ชาเย็น ชาส้ม ชานมเย็น ชาไทย ไม่ว่าจะเรียกแบบไหน แต่ในใจทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน อยู่ที่เครื่องดื่มหวานเย็น สีส้มสดใส กลิ่นชาหอมชื่นใจ ที่หาดื่มได้ตั้งแต่รถเข็นริมทาง ไปจนถึงในห้างสรรพสินค้า ถือเป็นอีกเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมแบบกระแสดีไม่มีตกเสมอมา
คนไทยเริ่มดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้กันตั้งแต่เมื่อไหร่?
ย้อนไปได้ไกลสุดเท่าที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์จะพอบันทึกไว้ได้ ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็เริ่มมีการดื่มชากันแล้ว แต่ชาที่ว่านั้นเป็นชาร้อน ไม่ใส่นม ไม่ใส่น้ำตาล แบบชาจีน ต่อมาได้รับอิทธิพลการดื่มชาร้อน ใส่นม ใส่น้ำตาล มาจากอินเดีย แต่ก็ยังนิยมดื่มเป็นชาร้อนเท่านั้น
ในสมัยปลายรัชกาลที่ 6 ตอนนั้นมีโรงน้ำแข็งแห่งแรก ร้านกาแฟโบราณจึงนิยมเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นคลายร้อน ตอนนั้นเองก็เริ่มมีชาเย็นให้ได้ดื่มกันแล้ว แต่ชาเย็นในตอนนั้น เป็นชาสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน ไม่ใช่สีส้มสดใสที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในตอนนั้นนิยมใช้ชาซีลอนที่มีสีอ่อนมาชงเป็นชาเย็นนั่นเอง
แล้วสีส้มในชาไทยมาจากไหน ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า สีส้มในชาไทยน่าจะมาพร้อมกับการมาถึงของแบรนด์ ‘ชาตรามือ’ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2488 ได้นำเข้าใบชาแดงเป็นครั้งแรก และได้ใช้ใบชานี้ในการชงชาไทยและชาดำเย็น จึงมีสีสันและกลิ่นรสที่แตกต่างจากชาเย็นจากใบชาซีลอนที่เคยดื่มกัน
กว่าจะมาถึงในทุกวันนี้ ชาเย็น ชาไทย ชาส้ม มีการปรับสูตรไปมากมาย ตั้งแต่ใบชาที่ใช้ นอกจากชาซีลอน ชาแดงแล้ว ยังมีชาอัสสัม ชามาเลย์ ชามะลิ และใบชาอื่นๆ ไปจนถึงวัตถุดิบ ครีมเทียมแบบผง ครีมเทียมแบบเหลว นมสด นมข้นหวาน นมข้นจืด น้ำเชื่อม ขึ้นอยู่ที่สูตรของแต่ละร้าน แม้จะเป็นชาไทยเหมือนกัน แต่ละร้านต่างก็มีกลิ่นรสอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เลยทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา สามารถเลือกดื่มได้ตามความชอบ
เกือบทุกครั้งที่เราสั่งซื้อชาไทย สิ่งต้องมาด้วยกันเสมอคือการเลือกระดับความหวาน แน่นอนแต่ละร้านมีตารางการเลือกระดับความหวานที่ต่างกัน และเราแต่ละคนก็มีระดับความหวานที่ต้องการต่างกันออกไป เราอาจจะเลือกมันจากรสชาติหรือจากความรู้สึกว่าหวานน้อยหน่อยก็รู้สึกผิดน้อยกว่า เรียกได้ว่าความหวานคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประสบการณ์การดื่มชาไทย ฉะนั้นแล้วการพยายามวัดระดับความหวานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่โจทย์ที่ตรงไปตรงมาอย่างตาเห็น
.
รสชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคนแต่ละคน ความแตกต่างที่ปลายลิ้นของเราทำให้เราไม่สามารถพึ่งพาสัมผัสของเราได้ 100% ในขณะเดียวกัน การใช้เพียงตัวเลขเพื่อวัดเท่านั้นเองก็ไม่อาจเล่าเรื่องของรสชาติได้รอบด้านพอ เช่นนั้น ในการเก็บข้อมูลส่วนนี้ The MATTER จึงเลือกทำทั้งใช้เครื่องมือ Refractometer เพื่อวัดค่าน้ำตาลเป็นข้อมูลชุดหลัก และทำการชิมชาไทยเรียงแก้วเพื่อเสริมเติมส่วนอื่นๆ ของรสชาติให้ได้มากที่สุดผ่านตัวหนังสือ
โดย Refractometer คืออุปกรณ์ที่เครื่องมือวัดการหักเหแสงในของเหลว ในกรณีนี้ใช้เพื่อการวัดปริมาณน้ำตาลภายในชาไทยด้วยหน่อย Brix โดยในเครื่องวัดที่เราใช้ สามารถอ่านค่าดังกล่าวได้ตั้งแต่ 0% – 32% Brix โดยมาตราส่วน Brix นั้นเปรียบเทียบตามจำนวนน้ำตาลทรายภายในของเหลว 100 กรัม การอ่านค่า Brix โดยพื้นฐานคือ 1% Brix แปลว่าในของเหลว 100 กรัม มีน้ำตาล 1 กรัม
The MATTER เลยขอพาทุกคนมาสำรวจข้อมูลเครื่องดื่มสีส้มหวานเย็นชื่นใจ เทียบกันให้เห็นถึง 10 แบรนด์ อันได้แก่ กูโรตีชาชัก, ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน, ชาตรามือ, ร้านน้ำชงใกล้ออฟฟิศ, Café Amazon, Chongdee Teahouse, Inthanin Coffee, Kamu Kamu, Karun และ TrueCoffee
เนื่องจากทั้ง 10 แบรนด์ เป็นแบรนด์ที่ติดตลาด คุ้นหูใครหลายคน เป็นที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ และเป็นชาที่มี ‘สีส้ม’ บวกกับต้องสามารถเลือกระดับความหวานได้ เพื่อให้ทุกคนไปสั่งตามได้ว่าต้องการชาที่ระดับความหวานเท่าไหร่ รองลงมาเป็นปัจจัยเรื่องความสะดวกทั้งในด้านการสั่งซื้อ มีบริการจัดส่งเดลิเวอร์รี่ผ่านแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร (ออฟฟิศ The MATTER อยู่บริเวณรัชดา ซอย 3) แต่ทั้งนี้การเก็บข้อมูลของทีม The MATTER เป็นเพียงการเก็บข้อมูลจาก ‘แก้วชา’ ที่ปรากฏตรงหน้าพวกเราเท่านั้นนะ
ถ้าฉันดื่มชาเย็นเพียว 1 แก้ว จะดื่มได้กี่อึก?
หวานแค่ไหนก็ไม่กลัว?
น้ำแข็งที่ใช่ น้ำแข็งที่ชอบ
ชาเย็น Vs น้ำแข็ง
ที่มา
https://thematter.co/lifestyle/data-thai-tea/224340?fbclid=IwY2xjawES_0tleHRuA2FlbQIxMAABHYY_iiuPLcTheMIMBnvJr1x3dsOsiPypVRzvgGNdu1s_3xM34PzxQKx-Gg_aem_1uVH4bdfJ-WrBTdadWWk2w
https://web.facebook.com/photo?fbid=979663967051637&set=a.813354760349226
ชาเย็น ชาส้ม ชานมเย็น ชาไทย ไม่ว่าจะเรียกแบบไหน เชื่อว่าต้องเป็นของโปรดของใครหลายๆคน ทุกคนชอบ ความหวาน ระดับไหน
คนไทยเริ่มดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้กันตั้งแต่เมื่อไหร่?
ย้อนไปได้ไกลสุดเท่าที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์จะพอบันทึกไว้ได้ ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็เริ่มมีการดื่มชากันแล้ว แต่ชาที่ว่านั้นเป็นชาร้อน ไม่ใส่นม ไม่ใส่น้ำตาล แบบชาจีน ต่อมาได้รับอิทธิพลการดื่มชาร้อน ใส่นม ใส่น้ำตาล มาจากอินเดีย แต่ก็ยังนิยมดื่มเป็นชาร้อนเท่านั้น
ในสมัยปลายรัชกาลที่ 6 ตอนนั้นมีโรงน้ำแข็งแห่งแรก ร้านกาแฟโบราณจึงนิยมเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นคลายร้อน ตอนนั้นเองก็เริ่มมีชาเย็นให้ได้ดื่มกันแล้ว แต่ชาเย็นในตอนนั้น เป็นชาสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน ไม่ใช่สีส้มสดใสที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในตอนนั้นนิยมใช้ชาซีลอนที่มีสีอ่อนมาชงเป็นชาเย็นนั่นเอง
แล้วสีส้มในชาไทยมาจากไหน ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า สีส้มในชาไทยน่าจะมาพร้อมกับการมาถึงของแบรนด์ ‘ชาตรามือ’ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2488 ได้นำเข้าใบชาแดงเป็นครั้งแรก และได้ใช้ใบชานี้ในการชงชาไทยและชาดำเย็น จึงมีสีสันและกลิ่นรสที่แตกต่างจากชาเย็นจากใบชาซีลอนที่เคยดื่มกัน
กว่าจะมาถึงในทุกวันนี้ ชาเย็น ชาไทย ชาส้ม มีการปรับสูตรไปมากมาย ตั้งแต่ใบชาที่ใช้ นอกจากชาซีลอน ชาแดงแล้ว ยังมีชาอัสสัม ชามาเลย์ ชามะลิ และใบชาอื่นๆ ไปจนถึงวัตถุดิบ ครีมเทียมแบบผง ครีมเทียมแบบเหลว นมสด นมข้นหวาน นมข้นจืด น้ำเชื่อม ขึ้นอยู่ที่สูตรของแต่ละร้าน แม้จะเป็นชาไทยเหมือนกัน แต่ละร้านต่างก็มีกลิ่นรสอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เลยทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา สามารถเลือกดื่มได้ตามความชอบ
เกือบทุกครั้งที่เราสั่งซื้อชาไทย สิ่งต้องมาด้วยกันเสมอคือการเลือกระดับความหวาน แน่นอนแต่ละร้านมีตารางการเลือกระดับความหวานที่ต่างกัน และเราแต่ละคนก็มีระดับความหวานที่ต้องการต่างกันออกไป เราอาจจะเลือกมันจากรสชาติหรือจากความรู้สึกว่าหวานน้อยหน่อยก็รู้สึกผิดน้อยกว่า เรียกได้ว่าความหวานคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประสบการณ์การดื่มชาไทย ฉะนั้นแล้วการพยายามวัดระดับความหวานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่โจทย์ที่ตรงไปตรงมาอย่างตาเห็น
.
รสชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคนแต่ละคน ความแตกต่างที่ปลายลิ้นของเราทำให้เราไม่สามารถพึ่งพาสัมผัสของเราได้ 100% ในขณะเดียวกัน การใช้เพียงตัวเลขเพื่อวัดเท่านั้นเองก็ไม่อาจเล่าเรื่องของรสชาติได้รอบด้านพอ เช่นนั้น ในการเก็บข้อมูลส่วนนี้ The MATTER จึงเลือกทำทั้งใช้เครื่องมือ Refractometer เพื่อวัดค่าน้ำตาลเป็นข้อมูลชุดหลัก และทำการชิมชาไทยเรียงแก้วเพื่อเสริมเติมส่วนอื่นๆ ของรสชาติให้ได้มากที่สุดผ่านตัวหนังสือ
โดย Refractometer คืออุปกรณ์ที่เครื่องมือวัดการหักเหแสงในของเหลว ในกรณีนี้ใช้เพื่อการวัดปริมาณน้ำตาลภายในชาไทยด้วยหน่อย Brix โดยในเครื่องวัดที่เราใช้ สามารถอ่านค่าดังกล่าวได้ตั้งแต่ 0% – 32% Brix โดยมาตราส่วน Brix นั้นเปรียบเทียบตามจำนวนน้ำตาลทรายภายในของเหลว 100 กรัม การอ่านค่า Brix โดยพื้นฐานคือ 1% Brix แปลว่าในของเหลว 100 กรัม มีน้ำตาล 1 กรัม
The MATTER เลยขอพาทุกคนมาสำรวจข้อมูลเครื่องดื่มสีส้มหวานเย็นชื่นใจ เทียบกันให้เห็นถึง 10 แบรนด์ อันได้แก่ กูโรตีชาชัก, ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน, ชาตรามือ, ร้านน้ำชงใกล้ออฟฟิศ, Café Amazon, Chongdee Teahouse, Inthanin Coffee, Kamu Kamu, Karun และ TrueCoffee
เนื่องจากทั้ง 10 แบรนด์ เป็นแบรนด์ที่ติดตลาด คุ้นหูใครหลายคน เป็นที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ และเป็นชาที่มี ‘สีส้ม’ บวกกับต้องสามารถเลือกระดับความหวานได้ เพื่อให้ทุกคนไปสั่งตามได้ว่าต้องการชาที่ระดับความหวานเท่าไหร่ รองลงมาเป็นปัจจัยเรื่องความสะดวกทั้งในด้านการสั่งซื้อ มีบริการจัดส่งเดลิเวอร์รี่ผ่านแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร (ออฟฟิศ The MATTER อยู่บริเวณรัชดา ซอย 3) แต่ทั้งนี้การเก็บข้อมูลของทีม The MATTER เป็นเพียงการเก็บข้อมูลจาก ‘แก้วชา’ ที่ปรากฏตรงหน้าพวกเราเท่านั้นนะ
ถ้าฉันดื่มชาเย็นเพียว 1 แก้ว จะดื่มได้กี่อึก?
หวานแค่ไหนก็ไม่กลัว?
น้ำแข็งที่ใช่ น้ำแข็งที่ชอบ
ชาเย็น Vs น้ำแข็ง
ที่มา
https://thematter.co/lifestyle/data-thai-tea/224340?fbclid=IwY2xjawES_0tleHRuA2FlbQIxMAABHYY_iiuPLcTheMIMBnvJr1x3dsOsiPypVRzvgGNdu1s_3xM34PzxQKx-Gg_aem_1uVH4bdfJ-WrBTdadWWk2w
https://web.facebook.com/photo?fbid=979663967051637&set=a.813354760349226