มีสินค้าของคนไทยหลายแบรนด์ที่ผลิตในเมืองไทย แต่ใช้ชื่อเป็นภาษาต่างชาติ จนคนไทยหลายคนคิดว่าเป็นสินค้าจากต่างประเทศ แทนที่จะใช้ชื่อเป็นภาษาไทย
อะไรทำให้บริษัทไทยจำนวนไม่น้อย เลือกตั้งชื่อแบรนด์เป็นภาษาต่างประเทศ พบว่ามีอยู่ 2 เหตุผล คือ เสริมภาพลักษณ์สินค้าให้ดูดีมีระดับ และทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูงขึ้น
มาดูกันว่า.. มีแบรนด์สินค้าอะไรบ้าง? ที่หลายคนคิดว่าเป็นสินค้าต่างประเทศ
1. ฮาตาริ (HATARI)
พัดลมแบรนด์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2533 ภายใต้บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด โดย "คุณจุน วนวิทย์" เจ้าของได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากประเทศไต้หวัน ก่อนกลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกขายเอง และก่อตั้งบริษัทของตัวเอง เพื่อรับจ้างผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ญี่ปุ่น ต่อมาตัดสินใจทำแบรนด์เองใช้ชื่อ "อาตาริ"
2. โมชิ โมชิ (Moshi Moshi)
ร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 ภายใต้บริษัท โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทสัญชาติไทย โดยสมัยก่อนกลุ่มครอบครัวฯ ก่อตั้งบริษัทฯ (เดิมชื่อบริษัท บีกิฟท์ จำกัด) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ก่อนจะมาเป็นร้าน Moshi Moshi ในปัจจุบัน มีสาขากว่า 150 แห่งทั่วประเทศ
3. สมูทอี (SMOOTH E)
แบรนด์สัญชาติไทย ก่อตั้งโดยคุณแสงสุข พิทยานุกูล ในปี 2538 โดยเขาเรียนจบเภสัชมา เป็นพนักงานออฟฟิศได้สักพัก แล้วมาเปิดร้านขายยาเล็กๆ ที่ศูนย์การค้าสยาม ก่อ่นที่ศูนย์การค้าจะขอพื้นที่คืน ต่อจากนั้นตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ทำสินค้าเวชภัณฑ์ขายเอง หนึ่งในนั้นก็คือ SMOOTH E จนได้รับความนิยมมาจนถึงวันนี้
4. เดนทิสเต้ (DENTISTE)
อีกแบรนด์ยาสีฟันก่อนนอนสำหรับคู่รัก ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 โดยคุณแสงสุข พิทยานุกุล เจ้าของเดียวกับสมูทอี ก่อนที่เดนทิสเต้จะประสบความสำเร็จเขาเคยทำธุรกิจยาสีฟัน ในชื่อ Plus White ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่ามาก่อน ที่เรียกได้ว่าแจกฟรีก็ไม่มีคนเอา ความล้มเหลวเป็นบทเรียน เขาได้ลองใหม่ ด้วยการนำยาสีฟันมาให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทดลองใช้ และเมื่อทันตแพทย์ได้ทดลองใช้แล้วมีคำถามกลับมาว่า ยาสีฟันที่ให้มามีสารอะไรอยู่ในนั้น เพราะใช้แล้วตื่นมารู้สึกแตกต่างจากยาสีฟันแบรนด์อื่นๆ คำว่าแตกต่างตอนตื่นนอน ถือเป็นเมนไอเดียที่เป็นจุดเกิดของ เดนทิสเต้ เพราะในเวลานั้นในตลาดยาสีฟันแทบจะไม่มียาสีฟันสำหรับตอนกลางคืน หรือ Nighttime
5. ดัชมิลล์ (Dutch Mill)
อีกหนึ่งแบรนด์สัญชาติไทย แต่ชื่อเป็นต่างชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 โดยชื่อเดิมคือ บริษัท โปร ฟู้ด จำกัด มาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ในปี 2534 ดัชมิลล์ เกิดจากการรวมกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงแรกธุรกิจของดัชมิลล์ยังมีขนาดเล็ก ทำให้สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ที่หมู่บ้านสหกรณ์คลองกุ่ม กรุงเทพฯ สินค้าตัวแรก คือ โยเกิร์ต มี 4 รสชาติ ได้แก่ ส้ม สตรอว์เบอร์รี สับปะรด และรสธรรมชาติ ต่อจากนั้นย้ายโรงงานมาตั้งที่นครปฐม และนครสวรรค์ตามลำดับ
6. ไซโจเดนกิ (saijo denki)
แบรนด์เครื่องปรับอากาศ ก่อตั้งในปี 2530 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยคุณสมศักดิ์ จิตติพลังศรี และคุณ Harada Senior ต่อมาคนญี่ปุ่นไปทำธุรกิจอื่น จึงโอนหุ้นให้คนไทยถือทั้งหมด จึงเป็นแอร์ของคนไทย 100% และถือเป็นแอร์แบรนด์แรกๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือได้ Saijo Denki ยังถือเป็นบริษัทไทยเจ้าแรกที่สามารถส่งออกสินค้าไปขายในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดด้านคุณภาพสูง ปัจจุบัน Saijo Denki ได้ส่งออกสินค้าไปอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
7. แบล็คแคนยอน (Black Canyon)
แบรนด์กาแฟของคนไทย ก่อตั้งในปี 2536 ภายใต้บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด หลายอาจคิดว่าเป็นแบรนด์ตะวันตกที่ถูกนำแฟรนไชส์เข้ามา จริงๆ แล้วเจ้าของและผู้ปลุกปั้น Black Canyon ก็คือ คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ โดยเริ่มแรกเป็นการซื้อแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่นในประเทศไทย ปัจจุบัน Black Canyon มีสาขาทั้งในและต่างประเทศ นอกจากมีกาแฟยังมีอาหารขายอีกด้วย
8. สก็อต (SCOTCH)
แบรนด์รังนกสัญชาติไทย เจ้าของเป็นคนไทย บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ สก๊อต ซุปไก่สกัด สูตรต้นตำรับ ออกสู่ตลาดในปี 2527 หลังจากก่อตั้งบริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ 1 ปี และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวที่สอง สก๊อต ซุปไก่สกัด ผสมถั่งเฉ้า ในปี 2529
อยากขายดี "อย่าใช้ชื่อไทย" โคตรเศร้า แต่จริง!
อะไรทำให้บริษัทไทยจำนวนไม่น้อย เลือกตั้งชื่อแบรนด์เป็นภาษาต่างประเทศ พบว่ามีอยู่ 2 เหตุผล คือ เสริมภาพลักษณ์สินค้าให้ดูดีมีระดับ และทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูงขึ้น
มาดูกันว่า.. มีแบรนด์สินค้าอะไรบ้าง? ที่หลายคนคิดว่าเป็นสินค้าต่างประเทศ
พัดลมแบรนด์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2533 ภายใต้บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด โดย "คุณจุน วนวิทย์" เจ้าของได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากประเทศไต้หวัน ก่อนกลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกขายเอง และก่อตั้งบริษัทของตัวเอง เพื่อรับจ้างผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ญี่ปุ่น ต่อมาตัดสินใจทำแบรนด์เองใช้ชื่อ "อาตาริ"
2. โมชิ โมชิ (Moshi Moshi)
ร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 ภายใต้บริษัท โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทสัญชาติไทย โดยสมัยก่อนกลุ่มครอบครัวฯ ก่อตั้งบริษัทฯ (เดิมชื่อบริษัท บีกิฟท์ จำกัด) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ก่อนจะมาเป็นร้าน Moshi Moshi ในปัจจุบัน มีสาขากว่า 150 แห่งทั่วประเทศ
3. สมูทอี (SMOOTH E)
แบรนด์สัญชาติไทย ก่อตั้งโดยคุณแสงสุข พิทยานุกูล ในปี 2538 โดยเขาเรียนจบเภสัชมา เป็นพนักงานออฟฟิศได้สักพัก แล้วมาเปิดร้านขายยาเล็กๆ ที่ศูนย์การค้าสยาม ก่อ่นที่ศูนย์การค้าจะขอพื้นที่คืน ต่อจากนั้นตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ทำสินค้าเวชภัณฑ์ขายเอง หนึ่งในนั้นก็คือ SMOOTH E จนได้รับความนิยมมาจนถึงวันนี้
4. เดนทิสเต้ (DENTISTE)
อีกแบรนด์ยาสีฟันก่อนนอนสำหรับคู่รัก ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 โดยคุณแสงสุข พิทยานุกุล เจ้าของเดียวกับสมูทอี ก่อนที่เดนทิสเต้จะประสบความสำเร็จเขาเคยทำธุรกิจยาสีฟัน ในชื่อ Plus White ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่ามาก่อน ที่เรียกได้ว่าแจกฟรีก็ไม่มีคนเอา ความล้มเหลวเป็นบทเรียน เขาได้ลองใหม่ ด้วยการนำยาสีฟันมาให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทดลองใช้ และเมื่อทันตแพทย์ได้ทดลองใช้แล้วมีคำถามกลับมาว่า ยาสีฟันที่ให้มามีสารอะไรอยู่ในนั้น เพราะใช้แล้วตื่นมารู้สึกแตกต่างจากยาสีฟันแบรนด์อื่นๆ คำว่าแตกต่างตอนตื่นนอน ถือเป็นเมนไอเดียที่เป็นจุดเกิดของ เดนทิสเต้ เพราะในเวลานั้นในตลาดยาสีฟันแทบจะไม่มียาสีฟันสำหรับตอนกลางคืน หรือ Nighttime
5. ดัชมิลล์ (Dutch Mill)
อีกหนึ่งแบรนด์สัญชาติไทย แต่ชื่อเป็นต่างชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 โดยชื่อเดิมคือ บริษัท โปร ฟู้ด จำกัด มาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ในปี 2534 ดัชมิลล์ เกิดจากการรวมกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงแรกธุรกิจของดัชมิลล์ยังมีขนาดเล็ก ทำให้สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ที่หมู่บ้านสหกรณ์คลองกุ่ม กรุงเทพฯ สินค้าตัวแรก คือ โยเกิร์ต มี 4 รสชาติ ได้แก่ ส้ม สตรอว์เบอร์รี สับปะรด และรสธรรมชาติ ต่อจากนั้นย้ายโรงงานมาตั้งที่นครปฐม และนครสวรรค์ตามลำดับ
6. ไซโจเดนกิ (saijo denki)
แบรนด์เครื่องปรับอากาศ ก่อตั้งในปี 2530 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยคุณสมศักดิ์ จิตติพลังศรี และคุณ Harada Senior ต่อมาคนญี่ปุ่นไปทำธุรกิจอื่น จึงโอนหุ้นให้คนไทยถือทั้งหมด จึงเป็นแอร์ของคนไทย 100% และถือเป็นแอร์แบรนด์แรกๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือได้ Saijo Denki ยังถือเป็นบริษัทไทยเจ้าแรกที่สามารถส่งออกสินค้าไปขายในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดด้านคุณภาพสูง ปัจจุบัน Saijo Denki ได้ส่งออกสินค้าไปอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
7. แบล็คแคนยอน (Black Canyon)
แบรนด์กาแฟของคนไทย ก่อตั้งในปี 2536 ภายใต้บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด หลายอาจคิดว่าเป็นแบรนด์ตะวันตกที่ถูกนำแฟรนไชส์เข้ามา จริงๆ แล้วเจ้าของและผู้ปลุกปั้น Black Canyon ก็คือ คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ โดยเริ่มแรกเป็นการซื้อแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่นในประเทศไทย ปัจจุบัน Black Canyon มีสาขาทั้งในและต่างประเทศ นอกจากมีกาแฟยังมีอาหารขายอีกด้วย
8. สก็อต (SCOTCH)
แบรนด์รังนกสัญชาติไทย เจ้าของเป็นคนไทย บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ สก๊อต ซุปไก่สกัด สูตรต้นตำรับ ออกสู่ตลาดในปี 2527 หลังจากก่อตั้งบริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ 1 ปี และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวที่สอง สก๊อต ซุปไก่สกัด ผสมถั่งเฉ้า ในปี 2529