สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสบศ. ประจำปีการศึกษา 2566 วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2566 โดยโอกาสนี้มีผู้ทรงวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ จำนวน 6 คน ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ทั้งบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้น 702 คน
สำหรับผู้ทรงวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 6 คน ประกอบด้วย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 4 คน ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ 2. รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย 3. นางศรีเวียง จิ๋วพัฒนกุล ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา 4. นายสิทธิพงษ์ โทไข่ษร ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน และปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2 คน ได้แก่ 1. นายจำลอง ม่วงท้วม ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา 2. นายเฉลิม ทองลมูล ศิลปมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีหน่วยงานในสังกัด จำนวน 19 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ คณะศิลปศึกษา คณะศิลปวิจิตร วิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 12 แห่ง และวิทยาลัยช่างศิลป จำนวน 3 แห่ง จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาชีพเฉพาะ ถึงระดับปริญญาเอก เป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทางที่มุ่งผลิตบัณฑิตด้านนาฏศิลป์ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ ช่างศิลป์ และทัศนศิลป์ ทั้งไทยและสากล รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและระดับชาติ จัดการเรียนการสอน การแสดง การวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ตลอดจนส่งเสริม สืบสาน สร้างสรรค์ ทะนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชน ในท้องถิ่น ปลูกฝังและบ่มเพาะจนสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นนักปฏิบัติที่มีความรู้ภาคทฤษฎี และมีความเชี่ยวชาญในภาคปฏิบัติ ผู้สำเร็จการศึกษาย่อมต้องยึดมั่นในครรลองที่ดีงาม ควบคู่ไปกับการใช้วิชา ความรู้ที่ได้รับจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้ เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคมและประเทศชาติให้มีความมั่นคงยั่งยืนสืบไป”
1.ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์
2.รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
3.นางศรีเวียง จิ๋วพัฒนกุล
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา
4.นายสิทธิพงษ์ โทไข่ษร
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะดนตรีและ
การแสดงพื้นบ้าน
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสบศ.
สำหรับผู้ทรงวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 6 คน ประกอบด้วย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 4 คน ได้แก่ 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ 2. รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย 3. นางศรีเวียง จิ๋วพัฒนกุล ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา 4. นายสิทธิพงษ์ โทไข่ษร ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน และปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2 คน ได้แก่ 1. นายจำลอง ม่วงท้วม ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา 2. นายเฉลิม ทองลมูล ศิลปมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา
ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะดนตรีและ
การแสดงพื้นบ้าน