ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างรึเปล่า แล้วเห็นกันจากที่ไหน ในป่าดงพงไพรตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น หรือในฐานะช้างแสนรู้ที่มีหน้าที่สร้างความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวอย่างฝืนธรรมชาติ
หรือพูดกันง่ายๆ เราจดจำช้างด้วยความทรงจำแบบใด
“เราโตมากับการเห็นช้างเล่นฮูล่าฮูป เต้นตามเพลงพี่เบิร์ด จนมันกลายเป็นการนิยามไปเลยว่า ‘ช้างเท่ากับการแสดง’ แต่เรากลับไม่เคยรู้จักช้างที่เป็นช้างจริงๆ โตมาถึงพึ่งรู้ว่า ตามธรรมชาติแล้ว ช้างไม่ได้เกิดมาเพื่อเต้น ไต่เชือก เล่นกล หรือทำอะไรน่ารักๆ ให้เราดู ที่เราเห็นกันคือธุรกิจที่มนุษย์หาเงินโดยใช้ช้างเป็นเครื่องมือ”
อ้อ-ปวีณา ท้วมแสง Assistant Creative Director ของแคมเปญกางเกงช้างลวดลาย ‘Stop Elepains’ บอกกับเราถึงสิ่งที่เธอได้พบและได้รู้จากการทำงานร่วมกับ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกสากล (World Animal Protection) ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคือ เบื้องหลังอันโหดร้ายของโชว์ช้างที่เสียงหัวเราะของผู้ชมมีพื้นฐานอยู่บนความทรมานของสัตว์ป่าที่ควรได้อยู่ในธรรมชาติ
อ้อได้ให้ข้อมูลคร่าว ๆ ที่เมื่อรู้แล้วก็ชวนให้หดหู่ไม่น้อย เช่น ขณะที่ช้างกำลังโยกหัวส่ายงวงไปมาท่ามกลางเสียงขำขันปนเอ็นดูของผู้ชม นั่นคือสัญญาณของความเครียด และไม่รู้จะระบายออกอย่างไรดี หรือการที่เหล่าช้างฝึกสำหรับแสดงนั้นจะถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเด็ก ถูกบังคับให้ทำพฤติกรรมฝืนธรรมชาติ ไปจนถึงการดูแลที่ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
“ต้องเป็นมนุษย์เรานี่แหละที่มาช่วยกันให้ช้างได้ไปกลับอยู่ในป่าตามที่เขาควรจะอยู่” อ้อย้ำหนักแน่น ก่อนจะเริ่มอธิบายถึงแคมเปญที่เธอร่วมมือทำกับ เกริก-อภิสิทธิ์ วลีซื่อสัตย์ Senior Art Director โดยมีใจความว่า ‘The elephant pants that save elephants’ lives’ หรือก็คือ การออกแบบลวดลายกางเกงช้าง จากแฟชั่นร่วมสมัยที่กำลังนิยมในหมู่วัยรุ่นและคนต่างประเทศ ให้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะช่วยสร้างความตระหนักรู้แก่สังคม เพื่อช่วยชีวิตช้างนอกธรรมชาติทุกตัว
นี่จึงเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Dentsu Creative Thailand และ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เนื่องจากช้างไม่สามารถพูดกับเราได้ มนุษย์จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ส่งเสียงเรียกร้องเพื่อสวัสดิภาพให้แก่ช้าง และเพื่อให้พวกเขาถูกปฏิบัติเยี่ยงสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เครื่องมือทำมาหากำไรเข้ากระเป๋าของเหล่านายทุน
การออกแบบกางเกงช้าง Stop Elepains มุ่งเน้นไปที่การบอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดทรมานของช้าง ผ่านลวดลายที่แม้จะสวยงาม แต่มันคือความเป็นจริงอันโหดร้ายที่กำลังเกิดขึ้นกับช้างไทยที่ถูกเรียกว่า ‘สัตว์คู่บ้านคู่เมือง’
ทั้งการถูกทารุณทางร่างกายอย่างการถูกสับด้วยตะขอหากไม่ทำตามคำสั่ง การถูกฟาดด้วยท่อนไม้หลายๆ ครั้ง กระทั่งถูกให้อดอาหาร หรือปางช้างบางแห่งในปัจจุบันนี้อาจเรียกตัวเองว่าเป็นปางช้างที่ ‘เป็นมิตรกับช้าง’ โดยละการแสดง เหลือไว้แค่การขี่หลังและพาอาบน้ำเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ช้างต้องลงไปอาบน้ำวันละหลายๆ รอบชนิดผิดธรรมชาติ หรือบางตัวอาจต้องหลังคดหลังเสียจนผิดรูป จากการแบกรับน้ำหนักของนักท่องเที่ยวเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน
“กระแสกางเกงช้างมาแรงมาก ซึ่งเรากำลังต้องการเครื่องมือสื่อสารที่ทั้งง่ายต่อการสร้างความรู้และความตระหนักรู้ ในเวลาเดียวกันยังสามารถให้ทุกคนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ร่วมบริจาค เพื่อให้องค์กรมีเงินทุนสำหรับดำเนินการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ปางช้างต่างๆ ที่ใส่ใจกับการดูแลช้างอย่างถูกวิธี ซึ่งเงินบริจาคเหล่านี้จะกลายเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เราสามารถผลิตซ้ำเพื่อจำหน่ายได้ตลอดไป”
การร่วมบริจาคในที่นี้หมายถึง การร่วมกันอุดหนุนกางเกงช้าง Stop Elepains เพราะยอดบริจาคจะกลายเป็นต้นทุนสำหรับการผลิตซ้ำ และถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนรวมถึงเพิ่มจำนวนปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง (จริงๆ) ในอีกทางหนึ่ง เงินบริจาคจะถูกนำไปช่วยเหลือเหล่าช้างแสดงให้ได้มาอยู่ในสถานที่ที่จะดูแลสวัสดิภาพ คืนความสุข และคืนชีวิตให้แก่ช้างอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งหมดนี้เพื่อให้ช้างได้กลับมาเป็นช้างอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา
https://becommon.co/life/stop-elepains-pants/
‘Stop Elepains’ กางเกงช้างแสนรู้ แคมเปญที่ส่งเสียงผ่านลวดลายเพื่อช้างที่ถูกทารุณ
หรือพูดกันง่ายๆ เราจดจำช้างด้วยความทรงจำแบบใด
“เราโตมากับการเห็นช้างเล่นฮูล่าฮูป เต้นตามเพลงพี่เบิร์ด จนมันกลายเป็นการนิยามไปเลยว่า ‘ช้างเท่ากับการแสดง’ แต่เรากลับไม่เคยรู้จักช้างที่เป็นช้างจริงๆ โตมาถึงพึ่งรู้ว่า ตามธรรมชาติแล้ว ช้างไม่ได้เกิดมาเพื่อเต้น ไต่เชือก เล่นกล หรือทำอะไรน่ารักๆ ให้เราดู ที่เราเห็นกันคือธุรกิจที่มนุษย์หาเงินโดยใช้ช้างเป็นเครื่องมือ”
อ้อ-ปวีณา ท้วมแสง Assistant Creative Director ของแคมเปญกางเกงช้างลวดลาย ‘Stop Elepains’ บอกกับเราถึงสิ่งที่เธอได้พบและได้รู้จากการทำงานร่วมกับ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกสากล (World Animal Protection) ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคือ เบื้องหลังอันโหดร้ายของโชว์ช้างที่เสียงหัวเราะของผู้ชมมีพื้นฐานอยู่บนความทรมานของสัตว์ป่าที่ควรได้อยู่ในธรรมชาติ
อ้อได้ให้ข้อมูลคร่าว ๆ ที่เมื่อรู้แล้วก็ชวนให้หดหู่ไม่น้อย เช่น ขณะที่ช้างกำลังโยกหัวส่ายงวงไปมาท่ามกลางเสียงขำขันปนเอ็นดูของผู้ชม นั่นคือสัญญาณของความเครียด และไม่รู้จะระบายออกอย่างไรดี หรือการที่เหล่าช้างฝึกสำหรับแสดงนั้นจะถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเด็ก ถูกบังคับให้ทำพฤติกรรมฝืนธรรมชาติ ไปจนถึงการดูแลที่ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
“ต้องเป็นมนุษย์เรานี่แหละที่มาช่วยกันให้ช้างได้ไปกลับอยู่ในป่าตามที่เขาควรจะอยู่” อ้อย้ำหนักแน่น ก่อนจะเริ่มอธิบายถึงแคมเปญที่เธอร่วมมือทำกับ เกริก-อภิสิทธิ์ วลีซื่อสัตย์ Senior Art Director โดยมีใจความว่า ‘The elephant pants that save elephants’ lives’ หรือก็คือ การออกแบบลวดลายกางเกงช้าง จากแฟชั่นร่วมสมัยที่กำลังนิยมในหมู่วัยรุ่นและคนต่างประเทศ ให้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะช่วยสร้างความตระหนักรู้แก่สังคม เพื่อช่วยชีวิตช้างนอกธรรมชาติทุกตัว
นี่จึงเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Dentsu Creative Thailand และ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เนื่องจากช้างไม่สามารถพูดกับเราได้ มนุษย์จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ส่งเสียงเรียกร้องเพื่อสวัสดิภาพให้แก่ช้าง และเพื่อให้พวกเขาถูกปฏิบัติเยี่ยงสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เครื่องมือทำมาหากำไรเข้ากระเป๋าของเหล่านายทุน
การออกแบบกางเกงช้าง Stop Elepains มุ่งเน้นไปที่การบอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดทรมานของช้าง ผ่านลวดลายที่แม้จะสวยงาม แต่มันคือความเป็นจริงอันโหดร้ายที่กำลังเกิดขึ้นกับช้างไทยที่ถูกเรียกว่า ‘สัตว์คู่บ้านคู่เมือง’
ทั้งการถูกทารุณทางร่างกายอย่างการถูกสับด้วยตะขอหากไม่ทำตามคำสั่ง การถูกฟาดด้วยท่อนไม้หลายๆ ครั้ง กระทั่งถูกให้อดอาหาร หรือปางช้างบางแห่งในปัจจุบันนี้อาจเรียกตัวเองว่าเป็นปางช้างที่ ‘เป็นมิตรกับช้าง’ โดยละการแสดง เหลือไว้แค่การขี่หลังและพาอาบน้ำเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ช้างต้องลงไปอาบน้ำวันละหลายๆ รอบชนิดผิดธรรมชาติ หรือบางตัวอาจต้องหลังคดหลังเสียจนผิดรูป จากการแบกรับน้ำหนักของนักท่องเที่ยวเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน
“กระแสกางเกงช้างมาแรงมาก ซึ่งเรากำลังต้องการเครื่องมือสื่อสารที่ทั้งง่ายต่อการสร้างความรู้และความตระหนักรู้ ในเวลาเดียวกันยังสามารถให้ทุกคนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ร่วมบริจาค เพื่อให้องค์กรมีเงินทุนสำหรับดำเนินการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ปางช้างต่างๆ ที่ใส่ใจกับการดูแลช้างอย่างถูกวิธี ซึ่งเงินบริจาคเหล่านี้จะกลายเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เราสามารถผลิตซ้ำเพื่อจำหน่ายได้ตลอดไป”
การร่วมบริจาคในที่นี้หมายถึง การร่วมกันอุดหนุนกางเกงช้าง Stop Elepains เพราะยอดบริจาคจะกลายเป็นต้นทุนสำหรับการผลิตซ้ำ และถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนรวมถึงเพิ่มจำนวนปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง (จริงๆ) ในอีกทางหนึ่ง เงินบริจาคจะถูกนำไปช่วยเหลือเหล่าช้างแสดงให้ได้มาอยู่ในสถานที่ที่จะดูแลสวัสดิภาพ คืนความสุข และคืนชีวิตให้แก่ช้างอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งหมดนี้เพื่อให้ช้างได้กลับมาเป็นช้างอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา
https://becommon.co/life/stop-elepains-pants/