สวธ.แจ้งการบำเพ็ญกุศล บุญฉลอง ภักดีวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(ผู้กำกับ-ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช ๒๕๕๖ ผู้สร้างตำนานระเบิดภูเขา-เผากระท่อม
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับ–ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช ๒๕๕๖ ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๗ สิริอายุ ๙๓ ปี ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เวลาประมาณ ๑๕.๓๐ น. โดยนางบุญจิรา ตรีริยะ (ภักดีวิจิตร) บุตรสาวแจ้งว่า ขณะนี้กำลังรอผลการวินิจฉัยการถึงแก่กรรมอย่างเป็นทางการ ซึ่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะแจ้งกำหนดการพิธีรดน้ำศพ และกำหนดการสวดพระอภิธรรม ในลำดับต่อไป เมื่อทราบข้อมูลจากทายาทแล้ว
อธิบดีสวธ. เปิดเผยอีกว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว ในกรณีศิลปินแห่งชาติเสียชีวิต จะได้รับสวัสดิการช่วยเหลือตามกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ๓,๐๐๐ บาท และค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ด้วย
สำหรับประวัติของ นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร หรือ นายฉลอง ภักดีวิจิตร ปัจจุบันอายุ ๙๓ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อ นายพุฒ ภักดีวิจิตร อาชีพรับราชการ มารดาชื่อ นางลิ้นจี่ ภักดีวิจิตร เป็นแม่บ้าน สำเร็จการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนอำนวยศิลป์
นายฉลอง ภักดีวิจิตร เข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากบิดาเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และคุณอาเป็นผู้ถ่ายภาพและกำกับการแสดง เข้ามาอยู่ในสายเลือดโดยอัตโนมัติ ด้วยวัยเพียง ๑๙ ปี ได้ก้าวเข้ามาเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ ถ่ายภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่องแสนแสบ จากบทประพันธ์ของไม้เมืองเดิม หลังจากนั้น ได้ศึกษาขบวนการทำภาพยนตร์และเทคนิคต่าง ๆ ด้วยตนเอง จากหนังสือคู่มือรวบรวมขบวนการถ่ายทำของประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาการถ่ายทำภาพยนตร์มาเป็นลำดับ ไม่เคยหยุดนิ่ง จนประสบความสำเร็จสูงสุดด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองพระราชทาน พระสุรัสวดี ถึงสองปีซ้อน ในฐานะช่างถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่องผู้พิชิตมัจจุราชและละอองดาว จากประสบการณ์ที่ถ่ายทำภาพยนตร์มาเป็นเวลาหลายปี จึงได้เปลี่ยนมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ โดยกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก คือ เรื่องจ้าวอินทรีย์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และพิสมัย วิไลศักดิ์ ต่อมาได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย ผลงานที่สร้างชื่อเสียง เช่น สอยดาวสาวเดือน ฝนใต้ ฝนเหนือ ทอง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย ตัดเหลี่ยมเพชร เป็นต้น
อาฉลอง เป็นผู้มีความมุ่งมั่นที่จะนำภาพยนตร์ไทยเข้าสู่ตลาดภาพยนตร์นานาชาติ โดยนำดาราต่างประเทศมาร่วมนำแสดงจนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในวงการภาพยนตร์ทั่วโลก ได้เข้าทำเนียบผู้กำกับภาพยนตร์นานาชาติในนามของ P.CHALONG ฉลอง ภักดีวิจิตร ให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพยนตร์ในทุกรายละเอียด มีจินตนาการ กล้าคิด กล้าทำ และกล้าที่จะลงทุนทำให้ภาพยนตร์ เรื่อง ทอง คือ ตำนานของผู้กำกับอย่างฉลอง ภักดีวิจิตร ต่อมาได้ผันตัวเองมาทำงานบุกเบิกละครแนวบู๊ทางโทรทัศน์ มีผลงานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน
อาฉลอง สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานถ่ายภาพยนตร์ สร้างภาพยนตร์ และกำกับภาพยนตร์มากมายเป็นเวลากว่า ๖๓ ปี และยังได้สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลเป๋าติง จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง ในฐานะภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิงสูงสุด จากประเทศไต้หวัน รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ในฐานะผู้ประสพความสำเร็จในชีวิตการสร้างภาพยนตร์ จากสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ รางวัลเกียรติยศ ปูชนียบุคคลแห่งวงการบันเทิง จากสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ด เป็นต้น นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับ–ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช ๒๕๕๖
สวธ.แจ้งการบำเพ็ญกุศล บุญฉลอง ภักดีวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับ-ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
(ผู้กำกับ-ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช ๒๕๕๖ ผู้สร้างตำนานระเบิดภูเขา-เผากระท่อม
อธิบดีสวธ. เปิดเผยอีกว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว ในกรณีศิลปินแห่งชาติเสียชีวิต จะได้รับสวัสดิการช่วยเหลือตามกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ๓,๐๐๐ บาท และค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ด้วย
สำหรับประวัติของ นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร หรือ นายฉลอง ภักดีวิจิตร ปัจจุบันอายุ ๙๓ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อ นายพุฒ ภักดีวิจิตร อาชีพรับราชการ มารดาชื่อ นางลิ้นจี่ ภักดีวิจิตร เป็นแม่บ้าน สำเร็จการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนอำนวยศิลป์
นายฉลอง ภักดีวิจิตร เข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากบิดาเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และคุณอาเป็นผู้ถ่ายภาพและกำกับการแสดง เข้ามาอยู่ในสายเลือดโดยอัตโนมัติ ด้วยวัยเพียง ๑๙ ปี ได้ก้าวเข้ามาเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ ถ่ายภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่องแสนแสบ จากบทประพันธ์ของไม้เมืองเดิม หลังจากนั้น ได้ศึกษาขบวนการทำภาพยนตร์และเทคนิคต่าง ๆ ด้วยตนเอง จากหนังสือคู่มือรวบรวมขบวนการถ่ายทำของประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาการถ่ายทำภาพยนตร์มาเป็นลำดับ ไม่เคยหยุดนิ่ง จนประสบความสำเร็จสูงสุดด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองพระราชทาน พระสุรัสวดี ถึงสองปีซ้อน ในฐานะช่างถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่องผู้พิชิตมัจจุราชและละอองดาว จากประสบการณ์ที่ถ่ายทำภาพยนตร์มาเป็นเวลาหลายปี จึงได้เปลี่ยนมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ โดยกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก คือ เรื่องจ้าวอินทรีย์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และพิสมัย วิไลศักดิ์ ต่อมาได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย ผลงานที่สร้างชื่อเสียง เช่น สอยดาวสาวเดือน ฝนใต้ ฝนเหนือ ทอง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย ตัดเหลี่ยมเพชร เป็นต้น
อาฉลอง สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานถ่ายภาพยนตร์ สร้างภาพยนตร์ และกำกับภาพยนตร์มากมายเป็นเวลากว่า ๖๓ ปี และยังได้สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลเป๋าติง จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง ในฐานะภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิงสูงสุด จากประเทศไต้หวัน รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ในฐานะผู้ประสพความสำเร็จในชีวิตการสร้างภาพยนตร์ จากสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ รางวัลเกียรติยศ ปูชนียบุคคลแห่งวงการบันเทิง จากสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ด เป็นต้น นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับ–ผู้สร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช ๒๕๕๖