ถ้าใครจำได้เมื่อนานมาแล้วเคยมีข่าวเรื่องเครื่องบิน NAX-1 เป็นเครื่องบินทะเลที่สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำได้ โดยคำว่า NAX มาจาก N-naval A-aircraft X- experimental โดยเครื่องบินนี้อยู่ในโครงการวิจัยเครื่องบินทะเลของกองทัพเรือ ที่มาของโครงการนี้ก็มาจากว่าสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ได้ร่วมทำโครงการวิจัยยานเหินน้ำร่วมกับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับสิทธิ์วิจัย ยานเหินน้ำประเภท 2 ที่นั่ง ส่วนสิงคโปร์ได้วิจัยยานเหินน้ำประเภท 8 ที่นั่ง โดยสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาวิจัยทันทีหลังจากได้รับสิทธิ์ไม่เกิน 2 ปี หลังจากได้รับสิทธิ์ปี 2550 กองทัพเรือให้เงินทุนมา 5 แสนบาท จึงเริ่มศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ของการผลิตเครื่องบินประเภทนี้ โดยขั้นตอนดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการบิน ด้านการออกแบบโครงสร้าง หลังจากออกแบบเสร็จได้ไปซื้อซากเครื่องบินเก่ามาดัดแปลง ทั้งเครื่องยนต์และสรีระของเครื่องบินที่แต่เดิมสามารถร่อนลงแค่เพียงบนพื้นรันเวย์ปกติเป็นสามารถร่อนลงทั้งบนบกและบนผิวน้ำตามที่ออกแบบไว้ในครั้งแรก
แต่ก็ต้องพบอุปสรรคในช่วงแรกจนทำให้การวิจัยต้องชะงักลงเมื่อ 4 ปีก่อน คือ ไม่มีนักบินคนไหนกล้าบินทดสอบให้แก่เครื่องบินทะเลที่วิจัยขึ้น พลเรือโทสมหมาย วัย 57 ปี ที่ตอนนั้นน่าจะยังเป็นผอ.สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือจึงตัดสินใจใช้เงินทุนของตัวเองราว 5 แสนบาท เพื่อเข้าเรียนการบินหวังที่จะทดสอบเครื่องบินที่ผลิตขึ้น และหลังจากที่มีการทดลองบินก็มีนักบินทดสอบอาสาสมัครเข้ามาในโครงการมากขึ้นถึง 4 คน และได้รับเงินทุนต่อยอดจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เป็นเงิน 12 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม อีก 15 ล้านบาท
อันนี้เป็นคลิปของเครื่องบิน NAX-1 เมื่อปีพ.ศ. 2553
ทดสอบเครื่องบิน NAX-2 เมื่อปีพ.ศ.2556
ทดสอบ NAX-3 พ.ศ.2555
ปฏิบัติภารกิจบินสำรวจจุดถ่ายสินค้าทางทะเลภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2555 โดย NAX-1 และ NAX-3 และดูจะเพื่อทดสอบเครื่องบิน NAX ด้วย
โครงการนี้ก็วิจัยสร้างเครื่องบินมาเรื่อย NAX-1 จนถึง NAX-5 ที่ตอนนี้น่าจะเป็นรุ่นที่ได้รับรองมาตรฐานและเอามาขายได้
ที่ผ่านมา NAX-2 ได้ผ่านการทดสอบการบินมาแล้วกว่า 200 ชั่วโมง สามารถวิ่งขึ้น-ลงในพื้นน้ำและพื้นบกได้อย่างสมบูรณ์ โดยนำมาใช้ในการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ตามภารกิจของกองทัพเรือและใช้ในการฝึกการปฏิบัติให้กับหน่วยราชการ เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ส่งผลให้ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) มีมติบูรณาการผลงานวิจัยเครื่องบินทะเลสู่การใช้งานจริง เพื่อสร้างความมั่นคงทางทะเลและสนับสนุนการท่องเที่ยว นำไปสู่การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การออกแบบ-สร้างเครื่องบินทะเล 2 ที่นั่ง และทดสอบตามมาตรฐานเพื่อการรองรับความสมควรเดินอากาศ (NAX-5)” เพื่อต่อยอดงานวิจัยเดิมเพื่อให้เกิดการรับรองมาตรฐานและนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยกองทัพเรืออนุมัติหลักการให้บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด วิสาหกิจสังกัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตเครื่องบินทะเล และเครื่องบินทะเล NAX-5 ได้รับพระราชทานนามเรียกขานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ชลากาศยาน”
NAX-5 นั้นมีคุณสมบัติวิ่งขึ้น-ลงในพื้นน้ำและพื้นบกได้ จุน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงสุด 145 ลิตร ใช้ระบบการเติมน้ำมันตามมาตรฐาน เครื่องยนต์มีความสิ้นเปลืองเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 20 ลิตรต่อชั่วโมง ใช้น้ำมันออกเทน 91/95 สามารถบินได้นาน 4 ชั่วโมง ที่ความเร็วเดินทาง 153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีพิสัยบินไกลสุด 300 นอติคอลไมล์ ที่รัศมีปฏิบัติการ 120 นอติคอลไมล์ มีเพดานบิน 10,000 ฟุต วิ่งขึ้นสูงสุด 1,400 ปอนด์ และรับภาระทางอากาศพลศาสตร์ได้ -2 ถึง +4 เท่าของน้ำหนักเครื่องบิน
ได้มีการพัฒนาปรับปรุงต่อยอดเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในความปลอดภัยของโครงสร้าง และสามารถทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยในการบินภาคอากาศจนจบตามมาตรฐานการบิน AC 90-89B ซึ่งจะนำไปสู่การจดทะเบียนเพื่อขอรับการรับรองความสมควรเดินอากาศจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (The Civil Aviation Authority of Thailand : CAAT) การบินพลเรือนทั่วไป โดยเฉพาะในส่วนเครื่องบินแบบ Light Sport Aircraft ได้กำหนดให้ใช้มาตรฐาน ASTM F-2245 : StandardSpecification for Design and Performance of a Light Sport Airplane ซึ่งมี 8 หัวข้อสำคัญ มากำกับกระบวนการสร้างและทดสอบเครื่องบิน ทั้งในส่วนความแข็งแรงโครงสร้างเครื่องบิน ตลอดจนการทดสอบระบบเครื่องบินทั้งหมดในภาคพื้นและภาคอากาศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบิน ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการบินพลเรือนทั่วไป
รองศาสตราจารย์ ดร.สินชัย ชินวรรัตน์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) หัวหน้าโครงการ NAX-5 กล่าวว่า เทรนด์ความต้องการใช้เครื่องบินทะเล โดยเฉพาะ Light Sport Aircraft ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีการผลิต 300 ลำ หากไทยสามารถผลิตใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยต้นทุนการผลิต NAX -5 อยู่ที่ลำละ 5 ล้านบาท ขณะที่เครื่องบินทะเล 2 ที่นั่งทั่วไปราคาลำละ 10 ล้านบาทขึ้นไป คาดว่าตลาดในไทยน่าจะเติบโตขึ้นมาก เนื่องจากเป็นที่ต้องการใช้ในภารกิจภาครัฐ ทั้งการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ตามภารกิจของกองทัพเรือ และใช้ในภารกิจของหน่วยงานราชการอื่นๆ เช่น ขนน้ำและดับไฟป่า เป็นต้น รวมทั้งความต้องการของภาคเอกชน โดยเฉพาะเศรษฐีที่นิยมขับเครื่องบินขนาดเล็ก
เหมือนว่าบริษัท พนัส เอวิเอชัน เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ผลิตและพัฒนาลำต้นแบบและลำปรับปรุงเหมือนกัน
คลิปทดสอบการเก็บล้อและกางล้อของ NAX-5
https://www.facebook.com/watch/?v=820592468685493
คลิปทดสอบ Drop Test เครื่องบินทะเล NAX -5 ที่ ความสูง 30 ซม.
https://www.facebook.com/watch/?v=2851261291642294
จะเห็นว่ากว่าจะมาเป็นเครื่องบินซักลำถึงจะเป็นแค่เครื่องบิน 2 ที่นั่งแต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนายาวนานมาก
ที่มา
http://marinerthai.net/mrthome/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/1439/
https://www.engineeringtoday.net/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5-nax-5/
เครื่องบินไทยทะเลไทยทำเห็น NAX-1 ออกมาตั้งนานแล้วก็เงียบไปนึกว่าจะหยุดพัฒนาแล้วแต่ที่ไหนได้มี NAX-5 แล้ว
แต่ก็ต้องพบอุปสรรคในช่วงแรกจนทำให้การวิจัยต้องชะงักลงเมื่อ 4 ปีก่อน คือ ไม่มีนักบินคนไหนกล้าบินทดสอบให้แก่เครื่องบินทะเลที่วิจัยขึ้น พลเรือโทสมหมาย วัย 57 ปี ที่ตอนนั้นน่าจะยังเป็นผอ.สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือจึงตัดสินใจใช้เงินทุนของตัวเองราว 5 แสนบาท เพื่อเข้าเรียนการบินหวังที่จะทดสอบเครื่องบินที่ผลิตขึ้น และหลังจากที่มีการทดลองบินก็มีนักบินทดสอบอาสาสมัครเข้ามาในโครงการมากขึ้นถึง 4 คน และได้รับเงินทุนต่อยอดจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เป็นเงิน 12 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม อีก 15 ล้านบาท
อันนี้เป็นคลิปของเครื่องบิน NAX-1 เมื่อปีพ.ศ. 2553
ทดสอบเครื่องบิน NAX-2 เมื่อปีพ.ศ.2556
ทดสอบ NAX-3 พ.ศ.2555
ปฏิบัติภารกิจบินสำรวจจุดถ่ายสินค้าทางทะเลภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2555 โดย NAX-1 และ NAX-3 และดูจะเพื่อทดสอบเครื่องบิน NAX ด้วย
โครงการนี้ก็วิจัยสร้างเครื่องบินมาเรื่อย NAX-1 จนถึง NAX-5 ที่ตอนนี้น่าจะเป็นรุ่นที่ได้รับรองมาตรฐานและเอามาขายได้
ที่ผ่านมา NAX-2 ได้ผ่านการทดสอบการบินมาแล้วกว่า 200 ชั่วโมง สามารถวิ่งขึ้น-ลงในพื้นน้ำและพื้นบกได้อย่างสมบูรณ์ โดยนำมาใช้ในการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ตามภารกิจของกองทัพเรือและใช้ในการฝึกการปฏิบัติให้กับหน่วยราชการ เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ส่งผลให้ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) มีมติบูรณาการผลงานวิจัยเครื่องบินทะเลสู่การใช้งานจริง เพื่อสร้างความมั่นคงทางทะเลและสนับสนุนการท่องเที่ยว นำไปสู่การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การออกแบบ-สร้างเครื่องบินทะเล 2 ที่นั่ง และทดสอบตามมาตรฐานเพื่อการรองรับความสมควรเดินอากาศ (NAX-5)” เพื่อต่อยอดงานวิจัยเดิมเพื่อให้เกิดการรับรองมาตรฐานและนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยกองทัพเรืออนุมัติหลักการให้บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด วิสาหกิจสังกัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตเครื่องบินทะเล และเครื่องบินทะเล NAX-5 ได้รับพระราชทานนามเรียกขานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ชลากาศยาน”
NAX-5 นั้นมีคุณสมบัติวิ่งขึ้น-ลงในพื้นน้ำและพื้นบกได้ จุน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงสุด 145 ลิตร ใช้ระบบการเติมน้ำมันตามมาตรฐาน เครื่องยนต์มีความสิ้นเปลืองเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 20 ลิตรต่อชั่วโมง ใช้น้ำมันออกเทน 91/95 สามารถบินได้นาน 4 ชั่วโมง ที่ความเร็วเดินทาง 153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีพิสัยบินไกลสุด 300 นอติคอลไมล์ ที่รัศมีปฏิบัติการ 120 นอติคอลไมล์ มีเพดานบิน 10,000 ฟุต วิ่งขึ้นสูงสุด 1,400 ปอนด์ และรับภาระทางอากาศพลศาสตร์ได้ -2 ถึง +4 เท่าของน้ำหนักเครื่องบิน
ได้มีการพัฒนาปรับปรุงต่อยอดเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในความปลอดภัยของโครงสร้าง และสามารถทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยในการบินภาคอากาศจนจบตามมาตรฐานการบิน AC 90-89B ซึ่งจะนำไปสู่การจดทะเบียนเพื่อขอรับการรับรองความสมควรเดินอากาศจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (The Civil Aviation Authority of Thailand : CAAT) การบินพลเรือนทั่วไป โดยเฉพาะในส่วนเครื่องบินแบบ Light Sport Aircraft ได้กำหนดให้ใช้มาตรฐาน ASTM F-2245 : StandardSpecification for Design and Performance of a Light Sport Airplane ซึ่งมี 8 หัวข้อสำคัญ มากำกับกระบวนการสร้างและทดสอบเครื่องบิน ทั้งในส่วนความแข็งแรงโครงสร้างเครื่องบิน ตลอดจนการทดสอบระบบเครื่องบินทั้งหมดในภาคพื้นและภาคอากาศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบิน ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการบินพลเรือนทั่วไป
รองศาสตราจารย์ ดร.สินชัย ชินวรรัตน์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) หัวหน้าโครงการ NAX-5 กล่าวว่า เทรนด์ความต้องการใช้เครื่องบินทะเล โดยเฉพาะ Light Sport Aircraft ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีการผลิต 300 ลำ หากไทยสามารถผลิตใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยต้นทุนการผลิต NAX -5 อยู่ที่ลำละ 5 ล้านบาท ขณะที่เครื่องบินทะเล 2 ที่นั่งทั่วไปราคาลำละ 10 ล้านบาทขึ้นไป คาดว่าตลาดในไทยน่าจะเติบโตขึ้นมาก เนื่องจากเป็นที่ต้องการใช้ในภารกิจภาครัฐ ทั้งการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ตามภารกิจของกองทัพเรือ และใช้ในภารกิจของหน่วยงานราชการอื่นๆ เช่น ขนน้ำและดับไฟป่า เป็นต้น รวมทั้งความต้องการของภาคเอกชน โดยเฉพาะเศรษฐีที่นิยมขับเครื่องบินขนาดเล็ก
เหมือนว่าบริษัท พนัส เอวิเอชัน เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ผลิตและพัฒนาลำต้นแบบและลำปรับปรุงเหมือนกัน
คลิปทดสอบการเก็บล้อและกางล้อของ NAX-5
https://www.facebook.com/watch/?v=820592468685493
คลิปทดสอบ Drop Test เครื่องบินทะเล NAX -5 ที่ ความสูง 30 ซม.
https://www.facebook.com/watch/?v=2851261291642294
จะเห็นว่ากว่าจะมาเป็นเครื่องบินซักลำถึงจะเป็นแค่เครื่องบิน 2 ที่นั่งแต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนายาวนานมาก
ที่มา http://marinerthai.net/mrthome/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/1439/
https://www.engineeringtoday.net/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5-nax-5/