริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการ
4.คลินิกกายภาพบำบัด จำนวน 23 แห่ง ให้บริการฟื้นฟูผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ช่วง 6 เดือนหลังพ้นวิกฤต จากโรงพยาบาลที่ทำการรักษา ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองได้รับบาดเจ็บ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ และกระดูกสะโพกหัก
5.คลินิกพยาบาล จำนวน 13 แห่ง ให้บริการการพยาบาลพื้นฐาน อาทิ ทำแผล ล้างตาล้างจมูก เปลี่ยนสายอาหาร ฉีดยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 กลุ่มอาการ เช่น เป็นไข้ตัวร้อน ไอ ปวดศรีษะ ปวดท้อง เป็นต้น
6.คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 28 แห่ง ให้บริการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษา และ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย 4 กลุ่ม โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต โรคสันนิบาต และฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด
7. คลินิกเทคนิคการแพทย์ จำนวน 29 แห่ง ให้บริการตรวจแล็บ 22 รายการตามใบสั่งแพทย์ บริการตรวจจากโรงพยาบาลที่ให้การรักษา เช่น ตรวจความเข้มข้นและผิดปกติของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมัน/น้ำตาล ตรวจการทำงานของตับ ไต เป็นต้น
นอกจากนี้ สปสช. ยังขยายนวัตกรรมบริการในพื้นที่ กทม. เพิ่มเติมอีก 10 ประเภท ประกอบด้วย 1.บริการการแพทย์ทางไกลพร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน จำนวน 4 แอปพลิเคชัน 2.บริการเจาะเลือดที่บ้านผู้ป่วยให้กับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 16 แห่ง 3.รถทันตกรรมเคลื่อนที่ จำนวน 3 คัน ดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเปราะบาง 4.รถเวชกรรมเคลื่อนที่ในชุมชน เพิ่มการเข้าถึงการรักษาโรคเบื้องต้น 5.บริการการระบบการแพทย์ทางไกล ผ่านแอปสุขภาพ ณ ห้องพยาบาลโรงเรียน จำนวน 93 แห่ง.
... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3892116/