วันนี้ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษเพื่อพิจารณาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้มีการเสนอชื่ออุ้งอิ้ง หรือแพทองธาร ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ใช้บทบัญญัติปกติตามมาตรา 159 โดยก่อนหน้านั้น 2562 และ 2566 ซึ่งใช้บทเฉพาะกาลมาตรา 272 ที่ให้การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นการเลือกในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา(ส.ส.และ ส.ว.) โดยในขณะนั้นผู้ที่จะได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องมีเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา(376 เสียงขึ้นไป) แต่ครั้งนี้ส.ว.250 หมดวาระไปแล้ว และชุดปัจจุบันก็ไม่มีอำนาจในการลงมติเรื่องนายกรัฐมนตรี นั่นหมายความว่าจะมีแค่ส.ส.494 คนที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีโดยจะต้องมีเสียง 248 ขึ้นไป ซึ่งผลปรากฏว่าแพทองธาร ชินวัตรได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมติดังนี้
เห็นชอบ 319 เสียง
ไม่เห็นชอบ 145 เสียง
งดออกเสียง 27 เสียง
และอีกประการหนึ่งคือระยะเวลาการเลือกนายกรัฐมนตรีตั้งแต่การเปิดประชุมจนถึงปิดประชุม ผลปรากฏว่าใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงโดยเปิดประชุมเวลา 10:00 น และปิดประชุมประมาณ 13:00 ในขณะที่ปี 2562 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเปิดประชุมเวลา 9:30 น และปิดประชุม 23.30 น ซึ่งถือว่าใช้เวลาถึง 15 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว การเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้อาจจะมีความคล้ายคลึงในการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับเลือกจาก ส.ส. ให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีการอภิปรายใดๆ ในขณะที่วันนี้มีการอภิปรายเพียง 20 นาทีก่อนลงมติ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีหลัง ส.ว.หมดอำนาจ
เห็นชอบ 319 เสียง
ไม่เห็นชอบ 145 เสียง
งดออกเสียง 27 เสียง
และอีกประการหนึ่งคือระยะเวลาการเลือกนายกรัฐมนตรีตั้งแต่การเปิดประชุมจนถึงปิดประชุม ผลปรากฏว่าใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงโดยเปิดประชุมเวลา 10:00 น และปิดประชุมประมาณ 13:00 ในขณะที่ปี 2562 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเปิดประชุมเวลา 9:30 น และปิดประชุม 23.30 น ซึ่งถือว่าใช้เวลาถึง 15 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว การเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้อาจจะมีความคล้ายคลึงในการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับเลือกจาก ส.ส. ให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีการอภิปรายใดๆ ในขณะที่วันนี้มีการอภิปรายเพียง 20 นาทีก่อนลงมติ