โอวาทธรรม
ของ
พระวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ดวงจิตที่เจือปนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์
นั่นก็เหมือนกับเรือที่ถูกลมพายุอันพัดมาจากข้างหลัง
ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาทั้ง ๘ ด้าน ๘ ทิศ
มันก็จะไม่ทำให้เรือตั้งตรงอยู่ได้ มีแต่จะทำให้เรือจมลง
ไฟที่จะใช้สอยก็ดับหมดด้วยอำนาจความแรงของกระแสลมที่พัดมานั้น
สัญญานี้เหมือนกับระลอกคลื่นที่วิ่งไปมาในมหาสมุทร
ใจนั้นก็เปรียบเหมือนปลาที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ
ธรรมดาของปลาย่อมเห็นน้ำเป็นของสนุกเพลิดเพลินฉันใด
บุคคลผู้หนาแน่นไปด้วยอวิชชาก็ย่อมเห็นเรื่องยุ่งๆ
เป็นของเพลิดเพลิน เป็นของสนุก
เหมือนกับปลาที่เห็นคลื่นในน้ำเค็มเป็นของสนุกสนานสำหรับตัวมันฉันนั้น
ตราบใดที่เราทำความสงบให้เรื่องต่างๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้
ก็ย่อมทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปใน “กัมมัฏฐาน”
คือ ฝังแต่ พุทธานุสติ เป็นเบื้องต้น
จนถึง สังฆานุสติ เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ
เมื่อเป็นไปดังนี้ก็จะถ่ายอารมณ์ที่ชั่วให้หมดไปจากใจได้
เหมือนกับเราถ่ายของที่ไม่มีประโยชน์ออกจากเรือ
และนำของที่มีประโยชน์เข้ามาใส่แทน
ถึงเรือนั้นจะหนักก็ตาม แต่ใจของเราเบาอย่างนี้
ภาระทั้งหลายก็น้อยลง สัญญาต่างๆ ก็ไม่มี นิวรณ์ก็ไม่ปรากฏ
ดวงจิตก็จะเข้าไปสู่ “กัมมัฏฐาน” ได้ทันที
คัดลอกมาจาก...
หนังสือแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ๒.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. ชมรมกัลยาณธรรม. ๒๕๕๓
: หน้า ๑๒๙-๑๓๐.
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37944
คนมีอวิชชาเพลิดเพลินก็เหมือนปลาที่สนุกอยู่ในน้ำ (ท่านพ่อลี)
ของ
พระวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ดวงจิตที่เจือปนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์
นั่นก็เหมือนกับเรือที่ถูกลมพายุอันพัดมาจากข้างหลัง
ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาทั้ง ๘ ด้าน ๘ ทิศ
มันก็จะไม่ทำให้เรือตั้งตรงอยู่ได้ มีแต่จะทำให้เรือจมลง
ไฟที่จะใช้สอยก็ดับหมดด้วยอำนาจความแรงของกระแสลมที่พัดมานั้น
สัญญานี้เหมือนกับระลอกคลื่นที่วิ่งไปมาในมหาสมุทร
ใจนั้นก็เปรียบเหมือนปลาที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ
ธรรมดาของปลาย่อมเห็นน้ำเป็นของสนุกเพลิดเพลินฉันใด
บุคคลผู้หนาแน่นไปด้วยอวิชชาก็ย่อมเห็นเรื่องยุ่งๆ
เป็นของเพลิดเพลิน เป็นของสนุก
เหมือนกับปลาที่เห็นคลื่นในน้ำเค็มเป็นของสนุกสนานสำหรับตัวมันฉันนั้น
ตราบใดที่เราทำความสงบให้เรื่องต่างๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้
ก็ย่อมทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปใน “กัมมัฏฐาน”
คือ ฝังแต่ พุทธานุสติ เป็นเบื้องต้น
จนถึง สังฆานุสติ เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ
เมื่อเป็นไปดังนี้ก็จะถ่ายอารมณ์ที่ชั่วให้หมดไปจากใจได้
เหมือนกับเราถ่ายของที่ไม่มีประโยชน์ออกจากเรือ
และนำของที่มีประโยชน์เข้ามาใส่แทน
ถึงเรือนั้นจะหนักก็ตาม แต่ใจของเราเบาอย่างนี้
ภาระทั้งหลายก็น้อยลง สัญญาต่างๆ ก็ไม่มี นิวรณ์ก็ไม่ปรากฏ
ดวงจิตก็จะเข้าไปสู่ “กัมมัฏฐาน” ได้ทันที
คัดลอกมาจาก...
หนังสือแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ๒.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. ชมรมกัลยาณธรรม. ๒๕๕๓
: หน้า ๑๒๙-๑๓๐.
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37944