สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
5.5/10
ความรู้สึกเหมือนนั่งอ่านหนังสืออยู่ดีๆมีคนเดินมาร้องเต้นให้ฟังโดยมี่เราพยายามจะเข้าใจความหมายของตัวเพลงแต่พยายามยังไงก็ไม่เข้าใจ ดูรวบรัดและวุ่นวายไปหมดโดยเฉพาะจังหวะเพลงแรกเอามาขึ้นก่อนได้ไงเพลงขึ้นมาเราสะดุ้งเลยแรกๆนึกว่าจะเอาไปใส่จังหวะฮุกแต่นี้เอามาเปิดต้นเฉย ท่อนจดจำไม่มีเลยจริงๆเข้าไม่ถึงเพลงนี้ ส่วนตัวชอบที่ไปร้องกับดีเจงูมากกว่าเรายังกลับไปฟังเรื่อยๆเลย อันนี้มันแนวออกโครตเฉพาะกลุ่มเกินไปหนักกว่าRockStarอีก
ความรู้สึกเหมือนนั่งอ่านหนังสืออยู่ดีๆมีคนเดินมาร้องเต้นให้ฟังโดยมี่เราพยายามจะเข้าใจความหมายของตัวเพลงแต่พยายามยังไงก็ไม่เข้าใจ ดูรวบรัดและวุ่นวายไปหมดโดยเฉพาะจังหวะเพลงแรกเอามาขึ้นก่อนได้ไงเพลงขึ้นมาเราสะดุ้งเลยแรกๆนึกว่าจะเอาไปใส่จังหวะฮุกแต่นี้เอามาเปิดต้นเฉย ท่อนจดจำไม่มีเลยจริงๆเข้าไม่ถึงเพลงนี้ ส่วนตัวชอบที่ไปร้องกับดีเจงูมากกว่าเรายังกลับไปฟังเรื่อยๆเลย อันนี้มันแนวออกโครตเฉพาะกลุ่มเกินไปหนักกว่าRockStarอีก
ความคิดเห็นที่ 129
“ให้เพลย์เซฟอะเหรอ? ไม่อะค่ะ” LISA เคยให้สัมภาษณ์กับ ELLE USA เอาไว้อย่างนี้ และผลงานใหม่ล่าสุดของเธออย่าง NEW WOMAN ก็ช่วยย้ำให้เห็นชัดเจนว่าเส้นทางการเป็นศิลปินเดี่ยวของเธอนับจากนี้ จะไม่ติดอยู่ในกรอบเดิมๆ อีกต่อไป “พูดตามตรงนะ ฉันไม่ใช่คนประเภทที่แสดงความรู้สึกได้เก่งนักหรอกค่ะ แต่ช่วงนี้ฉันรู้สึกมั่นใจในสิ่งที่คิดมากขึ้น และพูดออกมาดังๆ ได้แล้วละ” ดังนั้น ขณะที่ ROCKSTAR บอกเล่าถึงความป๊อปและความเป็นคนไทยของเธอ NEW WOMAN ก็ขยับมาพูดถึงความเป็นหญิงในตัวเอง ที่ทั้งงดงาม แข็งแกร่ง และยังเต็มไปด้วยแรงซัพพอร์ตระหว่างผู้หญิงด้วยกัน
ในบทเพลง NEW WOMAN ลิซ่าได้ชวน โรซาเลีย (Rosalía) ศิลปินสาวชาวสเปนผู้การันตีความสามารถด้วยรางวัลแกรมมี่หลายรางวัล มาฟีเจอริ่ง โดยลิซ่าเองมีส่วนในการเขียนเนื้อเพลงด้วย ทางด้านเอ็มวี เธอได้ผู้กำกับ Dave Meyers ที่เคยกำกับเอ็มวีให้กับศิลปินหญิงแถวหน้ามาแล้วหลากหลายคน เช่น Taylor Swift, Sabrina Carpenter, Billie Eilish, Ariana Grande ฯลฯ มากำกับ และการที่ลิซ่าอยู่ในฐานะเจ้าของค่าย LLOUD ซึ่งเธอกุมบังเหียนทุกรายละเอียดงานของตัวเองนับต่อจากนี้ เราจึงพูดได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ลิซ่าอยากสื่อสารออกมาผ่านงานชิ้นนี้ ก็คือการเชียร์ให้ผู้หญิงลุกขึ้นมาเดินตามทางของตัวเอง อย่าให้ใครมาบีบบังคับให้เราต้องเป็นอะไรแบบเดิมๆ ที่เราไม่อยากเป็น…เอาละ เริ่มเลย สาวๆ! สู้!
จุดเด่นของเอ็มวี คือการเล่าสถานการณ์ในช่วงแรกเหมือนเป็นการ ‘วนลูป’ เป็นแพตเทิร์นซ้ำไปมา ซึ่งเราคิดว่าเธออาจจะสื่อถึงการผลิตซ้ำค่านิยมความเป็นหญิงที่ผู้หญิงถูกคาดหวังในสังคม ตั้งแต่การปล่อยแอปเปิ้ลสีแดงออกจากหว่างขาผู้หญิงซ้ำไปซ้ำมา ที่ดูแล้วชวนให้นึกถึงการมีประจำเดือนหรือการเป็นเครื่องจักรผลิตลูกมาตลอด หรือภาพการโกนขนขา ที่ต้องโกนมันเข้าไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะผู้หญิงหลายคนก็ยังถูกคาดหวังให้เนื้อตัวเกลี้ยงเกลา การถูกผู้คนจับแต่งหน้า และท่าทางการแสดงออกที่ต้องอยู่ใน ‘สายตาผู้ชาย’ ตามที่เอ็มวีออกแบบให้มีผู้ชายแง้มหน้าต่างแอบมองเธออยู่ จนถึงการที่ลิซ่าเอาตัวเองทาบลงไปบนเครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อแสดงว่า ผู้หญิงถูกผลิตซ้ำเพื่อให้เป็นแบบเดิมๆ มาตลอด และก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะไม่เป็นแบบเดิม
แนวคิดการเชียร์ให้ผู้หญิงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยิ่งมีคนออกมาพูดมากเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะแม้จะมีผู้หญิงหลายคนออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในมุมหนึ่งของสังคม ยังมีบางคนที่ตัดสินชีวิตของผู้หญิงและคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นไปในตามขนบอยู่ การที่ลิซ่าทำเพลงนี้ขึ้นมา จึงเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ย้ำให้ฟังกันอีกรอบว่า แม้ผู้หญิงจะถูกคาดหวัง แต่เราเลิกทำตามความคาดหวังของคนอื่นได้ อย่าไปยอมแพ้ อย่างที่เธอบอกเอาไว้ตั้งแต่ท่อนแรกๆ ว่า เธอเองก็อยากทำลายกำแพงนี้และได้ทำมันแล้ว
“Bangin' it, bangin' it, wanna crack these walls. Bangin' it, bangin' it, wanna echo through the halls. Pullin' up, fresh face, brand new día” เธอร้องล้อไปกับภาพในเอ็มวีที่เธออยู่ท่ามกลางกระจกที่กำลังจะแตกออก เพราะเธอกำลังทุบมันทิ้งซะ! ในเอ็มวียังเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้ เหมือนที่หลายคนชอบเปรียบเปรยผู้หญิงว่าเป็นดอกไม้งาม ซึ่งลิซ่าก็พยายามบอกว่า จากที่เราอาจเคยเป็นดอกไม้สีม่วง เรามาเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีทองที่เปล่งประกายได้ โดยการเปลี่ยนผ่านนี้ มีความหมายถึงการข้ามผ่านความเจ็บปวดตามท่อน “Pain has come and gone again”
อีกส่วนที่โดดเด่นมากในเอ็มวีนี้ก็คือ ‘พลังหญิง’ เราได้เห็นผู้หญิงหลากหลายคาแรกเตอร์นั่งอยู่ด้วยกันในห้อง พวกเธออาจจะกดมือถือกันคนละเครื่อง แต่ท้ายที่สุดเราจะได้เห็นความหมายว่าพวกเธออาจกำลังพูดเรื่องเดียวกัน และกำลังมีส่วนส่งพลังให้แก่กัน นั่นหมายถึงบทบาทของผู้หญิงคนอื่นในสังคม ก็สามารถมีส่วนช่วยโอบกอดเราให้เราได้เป็นตัวเองได้ด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น เอ็มวียังพาไปถึงจุดที่ผู้หญิงนั่งชิลด้วยกันแบบเท่ๆ ขณะที่ผู้ชายกำลังตีกันนัวอยู่ที่พื้น ปล่อยให้รถเสียควันขึ้นอยู่อย่างนั้น ซึ่งในแง่หนึ่งก็อาจสื่อถึงการพยายามต่อสู้ขึ้นเป็นจ่าฝูงของผู้ชาย (not all) ขณะที่ในคราวนี้ผู้หญิงเป็นฝ่ายนั่งมองและอยู่เคียงข้างกันมากกว่าจะอยู่ในฐานะศัตรูของกันและกันอย่างที่สังคมคาดหวังจะได้เห็น
ลิซ่าขมวดจบด้วยการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านไปเป็นผู้หญิงคนใหม่ ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้และผ่านความเจ็บปวด จนกว่าจะเบ่งบานตามที่เราปรารถนา เธอปิดจบอย่างสวยงามด้วยท่อนที่ว่า “Tryna say you suffer. Oh, don't blame your mother. Elevate, I liberate a new frontier. I'm a new woman” หรือ “ถ้าจะบอกว่าคุณกำลังทุกข์ทรมาน คุณไม่จำเป็นต้องมัวแต่โทษแม่ของตัวเอง เรายกระดับกันขึ้นมาเถอะ ฉันปลดปล่อยตัวเองไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ แล้ว ฉันคือผู้หญิงคนใหม่”
และนั่นก็เป็นอย่างที่เธอบอก “ฉันคิดว่าสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากที่ผ่านมาก็คือตัวฉันเองนี่แหละค่ะ ฉันที่ต้องพูดสิ่งที่ชอบ และสิ่งที่ไม่ชอบ ฉันคิดว่ามันสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าฉันพูดว่า ‘อ่า ไม่เป็นไรค่ะ’ คนก็จะไม่รู้ว่าฉันโอเคกับมันจริงๆ ใช่ไหม? ดังนั้นฉันจึงต้องพูดว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’ ออกมาเลย ไม่ใช่ครึ่งๆ กลางๆ” ลิซ่า กล่าวกับ ELLE USA
https://mirrorthailand.com/culture/music/101733
ในบทเพลง NEW WOMAN ลิซ่าได้ชวน โรซาเลีย (Rosalía) ศิลปินสาวชาวสเปนผู้การันตีความสามารถด้วยรางวัลแกรมมี่หลายรางวัล มาฟีเจอริ่ง โดยลิซ่าเองมีส่วนในการเขียนเนื้อเพลงด้วย ทางด้านเอ็มวี เธอได้ผู้กำกับ Dave Meyers ที่เคยกำกับเอ็มวีให้กับศิลปินหญิงแถวหน้ามาแล้วหลากหลายคน เช่น Taylor Swift, Sabrina Carpenter, Billie Eilish, Ariana Grande ฯลฯ มากำกับ และการที่ลิซ่าอยู่ในฐานะเจ้าของค่าย LLOUD ซึ่งเธอกุมบังเหียนทุกรายละเอียดงานของตัวเองนับต่อจากนี้ เราจึงพูดได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ลิซ่าอยากสื่อสารออกมาผ่านงานชิ้นนี้ ก็คือการเชียร์ให้ผู้หญิงลุกขึ้นมาเดินตามทางของตัวเอง อย่าให้ใครมาบีบบังคับให้เราต้องเป็นอะไรแบบเดิมๆ ที่เราไม่อยากเป็น…เอาละ เริ่มเลย สาวๆ! สู้!
จุดเด่นของเอ็มวี คือการเล่าสถานการณ์ในช่วงแรกเหมือนเป็นการ ‘วนลูป’ เป็นแพตเทิร์นซ้ำไปมา ซึ่งเราคิดว่าเธออาจจะสื่อถึงการผลิตซ้ำค่านิยมความเป็นหญิงที่ผู้หญิงถูกคาดหวังในสังคม ตั้งแต่การปล่อยแอปเปิ้ลสีแดงออกจากหว่างขาผู้หญิงซ้ำไปซ้ำมา ที่ดูแล้วชวนให้นึกถึงการมีประจำเดือนหรือการเป็นเครื่องจักรผลิตลูกมาตลอด หรือภาพการโกนขนขา ที่ต้องโกนมันเข้าไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะผู้หญิงหลายคนก็ยังถูกคาดหวังให้เนื้อตัวเกลี้ยงเกลา การถูกผู้คนจับแต่งหน้า และท่าทางการแสดงออกที่ต้องอยู่ใน ‘สายตาผู้ชาย’ ตามที่เอ็มวีออกแบบให้มีผู้ชายแง้มหน้าต่างแอบมองเธออยู่ จนถึงการที่ลิซ่าเอาตัวเองทาบลงไปบนเครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อแสดงว่า ผู้หญิงถูกผลิตซ้ำเพื่อให้เป็นแบบเดิมๆ มาตลอด และก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะไม่เป็นแบบเดิม
แนวคิดการเชียร์ให้ผู้หญิงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยิ่งมีคนออกมาพูดมากเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะแม้จะมีผู้หญิงหลายคนออกมาพูดเรื่องนี้กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในมุมหนึ่งของสังคม ยังมีบางคนที่ตัดสินชีวิตของผู้หญิงและคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นไปในตามขนบอยู่ การที่ลิซ่าทำเพลงนี้ขึ้นมา จึงเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ย้ำให้ฟังกันอีกรอบว่า แม้ผู้หญิงจะถูกคาดหวัง แต่เราเลิกทำตามความคาดหวังของคนอื่นได้ อย่าไปยอมแพ้ อย่างที่เธอบอกเอาไว้ตั้งแต่ท่อนแรกๆ ว่า เธอเองก็อยากทำลายกำแพงนี้และได้ทำมันแล้ว
“Bangin' it, bangin' it, wanna crack these walls. Bangin' it, bangin' it, wanna echo through the halls. Pullin' up, fresh face, brand new día” เธอร้องล้อไปกับภาพในเอ็มวีที่เธออยู่ท่ามกลางกระจกที่กำลังจะแตกออก เพราะเธอกำลังทุบมันทิ้งซะ! ในเอ็มวียังเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้ เหมือนที่หลายคนชอบเปรียบเปรยผู้หญิงว่าเป็นดอกไม้งาม ซึ่งลิซ่าก็พยายามบอกว่า จากที่เราอาจเคยเป็นดอกไม้สีม่วง เรามาเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีทองที่เปล่งประกายได้ โดยการเปลี่ยนผ่านนี้ มีความหมายถึงการข้ามผ่านความเจ็บปวดตามท่อน “Pain has come and gone again”
อีกส่วนที่โดดเด่นมากในเอ็มวีนี้ก็คือ ‘พลังหญิง’ เราได้เห็นผู้หญิงหลากหลายคาแรกเตอร์นั่งอยู่ด้วยกันในห้อง พวกเธออาจจะกดมือถือกันคนละเครื่อง แต่ท้ายที่สุดเราจะได้เห็นความหมายว่าพวกเธออาจกำลังพูดเรื่องเดียวกัน และกำลังมีส่วนส่งพลังให้แก่กัน นั่นหมายถึงบทบาทของผู้หญิงคนอื่นในสังคม ก็สามารถมีส่วนช่วยโอบกอดเราให้เราได้เป็นตัวเองได้ด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น เอ็มวียังพาไปถึงจุดที่ผู้หญิงนั่งชิลด้วยกันแบบเท่ๆ ขณะที่ผู้ชายกำลังตีกันนัวอยู่ที่พื้น ปล่อยให้รถเสียควันขึ้นอยู่อย่างนั้น ซึ่งในแง่หนึ่งก็อาจสื่อถึงการพยายามต่อสู้ขึ้นเป็นจ่าฝูงของผู้ชาย (not all) ขณะที่ในคราวนี้ผู้หญิงเป็นฝ่ายนั่งมองและอยู่เคียงข้างกันมากกว่าจะอยู่ในฐานะศัตรูของกันและกันอย่างที่สังคมคาดหวังจะได้เห็น
ลิซ่าขมวดจบด้วยการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านไปเป็นผู้หญิงคนใหม่ ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้และผ่านความเจ็บปวด จนกว่าจะเบ่งบานตามที่เราปรารถนา เธอปิดจบอย่างสวยงามด้วยท่อนที่ว่า “Tryna say you suffer. Oh, don't blame your mother. Elevate, I liberate a new frontier. I'm a new woman” หรือ “ถ้าจะบอกว่าคุณกำลังทุกข์ทรมาน คุณไม่จำเป็นต้องมัวแต่โทษแม่ของตัวเอง เรายกระดับกันขึ้นมาเถอะ ฉันปลดปล่อยตัวเองไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ แล้ว ฉันคือผู้หญิงคนใหม่”
และนั่นก็เป็นอย่างที่เธอบอก “ฉันคิดว่าสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากที่ผ่านมาก็คือตัวฉันเองนี่แหละค่ะ ฉันที่ต้องพูดสิ่งที่ชอบ และสิ่งที่ไม่ชอบ ฉันคิดว่ามันสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าฉันพูดว่า ‘อ่า ไม่เป็นไรค่ะ’ คนก็จะไม่รู้ว่าฉันโอเคกับมันจริงๆ ใช่ไหม? ดังนั้นฉันจึงต้องพูดว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’ ออกมาเลย ไม่ใช่ครึ่งๆ กลางๆ” ลิซ่า กล่าวกับ ELLE USA
https://mirrorthailand.com/culture/music/101733
แสดงความคิดเห็น
NEW WOMAN เพลงใหม่จาก LISA ft. Rosalía ชอบกันมั้ยคะ ให้กี่คะแนน ?????
MV เป็นยังไงบ้าง ให้กี่คะแนนดีคะ ?????