อันนี้ ถ้าจริง สินค้าจะมีคุณภาพหรือ
“ทำไมผมถึงว่าโปรแกรม Affiliate น่ากลัว ทำเงินกันได้ง่าย ๆ เช่นตัวผมมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย แล้วนำ link Temu มา review ให้ แล้วเพื่อนผมมากดซื้อ
ทางผมก็จะได้เปอร์เซ็นต์ในการขายถึง 30% ตรงนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่แชร์ลิงก์ แล้วคนมาซื้อ ผมก็ได้เงิน ยิ่งถ้าทำยอดได้ต่อเนื่อง เขามี Cash Back ให้ผมถึง 40,000 บาทมาเป็นโบนัส”
ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือ ดร.ไอซ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรDNAbySPU ชี้ความน่ากลัวของ‘Temu’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มe-commerce ของจีน จะเก็บData แบบเรียลไทม์ จะรู้ดีมานด์ประเทศไทย เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการลูกค้า ยิ่งเปิดตัวโปรแกรม‘Affiliate’ จึงไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์ธรรมดา แต่เป็นการยกทั้งEcosystem E-commerce ซึ่งจะขยายฐานลูกค้าได้รวดเร็วในยุคที่Influencer Marketing มาแรงในไทย เท่ากับเป็นการระดมพลังมหาศาลในการทำการตลาด ระบุ แค่แชร์ลิงก์ก็มีรายได้ แจง 8 ปัจจัยหนุน‘Temu’ ได้เปรียบในตลาดไทย แนะธุรกิจSMEs เร่งพัฒนาคุณภาพ สร้างแบรด์ไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้ได้ ยืนยันเหรียญมี 2 ด้าน แม้สินค้า‘Temu’ จะถูก ส่งเร็ว แต่การผลิตที่รวดเร็วจะกลายเป็นจุดอ่อนนำไปสู่การควบคุมคุณภาพที่ยากขึ้นก็เป็นได้!
‘ทุนจีนสีเทา’ ที่รุกเข้ามาประกอบกิจการในไทยซึ่ง เพจ “ลุยจีน” ได้ออกมาเปิดเผยถึง 10 ธุรกิจดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการในไทยได้รับผลกระทบ ยิ่งสาหัสไปกว่านั้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้มีการเปิดตัวของ แพลตฟอร์ม e-commerce โดยมีผู้เล่นใหม่ ‘Temu’ ซึ่งเป็นลูกของPinduoduo อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ได้เข้ามาสร้างความฮือฮาในประเทศไทยพร้อมสร้างความตื่นตระหนกว่า Temu จะทำให้ธุรกิจSMEs ไทยตายสนิท
ที่สำคัญ ‘Temu’ ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งธรรมดา ตรงนี้คือความน่ากลัวใช่หรือไม่? และ ‘Temu’ มีความได้เปรียบตลาดไทยอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาล และผู้ประกอบการ ต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือ ดร.ไอซ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNAbySPU คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ระบุว่า Temu เป็นแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ด้วยการนำเสนอโมเดลธุรกิจแบบ Consumer-to-Manufacturer หรือ C2M ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคโดยตรง
ทั้งนี้อยากให้ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้ผลิตกระเป๋า แทนที่จะต้องเดาว่าลูกค้าต้องการกระเป๋าแบบไหน Temu จะบอกคุณแบบเรียลไทม์ได้ทันทีว่าตอนนี้ลูกค้ากำลังค้นหากระเป๋าทรงไหน สีอะไร วัสดุแบบไหนมากที่สุด คุณจะสามารถปรับแผนการผลิตได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผลิตของที่ไม่มีคนอยากได้
“คนที่เข้ามาในแพลตฟอร์ม Temu เขาจะมี Data ทั้งคนที่คลิกดู คนที่คลิกซื้อ คนที่มาคลิกสินค้าเพื่อมาเอาลงตะกร้า เขาจะเห็น Demand ประเทศไทย ตรงนี้ผมว่าน่ากลัว เพราะเขาสามารถนำยอดความสนใจของคนที่อยากได้สินค้านี้ จำนวนเท่านี้ ไปดีลกับโรงงานในจีน เพื่อกดราคาทำให้ถูกแต่ตัวคุณภาพใกล้เคียงกับสินค้าไทย ต่อเนื่องไปในอนาคตได้ด้วย”
ดร.ไอซ์ บอกว่าสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น ก็คือ ล่าสุด Temu ได้เปิดตัวโปรแกรม Affiliate ที่สำคัญกับธุรกิจ e-commerce ในไทยอย่างยิ่ง เนื่องเพราะตลาด e-commerce ไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงถึง 5.96 ล้านล้านบาทในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องด้วยอัตราเฉลี่ย 14% ต่อปี ตัวเลขนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจอันมหาศาล แต่ยังสะท้อนถึงการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้เล่นในตลาดด้วย!
‘Temu’ จึงไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์แบบธรรมดา แต่เป็นการยกทั้ง Ecosystem E-commerce นั่นหมายถึงการรวมกันของระบบเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อทำให้การขายสินค้าและบริการออนไลน์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรม Affiliate มีจุดเด่นที่น่าสนใจประกอบด้วย
1. ค่าคอมมิชชันที่สูงถึง 10-30% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ
2. โบนัสพิเศษ 70 บาทสำหรับทุกการดาวน์โหลดแอปและสั่งซื้อครั้งแรก
3. โครงสร้างค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันได ที่สนับสนุนให้ Affiliate พยายามสร้างยอดขายที่สูงขึ้น
4. ระบบ “Referral Race” ที่มอบโบนัสพิเศษสูงถึง 40,000 บาทสำหรับผู้ที่สามารถสร้างยอดดาวน์โหลดและการสั่งซื้อได้ตามเป้า
“ทำไมผมถึงว่าโปรแกรม Affiliate น่ากลัว ทำเงินกันได้ง่าย ๆ เช่นตัวผมมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย แล้วนำ link Temu มา review ให้ แล้วเพื่อนผมมากดซื้อ ทางผมก็จะได้เปอร์เซ็นต์ในการขายถึง 30% ตรงนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่แชร์ลิงก์ แล้วคนมาซื้อ ผมก็ได้เงิน ยิ่งถ้าทำยอดได้ต่อเนื่อง เขามี Cash Back ให้ผมถึง 40,000 บาทมาเป็นโบนัส”
ดังนั้นโมเดลนี้จึงน่าสนใจ สำหรับธุรกิจ e-commerce ในไทย!?
- ประการแรก เป็นการสร้าง Win-Win Situation ระหว่างแพลตฟอร์มและ Affiliate โดย Temu ได้ช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ Affiliate ก็มีโอกาสสร้างรายได้ที่สูงกว่าปกติ
- ประการที่สอง โมเดลนี้สามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ Influencer Marketing กำลังมาแรงในไทย การที่ Temu เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็น Affiliate ได้ ก็เท่ากับเป็นการระดมพลังมหาศาลในการทำการตลาด
- ประการที่สาม ระบบนี้สร้างแรงจูงใจให้คนทำ Affiliate พยายามสร้างยอดขายที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตของแพลตฟอร์มในระยะยาว
“ทุกคนสามารถแชร์ลิงก์และมาสร้างรายได้จากโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นวิธี ‘ได้เงิน’ ที่ง่ายสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งแนะนำทำกันในขณะนี้”
ดร.ไอซ์ ย้ำว่า Temu เป็นจุดเริ่มต้นของเฟสใหม่ของจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ Affiliate Marketing ของไทย หลังจากเฟสแรกที่ Tiktok ทำให้การติดตะกร้ารับค่านายหน้าเป็นเรื่องปกติไปแล้วในวันนี้
ขณะเดียวกัน ดร.ไอซ์ บอกต่อว่า 8 ปัจจัยที่ Temu มีความได้เปรียบในตลาดไทย ประกอบด้วย
1. เครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องเพราะ Temu มีความสามารถในการขนส่งสินค้าจากกวางโจวมาถึงกรุงเทพฯ ได้ภายในเวลาไม่ถึง 5 วัน เช่นสั่งของวันจันทร์ได้รับของในวันศุกร์ แม้ต้นทุนการส่งทางบกของ Temu จะสูงกว่าปกติที่สินค้าจีนใช้การขนส่งทางเรือ แต่นี่เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญมาก เพราะมันหมายถึงความเร็วในการจัดส่ง และการส่งจำนวนมากสม่ำเสมอ ทำให้ควบคุมต้นทุนการขนส่งได้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งนี้สามารถส่งผ่านไปถึงผู้บริโภคในรูปแบบของราคาสินค้าที่ถูกลงนั่นเอง
2. สินค้าราคาประหยัด โมเดลธุรกิจของ Temu ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าราคาต่ำได้ ซึ่งตรงกับกำลังซื้อของผู้บริโภคชาวไทยพอดี หากเราสามารถซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือของใช้ในบ้านในราคาที่ถูกกว่าที่เคยเจอมา นี่แหละคือสิ่งที่ Temu กำลังนำเสนอ
3. โปรโมชันสุดคุ้ม Temu ไม่ได้เสนอแค่สินค้าราคาถูก แต่ยังมีโปรโมชันที่น่าสนใจมาก เช่น ส่วนลดสูงถึง 90% สำหรับการซื้อสินค้าจำนวนมาก นี่เป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดทั้งลูกค้ารายย่อยและผู้ค้าปลีกรายเล็กได้อย่างดีให้เข้ามาอยู่ใน Platform
4. ความหลากหลายของสินค้า Temu มีสินค้าหลากหลายประเภทให้เลือก ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ความหลากหลายนี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถหาสิ่งที่ต้องการได้ในที่เดียว ซึ่งเป็นความสะดวกที่คนไทยชื่นชอบ มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนสินค้าตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที
5. ความเชี่ยวชาญใน Cross Border E-commerce ในฐานะแพลตฟอร์มจากจีน Temu สามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของจีนในการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ที่มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด มีความคล่องตัวในการปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น สามารถนำบทเรียนจากตลาดประเทศอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับตลาดไทยได้อย่างรวดเร็ว มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับกฎระเบียบการนำเข้าของแต่ละประเทศ ทำให้สามารถนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทยได้อย่างราบรื่น โดยไม่ติดปัญหาด้านศุลกากรหรือกฎหมาย
6. ศักยภาพของตลาด E-commerce ไทย ประเทศไทยเป็นตลาด E-commerce ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 980,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตถึง 910,000 ล้านบาทในปี 2567 นี่เป็นโอกาสทองสำหรับ Temu ที่จะเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด
7. การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น การเข้ามาของ Temu จะทำให้การแข่งขันในตลาด E-commerce ไทยเข้มข้นขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในแง่ของราคาและบริการที่ดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ด้วย
8. กลยุทธ์การตลาดแบบไวรัล Temu ใช้กลยุทธ์การตลาดนี้โดยให้ลูกค้าโปรโมตแอปผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อรับสินค้าฟรี วิธีนี้จะช่วยให้ Temu ได้ส่วนแบ่งตลาดอย่างรวดเร็วในไทย
ดร.ไอซ์ ระบุว่า การเข้ามาของ Temu ในตลาด E-commerce ไทย จึงเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ขณะเดียวกัน การแข่งขันนี้ก็จะช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรม E-commerce ไทยให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะยาว
อีกทั้งยังเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจ SMEs ! เนื่องเพราะการไหลเข้ามาของสินค้าจีนราคาถูกอาจส่งผลเสียต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในท้องถิ่น ซึ่งอาจต้องดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับราคาของ Temu สิ่งนี้อาจนำไปสู่การลดลงของความต้องการสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น และอาจบังคับให้ธุรกิจท้องถิ่นบางแห่งต้องปิดตัวลง
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นแรงกดดันต่อผู้นำตลาดแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงอย่าง Shopee และ Lazada อาจจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมและปรับกลยุทธ์ของตนเพื่อแข่งขันกับกลยุทธ์การตั้งราคาและการตลาดเชิงรุกของ Temu ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ เพิ่มความหลากหลายของสินค้า และมุ่งเน้นที่สินค้าไทยแท้เพื่อสร้างความแตกต่าง
อย่างไรก็ดี ดร.ไอซ์ ย้ำว่า รัฐบาลก็ต้องมีมาตรการออกมารองรับเพื่อช่วยธุรกิจSMEs โดยปัจจุบัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแข่งขันที่เป็นธรรมและปกป้องธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้มาตรฐานการนำเข้าและการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน
“รัฐกำลังหาวิธีสนับสนุน SMEs ท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้พวกเขาปรับตัวและสำรวจกลยุทธ์ใหม่ๆ เช่น การสร้างแบรนด์ของตนเองและการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงเทคนิคการขาย”
นอกจากนี้ การเข้าสู่ตลาดไทยของ Temu จะทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะสั้นด้วยราคาที่ต่ำลง แต่ก็ก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญสำหรับธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะ SMEs ในระยะยาว รัฐบาลจึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำกับดูแลและสนับสนุนวิสาหกิจท้องถิ่นเพื่อรักษา สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่สมดุลและเป็นธรรม
ดร.ไอซ์ บอกทิ้งท้ายว่า บริษัท SMEs หรือผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ของไทยก็ต้องปรับตัวสู้ อย่าไปแข่งเรื่องราคา เพราะเราแข่งกับจีนลำบาก แต่เราต้องสร้างจุดแข็ง เร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือการดูแลหลังการขาย น่าจะเป็นจุดแข็งที่จะทำให้แบรนด์สินค้าไทยเป็นที่จดจำได้
“ของถูกส่วนใหญ่ คนซื้อมาใช้ชั่วคราว แต่ถ้าของดี ลูกค้าจะคิดถึงแบรนด์เรา จึงต้องหาวิธีที่จะทำให้ลูกค้าคิดถึงแบรนด์เราให้ได้ เพื่อไม่ให้ใครมาแย่งลูกค้าเรา ช่วงนี้คนอาจจะสนใจสินค้าTemu เพราะราคาถูก ลดกันถึง 80-90% เพราะTemu ต้องการหว่านแหให้คนไทยทดลองใช้ App แต่หลายคนเมื่อได้ของมาแล้ว ก็บอกว่าจะลบ App ทิ้ง”
ประเด็นสำคัญต้องไม่ลืมว่าเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ความเร็วและความยืดหยุ่นของ Temu อาจมาพร้อมกับความท้าทายในเรื่องคุณภาพสินค้าและความน่าเชื่อถือ เพราะการผลิตที่รวดเร็วอาจนำไปสู่การควบคุมคุณภาพที่ยากขึ้น
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ Temu ต้องระมัดระวังในอนาคตเช่นกัน!!
Cr.
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000074698
‘8 ปัจจัย’ หนุน ‘Temu’ จากจีนยึดตลาดไทย ใช้โปรแกรม ‘Affiliate’ ระดมพลังมหาศาลขยายฐาน!
“ทำไมผมถึงว่าโปรแกรม Affiliate น่ากลัว ทำเงินกันได้ง่าย ๆ เช่นตัวผมมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย แล้วนำ link Temu มา review ให้ แล้วเพื่อนผมมากดซื้อ ทางผมก็จะได้เปอร์เซ็นต์ในการขายถึง 30% ตรงนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่แชร์ลิงก์ แล้วคนมาซื้อ ผมก็ได้เงิน ยิ่งถ้าทำยอดได้ต่อเนื่อง เขามี Cash Back ให้ผมถึง 40,000 บาทมาเป็นโบนัส”
ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือ ดร.ไอซ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรDNAbySPU ชี้ความน่ากลัวของ‘Temu’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มe-commerce ของจีน จะเก็บData แบบเรียลไทม์ จะรู้ดีมานด์ประเทศไทย เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการลูกค้า ยิ่งเปิดตัวโปรแกรม‘Affiliate’ จึงไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์ธรรมดา แต่เป็นการยกทั้งEcosystem E-commerce ซึ่งจะขยายฐานลูกค้าได้รวดเร็วในยุคที่Influencer Marketing มาแรงในไทย เท่ากับเป็นการระดมพลังมหาศาลในการทำการตลาด ระบุ แค่แชร์ลิงก์ก็มีรายได้ แจง 8 ปัจจัยหนุน‘Temu’ ได้เปรียบในตลาดไทย แนะธุรกิจSMEs เร่งพัฒนาคุณภาพ สร้างแบรด์ไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้ได้ ยืนยันเหรียญมี 2 ด้าน แม้สินค้า‘Temu’ จะถูก ส่งเร็ว แต่การผลิตที่รวดเร็วจะกลายเป็นจุดอ่อนนำไปสู่การควบคุมคุณภาพที่ยากขึ้นก็เป็นได้!
‘ทุนจีนสีเทา’ ที่รุกเข้ามาประกอบกิจการในไทยซึ่ง เพจ “ลุยจีน” ได้ออกมาเปิดเผยถึง 10 ธุรกิจดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการในไทยได้รับผลกระทบ ยิ่งสาหัสไปกว่านั้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้มีการเปิดตัวของ แพลตฟอร์ม e-commerce โดยมีผู้เล่นใหม่ ‘Temu’ ซึ่งเป็นลูกของPinduoduo อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ได้เข้ามาสร้างความฮือฮาในประเทศไทยพร้อมสร้างความตื่นตระหนกว่า Temu จะทำให้ธุรกิจSMEs ไทยตายสนิท
ที่สำคัญ ‘Temu’ ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งธรรมดา ตรงนี้คือความน่ากลัวใช่หรือไม่? และ ‘Temu’ มีความได้เปรียบตลาดไทยอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาล และผู้ประกอบการ ต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือ ดร.ไอซ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNAbySPU คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ระบุว่า Temu เป็นแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ด้วยการนำเสนอโมเดลธุรกิจแบบ Consumer-to-Manufacturer หรือ C2M ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคโดยตรง
ทั้งนี้อยากให้ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้ผลิตกระเป๋า แทนที่จะต้องเดาว่าลูกค้าต้องการกระเป๋าแบบไหน Temu จะบอกคุณแบบเรียลไทม์ได้ทันทีว่าตอนนี้ลูกค้ากำลังค้นหากระเป๋าทรงไหน สีอะไร วัสดุแบบไหนมากที่สุด คุณจะสามารถปรับแผนการผลิตได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผลิตของที่ไม่มีคนอยากได้
“คนที่เข้ามาในแพลตฟอร์ม Temu เขาจะมี Data ทั้งคนที่คลิกดู คนที่คลิกซื้อ คนที่มาคลิกสินค้าเพื่อมาเอาลงตะกร้า เขาจะเห็น Demand ประเทศไทย ตรงนี้ผมว่าน่ากลัว เพราะเขาสามารถนำยอดความสนใจของคนที่อยากได้สินค้านี้ จำนวนเท่านี้ ไปดีลกับโรงงานในจีน เพื่อกดราคาทำให้ถูกแต่ตัวคุณภาพใกล้เคียงกับสินค้าไทย ต่อเนื่องไปในอนาคตได้ด้วย”
ดร.ไอซ์ บอกว่าสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น ก็คือ ล่าสุด Temu ได้เปิดตัวโปรแกรม Affiliate ที่สำคัญกับธุรกิจ e-commerce ในไทยอย่างยิ่ง เนื่องเพราะตลาด e-commerce ไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงถึง 5.96 ล้านล้านบาทในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องด้วยอัตราเฉลี่ย 14% ต่อปี ตัวเลขนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจอันมหาศาล แต่ยังสะท้อนถึงการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้เล่นในตลาดด้วย!
‘Temu’ จึงไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์แบบธรรมดา แต่เป็นการยกทั้ง Ecosystem E-commerce นั่นหมายถึงการรวมกันของระบบเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อทำให้การขายสินค้าและบริการออนไลน์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรม Affiliate มีจุดเด่นที่น่าสนใจประกอบด้วย
1. ค่าคอมมิชชันที่สูงถึง 10-30% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ
2. โบนัสพิเศษ 70 บาทสำหรับทุกการดาวน์โหลดแอปและสั่งซื้อครั้งแรก
3. โครงสร้างค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันได ที่สนับสนุนให้ Affiliate พยายามสร้างยอดขายที่สูงขึ้น
4. ระบบ “Referral Race” ที่มอบโบนัสพิเศษสูงถึง 40,000 บาทสำหรับผู้ที่สามารถสร้างยอดดาวน์โหลดและการสั่งซื้อได้ตามเป้า
“ทำไมผมถึงว่าโปรแกรม Affiliate น่ากลัว ทำเงินกันได้ง่าย ๆ เช่นตัวผมมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย แล้วนำ link Temu มา review ให้ แล้วเพื่อนผมมากดซื้อ ทางผมก็จะได้เปอร์เซ็นต์ในการขายถึง 30% ตรงนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่แชร์ลิงก์ แล้วคนมาซื้อ ผมก็ได้เงิน ยิ่งถ้าทำยอดได้ต่อเนื่อง เขามี Cash Back ให้ผมถึง 40,000 บาทมาเป็นโบนัส”
ดังนั้นโมเดลนี้จึงน่าสนใจ สำหรับธุรกิจ e-commerce ในไทย!?
- ประการแรก เป็นการสร้าง Win-Win Situation ระหว่างแพลตฟอร์มและ Affiliate โดย Temu ได้ช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ Affiliate ก็มีโอกาสสร้างรายได้ที่สูงกว่าปกติ
- ประการที่สอง โมเดลนี้สามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ Influencer Marketing กำลังมาแรงในไทย การที่ Temu เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็น Affiliate ได้ ก็เท่ากับเป็นการระดมพลังมหาศาลในการทำการตลาด
- ประการที่สาม ระบบนี้สร้างแรงจูงใจให้คนทำ Affiliate พยายามสร้างยอดขายที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตของแพลตฟอร์มในระยะยาว
“ทุกคนสามารถแชร์ลิงก์และมาสร้างรายได้จากโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นวิธี ‘ได้เงิน’ ที่ง่ายสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งแนะนำทำกันในขณะนี้”
ดร.ไอซ์ ย้ำว่า Temu เป็นจุดเริ่มต้นของเฟสใหม่ของจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ Affiliate Marketing ของไทย หลังจากเฟสแรกที่ Tiktok ทำให้การติดตะกร้ารับค่านายหน้าเป็นเรื่องปกติไปแล้วในวันนี้
ขณะเดียวกัน ดร.ไอซ์ บอกต่อว่า 8 ปัจจัยที่ Temu มีความได้เปรียบในตลาดไทย ประกอบด้วย
1. เครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องเพราะ Temu มีความสามารถในการขนส่งสินค้าจากกวางโจวมาถึงกรุงเทพฯ ได้ภายในเวลาไม่ถึง 5 วัน เช่นสั่งของวันจันทร์ได้รับของในวันศุกร์ แม้ต้นทุนการส่งทางบกของ Temu จะสูงกว่าปกติที่สินค้าจีนใช้การขนส่งทางเรือ แต่นี่เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญมาก เพราะมันหมายถึงความเร็วในการจัดส่ง และการส่งจำนวนมากสม่ำเสมอ ทำให้ควบคุมต้นทุนการขนส่งได้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งนี้สามารถส่งผ่านไปถึงผู้บริโภคในรูปแบบของราคาสินค้าที่ถูกลงนั่นเอง
2. สินค้าราคาประหยัด โมเดลธุรกิจของ Temu ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าราคาต่ำได้ ซึ่งตรงกับกำลังซื้อของผู้บริโภคชาวไทยพอดี หากเราสามารถซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือของใช้ในบ้านในราคาที่ถูกกว่าที่เคยเจอมา นี่แหละคือสิ่งที่ Temu กำลังนำเสนอ
3. โปรโมชันสุดคุ้ม Temu ไม่ได้เสนอแค่สินค้าราคาถูก แต่ยังมีโปรโมชันที่น่าสนใจมาก เช่น ส่วนลดสูงถึง 90% สำหรับการซื้อสินค้าจำนวนมาก นี่เป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดทั้งลูกค้ารายย่อยและผู้ค้าปลีกรายเล็กได้อย่างดีให้เข้ามาอยู่ใน Platform
4. ความหลากหลายของสินค้า Temu มีสินค้าหลากหลายประเภทให้เลือก ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ความหลากหลายนี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถหาสิ่งที่ต้องการได้ในที่เดียว ซึ่งเป็นความสะดวกที่คนไทยชื่นชอบ มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนสินค้าตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที
5. ความเชี่ยวชาญใน Cross Border E-commerce ในฐานะแพลตฟอร์มจากจีน Temu สามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของจีนในการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ที่มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด มีความคล่องตัวในการปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น สามารถนำบทเรียนจากตลาดประเทศอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับตลาดไทยได้อย่างรวดเร็ว มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับกฎระเบียบการนำเข้าของแต่ละประเทศ ทำให้สามารถนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทยได้อย่างราบรื่น โดยไม่ติดปัญหาด้านศุลกากรหรือกฎหมาย
6. ศักยภาพของตลาด E-commerce ไทย ประเทศไทยเป็นตลาด E-commerce ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 980,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตถึง 910,000 ล้านบาทในปี 2567 นี่เป็นโอกาสทองสำหรับ Temu ที่จะเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด
7. การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น การเข้ามาของ Temu จะทำให้การแข่งขันในตลาด E-commerce ไทยเข้มข้นขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในแง่ของราคาและบริการที่ดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ด้วย
8. กลยุทธ์การตลาดแบบไวรัล Temu ใช้กลยุทธ์การตลาดนี้โดยให้ลูกค้าโปรโมตแอปผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อรับสินค้าฟรี วิธีนี้จะช่วยให้ Temu ได้ส่วนแบ่งตลาดอย่างรวดเร็วในไทย
ดร.ไอซ์ ระบุว่า การเข้ามาของ Temu ในตลาด E-commerce ไทย จึงเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ขณะเดียวกัน การแข่งขันนี้ก็จะช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรม E-commerce ไทยให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะยาว
อีกทั้งยังเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจ SMEs ! เนื่องเพราะการไหลเข้ามาของสินค้าจีนราคาถูกอาจส่งผลเสียต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในท้องถิ่น ซึ่งอาจต้องดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับราคาของ Temu สิ่งนี้อาจนำไปสู่การลดลงของความต้องการสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น และอาจบังคับให้ธุรกิจท้องถิ่นบางแห่งต้องปิดตัวลง
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นแรงกดดันต่อผู้นำตลาดแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงอย่าง Shopee และ Lazada อาจจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมและปรับกลยุทธ์ของตนเพื่อแข่งขันกับกลยุทธ์การตั้งราคาและการตลาดเชิงรุกของ Temu ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ เพิ่มความหลากหลายของสินค้า และมุ่งเน้นที่สินค้าไทยแท้เพื่อสร้างความแตกต่าง
อย่างไรก็ดี ดร.ไอซ์ ย้ำว่า รัฐบาลก็ต้องมีมาตรการออกมารองรับเพื่อช่วยธุรกิจSMEs โดยปัจจุบัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแข่งขันที่เป็นธรรมและปกป้องธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้มาตรฐานการนำเข้าและการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน
“รัฐกำลังหาวิธีสนับสนุน SMEs ท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้พวกเขาปรับตัวและสำรวจกลยุทธ์ใหม่ๆ เช่น การสร้างแบรนด์ของตนเองและการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงเทคนิคการขาย”
นอกจากนี้ การเข้าสู่ตลาดไทยของ Temu จะทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะสั้นด้วยราคาที่ต่ำลง แต่ก็ก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญสำหรับธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะ SMEs ในระยะยาว รัฐบาลจึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำกับดูแลและสนับสนุนวิสาหกิจท้องถิ่นเพื่อรักษา สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่สมดุลและเป็นธรรม
ดร.ไอซ์ บอกทิ้งท้ายว่า บริษัท SMEs หรือผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ของไทยก็ต้องปรับตัวสู้ อย่าไปแข่งเรื่องราคา เพราะเราแข่งกับจีนลำบาก แต่เราต้องสร้างจุดแข็ง เร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือการดูแลหลังการขาย น่าจะเป็นจุดแข็งที่จะทำให้แบรนด์สินค้าไทยเป็นที่จดจำได้
“ของถูกส่วนใหญ่ คนซื้อมาใช้ชั่วคราว แต่ถ้าของดี ลูกค้าจะคิดถึงแบรนด์เรา จึงต้องหาวิธีที่จะทำให้ลูกค้าคิดถึงแบรนด์เราให้ได้ เพื่อไม่ให้ใครมาแย่งลูกค้าเรา ช่วงนี้คนอาจจะสนใจสินค้าTemu เพราะราคาถูก ลดกันถึง 80-90% เพราะTemu ต้องการหว่านแหให้คนไทยทดลองใช้ App แต่หลายคนเมื่อได้ของมาแล้ว ก็บอกว่าจะลบ App ทิ้ง”
ประเด็นสำคัญต้องไม่ลืมว่าเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ความเร็วและความยืดหยุ่นของ Temu อาจมาพร้อมกับความท้าทายในเรื่องคุณภาพสินค้าและความน่าเชื่อถือ เพราะการผลิตที่รวดเร็วอาจนำไปสู่การควบคุมคุณภาพที่ยากขึ้น
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ Temu ต้องระมัดระวังในอนาคตเช่นกัน!!
Cr. https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000074698