ประชาธิปไตย บนฐานของ ‘ธรรมาธิปไตย คืออะไร ?

(แชร์มา)
ท่าน ป.อ. ปยุตโต โกหก !  ..จริงหรือ ?

อาตมา (พระชยสาโร) ก็มีตัวอย่าง 
เมื่อไม่กี่วันที่แล้ว อาตมาไปนมัสการหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่สุพรรณบุรี

เราสนทนากัน เรื่องพระไตรปิฎก
ซึ่งท่านเคยปรารภหลายครั้งหลายปีมาแล้วว่า 
พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มีข้อผิดพลาดมาก 
แต่ยังไม่ค่อยมีการแก้ไข.

ล่าสุด ก็มีโครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ 
แต่ตัวพระไตรปิฎกภาษาไทยก็ยังมีผิดพลาดมาก อย่างเรื่องที่ท่านยกตัวอย่างว่า
เมื่อไม่นานมานี้ หรือนานมาแล้วว่า
มีคนเขียนบทความซึ่งไม่ทราบว่าลงในหนังสือพิมพ์ หรือในออนไลน์  
แล้วมีคนส่งไปให้ท่านอ่าน.

เป็นเรื่องที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของท่านข้อหนึ่งว่า 
หลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ โกหก.!
เขาใช้คำนี้เลยนะ ‘โกหก’.
คือเรื่อง ‘ธรรมาธิปไตย’.

ท่านเขียนเรื่อง ธรรมาธิปไตย
ซึ่งคนยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้ว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สิ่งที่เราเอาเป็นหลักในชีวิต เป็นหลักตัดสิน หลักดำเนินชีวิต. 

(อันแรก) มันก็จะมี อัตตาธิปไตย 
คือ เอาความคิดของตัวเอง ความรู้สึกของตัวเอง ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก แบบเห็นแก่ตัว 
เอามุมมองของตัวเอง.ความต้องการของตัวเอง เป็นหลัก .

และอันที่สองคือ ‘โลกาธิปไตย’
เอาค่านิยมของสังคม คนรอบข้าง ความยอมรับ
เป็นเครื่องตัดสินว่า อะไรถูกอะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร.

อันที่สามคือ ‘ธรรมาธิปไตย’
เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง ไม่เอาความคิด ความต้องการของตัวเอง 
ไม่เอาค่านิยมของสังคม เป็นหลัก. แต่เอาธรรมะเป็นหลัก.

แล้วท่านก็เขียนเรื่องประชาธิปไตยว่า:
..หากเป็นประชาธิปไตยที่ตั้งไว้ บนฐานคืออัตตาธิปไตย หรือโลกาธิปไตย มันจะไม่ดี 
**สิ่งที่เราต้องพัฒนา คือ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งตั้งบนฐานแห่งธรรมาธิปไตย. 
ซึ่งท่านก็เคยเขียนเรื่องนี้ ในหนังสือหลายๆ เล่ม 

ทีนี้ ผู้เขียนบทความนี้ก็บอกว่า 
หลวงพ่อสมเด็จฯนี่ 
ใครว่าเป็นนักวิชาการชั้นยอดของประเทศไทย เขียนเรื่องธรรมาธิปไตย แต่ไม่มีในพระไตรปิฎก 
ท่านโกหก.!

หลวงพ่อท่านก็บอกว่า
ผมก็เลยไปค้นดู ปรากฏว่า ถูกของเขานะ 
คือในพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทยไม่มี.

แต่เมื่อผมไปดู พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ซึ่งเป็นของเดิม
( และท่านก็ใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก ) มันมีอยู่ !

..อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง
ที่คนเกิดความเข้าใจผิด เพราะการแปลพระไตรปิฎกผิดพลาดไป หรือบกพร่องไป.

ท่านบอกว่า 
เพราะเขาอ่านในฉบับภาษาไทย มันก็ถูกของเขา แต่หากเขาไปดูในของเดิม มันไม่ใช่.

ทุกวันนี้ มีการเถียงเรื่องพุทธวจนะ 
คนที่ไม่รู้บาลีก็ยังยืนยันว่า พระไตรปิฎกเขาว่าอย่างนั้น ยืนยันทั้งๆ ที่ไม่รู้ภาษาบาลี 
อย่างนี้ก็มี.

นี่ก็เป็นประเด็น ในเรื่องของภาษา เรื่องการแปล.

แต่ที่อาตมาประทับใจก็คือ คนไปกล่าวหาว่าท่านโกหก 
ท่านก็ไม่มีอาการน้อยใจ เสียใจ หรือโกรธอะไรทั้งสิ้น

ทั้งๆที่ สิ่งที่ท่านอาจจะไม่ได้ลืมอะไรมากนะ ตั้งแต่ท่านเริ่มศึกษาพระไตรปิฎกแบบบาลี
ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ๘ ขวบ.

แต่อาตมาว่า สิ่งที่ท่านลืมไปแล้ว มากกว่าสิ่งที่เราจำได้ 
คือทั้งๆ ที่ท่านมีความรู้ระดับนี้ เมื่อมีคนกล่าวหาว่าท่านพูดผิด ถึงขั้นที่ว่าท่านโกหก 
ท่านก็บอกว่า
... เออ น่าสนใจนะ ! ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น 
เดี๋ยวไปเปิดหนังสือดูว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้เขาคิดอย่างนั้น.

นี่แหละ 
ตัวอย่างของผู้เป็นครูบาอาจารย์ คือเรื่องความรู้ทางวิชาการ 
เราก็ประทับใจอยู่แล้ว 

ปกติเวลาเรามีความรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากมีใครค้าน มันจะมีอาการทันทีเลยนะ.
... คุณเป็นใคร มาพูดอย่างนี้?

หากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จะเป็นอย่างไร ?
ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้!
หากเป็นศาสตราจารย์ เป็นอะไร แล้วถูกคนรุ่นเด็ก มาวิพากษ์วิจารณ์ 
มันทำใจไม่ค่อยได้ เพราะอัตตาตัวตนไปผูกพันกับ คำว่า ‘ศาสตราจารย์’ คำว่า ‘เป็นผู้ใหญ่’.

..แต่หากเป็นผู้ใหญ่จริง มันไม่มี 
อย่างหลวงพ่อก็เป็นตัวอย่างของการเป็นธรรมาธิปไตย  ..ทุกอย่างเอาธรรมเป็นใหญ่.
- - - - - - - - - 

🌿 ‘Life coach ฝึกหัด’
🍀 พระพรหมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร)
      #บ้านบุญ  วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๗
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่