การเปิดจองกองทุนรวมวายุภักษ์สำหรับประชาชนทั่วไปจบลงแล้ว คนที่ไม่ได้จอง แต่สนใจที่จะลงทุนในตลาดหุ้นที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความเสี่ยงต่ำ ประมาณว่าได้ปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 3% จากเงินลงทุนเริ่มต้นที่ประมาณ 1 ล้านบาทต่อไปเรื่อย ๆ ทุกปีเป็นเวลา 10 ปี และในสิ้นปีที่ 10 เงินต้นก็ยังอยู่ครบคล้าย ๆ กับกองทุนวายุภักษ์
แต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เป็น “โบนัส” พิเศษเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตามปกติ และตลาดหุ้นไม่ได้เลวร้ายในระดับเดียวกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย ผมคิดว่ามีวิธีที่เราจะทำได้โดยการออกแบบพอร์ตโฟลิโอที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งและมีราคาถูกจำนวนประมาณ 10 ตัว ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อแรก ลงทุนในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม ถ้าอยู่ในอันดับ 1 หรือไม่เกินอันดับ 3 ก็จะดี เหตุผลก็เพราะบริษัทที่เป็นผู้นำมักจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และในกรณีที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมประสบกับปัญหาใหญ่ พวกเขาก็มักจะอยู่รอดได้ และมักจะฟื้นตัวกลับมาได้ดีเมื่อเหตุการณ์เลวร้ายผ่านไปแล้ว ถ้าเราลงทุนระยะยาว เราก็จะปลอดภัย
ข้อสอง ผู้บริหารจะต้องซื่อสัตย์ไว้ใจได้ ข้อนี้อาจจะดูยาก เพราะบ่อยครั้งผู้บริหารบางคนนั้นดูจากภายนอกก็ดูไว้ใจได้ แต่สุดท้ายก็อาจจะ “ดีแตก” ทำเรื่องทุจริต หลอกลวงจนบริษัทพังก็มี ทางหนึ่งที่พอจะทำให้ไว้ใจได้บ้างก็คือการที่บริษัทและผู้บริหารทำงานมานานหลาย ๆ ปีแล้วโดยไม่มีเรื่องราวฉาวโฉ่ หรือเรื่องราวที่ทำให้เรา “เลิกคิ้ว” ว่าอาจจะมีความไม่ชอบมาพากล นอกจากนั้นแล้วก็คือ การที่ผู้บริหารไม่ได้ “โม้” มากเกินไป หรือทำอะไรลวดลายซับซ้อนมากจนเราไม่ค่อยจะเข้าใจ
ข้อสาม บริษัทมีความสม่ำเสมอของผลประกอบการ ดูจากรายได้และกำไรที่ไม่ปรับตัวขึ้นลงหวือหวาย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปี เช่น กำไร 5 ปีที่ผ่านมานั้น อาจจะอยู่ที่ปีละ 1,000 ล้านบาท บวกลบประมาณไม่เกิน 20% และไม่เคยขาดทุนเลย
ยกเว้นในกรณีพิเศษที่อาจจะเกิดเหตุการผิดปกติที่อธิบายได้ว่าคงจะไม่เกิดขึ้นอีกในระยะ 3-4 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย และทั้งหมดนั้นก็ต้องเป็น “กำไรที่เกิดจากการดำเนินงาน” ไม่ใช่กำไรพิเศษที่เกิดจากการขายทรัพย์สินหรือกำไรที่เกิดจากการเทคโอเวอร์ธุรกิจหรือซื้อขายหุ้นที่ในระยะหลัง ๆ หลายบริษัทก็ “เล่นท่านี้” อย่างต่อเนื่อง
ข้อสี่ บริษัทจะต้องจ่ายปันผลดี ปีละอย่างต่ำ 2% ขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จ่ายเกิน 3% ต่อปี บางบริษัทก็จ่ายปีละ 5-6% โดยที่พอร์ตหุ้นที่มี 10 ตัวนั้นจะจ่ายปันผลเฉลี่ยอย่างต่ำ 3-4% ต่อปี และปันผลที่จ่ายนั้น แต่ละบริษัทก็จ่ายต่อเนื่องสม่ำเสมอมาตลอดในอัตราที่ไม่ลดลงมาหลายปีแล้ว
ข้อห้า หุ้นแต่ละตัวจะต้องไม่ใช่หุ้นที่ผลิตและ/หรือขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์ “ผลิตภัณฑ์เดียว” ที่มีราคาผันผวนมากและมักจะขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น น้ำมัน ค่าระวางเรือ การบิน หรือปิโตรเคมีกลุ่มเดียว ซึ่งทั้งหมดนั้นจะทำให้หุ้นมีความเสี่ยงสูงจากผลประกอบการในช่วงปีที่เลวร้าย
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์หลาย ๆ อย่างที่แตกต่างกันก็จะเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากวัฏจักรของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นมักจะไม่ตรงกัน ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการมีการกระจายความเสี่ยงหักกลบลบกันจนทำให้ความผันผวนของกำไรลดลงไปมาก ทำให้บริษัทมีกำไรต่อเนื่องและมีความสม่ำเสมอในระดับที่ยอมรับได้
ข้อหก หุ้น 10 ตัวที่เลือกมาลงทุนนั้น ควรจะต้องกระจายไปในอุตสาหกรรมหลากหลายไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่หาหุ้นที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดไม่ได้ ก็อาจจะยอมให้มีหุ้นได้ 2 ตัวในอุตสาหกรรมเดียวกัน และในกรณีอุตสาหกรรมการค้าปลีกสมัยใหม่นั้น จะถือว่าสินค้าที่ขายต่างกันถือเป็นคนละอุตสาหกรรม
ข้อเจ็ด สุดท้ายในเรื่องของตัวธุรกิจก็คือ จะต้องไม่เป็นสินค้าหรือบริการที่กำลังถูกทำลายหรือถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะทางด้านดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลายอย่างที่สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับธุรกิจของตนเองได้และก็อาจจะทำอยู่แล้ว เช่น การค้าปลีกสินค้าที่จับต้องได้ที่มีช่องทางขายแบบอีคอมเมิร์ชด้วยก็ไม่เข้าข่ายนี้
ข้อแปดที่สำคัญที่สุดก็คือ หุ้นที่เลือกจะต้องไม่แพง หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือ เป็นหุ้นที่ถูกมากที่วัดโดยหลายมิตินั่นก็คือ ค่า PE หรือ ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้นปกติของบริษัท ไม่ควรจะเกิน 20 เท่าในหุ้นที่ยังโตได้ในระดับประมาณ 10% ต่อปี และไม่เกิน 10 เท่าในหุ้นที่ทำธุรกิจที่ “อิ่มตัว” แล้ว
ค่าความถูกแพงตัวที่สองที่สำคัญก็คือ ค่า Dividend Yield หรือเงินปันผลต่อราคาหุ้น ไม่ควรต่ำกว่า 2% ในกรณีที่หุ้นยังอยู่ในธุรกิจที่เติบโตระดับ 10% ต่อปี ในขณะที่หุ้นอิ่มตัวนั้นควรจะจ่ายปันผลอย่างน้อย 4% ต่อปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
ค่าความถูกแพงตัวต่อมาคือค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของบริษัท โดยทั่วไปก็ไม่ควรเกิน 1 เท่า แต่ในบางกรณีที่บริษัทยังโตได้ หรือเป็นบริษัทในธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินถาวรในการทำธุรกิจมากนัก ค่านี้ก็อาจจะสูงขึ้นได้ บางทีอาจจะถึง 4-5 เท่าขึ้นไป
พอร์ตหุ้น 10 ตัวดังกล่าว ที่ถือเท่า ๆ กันนั้น เราจะต้องคอยตรวจสอบดูประมาณปีละครั้ง ว่ามีตัวไหนสมควรที่จะต้องเปลี่ยนไปเนื่องจากตกคุณสมบัติที่กำหนดหรือไม่ ผมเองคิดว่าโดยปกติ แต่ละปีไม่น่าจะต้องเปลี่ยนเกิน 2 ตัว สิ่งที่สำคัญก็คือ บ่อยครั้งคุณสมบัติบางข้อจะตกหรือไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ถ้าวิเคราะห์แล้วพบว่าเป็น “ปัญหาชั่วคราว” เราก็อาจจะคงถือหุ้นตัวนั้นไว้ต่อไปได้
ด้วยวิธีการแบบนี้ ผมคิดว่าทุกปี ปันผลที่ได้รับจะไม่น้อยกว่า 3% ของเงินที่ลงเริ่มต้น เช่นที่ 1 ล้านบาท เราก็จะได้รับปันผลปีแรกไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท เช่นเดียวกัน ในปีต่อ ๆ ไป เราก็น่าจะได้รับปันผลเท่าเดิมได้
หรือถ้าหุ้นมีการเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจจะโตขึ้น 3% บวกกับเงินเฟ้ออีก 1% ปันผลก็อาจจะเพิ่มเป็น 31,200 หรือ 3.12% ในปีที่สอง และถ้าบริษัท 10 ตัวที่เลือกมายังโตเท่าเดิมที่ 4% ต่อปีไปเรื่อย ๆ ในปีที่ 10 ปันผลก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 42,699 บาท หรือประมาณ 4.27% ของเงินต้นที่เราลงไป 1 ล้านบาท
ในส่วนของราคาหุ้นนั้น หุ้น 10 ตัว ถ้าไม่โตเลยในช่วงเวลา 10 ปี เราก็คงได้รับเงินต้นคืนเท่าเดิมที่ 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจเรายังโตได้ช้า ๆ ที่ 3% ต่อปี พร้อมอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 1% เป็น 4% และราคาหุ้นในพอร์ตก็ปรับตัวขึ้นไปตามกัน พอร์ตหุ้นเมื่อสิ้นปีที่10 ก็จะเท่ากับ 1.48 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 50% และนี่ก็น่าจะเป็นได้สูงเมื่อเทียบกับการที่หุ้นจะไม่ปรับตัวขึ้นเลยในช่วงเวลา 10 ปี
ถ้าโชคดี แทนที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นไปปีละ 4% กลายเป็นว่าหุ้นปรับตัวขึ้นไปเกินกว่าการเติบโตของ GDP คือขึ้นไปแบบทบต้นที่ประมาณ 7.2% ซึ่งก็เป็นอัตราผลตอบแทนที่หุ้นไทยเคยทำได้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นของพอร์ตก็จะกลายเป็น 2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัว และนี่ก็จะกลายเป็น “โบนัส” ที่เราจะได้จากการลงทุนในพอร์ตหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำมากที่จะขาดทุนถ้าถือถึง 10 ปี
ทั้งหมดนั้น ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้แน่นอน เพราะการลงทุนนั้น โดยธรรมชาติมีความเสี่ยงเสมอ แต่ในความเห็นของผม โอกาสที่เราจะได้ผลตามที่ผมคาดไว้นั้นน่าจะสูง โอกาสผิดพลาดและได้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำนั้น น่าจะน้อยมาก และโอกาสที่เราจะโชคดีได้รับโบนัสจากการลงทุนก็น่าจะมีไม่น้อย
22 ก.ย 2567
ดร.นิเวศน ์เหมวชิรวรากร
อ้างอิง
https://www.blockdit.com/posts/66ef8e6498f4c4104852da2d
พอร์ตนี้ดีมีปันผล-คุ้มครองเงินต้น : โลกในมุมมองของ Value Investor โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
แต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เป็น “โบนัส” พิเศษเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตามปกติ และตลาดหุ้นไม่ได้เลวร้ายในระดับเดียวกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย ผมคิดว่ามีวิธีที่เราจะทำได้โดยการออกแบบพอร์ตโฟลิโอที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งและมีราคาถูกจำนวนประมาณ 10 ตัว ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อแรก ลงทุนในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม ถ้าอยู่ในอันดับ 1 หรือไม่เกินอันดับ 3 ก็จะดี เหตุผลก็เพราะบริษัทที่เป็นผู้นำมักจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และในกรณีที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมประสบกับปัญหาใหญ่ พวกเขาก็มักจะอยู่รอดได้ และมักจะฟื้นตัวกลับมาได้ดีเมื่อเหตุการณ์เลวร้ายผ่านไปแล้ว ถ้าเราลงทุนระยะยาว เราก็จะปลอดภัย
ข้อสอง ผู้บริหารจะต้องซื่อสัตย์ไว้ใจได้ ข้อนี้อาจจะดูยาก เพราะบ่อยครั้งผู้บริหารบางคนนั้นดูจากภายนอกก็ดูไว้ใจได้ แต่สุดท้ายก็อาจจะ “ดีแตก” ทำเรื่องทุจริต หลอกลวงจนบริษัทพังก็มี ทางหนึ่งที่พอจะทำให้ไว้ใจได้บ้างก็คือการที่บริษัทและผู้บริหารทำงานมานานหลาย ๆ ปีแล้วโดยไม่มีเรื่องราวฉาวโฉ่ หรือเรื่องราวที่ทำให้เรา “เลิกคิ้ว” ว่าอาจจะมีความไม่ชอบมาพากล นอกจากนั้นแล้วก็คือ การที่ผู้บริหารไม่ได้ “โม้” มากเกินไป หรือทำอะไรลวดลายซับซ้อนมากจนเราไม่ค่อยจะเข้าใจ
ข้อสาม บริษัทมีความสม่ำเสมอของผลประกอบการ ดูจากรายได้และกำไรที่ไม่ปรับตัวขึ้นลงหวือหวาย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปี เช่น กำไร 5 ปีที่ผ่านมานั้น อาจจะอยู่ที่ปีละ 1,000 ล้านบาท บวกลบประมาณไม่เกิน 20% และไม่เคยขาดทุนเลย
ยกเว้นในกรณีพิเศษที่อาจจะเกิดเหตุการผิดปกติที่อธิบายได้ว่าคงจะไม่เกิดขึ้นอีกในระยะ 3-4 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย และทั้งหมดนั้นก็ต้องเป็น “กำไรที่เกิดจากการดำเนินงาน” ไม่ใช่กำไรพิเศษที่เกิดจากการขายทรัพย์สินหรือกำไรที่เกิดจากการเทคโอเวอร์ธุรกิจหรือซื้อขายหุ้นที่ในระยะหลัง ๆ หลายบริษัทก็ “เล่นท่านี้” อย่างต่อเนื่อง
ข้อสี่ บริษัทจะต้องจ่ายปันผลดี ปีละอย่างต่ำ 2% ขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จ่ายเกิน 3% ต่อปี บางบริษัทก็จ่ายปีละ 5-6% โดยที่พอร์ตหุ้นที่มี 10 ตัวนั้นจะจ่ายปันผลเฉลี่ยอย่างต่ำ 3-4% ต่อปี และปันผลที่จ่ายนั้น แต่ละบริษัทก็จ่ายต่อเนื่องสม่ำเสมอมาตลอดในอัตราที่ไม่ลดลงมาหลายปีแล้ว
ข้อห้า หุ้นแต่ละตัวจะต้องไม่ใช่หุ้นที่ผลิตและ/หรือขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์ “ผลิตภัณฑ์เดียว” ที่มีราคาผันผวนมากและมักจะขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น น้ำมัน ค่าระวางเรือ การบิน หรือปิโตรเคมีกลุ่มเดียว ซึ่งทั้งหมดนั้นจะทำให้หุ้นมีความเสี่ยงสูงจากผลประกอบการในช่วงปีที่เลวร้าย
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์หลาย ๆ อย่างที่แตกต่างกันก็จะเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากวัฏจักรของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นมักจะไม่ตรงกัน ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการมีการกระจายความเสี่ยงหักกลบลบกันจนทำให้ความผันผวนของกำไรลดลงไปมาก ทำให้บริษัทมีกำไรต่อเนื่องและมีความสม่ำเสมอในระดับที่ยอมรับได้
ข้อหก หุ้น 10 ตัวที่เลือกมาลงทุนนั้น ควรจะต้องกระจายไปในอุตสาหกรรมหลากหลายไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่หาหุ้นที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดไม่ได้ ก็อาจจะยอมให้มีหุ้นได้ 2 ตัวในอุตสาหกรรมเดียวกัน และในกรณีอุตสาหกรรมการค้าปลีกสมัยใหม่นั้น จะถือว่าสินค้าที่ขายต่างกันถือเป็นคนละอุตสาหกรรม
ข้อเจ็ด สุดท้ายในเรื่องของตัวธุรกิจก็คือ จะต้องไม่เป็นสินค้าหรือบริการที่กำลังถูกทำลายหรือถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะทางด้านดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลายอย่างที่สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับธุรกิจของตนเองได้และก็อาจจะทำอยู่แล้ว เช่น การค้าปลีกสินค้าที่จับต้องได้ที่มีช่องทางขายแบบอีคอมเมิร์ชด้วยก็ไม่เข้าข่ายนี้
ข้อแปดที่สำคัญที่สุดก็คือ หุ้นที่เลือกจะต้องไม่แพง หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือ เป็นหุ้นที่ถูกมากที่วัดโดยหลายมิตินั่นก็คือ ค่า PE หรือ ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้นปกติของบริษัท ไม่ควรจะเกิน 20 เท่าในหุ้นที่ยังโตได้ในระดับประมาณ 10% ต่อปี และไม่เกิน 10 เท่าในหุ้นที่ทำธุรกิจที่ “อิ่มตัว” แล้ว
ค่าความถูกแพงตัวที่สองที่สำคัญก็คือ ค่า Dividend Yield หรือเงินปันผลต่อราคาหุ้น ไม่ควรต่ำกว่า 2% ในกรณีที่หุ้นยังอยู่ในธุรกิจที่เติบโตระดับ 10% ต่อปี ในขณะที่หุ้นอิ่มตัวนั้นควรจะจ่ายปันผลอย่างน้อย 4% ต่อปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
ค่าความถูกแพงตัวต่อมาคือค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของบริษัท โดยทั่วไปก็ไม่ควรเกิน 1 เท่า แต่ในบางกรณีที่บริษัทยังโตได้ หรือเป็นบริษัทในธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินถาวรในการทำธุรกิจมากนัก ค่านี้ก็อาจจะสูงขึ้นได้ บางทีอาจจะถึง 4-5 เท่าขึ้นไป
พอร์ตหุ้น 10 ตัวดังกล่าว ที่ถือเท่า ๆ กันนั้น เราจะต้องคอยตรวจสอบดูประมาณปีละครั้ง ว่ามีตัวไหนสมควรที่จะต้องเปลี่ยนไปเนื่องจากตกคุณสมบัติที่กำหนดหรือไม่ ผมเองคิดว่าโดยปกติ แต่ละปีไม่น่าจะต้องเปลี่ยนเกิน 2 ตัว สิ่งที่สำคัญก็คือ บ่อยครั้งคุณสมบัติบางข้อจะตกหรือไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ถ้าวิเคราะห์แล้วพบว่าเป็น “ปัญหาชั่วคราว” เราก็อาจจะคงถือหุ้นตัวนั้นไว้ต่อไปได้
ด้วยวิธีการแบบนี้ ผมคิดว่าทุกปี ปันผลที่ได้รับจะไม่น้อยกว่า 3% ของเงินที่ลงเริ่มต้น เช่นที่ 1 ล้านบาท เราก็จะได้รับปันผลปีแรกไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท เช่นเดียวกัน ในปีต่อ ๆ ไป เราก็น่าจะได้รับปันผลเท่าเดิมได้
หรือถ้าหุ้นมีการเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจจะโตขึ้น 3% บวกกับเงินเฟ้ออีก 1% ปันผลก็อาจจะเพิ่มเป็น 31,200 หรือ 3.12% ในปีที่สอง และถ้าบริษัท 10 ตัวที่เลือกมายังโตเท่าเดิมที่ 4% ต่อปีไปเรื่อย ๆ ในปีที่ 10 ปันผลก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 42,699 บาท หรือประมาณ 4.27% ของเงินต้นที่เราลงไป 1 ล้านบาท
ในส่วนของราคาหุ้นนั้น หุ้น 10 ตัว ถ้าไม่โตเลยในช่วงเวลา 10 ปี เราก็คงได้รับเงินต้นคืนเท่าเดิมที่ 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจเรายังโตได้ช้า ๆ ที่ 3% ต่อปี พร้อมอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 1% เป็น 4% และราคาหุ้นในพอร์ตก็ปรับตัวขึ้นไปตามกัน พอร์ตหุ้นเมื่อสิ้นปีที่10 ก็จะเท่ากับ 1.48 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 50% และนี่ก็น่าจะเป็นได้สูงเมื่อเทียบกับการที่หุ้นจะไม่ปรับตัวขึ้นเลยในช่วงเวลา 10 ปี
ถ้าโชคดี แทนที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นไปปีละ 4% กลายเป็นว่าหุ้นปรับตัวขึ้นไปเกินกว่าการเติบโตของ GDP คือขึ้นไปแบบทบต้นที่ประมาณ 7.2% ซึ่งก็เป็นอัตราผลตอบแทนที่หุ้นไทยเคยทำได้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นของพอร์ตก็จะกลายเป็น 2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัว และนี่ก็จะกลายเป็น “โบนัส” ที่เราจะได้จากการลงทุนในพอร์ตหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำมากที่จะขาดทุนถ้าถือถึง 10 ปี
ทั้งหมดนั้น ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้แน่นอน เพราะการลงทุนนั้น โดยธรรมชาติมีความเสี่ยงเสมอ แต่ในความเห็นของผม โอกาสที่เราจะได้ผลตามที่ผมคาดไว้นั้นน่าจะสูง โอกาสผิดพลาดและได้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำนั้น น่าจะน้อยมาก และโอกาสที่เราจะโชคดีได้รับโบนัสจากการลงทุนก็น่าจะมีไม่น้อย
22 ก.ย 2567
ดร.นิเวศน ์เหมวชิรวรากร
อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/66ef8e6498f4c4104852da2d