วันที่ 9 กันยายน 2567 ขนาดจะปลูกบ้านยังต้องดูฤกษ์หาวันวางศิลาฤกษ์ ลงเสาเอก แล้วการลงทุนของเราต้องดูฤกษ์ไหม หรือต้องดูวันธงชัย วันโลกาวินาศอะไรหรือไม่
โดยทั่วไป การลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์มักจะเปิดให้ซื้อขายในวันทำการปกติและหยุดตามสถาบันการเงิน ซึ่งจะมีบางสินทรัพย์ ที่สามารถทำรายการเทรด ซื้อ/ขายได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง ดังเช่น การเทรดสกุลเงินคริปโต (Cryptocurrencies Trading) อาทิ Bitcoin, ETH, etc. เห็นได้ว่าเกิดการสร้างเหรียญคริปโตรุ่นใหม่ ๆ มากมายเข้าในระบบตลาดแลกเปลี่ยน เสริมสภาพคล่องและเปิดโอกาสการลงทุนให้กับเม็ดเงินมหาศาล นักลงทุนที่เทรดคริปโตแทบจะไม่มีวันหยุด เรียกว่ามีช่วงให้ลุ้นกันแทบทุกวินาทีชั่วโมงเลยก็ว่าได้ เพราะในทุกความผันผวนมักมีโอกาสซ่อนอยู่
โดยแต่ละตลาดหลักทรัพย์ จะมีบางช่วงเวลาที่อาจมีวันหยุดพิเศษตามเทศกาลของประเทศต่างๆ อาทิ เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลตรุษจีน ปีใหม่ วันชาติ เทศกาล Golden Week วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เป็นต้น ถ้าหากมีการจัดพอร์ตการลงทุนทั่วโลก หลักทรัพย์ที่ถือลงทุนก็กระจายไปในประเทศต่าง ๆ ดังนั้น ต้องพิจารณาวันหยุดของแต่ละประเทศประกอบการตัดสินใจการวางแผนในการลงทุนด้วย
วันกับการลงทุนเกี่ยวกันอย่างไร
วันหยุดที่ได้เกริ่นมาข้างต้น บางคนก็ไม่ได้คิดว่าจะมีผลหรือเกี่ยวอะไรกับการลงทุน แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว วันหยุดก็มีผลกับการซื้อ (Subscription) ขาย (Redemption) และ สับเปลี่ยน(Switching) หน่วยลงทุน/สินทรัพย์ เช่น
1. กรณีเป็นกองทุนทั่วไป ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนในประเทศ (Mutual Fund) และ/หรือกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF Mutual Fund)
หากส่งคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนในวันที่ตรงกับวันหยุด จะไม่สามารถทำรายการได้ โดยรายการจะถูกยกเลิกไป (Cancelled Transaction) ต้องเลื่อนไปทำรายการวันอื่นที่ไม่ใช่วันหยุด ดังนั้น วันที่คำสั่งซื้อขายมีผล (Effective Date) จะถูกเลื่อนออกไป ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการเข้าซื้อ/ราคาขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
ถ้าเป็นกรณีที่เราทำรายการคร่อมวันหยุด หรือช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว ๆ หลาย ๆ วันติดต่อกัน คือ มีวันหยุดในช่วงที่สับเปลี่ยน (Switching) พอดี ก็จะส่งผลให้ วันที่ได้ราคาต้นทุนจากการสับเปลี่ยนออกจากกองทุนต้นทาง สับเปลี่ยนไปเข้ากองทุนปลายทาง อาจล่าช้าออกไปด้วยตามจำนวนวันที่คร่อมวันหยุดในช่วงนั้น ๆ
ถ้าเป็นกองทุนทั่วไปที่ไม่ใช่ประเภทลดหย่อนภาษี การซื้อ/ขายที่ไม่น่ามีปัญหาเรื่องการนับวัน/การจำกัดวัน แค่จะใช้ระยะเวลามากขึ้นหรือถูกเลื่อนให้นานออกไปเท่านั้น เป็นต้น
2. กรณีที่ต้องการสับเปลี่ยนกองทุนประเภทลดหย่อนภาษี [Tax Saving Mutual Fund]RMF, SSF, Thai ESG จะมีเงื่อนไขเรื่องการถือครองตามกรมสรรพากรกำหนด หากไม่ครบตามเกณฑ์ทางภาษีก็จะยังไม่สามารถขายออกได้ หากพลาดขายโดยผิดเงื่อนไข นักลงทุนอาจโดนโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มและถูกคำนวณภาษีย้อนหลังได้ จะชวนพิจารณาถึง หากต้องการปรับพอร์ตกองทุนประเภทลดหย่อนภาษี แบบข้าม บลจ.
บลจ. มักจะมีการกำหนดในระบบที่รองรับการทำรายการให้สอดรับกับเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนดจะห้ามสับเปลี่ยนเกินจำนวนวันทำการกี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ห้ามเกิน 5 วันทำการ ซึ่งแม้จะใช้คำว่า “สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน” ก็ตาม แต่กระบวนการทำงานจริง เท่ากับว่าเงินที่ลงในกองลดหย่อนภาษีจาก บลจ.ต้นทาง จะถูกดำเนินการทำรายการขายหน่วยออกมา โดยการส่งเงินระหว่าง บลจ. มักใช้การตีเช็ค จากบลจ. ต้นทาง ไปยัง บลจ. ปลายทาง เมื่อ บลจ. ปลายทางได้รับเช็คแล้ว จึงจะดำเนินการทำรายการซื้อกองทุนปลายทางตามรายการที่ผู้ลงทุนสั่ง
ฉะนั้น จึงต้องรอบคอบในเรื่องของการนับวัน ไม่ให้เกิน 5 วันทำการ ทั้งนี้ควรสอบถามผู้แนะนำ/วางแผนการลงทุน และตรวจสอบกับทาง บลจ. ต้นสังกัด ของทั้งกองทุนต้นทาง และกองทุนปลายทาง ทั้งกรณีสับเปลี่ยนภายใน บลจ. เดียวกัน หรือกรณีสับเปลี่ยนข้าม บลจ. ให้แน่ใจก่อนการดำเนินการทำรายการนั้น ๆ
ดังนั้น ส่วนใหญ่ บลจ. มักจะแนะนำว่า กรณีสับเปลี่ยนข้าม บลจ. อาจจะแบ่งขั้นตอนในดำเนินการ โดยขั้นตอนแรก ทำการสับเปลี่ยนจากกองที่ถือสินทรัพย์ประเภทหุ้น ไปยังกองทุนปลายทางที่เป็นประเภท Money Market Fund ใน บลจ. เดียวกันก่อน แล้วขั้นตอนถัดไป จึงดำเนินการสับเปลี่ยนไปยังกองปลายทางข้าม บลจ. เนื่องจากการสับเปลี่ยนกองทุน Money Market Fund จะใช้เวลาสั้นกว่ากองที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้น หรือตราสารอื่นที่ซับซ้อนกว่า พร้อมทั้งควรตรวจสอบก่อนการดำเนินการทำรายการว่า กองทุนใดบ้างของ บลจ.ปลายทาง ที่จะสามารถรับสับเปลี่ยนข้ามมายังกองทุนปลายทางได้ด้วย
จะเห็นว่า เรื่องของวันทำรายการ (Transaction Date) วันหยุดกองทุน (Fund Holiday) ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา เพื่อให้การวางแผนการลงทุนไม่มีสะดุดและไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี
บางวันแม้ไม่ใช่วันหยุด แต่มีจังหวะซ่อนอยู่ให้ได้ลุ้น
ธนาคารกลางของประเทศผู้ทรงอิทธิพลกำหนดนโยบายและชี้นำทิศทางการเงินโลก เช่น ในช่วงที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีการประชุมธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือที่เราคุ้นกับวลีที่ว่า “ประชุม FED” ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการประชุมในทุก ๆ 45 วัน โดยเทียบเวลาทำการของสหรัฐอเมริกา จะตรงกับช่วงหัวค่ำ ถึงราว ๆ เที่ยงคืน ตี 1 ของประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าผลการประชุมที่ออกมานั้น ไม่ว่าจะเป็น แนวทางการใช้นโยบายทางการเงิน (เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าในระบบ (QE)
หรือการลดสภาพคล่อง ดูดเงินออกจากระบบ (QT)) มติการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยรวมถึง Dot Plot มักส่งผลต่อการวิเคราะห์ปัจจัยการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทในทันที บางคืนสามารถพลิกให้ตลาดกลับมาบวกและพุ่งขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่ตลาดเมื่อวันก่อนหน้าติดลบอย่างแรง เนื่องจากการขายทำกำไรออกไปก่อน (Sell on fact)
มุมกลับกัน ในบางรอบของการประชุม ก็สามารถพลิกให้ตลาดร่วงลงติดลบได้ในข้ามคืนเช่นกัน ในกรณีที่ผิดจากที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ ฉะนั้น การตัดสินใจในการซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนกองทุนในช่วงวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ อย่างเช่น วันประชุม FED วันประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ ตัวเลขระดับเงินเฟ้อ ตัวเลข GDP การเติบโตที่แต่ละประเทศมีการปรับประมาณการตามรอบของการทบทวนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ตัวเลข Core PCE (ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล) ฯลฯ
รวมถึงวันที่มีการประกาศผลประกอบการ/ การปรับประมาณการของหุ้นนำตลาด อาจส่งผลต่อต้นทุนหน่วยลงทุนที่เราถือลงทุนได้ หากตลาดมีการเคลื่อนไหวแรงในวันนั้น ดังนั้น นักลงทุนอาจวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวก่อน เพื่อพิจารณาปรับแผนกลยุทธ์ หรือ ปรับพอร์ตการลงทุน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงนั้น
ในโลกแห่งการลงทุนอันไม่เคยหลับใหล กระแสของเม็ดเงินมักจะถูกดึงดูดให้ไหลไปสู่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจบนความเสี่ยงที่รับได้ตามการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเศรษฐกิจ โดยมีจังหวะและวัน คือ หนึ่งในเรื่องที่ต้องพิจารณาถึงโอกาสในการลงทุน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1647578
จะลงทุนก็ต้องดูฤกษ์ดูวัน เพราะมีจังหวะซ่อนอยู่ให้ได้ลุ้นผลกำไร.
โดยทั่วไป การลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์มักจะเปิดให้ซื้อขายในวันทำการปกติและหยุดตามสถาบันการเงิน ซึ่งจะมีบางสินทรัพย์ ที่สามารถทำรายการเทรด ซื้อ/ขายได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง ดังเช่น การเทรดสกุลเงินคริปโต (Cryptocurrencies Trading) อาทิ Bitcoin, ETH, etc. เห็นได้ว่าเกิดการสร้างเหรียญคริปโตรุ่นใหม่ ๆ มากมายเข้าในระบบตลาดแลกเปลี่ยน เสริมสภาพคล่องและเปิดโอกาสการลงทุนให้กับเม็ดเงินมหาศาล นักลงทุนที่เทรดคริปโตแทบจะไม่มีวันหยุด เรียกว่ามีช่วงให้ลุ้นกันแทบทุกวินาทีชั่วโมงเลยก็ว่าได้ เพราะในทุกความผันผวนมักมีโอกาสซ่อนอยู่
โดยแต่ละตลาดหลักทรัพย์ จะมีบางช่วงเวลาที่อาจมีวันหยุดพิเศษตามเทศกาลของประเทศต่างๆ อาทิ เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลตรุษจีน ปีใหม่ วันชาติ เทศกาล Golden Week วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เป็นต้น ถ้าหากมีการจัดพอร์ตการลงทุนทั่วโลก หลักทรัพย์ที่ถือลงทุนก็กระจายไปในประเทศต่าง ๆ ดังนั้น ต้องพิจารณาวันหยุดของแต่ละประเทศประกอบการตัดสินใจการวางแผนในการลงทุนด้วย
วันกับการลงทุนเกี่ยวกันอย่างไร
วันหยุดที่ได้เกริ่นมาข้างต้น บางคนก็ไม่ได้คิดว่าจะมีผลหรือเกี่ยวอะไรกับการลงทุน แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว วันหยุดก็มีผลกับการซื้อ (Subscription) ขาย (Redemption) และ สับเปลี่ยน(Switching) หน่วยลงทุน/สินทรัพย์ เช่น
1. กรณีเป็นกองทุนทั่วไป ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนในประเทศ (Mutual Fund) และ/หรือกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF Mutual Fund)
หากส่งคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนในวันที่ตรงกับวันหยุด จะไม่สามารถทำรายการได้ โดยรายการจะถูกยกเลิกไป (Cancelled Transaction) ต้องเลื่อนไปทำรายการวันอื่นที่ไม่ใช่วันหยุด ดังนั้น วันที่คำสั่งซื้อขายมีผล (Effective Date) จะถูกเลื่อนออกไป ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการเข้าซื้อ/ราคาขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
ถ้าเป็นกรณีที่เราทำรายการคร่อมวันหยุด หรือช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว ๆ หลาย ๆ วันติดต่อกัน คือ มีวันหยุดในช่วงที่สับเปลี่ยน (Switching) พอดี ก็จะส่งผลให้ วันที่ได้ราคาต้นทุนจากการสับเปลี่ยนออกจากกองทุนต้นทาง สับเปลี่ยนไปเข้ากองทุนปลายทาง อาจล่าช้าออกไปด้วยตามจำนวนวันที่คร่อมวันหยุดในช่วงนั้น ๆ
ถ้าเป็นกองทุนทั่วไปที่ไม่ใช่ประเภทลดหย่อนภาษี การซื้อ/ขายที่ไม่น่ามีปัญหาเรื่องการนับวัน/การจำกัดวัน แค่จะใช้ระยะเวลามากขึ้นหรือถูกเลื่อนให้นานออกไปเท่านั้น เป็นต้น
2. กรณีที่ต้องการสับเปลี่ยนกองทุนประเภทลดหย่อนภาษี [Tax Saving Mutual Fund]RMF, SSF, Thai ESG จะมีเงื่อนไขเรื่องการถือครองตามกรมสรรพากรกำหนด หากไม่ครบตามเกณฑ์ทางภาษีก็จะยังไม่สามารถขายออกได้ หากพลาดขายโดยผิดเงื่อนไข นักลงทุนอาจโดนโทษเบี้ยปรับและเงินเพิ่มและถูกคำนวณภาษีย้อนหลังได้ จะชวนพิจารณาถึง หากต้องการปรับพอร์ตกองทุนประเภทลดหย่อนภาษี แบบข้าม บลจ.
บลจ. มักจะมีการกำหนดในระบบที่รองรับการทำรายการให้สอดรับกับเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนดจะห้ามสับเปลี่ยนเกินจำนวนวันทำการกี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ห้ามเกิน 5 วันทำการ ซึ่งแม้จะใช้คำว่า “สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน” ก็ตาม แต่กระบวนการทำงานจริง เท่ากับว่าเงินที่ลงในกองลดหย่อนภาษีจาก บลจ.ต้นทาง จะถูกดำเนินการทำรายการขายหน่วยออกมา โดยการส่งเงินระหว่าง บลจ. มักใช้การตีเช็ค จากบลจ. ต้นทาง ไปยัง บลจ. ปลายทาง เมื่อ บลจ. ปลายทางได้รับเช็คแล้ว จึงจะดำเนินการทำรายการซื้อกองทุนปลายทางตามรายการที่ผู้ลงทุนสั่ง
ฉะนั้น จึงต้องรอบคอบในเรื่องของการนับวัน ไม่ให้เกิน 5 วันทำการ ทั้งนี้ควรสอบถามผู้แนะนำ/วางแผนการลงทุน และตรวจสอบกับทาง บลจ. ต้นสังกัด ของทั้งกองทุนต้นทาง และกองทุนปลายทาง ทั้งกรณีสับเปลี่ยนภายใน บลจ. เดียวกัน หรือกรณีสับเปลี่ยนข้าม บลจ. ให้แน่ใจก่อนการดำเนินการทำรายการนั้น ๆ
ดังนั้น ส่วนใหญ่ บลจ. มักจะแนะนำว่า กรณีสับเปลี่ยนข้าม บลจ. อาจจะแบ่งขั้นตอนในดำเนินการ โดยขั้นตอนแรก ทำการสับเปลี่ยนจากกองที่ถือสินทรัพย์ประเภทหุ้น ไปยังกองทุนปลายทางที่เป็นประเภท Money Market Fund ใน บลจ. เดียวกันก่อน แล้วขั้นตอนถัดไป จึงดำเนินการสับเปลี่ยนไปยังกองปลายทางข้าม บลจ. เนื่องจากการสับเปลี่ยนกองทุน Money Market Fund จะใช้เวลาสั้นกว่ากองที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้น หรือตราสารอื่นที่ซับซ้อนกว่า พร้อมทั้งควรตรวจสอบก่อนการดำเนินการทำรายการว่า กองทุนใดบ้างของ บลจ.ปลายทาง ที่จะสามารถรับสับเปลี่ยนข้ามมายังกองทุนปลายทางได้ด้วย
จะเห็นว่า เรื่องของวันทำรายการ (Transaction Date) วันหยุดกองทุน (Fund Holiday) ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา เพื่อให้การวางแผนการลงทุนไม่มีสะดุดและไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี
บางวันแม้ไม่ใช่วันหยุด แต่มีจังหวะซ่อนอยู่ให้ได้ลุ้น
ธนาคารกลางของประเทศผู้ทรงอิทธิพลกำหนดนโยบายและชี้นำทิศทางการเงินโลก เช่น ในช่วงที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีการประชุมธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือที่เราคุ้นกับวลีที่ว่า “ประชุม FED” ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการประชุมในทุก ๆ 45 วัน โดยเทียบเวลาทำการของสหรัฐอเมริกา จะตรงกับช่วงหัวค่ำ ถึงราว ๆ เที่ยงคืน ตี 1 ของประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าผลการประชุมที่ออกมานั้น ไม่ว่าจะเป็น แนวทางการใช้นโยบายทางการเงิน (เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าในระบบ (QE)
หรือการลดสภาพคล่อง ดูดเงินออกจากระบบ (QT)) มติการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยรวมถึง Dot Plot มักส่งผลต่อการวิเคราะห์ปัจจัยการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทในทันที บางคืนสามารถพลิกให้ตลาดกลับมาบวกและพุ่งขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่ตลาดเมื่อวันก่อนหน้าติดลบอย่างแรง เนื่องจากการขายทำกำไรออกไปก่อน (Sell on fact)
มุมกลับกัน ในบางรอบของการประชุม ก็สามารถพลิกให้ตลาดร่วงลงติดลบได้ในข้ามคืนเช่นกัน ในกรณีที่ผิดจากที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ ฉะนั้น การตัดสินใจในการซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนกองทุนในช่วงวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ อย่างเช่น วันประชุม FED วันประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ ตัวเลขระดับเงินเฟ้อ ตัวเลข GDP การเติบโตที่แต่ละประเทศมีการปรับประมาณการตามรอบของการทบทวนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ตัวเลข Core PCE (ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล) ฯลฯ
รวมถึงวันที่มีการประกาศผลประกอบการ/ การปรับประมาณการของหุ้นนำตลาด อาจส่งผลต่อต้นทุนหน่วยลงทุนที่เราถือลงทุนได้ หากตลาดมีการเคลื่อนไหวแรงในวันนั้น ดังนั้น นักลงทุนอาจวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวก่อน เพื่อพิจารณาปรับแผนกลยุทธ์ หรือ ปรับพอร์ตการลงทุน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงนั้น
ในโลกแห่งการลงทุนอันไม่เคยหลับใหล กระแสของเม็ดเงินมักจะถูกดึงดูดให้ไหลไปสู่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจบนความเสี่ยงที่รับได้ตามการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเศรษฐกิจ โดยมีจังหวะและวัน คือ หนึ่งในเรื่องที่ต้องพิจารณาถึงโอกาสในการลงทุน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1647578