คุณจูน นวรัตน วิทวัสศุกล เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการการกีฬา จากการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือเรียกง่ายๆ ว่า นักโภชนาการการกีฬา
คุณจูนเป็นผู้ดูแลเรื่องโภชนาการให้กับนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย นักกีฬาทีมคาราเต้ และ "น้องเทนนิส" นักเทควันโด
การศึกษา:
ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การกีฬา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ม.มหิดล
ปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ โครงการร่วมระหว่างคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล
ทำงานกับทีมวอลเลย์บอล
เคยเห็นคุณจูนทำงานร่วมกับทีมวอลเลย์บอล จากคลิปใน facebook ของ Mahidol Channel เมื่อ 7 ปีก่อน โดยคุณจูนบรรยายรวมให้นักกีฬาฟัง และสนทนาเป็นรายบุคคลกับนักกีฬา แต่ในคลิปจะแสดงให้ดูแค่บางส่วน
คุณจูนน่าจะทำงานร่วมกับสมาคมวอลเลย์บอลมาไม่ต่ำกว่า 7-8 ปี อย่างปีที่แล้ว คุณจูนโพสต์คลิปใน facebook ของคุณจูน เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับสมาคมวอลเลย์บอล และมีไปบรรยายและแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานด้านโภชนการกับวิทยากรของ FIVB ด้วย
จากคลิปยูทูปด้านล่าง
(มาเพิ่มเติมว่าเป็นคลิปวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 นะครับ)
บรรยายรวม อย่างเช่น คาร์โบไฮเดรตโหลดดิง ก็หมายถึงว่า การเก็บสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย หลักการง่ายๆ ที่พวกหนูจะทำอย่างนี้ก็คือ เรากินให้เป็นปกติของเราใช่ไหม แล้วเวลาช่วงใกล้แข่ง ช่วงเดินทาง ช่วงอะไร เราก็เน้นในเรื่องของกินคาร์โบไฮเดรตพวกข้าว แป้ง เส้น ให้มันเยอะขึ้น
สนทนาเป็นรายบุคคลกับเพียว
คุณจูน: ช่วงเช้าในช่วงนี้ เรากินอย่างไรบ้าง
เพียว: หนูจะซื้อน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ มากินช่วงเช้าค่ะ แล้วก็กลับไป ก็จะไปกินข้าวพวกอาหารตามสั่งค่ะ ตกเย็น ก็กินเย็นอีกทีนึงเลยค่ะ
คุณจูน: ก่อนซ้อมเรามีแบบนี้ ช่วงเที่ยงที่มันหายไป แก้ปัญหาตรงจุดนี้ก็ได้ สมมติว่าเวลาเราซ้อม เราอาจจะมีอะไรที่เราสามารถพกมาทานระหว่างฝึกซ้อมได้ หมายถึงว่าที่ไม่ทำให้หนูรู้สึกว่า พอโดดแล้วจุกอะไรอย่างนี้ เช่น แครกเกอร์ น้ำผลไม้ เติมเข้ามา คืออย่างน้อย ในช่วงระหว่างฝึกซ้อม เราจะได้มีแรง
เพียว: ค่ะ
สนทนาเป็นรายบุคคลกับกิ๊ฟ แล้วตัดภาพไปเป็นคุณจูนพูดเรื่องสาขาที่เรียนมา
ตอนเช้าก็จะเป็นมื้อหลัก เป็นข้าว อาหารจานเดียวทั่วไป แล้วก็อาจจะมีน้ำหวานเพิ่มเติมบ้าง
คลิปจาก Mahidol Channel วันที่ 4 พฤษภาคม 2560
ทำงานกับทีมเทควันโด
คลิปวันที่ 27 สิงหาคม 2564 หลังจบโอลิมปิกที่โตเกียว เป็นคลิปเกี่ยวกับ "นักโภชนาการการกีฬา อาชีพนี้ทำอะไร" ภาพในคลิปเป็นการทำงานร่วมกับทีมวอลเลย์บอล แต่บนสนทนาหลักจะเป็นการยกตัวอย่างการดูแลโภชนาการของน้องเทนนิส คุณจูนบอกว่าดูแลอาหารให้น้องเทนนิสทั้ง 7 มื้อต่อวัน (นักเทควันโดแต่ละคนกินไม่เหมือนกัน คู่ซ้อมก็กินไม่เหมือนน้องเทนนิส) ช่วงที่แข่งโอลิมปิก คุณจูนไม่ได้ไปด้วย จึงต้องให้นักกีฬาซ้อมการกินอาหารที่เมืองไทย และนำไปใช้ที่ญี่ปุ่นตอนแข่งโอลิมปิก ผมเข้าใจว่าต้องคุมขนาดนี้เพื่อไม่ให้น้ำหนักเกิน ถ้าน้ำหนักเกินคือจบเลย ที่ซ้อมมาทั้งหมดคือสูญเปล่า
ถาม-ตอบ ตัดมาบางส่วนจากคลิปด้านล่างสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกดูคลิป อาจจะยาวหน่อยนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถาม: อาชีพของพี่จูนต้องทำอะไรบ้าง
ตอบ: เป็นอาชีพที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาด้วยการเลือกอาหารการกินให้ถูกต้อง และก็เป็นการปรับพฤติกรรมเดิม สิ่งที่เขามีมาอยู่แต่ต้นในเรื่องของอาหาร อาจจะยังทานไม่ถูก เราก็ไปใส่พฤติกรรมใหม่เข้าไป อันนี้จะเป็นในเรื่องของโภชนาการการกีฬาภาพรวม แล้วก็ในแต่ละรายบุคคลว่าเขาควรจะต้องมีการปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร หรือว่าเติมสารอาหารอะไรให้เขามีความพร้อม ให้เพียงพอในการไปแข่งขันมากที่สุด
ถาม: แล้วอย่างนี้มันต่างกับโภชนาการที่ต้องกินในโรงพยาบาลอย่างไร
ตอบ: ความยากของเราคือการที่เราจะทำอย่างไรให้นักกีฬากินอย่างไรให้มีคุณภาพ และส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาในเรื่องของกีฬา คือบางครั้งเป็นนักกีฬาบริโภคได้ทุกอย่างก็จริง แต่ไม่ใช่ว่าเป็นอะไรที่ Overdose หรือมากเกินไป
ถาม: แปลว่าก็ต้องจำแนกแต่ละกีฬาไป วอลเลย์บอลก็ต้องกินอย่างหนึ่ง น้องเทนนิสที่เป็นนักเทควันโดก็ต้องกินอย่างหนึ่ง ฟุตบอลก็ต้องกินอย่างหนึ่ง
ตอบ: ส่วนใหญ่ต้องเป็นอย่างนั้น คือเราต้องเข้าไปดูรายละเอียดว่าการฝึกซ้อมเป็นอย่างไร เขาใช้พลังงานในแต่ละวันอย่างไร คือต้องเข้าไปดู แล้วก็เป้าหมาย Target ของนักกีฬาคนนั้น หรือว่าเป้าหมายของทางทีม คือต้องการให้เราดูแลในรูปแบบไหน พอเราไปเจาะ เราจะทราบปัญหาต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมา อาจจะเห็นปัญหาบางปัญหาที่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาแสดงขึ้นมาก็ได้ เช่น เขาบอกให้เราควบคุมน้ำหนัก แต่อุ๊ย พอเราไปคุยเรื่องโภชนาการ เรื่องอาหาร กลายเป็นว่าเราเจออีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งโภชนาการก็สามารถเข้าไปช่วยได้ คือเราต้องไปดูหน้างานอีกทีหนึ่ง
ถาม: เป็นนักโภชนาการอาหาร ต้องเป็นคนเลือกอาหารให้กินใช่ไหม แล้วต้องมาวิเคราะห์เลยว่า เช้า กลางวัน เย็น กินอะไร ผักแค่ไหน เนื้อแค่ไหน อะไรบ้าง
ตอบ: สมมติว่าในกรณีของถ้าอย่าง
ถาม: สมมตืว่าน้องเทนนิส
ตอบ: น้องเทนนิส พี่จูนจะดูแลในเรื่องของอาหาร คือภาพรวมทั้งหมด เป็นการปูขั้นตอนในเรื่องของโภชนาการใหม่เลย
ถาม: อะไรที่เข้าปากน้องเทนนิส พี่จูนเป็นคนจัดการหมดเลย ถูกมั้ยฮะ
ตอบ: ใช่ แต่ไม่ได้ผัดกับข้าวให้กินนะ ฮ่าๆ เหลือแต่ผัดกับข้าว ทุกอย่างก็จะครบ เพราะฉะนั้นแล้ว โภชนาการการกีฬาจะแตกต่างจากบุคคลทั่วไปเพราะว่า สมมติพี่จูนเป็นสาวออฟฟิศ พี่จูนกิน 3 มื้อ พี่จูนอาจจะพอ เช้า กลางวัน เย็น แต่นักกีฬาไม่ใช่ นักกีฬาจะต้องวางแผนไปที่ 7 มื้อ
ถาม: ห๊ะ (ฮะ)
ตอบ: ใช่ 7 มื้อเลย แน่นอนก่อนซ้อม สิ่งที่ควรจะต้องบริโภค คือเรื่องของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ถาม: อันนี้คือตอนเช้าใช่ไหม
ตอบ: ใช่ ก่อนซ้อมเช้าเลย ตื่นขึ้นมาปุ๊บ เขาจะต้องมีหน้าที่ในการที่จะต้องเติมพลังงานในการกิน อาจจะเป็นขนมปัง ขนมปังทาแยม เป็นขนมปังอะไรต่างๆ เติมเข้ามาเป็นคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก จะเป็นสารอาหารหลักของนักกีฬา บางทีระหว่างซ้อม อาจจะมีพวกเกลือแร่ มีอะไรเสริมเติมเข้ามา แต่ถ้าหลังซ้อม เส้นเลือดมีการขยายตัว การซับสารอาหารต่างๆ จะเป็นไปได้อย่างเต็มที่ เหมือนเรา Weight Training ทำไมเขาต้องกลับมากินโปรตีนเสริมหลังเวทอะไรอย่างเนี่ย เพราะว่าช่วงนั้นเส้นเลือดขยายตัว มันจะซับสารอาหารได้เร็ว เพราะฉะนั้นพอหลังเวทปุ๊บ อาจจะต้องมีโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมเติมเข้าไป แล้วหลังจากนั้นก็รันเป็นช่วงมื้ออาหารต่างๆ จนกระทั่งมาถึงเย็น ก็ต้องทำในลักษณะรูปแบบเดียวกัน อันนี้จะเป็นภาพรวมที่เขาจะต้องทำในเรื่องของการเติมสารอาหารให้พอ อันนี้คือน้องกิน 7 มื้อ แต่น้ำหนักน้องก็ลง ลงไปในแง่มุมที่ว่าเราจะเข้าไปดู อะไรก็ตามที่เป็นส่วนเกินทางโภชนาการ ดึงแคลอรี่จัดการของมันลง ดึงน้ำตาลลง แล้วก็ติดตามผลเป็นระยะ ตลอดช่วง 5-6 เดือน ต้องขอบคุณสมาคมเทควันโดด้วยที่สนับสนุนตรงนี้ คือในการโภชนาการ เราขอไปในเรื่องของอาหารเฉพาะ จะไม่จะไม่ตีไปรวมกับนักกีฬาท่านอื่นๆ เพราะว่าจริงๆ จะมีคู่ซ้อม มีอะไรที่เข้ามารวมกันด้วย ตรงนี้ก็แยกไปเลย ของน้องเทนนิส ของน้องจูเนียร์ ที่มีการควบคุมน้ำหนัก มันเลยทำให้เป็นเมนูซึ่งควบคุมไขมันได้ ควบคุมปริมาณความมันของเนื้อสัตว์ต่างๆ คือขอได้
ถาม: แต่ได้ยินว่าล่าสุดด้วยสถานการณ์โควิด พี่จูนเลยไม่ได้ไปโอลิมปิกด้วย ก่อนหน้านั้น ก่อนที่นักกีฬาของประเทศไทยจะไปที่โอลิมปิก พี่จูนได้มีการวางแผนเรื่องอาหาร เรื่องโภชนาการให้กับพวกเขาอย่างไรบ้างครับ
ตอบ: เราจะให้เขาฝึกซ้อมกินว่าวันแข่งเขาจะต้องกินอย่างไร ให้ซ้อมกินเลยว่าในวันแข่งกินประมาณนี้ หนูจะกินแบบนี้นะ ให้วางแผนไป แล้วก็มีซ้อมกิน ทีนี้ในช่วงวันที่ไปโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น เรายังติดตามต่อเนื่อง แล้วก็ให้วางแผนในเรื่องของการดูแลโภชนาการในช่วงการชั่งน้ำหนัก
ถาม: แล้วตอนไปกินอย่างไร
ตอบ: ถ้าไปนู่น จะกินอาหารโรงอาหาร แล้วก็ทางน้องเทนนิส มีการเตรียมอาหารไป แล้วเราก็ช่วยดูว่าโมเมนต์อันไหน หรือว่าเป็นอะไรที่อาจจะต้องเสริมเข้าไปเพื่อจะได้แพคเกจไปที่ญี่ปุ่นด้วย
ถาม: อ๋อ ต้องเตรียมไปเองอีก
ตอบ: ใช่ๆ ต้องเตรียมให้พร้อม เตรียมให้ครบ เพราะว่ามันจะลงไปหรืออะไร มันยากลำบาก เพราะฉะนั้นเบื้องหลัง คือทำงานแบบไม่เฉพาะฝ่ายจูน หลายๆ ฝ่ายก็ทำงานค่อนข้างหนัก
ถาม: นี่เลยจะถามว่านอกจากนักกีฬาและโค้ช ต้องทำงานกับใครอีกบ้าง
ตอบ: ทำงานอีกหลากหลายคนเลย ทั้งในทีมแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ทั้งแพทย์ ทั้งกายภาพบำบัด แล้วก็สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาการกีฬา น้องๆ ที่เป็นทีมวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เข้ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทีมนวด ทีมที่ช่วยกัน Contact ในเรื่องของการส่งรับไม้ต่อในเรื่องของเมนูอาหาร พี่จูนจะมีน้องๆ ที่ช่วยประสานงานตรงนี้ด้วย ก็จะต้องทำงานกับหลากหลายฝ่าย
คลิปจาก We Mahidol วันที่ 27 สิงหาคม 2564
นักโภชนาการการกีฬาของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย และ "น้องเทนนิส"
คุณจูนเป็นผู้ดูแลเรื่องโภชนาการให้กับนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย นักกีฬาทีมคาราเต้ และ "น้องเทนนิส" นักเทควันโด
การศึกษา:
ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การกีฬา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ม.มหิดล
ปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ โครงการร่วมระหว่างคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล
ทำงานกับทีมวอลเลย์บอล
เคยเห็นคุณจูนทำงานร่วมกับทีมวอลเลย์บอล จากคลิปใน facebook ของ Mahidol Channel เมื่อ 7 ปีก่อน โดยคุณจูนบรรยายรวมให้นักกีฬาฟัง และสนทนาเป็นรายบุคคลกับนักกีฬา แต่ในคลิปจะแสดงให้ดูแค่บางส่วน
คุณจูนน่าจะทำงานร่วมกับสมาคมวอลเลย์บอลมาไม่ต่ำกว่า 7-8 ปี อย่างปีที่แล้ว คุณจูนโพสต์คลิปใน facebook ของคุณจูน เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับสมาคมวอลเลย์บอล และมีไปบรรยายและแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานด้านโภชนการกับวิทยากรของ FIVB ด้วย
จากคลิปยูทูปด้านล่าง
(มาเพิ่มเติมว่าเป็นคลิปวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 นะครับ)
บรรยายรวม อย่างเช่น คาร์โบไฮเดรตโหลดดิง ก็หมายถึงว่า การเก็บสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย หลักการง่ายๆ ที่พวกหนูจะทำอย่างนี้ก็คือ เรากินให้เป็นปกติของเราใช่ไหม แล้วเวลาช่วงใกล้แข่ง ช่วงเดินทาง ช่วงอะไร เราก็เน้นในเรื่องของกินคาร์โบไฮเดรตพวกข้าว แป้ง เส้น ให้มันเยอะขึ้น
สนทนาเป็นรายบุคคลกับเพียว
คุณจูน: ช่วงเช้าในช่วงนี้ เรากินอย่างไรบ้าง
เพียว: หนูจะซื้อน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ มากินช่วงเช้าค่ะ แล้วก็กลับไป ก็จะไปกินข้าวพวกอาหารตามสั่งค่ะ ตกเย็น ก็กินเย็นอีกทีนึงเลยค่ะ
คุณจูน: ก่อนซ้อมเรามีแบบนี้ ช่วงเที่ยงที่มันหายไป แก้ปัญหาตรงจุดนี้ก็ได้ สมมติว่าเวลาเราซ้อม เราอาจจะมีอะไรที่เราสามารถพกมาทานระหว่างฝึกซ้อมได้ หมายถึงว่าที่ไม่ทำให้หนูรู้สึกว่า พอโดดแล้วจุกอะไรอย่างนี้ เช่น แครกเกอร์ น้ำผลไม้ เติมเข้ามา คืออย่างน้อย ในช่วงระหว่างฝึกซ้อม เราจะได้มีแรง
เพียว: ค่ะ
สนทนาเป็นรายบุคคลกับกิ๊ฟ แล้วตัดภาพไปเป็นคุณจูนพูดเรื่องสาขาที่เรียนมา
ตอนเช้าก็จะเป็นมื้อหลัก เป็นข้าว อาหารจานเดียวทั่วไป แล้วก็อาจจะมีน้ำหวานเพิ่มเติมบ้าง
คลิปจาก Mahidol Channel วันที่ 4 พฤษภาคม 2560
ทำงานกับทีมเทควันโด
คลิปวันที่ 27 สิงหาคม 2564 หลังจบโอลิมปิกที่โตเกียว เป็นคลิปเกี่ยวกับ "นักโภชนาการการกีฬา อาชีพนี้ทำอะไร" ภาพในคลิปเป็นการทำงานร่วมกับทีมวอลเลย์บอล แต่บนสนทนาหลักจะเป็นการยกตัวอย่างการดูแลโภชนาการของน้องเทนนิส คุณจูนบอกว่าดูแลอาหารให้น้องเทนนิสทั้ง 7 มื้อต่อวัน (นักเทควันโดแต่ละคนกินไม่เหมือนกัน คู่ซ้อมก็กินไม่เหมือนน้องเทนนิส) ช่วงที่แข่งโอลิมปิก คุณจูนไม่ได้ไปด้วย จึงต้องให้นักกีฬาซ้อมการกินอาหารที่เมืองไทย และนำไปใช้ที่ญี่ปุ่นตอนแข่งโอลิมปิก ผมเข้าใจว่าต้องคุมขนาดนี้เพื่อไม่ให้น้ำหนักเกิน ถ้าน้ำหนักเกินคือจบเลย ที่ซ้อมมาทั้งหมดคือสูญเปล่า
ถาม-ตอบ ตัดมาบางส่วนจากคลิปด้านล่างสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกดูคลิป อาจจะยาวหน่อยนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คลิปจาก We Mahidol วันที่ 27 สิงหาคม 2564