สิ่งต้องรู้ ผู้สูงอายุ วางแผนชีวิตคนเกษียณ 13 สิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ
วัยเกษียณ คนแก่ ได้เงินซ่อมบ้าน 4 หมื่นบาท ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย กองทุนผู้สูงอายุ ขอใช้บริการที่ไหน? เบิกเงินช่วยเหลือยากจน คุ้มครองสิทธิอะไรบ้าง
กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 มีอัตราส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 10% ของประชากรทั้งประเทศ จากข้อมูลจำนวนประชากรไทย ณ 31 ธันวาคม 2566 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20 % ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับสมบูรณ์
คาดการณ์ในปี 2576 ไทยจะเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ที่มีอัตราผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากร โดยจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง เฉลี่ยปีละ 500,000 คน ส่งผลให้มีวัยแรงงานน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้มี 1 จังหวัดในประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดแล้ว คือ จ.ลำปาง โดยมีผู้สูงอายุ 28%
กลุ่มผู้สูงอายุเปราะบาง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กว่า 10 ล้านคนแต่ไม่ใช่ทุกคนจะยากจน กลุ่มผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกว่า 5.3 ล้านคน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและไม่มีผู้ดูแล 26,663 คน
สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ 2564 ในมาตรา 11 กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ ดังนี้
- การบริการทางการแพทย์ เปิดช่องทางเฉพาะ อำนวยความสะดวก ความรวดเร็วให้กับผู้สูงอายุ
การศึกษา การศาสนาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ กว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ
- การประกอบอาชีพและฝึกอาชีพ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ สร้างอาชีพผู้สูงอายุ ให้คนแก่ คนเกษียณได้ใช้ประสบการณ์ทำงานต่อ โดยออกแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสุขภาพและความสามารถของผู้สูงอายุ
กองทุนผู้สูงอายุ ให้กู้ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย
การจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ คนแก่ สามารถดำเนินชีวิตในวัยเกษียณ กู้ยืมเงินได้โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยแบ่งเงื่อนไขออกแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้วยกัน
ให้บริการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ สำหรับรายบุคคล วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท รายกลุ่มที่ไม่น้อยกว่า 5 คน วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
สนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการให้ชมรม องค์กรและเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ โครงการขนาดเล็ก วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ขนาดกลางไม่เกิน 300,000 บาท และขนาดใหญ่วงเงินเกิน 300,000 บาทขึ้นไป
ผู้สูงอายุขอใช้บริการ "กองทุนผู้สูงอายุ" ให้กู้ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย ที่ไหน?
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่กองทุนผู้สูงอายุ บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
พื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด
13 สิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้เงินซ่อมบ้าน 4 หมื่นบาท ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ 2564 ในมาตรา 11
1.) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้ที่อายุ 60-69 ปีได้รับ 600 บาทต่อเดือน อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน อายุ 80-89 ปีได้รับ 800 บาทต่อเดือน และอายุ 90 ปีขึ้นไปได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
2.) การลดหย่อนค่าโดยสาร ได้รับส่วนลดค่าโดยสารในการเดินทาง 50% สำหรับขสมก. เรือโดยสาร และรถไฟฟ้า MRT ส่วนรถไฟฟ้า BTS และแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ ให้บัตรโดยสารผู้สูงอายุลด 50%
3.) ลดหย่อนภาษี บุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดา ยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท ต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
4.) ปรับสภาพที่อยู่อาศัย ซ่อมบ้าน สามารกขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวดให้มีความปลอดภัย ในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท
โดยคุณสมบัติเป็นผู้มีฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ และที่อยู่อาศัย ไม่มั่นคง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดํารงชีวิตของผู้สูงอายุ
สามารถยื่นได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
5.) กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ สามารถยื่นกู้ปลอดดอกเบี้ย จากกองทุนผู้สูงอายุ อัตราเหมาจ่าย รายบุคคลได้วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน รายกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน ได้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท แต่จะต้องมีผู้ค้ำประกัน และชำระคืนทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี
6.) สิทธิทางอาชีพ สามารถขอข้อมูล คำปรึกษาการรับสมัครงาน ตำแหน่งงานว่าง การอบรมอาชีพ และฝึกอาชีพ ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
7.)การบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวก ในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจุดหมายเหตุ หรืออื่นๆ จะจัดจุดอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถและการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
8.) สิทธิทางการศึกษา โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.พัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตและสอดคล้องกับความต้องการ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
9.) สิทธิทางการแพทย์และสาธารณสุข ในสถานพยาบาลของรัฐ จะได้รับบริการผ่านช่องทางพิเศษ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วไม่ต้องรอคิวนาน
10.) สิทธิการช่วยเหลือทางกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างทนาย ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
11.) ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
12.) สิทธิการมีส่วนร่วมในกิจการสังคม จะได้รับการส่งเสริมให้มีกิจการรสังคมภายในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สนามกีฬา ศูนย์สุขภาพ โดยไม่เสีนค่าใช้จ่าย ศูนย์กีฬาในร่วมได้รับส่วนลด 50%
13.) ผู้สูงอายุที่ยากจน ทุกข์ยาก เดือดร้อนเรื่องอาหารและเครื่องนุ่งห่ม จะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่เกินวงเงินครั้งละ 3,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อคนต่อปี
ที่มา :กรุงเทพธุรกิจ
สิทธิผู้สูงอายุ ได้เงินซ่อมบ้าน 4 หมื่น ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย
วัยเกษียณ คนแก่ ได้เงินซ่อมบ้าน 4 หมื่นบาท ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย กองทุนผู้สูงอายุ ขอใช้บริการที่ไหน? เบิกเงินช่วยเหลือยากจน คุ้มครองสิทธิอะไรบ้าง
กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 มีอัตราส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 10% ของประชากรทั้งประเทศ จากข้อมูลจำนวนประชากรไทย ณ 31 ธันวาคม 2566 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20 % ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับสมบูรณ์
คาดการณ์ในปี 2576 ไทยจะเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ที่มีอัตราผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากร โดยจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง เฉลี่ยปีละ 500,000 คน ส่งผลให้มีวัยแรงงานน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้มี 1 จังหวัดในประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดแล้ว คือ จ.ลำปาง โดยมีผู้สูงอายุ 28%
กลุ่มผู้สูงอายุเปราะบาง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กว่า 10 ล้านคนแต่ไม่ใช่ทุกคนจะยากจน กลุ่มผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกว่า 5.3 ล้านคน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและไม่มีผู้ดูแล 26,663 คน
สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ 2564 ในมาตรา 11 กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ ดังนี้
- การบริการทางการแพทย์ เปิดช่องทางเฉพาะ อำนวยความสะดวก ความรวดเร็วให้กับผู้สูงอายุ
การศึกษา การศาสนาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ กว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ
- การประกอบอาชีพและฝึกอาชีพ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ สร้างอาชีพผู้สูงอายุ ให้คนแก่ คนเกษียณได้ใช้ประสบการณ์ทำงานต่อ โดยออกแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสุขภาพและความสามารถของผู้สูงอายุ
กองทุนผู้สูงอายุ ให้กู้ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย
การจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ คนแก่ สามารถดำเนินชีวิตในวัยเกษียณ กู้ยืมเงินได้โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยแบ่งเงื่อนไขออกแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้วยกัน
ให้บริการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ สำหรับรายบุคคล วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท รายกลุ่มที่ไม่น้อยกว่า 5 คน วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
สนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการให้ชมรม องค์กรและเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ โครงการขนาดเล็ก วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ขนาดกลางไม่เกิน 300,000 บาท และขนาดใหญ่วงเงินเกิน 300,000 บาทขึ้นไป
ผู้สูงอายุขอใช้บริการ "กองทุนผู้สูงอายุ" ให้กู้ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย ที่ไหน?
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่กองทุนผู้สูงอายุ บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
พื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด
13 สิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้เงินซ่อมบ้าน 4 หมื่นบาท ยืมเงินไม่มีดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ 2564 ในมาตรา 11
1.) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้ที่อายุ 60-69 ปีได้รับ 600 บาทต่อเดือน อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน อายุ 80-89 ปีได้รับ 800 บาทต่อเดือน และอายุ 90 ปีขึ้นไปได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
2.) การลดหย่อนค่าโดยสาร ได้รับส่วนลดค่าโดยสารในการเดินทาง 50% สำหรับขสมก. เรือโดยสาร และรถไฟฟ้า MRT ส่วนรถไฟฟ้า BTS และแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ ให้บัตรโดยสารผู้สูงอายุลด 50%
3.) ลดหย่อนภาษี บุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดา ยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท ต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
4.) ปรับสภาพที่อยู่อาศัย ซ่อมบ้าน สามารกขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวดให้มีความปลอดภัย ในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท
โดยคุณสมบัติเป็นผู้มีฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ และที่อยู่อาศัย ไม่มั่นคง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดํารงชีวิตของผู้สูงอายุ
สามารถยื่นได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
5.) กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ สามารถยื่นกู้ปลอดดอกเบี้ย จากกองทุนผู้สูงอายุ อัตราเหมาจ่าย รายบุคคลได้วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน รายกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน ได้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท แต่จะต้องมีผู้ค้ำประกัน และชำระคืนทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี
6.) สิทธิทางอาชีพ สามารถขอข้อมูล คำปรึกษาการรับสมัครงาน ตำแหน่งงานว่าง การอบรมอาชีพ และฝึกอาชีพ ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
7.)การบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวก ในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจุดหมายเหตุ หรืออื่นๆ จะจัดจุดอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถและการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
8.) สิทธิทางการศึกษา โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.พัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตและสอดคล้องกับความต้องการ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
9.) สิทธิทางการแพทย์และสาธารณสุข ในสถานพยาบาลของรัฐ จะได้รับบริการผ่านช่องทางพิเศษ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วไม่ต้องรอคิวนาน
10.) สิทธิการช่วยเหลือทางกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างทนาย ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
11.) ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
12.) สิทธิการมีส่วนร่วมในกิจการสังคม จะได้รับการส่งเสริมให้มีกิจการรสังคมภายในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สนามกีฬา ศูนย์สุขภาพ โดยไม่เสีนค่าใช้จ่าย ศูนย์กีฬาในร่วมได้รับส่วนลด 50%
13.) ผู้สูงอายุที่ยากจน ทุกข์ยาก เดือดร้อนเรื่องอาหารและเครื่องนุ่งห่ม จะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่เกินวงเงินครั้งละ 3,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อคนต่อปี
ที่มา :กรุงเทพธุรกิจ