กระทรวงวัฒนธรรม นำนักออกแบบรุ่นใหม่จับคู่ชุมชนจังหวัดน่าน พัฒนาสินค้าแบบบริการ
เพิ่มคุณค่าและมูลค่าของชุมชน
นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธีมอบรางวัลรายการชนช้างกราฟิก ปีที่ 9 เปิดเผยว่า จากที่ได้รับรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่คัดสรรนักออกแบบกราฟิกดีไซน์รุ่นใหม่ เข้าร่วมการแข่งขันในรายการชนช้างกราฟิก ปีที่ 9 ผ่านการออกแบบกราฟิกให้กับสินค้าและบริการของชุมชน
โดยหลังจากที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้คัดเลือกนักออกแบบรุ่นใหม่ จากทั่วประเทศกว่า 20 ทีม คัดเลือกจนเหลือจำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีม Tangpat (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) ทีมสปู๋สู้ฟัด (มหาวิทยาลัยศรีปทุม) ทีมแสงเหนือ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ทีม Duperheart (มหาวิทยาลัยศิลปากร) และทีม Invincible (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) จับคู่กับชุมชนของจังหวัดน่าน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านพระเกิด (โฮงเจ้าฟองคำ) ชุมชนบ้านหนองเต่า ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ขุมชนบ้านหนองบัว และชุมชนบ้านพรหม ได้ทำงานร่วมกันในการศึกษาอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ตลอดจนสินค้า และบริการที่ชุมชนมีอยู่ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการออกแบบกราฟิกให้แก่สินค้าและบริการของทั้ง 5 ชุมชน
นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นักออกแบบรุ่นใหม่ทั้ง 5 ทีม ได้นำผลงานการออกแบบ ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ พร้อมทั้งสาธิตและฝึกปฏิบัติให้ชุมชนในการนำการออกแบบไปใช้งานจริง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและบริการของชุมชนได้จริง
บัดนี้การแข่งขันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผลการแข่งขันดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ทีม Duperheart
นางสาวธนภรณ์ ใบยา และ นางสาวสุธิยะ ศิวประชากุล มหาวิทยาลัยศิลปากร (ชุมชนบ้านหนองเต่าแช่แห้ง ต. ม่วงตึ๊ด อ. ภูเพียง)
รองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม สปู๋สู้ฟัด
นางสาวพรพรหม ล่ามกิจจา และ นายกิตติทัต สิงห์หล้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ต.พงษ์ อ.สันติสุข )
รองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม แสงเหนือ
นางสาวอภิษฎา อินตา และ นายพัทธดนย์ ชุนนะวรรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (หมู่บ้านพรหม ต.หนองแดง อ.แม่จริม)
ชมเชย 2 ทีม
ทีม Tangpat
นางสาวกัณต์กณิษฐ ธรรมศิรารักษ์ และ นางสาวศิวาพัชร์ วามนาวตาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ชุมชนบ้านพระเกิด (โฮงเจ้าฟองคำ) ต.ในเวียง อ.เมือง)
ทีม Invincible
นางสาววาสนา พันธากุล และ นางสาวมาตา วงษ์ชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ชุมชนบ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา)
ภาพบรรยากาศในงานฯ
กระทรวงวัฒนธรรม นำนักออกแบบรุ่นใหม่จับคู่ชุมชนจังหวัดน่าน พัฒนาสินค้าแบบบริการ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าของชุมชน
เพิ่มคุณค่าและมูลค่าของชุมชน
โดยหลังจากที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้คัดเลือกนักออกแบบรุ่นใหม่ จากทั่วประเทศกว่า 20 ทีม คัดเลือกจนเหลือจำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีม Tangpat (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) ทีมสปู๋สู้ฟัด (มหาวิทยาลัยศรีปทุม) ทีมแสงเหนือ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ทีม Duperheart (มหาวิทยาลัยศิลปากร) และทีม Invincible (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) จับคู่กับชุมชนของจังหวัดน่าน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านพระเกิด (โฮงเจ้าฟองคำ) ชุมชนบ้านหนองเต่า ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ขุมชนบ้านหนองบัว และชุมชนบ้านพรหม ได้ทำงานร่วมกันในการศึกษาอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ตลอดจนสินค้า และบริการที่ชุมชนมีอยู่ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการออกแบบกราฟิกให้แก่สินค้าและบริการของทั้ง 5 ชุมชน
นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นักออกแบบรุ่นใหม่ทั้ง 5 ทีม ได้นำผลงานการออกแบบ ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ พร้อมทั้งสาธิตและฝึกปฏิบัติให้ชุมชนในการนำการออกแบบไปใช้งานจริง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและบริการของชุมชนได้จริง
บัดนี้การแข่งขันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผลการแข่งขันดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ทีม Duperheart
นางสาวธนภรณ์ ใบยา และ นางสาวสุธิยะ ศิวประชากุล มหาวิทยาลัยศิลปากร (ชุมชนบ้านหนองเต่าแช่แห้ง ต. ม่วงตึ๊ด อ. ภูเพียง)
รองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม สปู๋สู้ฟัด
นางสาวพรพรหม ล่ามกิจจา และ นายกิตติทัต สิงห์หล้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ต.พงษ์ อ.สันติสุข )
รองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม แสงเหนือ
นางสาวอภิษฎา อินตา และ นายพัทธดนย์ ชุนนะวรรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (หมู่บ้านพรหม ต.หนองแดง อ.แม่จริม)
ชมเชย 2 ทีม
ทีม Tangpat
นางสาวกัณต์กณิษฐ ธรรมศิรารักษ์ และ นางสาวศิวาพัชร์ วามนาวตาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ชุมชนบ้านพระเกิด (โฮงเจ้าฟองคำ) ต.ในเวียง อ.เมือง)
ทีม Invincible
นางสาววาสนา พันธากุล และ นางสาวมาตา วงษ์ชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ชุมชนบ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา)