ย้อนกลับไปในปี 1997 ฟิลิปป์ คาห์น ชายผู้กำลังจะได้เป็นพ่อคน กำลังเฝ้ารอคอยการมาของลูกสาวคนแรกด้วยความตื่นเต้น เมื่อถึงเวลาที่ลูกสาวตัวน้อยลืมตาดูโลก คาห์นไม่ได้เพียงแค่บันทึกช่วงเวลานี้ไว้ในความทรงจำ แต่เขายังได้บันทึกภาพประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของโลกด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นทดลองถ่ายภาพลูกสาวของเขาขณะกำลังหลับใหลอยู่ในอ้อมแขน
ใครจะเชื่อว่าภาพถ่ายแรกจากโทรศัพท์มือถือจะเกิดขึ้นในห้องคลอด
ย้อนกลับไปในวันที่ 11 มิถุนายน 1997 ทุกอย่างเริ่มต้นจากความน่าเบื่อหน่ายผสมกับความตื่นเต้นของ ฟิลิปป์ คาห์น (Philippe Kahn) ชายธรรมดาคนหนึ่งผู้กำลังจะได้เป็นพ่อคนโดยสมบูรณ์ในอีกไม่กี่อึดใจ เพราะภรรยาของเขาอยู่ระหว่างเตรียมตัวให้กำเนิดลูกสาวคนแรก
ขณะที่ฟิลิปป์และภรรยาอยู่ในห้องรอคลอดของ Sutter Maternity Clinic (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Sutter Maternity & Surgery Center) คลินิกสูตินรีเวชประจำเมืองซานตาครูซ (Santa Cruz) ทางตอนเหนืออันเงียบสงบของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยความที่ฟิลิปป์ไม่อยากปล่อยเวลาทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ เขาซึ่งเป็นทั้งนักเขียนโปรแกรมและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์จึงคิดอะไรสนุกๆ ขึ้นมาได้ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์
ไม่รู้ควรเรียกว่าอาการเห่อลูกหรือสัญชาตญาณของคนเป็นพ่อกันแน่ เพราะฟิลิปป์อยากถ่ายภาพลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของเขาทันทีหลังจากที่เธอคลอดออกมา แล้วตั้งใจส่งต่อภาพนั้นไปถึงญาติ คนใกล้ชิด และเพื่อนฝูง หวังให้ทุกคนเห็นความน่าเอ็นดูของสมาชิกครอบครัวคนใหม่ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาด้วย
แต่ฟิลิปป์จะทำได้อย่างไร?
ในตอนนั้นฟิลิปป์มีอุปกรณ์ติดตัวแค่โทรศัพท์มือถือแบบฝาพับ กล้องดิจิทัล และแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์พกพา เขาจึงเชื่อมต่อทุกอย่างด้วยสายเคเบิลเท่าที่หาได้ ถึงขนาดต้องยอมตัดสายไฟของสปีกเกอร์โฟนในรถยนต์มาใช้ทดแทนสายเคเบิลที่มีไม่พอ เมื่อต่อเข้ากันเสร็จเรียบร้อย ฟิลิปป์จึงตรวจสอบระบบซึ่งควบคุมโดยโปรแกรมที่เขาเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้
ฟิลิปป์อธิบายหลักการทำงานคร่าวๆ เป็น 4 ขั้นตอนว่า
(1) เริ่มจากใช้กล้องดิจิทัลถ่ายรูปลูกสาว
(2) แล้วโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับจะอาศัยสัญญาณโทรศัพท์ทำหน้าที่ส่งต่อภาพกลับไปยังคอมพิวเตอร์ที่บ้านพักซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป 7 ไมล์ หรือประมาณ 11 กิโลเมตร แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องความสะดวกรวดเร็วของการถ่ายโอนข้อมูล ระบบจึงลดความละเอียดของภาพลงเหลือ 320×240 พิกเซล
(3) คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะคอยรับสัญญาณภาพถ่ายแล้วสร้างช่องทางใหม่เพื่อส่งภาพต่อไปยังผู้รับปลายทางผ่านอีเมลโดยอัตโนมัติ
(4) อีเมลของทุกคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อติดต่อของฟิลิปป์จะได้รับข้อความและลิงก์สำหรับเข้าถึงภาพถ่ายนั้น
เวลากระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ บุรุษพยาบาลเข็นเตียงภรรยาของฟิลิปป์ย้ายไปในห้องคลอด เขาจึงไม่มีเวลาลองถ่ายรูปทดสอบการทำงานของระบบก่อน เพราะต้องรีบขนอุปกรณ์ทั้งหมดซึ่งเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ของคลินิกเข้าห้องคลอดตามภรรยา เขาวางอุปกรณ์ไว้บนโต๊ะตัวหนึ่งที่ตั้งติดกำแพง เพื่อไม่ให้รบกวนแพทย์และพยาบาลซึ่งกำลังทำคลอดด้วยวิธีผ่าตัด
ในที่สุด เด็กหญิงโซฟี (Sophie) หรือลูกสาวของฟิลิปป์ก็ลืมตาดูโลก ณ เวลา 14:21 น. เขาจำได้ดีว่าตัวเองอุ้มลูกด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาถือกล้องดิจิทัล แล้วกดถ่ายรูปเจ้าตัวน้อยขณะกำลังหลับปุ๋ยในอ้อมแขน จากนั้นส่งต่อภาพตามขั้นตอน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดกว่าที่ภาพถ่ายจะไปถึงผู้รับ ใช้เวลาเร็วที่สุดราว 45 นาที
รูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรกของโลกพร้อมข้อความของฟิลิปป์ถูกส่งไปยังคนอื่นๆ มากกว่า 2,000 คน มีทั้งคนรู้จักและคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกับเขา หลังจากนั้นไม่นาน ฟิลิปป์ได้รับอีเมลตอบกลับแสดงความยินดีกับคุณพ่อมือใหม่จำนวนมาก พร้อมกับคำถามชวนสงสัยว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลก
ถึงแม้จะเป็นชุดอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างหยาบๆ ในเวลาอันสั้น แต่สิ่งที่ฟิลิปป์สร้างกลับใช้ถ่ายรูปลูกสาวและส่งต่อภาพผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะได้อย่างแม่นยำ ในวันนั้นเอง สองสิ่งที่ค่าและมีความหมายที่สุดในชีวิตของฟิลิปป์ได้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ ลูกสาวคนแรก และรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรก
ฟิลิปป์ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เขาพัฒนาระบบและโปรแกรมให้ดีขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่งแน่ใจว่าถึงเวลาเปิดเผยต่อสาธารณชน ในวันที่ 7 กันยายน 2000 ฟิลิปป์อธิบายการทำงานและสาธิตขั้นตอนการรับและส่งภาพโดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ บนเวที DEMOmobile ซึ่งเป็นงานนำเสนอเทคโนโลยีการสื่อสารเกี่ยวกับโทรศัพท์ไร้สาย โดยถ่ายภาพ คริส ชิปลีย์ (Chris Shipley) หัวหน้าคณะทำงานที่คอยจัดลำดับการนำเสนอและดูแลภาพรวมของงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น
ทุกคนในงานต่างสนใจระบบของฟิลิปป์ โดยเฉพาะบริษัท ชาร์ป (Sharp) ที่นำวิธีคิดและเทคโนโลยีของฟิลิปป์ไปต่อยอดจนสำเร็จเป็นโทรศัพท์มือถือของค่าย J-Phone (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Softbank) เครื่องแรกของโลกที่ถ่ายรูปได้ โดยเรียกฟังก์ชันนี้ว่า Sha-Mail วางขายครั้งแรกกลางเดือนพฤศจิกายน ปี 2000 ในประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ในปี 2016 บรรณธิการของนิตยสาร Time ได้คัดเลือกให้ภาพของฟิลิปป์ เป็นหนึ่งใน 100 ภาพถ่ายที่ทรงอิทธิพลตลอดกาล เพราะความอยากอวดลูกของคุณพ่อมือใหม่ กลายเป็นต้นกำเนิดนวัตกรรมพลิกโฉมการสื่อสารไร้สาย และเป็นรากฐานของการคิดต่อยอดไปสู่การประดิษฐ์สมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันแบ่งปันภาพถ่ายมากมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรกของโลก
เรื่องราวของฟิลิปป์ คาห์น สอนให้เราเห็นว่า นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จากความคิดสร้างสรรค์และความอยากรู้อยากเห็น และบางครั้งสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ก็อาจจะเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่นความรักของพ่อที่มีต่อลูกสาว
ดังนั้น อย่ากลัวที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ และอย่าปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ของคุณดับสูญ เพราะคุณอาจจะสร้างสรรค์สิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกได้เช่นกัน
แล้วคุณล่ะ คุณมีภาพถ่ายใดที่คุณประทับใจมากที่สุดไหม
ที่มาของบทความ
https://becommon.co/world/first-shot-01-first-cell-phone-picture/
รูปถ่ายจากโทรศัพท์ภาพแรกของโลก ฝีมือของคุณพ่อผู้เห่อลูก สู่มือถือมีกล้องถ่ายรูปได้
ย้อนกลับไปในปี 1997 ฟิลิปป์ คาห์น ชายผู้กำลังจะได้เป็นพ่อคน กำลังเฝ้ารอคอยการมาของลูกสาวคนแรกด้วยความตื่นเต้น เมื่อถึงเวลาที่ลูกสาวตัวน้อยลืมตาดูโลก คาห์นไม่ได้เพียงแค่บันทึกช่วงเวลานี้ไว้ในความทรงจำ แต่เขายังได้บันทึกภาพประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของโลกด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นทดลองถ่ายภาพลูกสาวของเขาขณะกำลังหลับใหลอยู่ในอ้อมแขน
ใครจะเชื่อว่าภาพถ่ายแรกจากโทรศัพท์มือถือจะเกิดขึ้นในห้องคลอด
ย้อนกลับไปในวันที่ 11 มิถุนายน 1997 ทุกอย่างเริ่มต้นจากความน่าเบื่อหน่ายผสมกับความตื่นเต้นของ ฟิลิปป์ คาห์น (Philippe Kahn) ชายธรรมดาคนหนึ่งผู้กำลังจะได้เป็นพ่อคนโดยสมบูรณ์ในอีกไม่กี่อึดใจ เพราะภรรยาของเขาอยู่ระหว่างเตรียมตัวให้กำเนิดลูกสาวคนแรก
ขณะที่ฟิลิปป์และภรรยาอยู่ในห้องรอคลอดของ Sutter Maternity Clinic (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Sutter Maternity & Surgery Center) คลินิกสูตินรีเวชประจำเมืองซานตาครูซ (Santa Cruz) ทางตอนเหนืออันเงียบสงบของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยความที่ฟิลิปป์ไม่อยากปล่อยเวลาทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ เขาซึ่งเป็นทั้งนักเขียนโปรแกรมและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์จึงคิดอะไรสนุกๆ ขึ้นมาได้ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์
ไม่รู้ควรเรียกว่าอาการเห่อลูกหรือสัญชาตญาณของคนเป็นพ่อกันแน่ เพราะฟิลิปป์อยากถ่ายภาพลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของเขาทันทีหลังจากที่เธอคลอดออกมา แล้วตั้งใจส่งต่อภาพนั้นไปถึงญาติ คนใกล้ชิด และเพื่อนฝูง หวังให้ทุกคนเห็นความน่าเอ็นดูของสมาชิกครอบครัวคนใหม่ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาด้วย
แต่ฟิลิปป์จะทำได้อย่างไร?
ในตอนนั้นฟิลิปป์มีอุปกรณ์ติดตัวแค่โทรศัพท์มือถือแบบฝาพับ กล้องดิจิทัล และแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์พกพา เขาจึงเชื่อมต่อทุกอย่างด้วยสายเคเบิลเท่าที่หาได้ ถึงขนาดต้องยอมตัดสายไฟของสปีกเกอร์โฟนในรถยนต์มาใช้ทดแทนสายเคเบิลที่มีไม่พอ เมื่อต่อเข้ากันเสร็จเรียบร้อย ฟิลิปป์จึงตรวจสอบระบบซึ่งควบคุมโดยโปรแกรมที่เขาเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้
ฟิลิปป์อธิบายหลักการทำงานคร่าวๆ เป็น 4 ขั้นตอนว่า
(1) เริ่มจากใช้กล้องดิจิทัลถ่ายรูปลูกสาว
(2) แล้วโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับจะอาศัยสัญญาณโทรศัพท์ทำหน้าที่ส่งต่อภาพกลับไปยังคอมพิวเตอร์ที่บ้านพักซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป 7 ไมล์ หรือประมาณ 11 กิโลเมตร แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องความสะดวกรวดเร็วของการถ่ายโอนข้อมูล ระบบจึงลดความละเอียดของภาพลงเหลือ 320×240 พิกเซล
(3) คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะคอยรับสัญญาณภาพถ่ายแล้วสร้างช่องทางใหม่เพื่อส่งภาพต่อไปยังผู้รับปลายทางผ่านอีเมลโดยอัตโนมัติ
(4) อีเมลของทุกคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อติดต่อของฟิลิปป์จะได้รับข้อความและลิงก์สำหรับเข้าถึงภาพถ่ายนั้น
เวลากระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ บุรุษพยาบาลเข็นเตียงภรรยาของฟิลิปป์ย้ายไปในห้องคลอด เขาจึงไม่มีเวลาลองถ่ายรูปทดสอบการทำงานของระบบก่อน เพราะต้องรีบขนอุปกรณ์ทั้งหมดซึ่งเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ของคลินิกเข้าห้องคลอดตามภรรยา เขาวางอุปกรณ์ไว้บนโต๊ะตัวหนึ่งที่ตั้งติดกำแพง เพื่อไม่ให้รบกวนแพทย์และพยาบาลซึ่งกำลังทำคลอดด้วยวิธีผ่าตัด
ในที่สุด เด็กหญิงโซฟี (Sophie) หรือลูกสาวของฟิลิปป์ก็ลืมตาดูโลก ณ เวลา 14:21 น. เขาจำได้ดีว่าตัวเองอุ้มลูกด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาถือกล้องดิจิทัล แล้วกดถ่ายรูปเจ้าตัวน้อยขณะกำลังหลับปุ๋ยในอ้อมแขน จากนั้นส่งต่อภาพตามขั้นตอน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดกว่าที่ภาพถ่ายจะไปถึงผู้รับ ใช้เวลาเร็วที่สุดราว 45 นาที
รูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรกของโลกพร้อมข้อความของฟิลิปป์ถูกส่งไปยังคนอื่นๆ มากกว่า 2,000 คน มีทั้งคนรู้จักและคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกับเขา หลังจากนั้นไม่นาน ฟิลิปป์ได้รับอีเมลตอบกลับแสดงความยินดีกับคุณพ่อมือใหม่จำนวนมาก พร้อมกับคำถามชวนสงสัยว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลก
ถึงแม้จะเป็นชุดอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างหยาบๆ ในเวลาอันสั้น แต่สิ่งที่ฟิลิปป์สร้างกลับใช้ถ่ายรูปลูกสาวและส่งต่อภาพผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะได้อย่างแม่นยำ ในวันนั้นเอง สองสิ่งที่ค่าและมีความหมายที่สุดในชีวิตของฟิลิปป์ได้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ ลูกสาวคนแรก และรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรก
ฟิลิปป์ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เขาพัฒนาระบบและโปรแกรมให้ดีขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่งแน่ใจว่าถึงเวลาเปิดเผยต่อสาธารณชน ในวันที่ 7 กันยายน 2000 ฟิลิปป์อธิบายการทำงานและสาธิตขั้นตอนการรับและส่งภาพโดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ บนเวที DEMOmobile ซึ่งเป็นงานนำเสนอเทคโนโลยีการสื่อสารเกี่ยวกับโทรศัพท์ไร้สาย โดยถ่ายภาพ คริส ชิปลีย์ (Chris Shipley) หัวหน้าคณะทำงานที่คอยจัดลำดับการนำเสนอและดูแลภาพรวมของงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น
ทุกคนในงานต่างสนใจระบบของฟิลิปป์ โดยเฉพาะบริษัท ชาร์ป (Sharp) ที่นำวิธีคิดและเทคโนโลยีของฟิลิปป์ไปต่อยอดจนสำเร็จเป็นโทรศัพท์มือถือของค่าย J-Phone (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Softbank) เครื่องแรกของโลกที่ถ่ายรูปได้ โดยเรียกฟังก์ชันนี้ว่า Sha-Mail วางขายครั้งแรกกลางเดือนพฤศจิกายน ปี 2000 ในประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ในปี 2016 บรรณธิการของนิตยสาร Time ได้คัดเลือกให้ภาพของฟิลิปป์ เป็นหนึ่งใน 100 ภาพถ่ายที่ทรงอิทธิพลตลอดกาล เพราะความอยากอวดลูกของคุณพ่อมือใหม่ กลายเป็นต้นกำเนิดนวัตกรรมพลิกโฉมการสื่อสารไร้สาย และเป็นรากฐานของการคิดต่อยอดไปสู่การประดิษฐ์สมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันแบ่งปันภาพถ่ายมากมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือภาพแรกของโลก
เรื่องราวของฟิลิปป์ คาห์น สอนให้เราเห็นว่า นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จากความคิดสร้างสรรค์และความอยากรู้อยากเห็น และบางครั้งสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ก็อาจจะเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่นความรักของพ่อที่มีต่อลูกสาว
ดังนั้น อย่ากลัวที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ และอย่าปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ของคุณดับสูญ เพราะคุณอาจจะสร้างสรรค์สิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกได้เช่นกัน
แล้วคุณล่ะ คุณมีภาพถ่ายใดที่คุณประทับใจมากที่สุดไหม
ที่มาของบทความ
https://becommon.co/world/first-shot-01-first-cell-phone-picture/