ไปสายการเมืองหรือไปสายอัยการ ผู้พิพากษาดี

คำถามที่ 1
ถามเพื่อนๆนะครับ พอดีผมจบปริญญาตรี รปศ และนิติศาสตร์ ตอนนี้เรียน ป.โทนิติศาสตร์อยู่ครับ
.
ส่วนตัวที่บ้านไม่ได้มีเส้นสายใดๆ ไม่ได้รู้จักนักการเมืองส่วนตัว (เคยไปทำงานอาสาครั้งสองครั้ง) สนใจการบ้านการเมืองติดตามข่าวสารตลอด อยากให้บ้านเมืองดีครับ
.
แต่อีกส่วนก็คิดว่าเส้นทางการเมืองยาก เนื่องจากไม่ได้มีคนรู้จัก และมีความไม่มั่นคงสูงมาก ประกอบกับที่บ้านก็ยังไม่สบาย จึงควรหางานที่มั่นคงทำก่อน
เนื่องจากงานการเมืองจะต้องลงไปแบบอาสาสมัครช่วยงานพรรคก่อน ส่วนตัวไม่มีเวลา ไม่มีทุนมากพอ
.
จึงคิดว่าเราก็ไปสายเดิมดีอยู่แแล้ว คือเรียน ป โท ให้จบ และสอบเนติให้ผ่าน เพื่อสอบอัยการ ผู้พิพากษา
.
แต่ในใจลึกๆก็อยากทำงานการเมืองตลอดครับ เลยยังสองจิตสองใจ หากผมมีความสามารถพอสอบติดอัยการหรือศาลก็คงจะทำยาวไปจนเกษียณ
กว่าจะได้ทำงานการเมืองก็ตอนอายุมากเลย (หลังเกษียณ)
.
จึงอยากมาขอความเห็นเพื่อนๆเพิ่มเติมว่าถ้าเป็นเพื่อนๆจะเลือกไปทางไหนครับ 
1. สายการเมือง (ทุ่มสุดตัวยอมไปเป็นอาสาสมัครหลังเลิกงาน ทำหลังเรียนจบ ป โท ทิ้งเส้นทางอัยการ ศาลไปเลย มุ่งสายการเมือง)
2. สายกฎหมาย (ก็ตามเดิมครับ เรียน ป โท ให้จบ เก็บอายุงานให้ครบ และสอบเนติให้ผ่าน ทำงานสายกฎหมายจนเกษียณอายุ ค่อยลงการเมืองหลังเกษียณ)
.
คำถามที่ 2
ส่วนตัวผมเรียน ป.ตรี นิติ ใบที่สอง ทำให้รู้สึกไม่เก่งพอที่จะตั้งเป้าหมายผู้พิพากษาเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้หากทำครบตามเงื่อนไขก็มีสิทธิสอบทั้งอัยการและศาล
.
แต่เพื่อให้ภาระทางใจไม่มากไป ผมควรหวังแค่อัยการดีไหมครับ (เพราะชอบทางสายอาญามากกว่านิดนึง) และหากหวังศาลไปน่าจะยากเกินไป ทำให้เครียดกดดันมาก แต่ใจจริงก็อยากสอบติดอยู่ แต่กลัวเครียดเกิน
.
หรือก็ไม่ต้องคิดอะไรมากก หวังทั้งสอง คือ อัยการและศาลไปเลย 
.
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ตรงๆช่วงนี้สับสนทางเลือกชีวิตมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่