อนุกรมวิธาน
Kingdom :
Animalia (สัตว์)
Phylum :
Cnidaria (สัตว์ลำตัวมีโพรงและมีเข็มพิษ)
Subphylum :
Anthozoa (ปะการังและดอกไม้ทะเล)
Phylum
Cnidaria ตั้งจากรากศัพท์
Knide แปลว่า Nettle หรือ ตำแยที่ทำให้เจ็บคันระคายเคือง
ตามลักษณะเฉพาะของสัตว์ในไฟลัมนี้ คือมีเข็มพิษ (Cnidocyte)
Cnidocyte คือเซลล์ที่ออกแบบมาพิเศษ สำหรับการฉีดสารพิษเข้าตัวเหยื่อ (Envenomation) และ การจับเหยื่อ
เดิมที
Cnidaria มีชื่อว่า
Coelenterata อันมาจาก
Koilos แปลว่า ช่องโพรง +
Enteron แปลว่า ลำไส้
แต่ว่า คำอธิบายแบบนั้น มันสื่อรวมไฟลัมอื่น อย่าง ฟองน้ำ (Sponge, Phylum
Porifera) และ หวีวุ้น (Comb jelly, Phylum
Ctenophora) เข้าไปด้วย ก็เลยเปลี่ยน เพื่อลดความคลุมเครือ มาใช้ลักษณะเฉพาะไฟลัมจริงๆ นั่นคือ การมีเข็มพิษ Cnidocyte จึงเป็น
Cnidaria ในปัจจุบัน
ส่วน Subphylum
Anthozoa มาจาก
Anthos แปลว่า ดอกไม้ +
Zoa แปลว่า สัตว์
1. ปะการังเป็นสัตว์
ไม่น่าแปลกใจอะไรถ้าหากเราจะเข้าใจว่าปะการังเป็นพืช เพราะด้วยโครงสร้างกิ่งก้านและยังมีฐานเป็นหินปูนแข็งๆ
แต่มันเป็นสัตว์ครับ ปะการัง เกิดจากการรวมตัวกันของ โพลิป (Polyp) จำนวนมหาศาล
โดย โพลิป มีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันกับ ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) สาหร่ายเซลล์เดียว ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของสีสันปะการังเลย
2. ปะการังต้องการแสงสว่างในการดำรงชีวิต
โพลิปจะส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียให้กับซูแซนเทลลี
ซูแซนเทลลีจะเอาสิ่งส่งมอบจากโพลิปไปสังเคราะห์แสง ได้น้ำตาลและสารอาหารจำเป็นส่งให้โพลิป
วนเวียนไปเป็นวัฏจักร
ดังนั้นแล้วปะการังต้องการแสงในการดำรงชีวิต และความลึกสูงสุดที่จะพบปะการัง คือประมาณ 70 เมตร
3. ปะการัง เรืองแสงในตอนกลางคืนได้
ด้วยความที่เติบโตห่างจากผิวน้ำเพียงไม่กี่เมตร ปะการังน้ำตื้นส่วนใหญ่มีการสร้างโปรตีนป้องกันร่างอันบอบบางของตัวเอง จาก รังสี UV
และโปรตีนนี้เอง ก็มีคุณสมบัติเรืองแสงในที่มืด
4. ปะการัง กินแพลงค์ตอน และ ปลาเล็ก
โพลิปเอง มีปากและลำไส้ ซึ่งมันกินเนื้อ ไม่ว่าจะเพลงค์ตอนพืชหรือแพลงค์ตอนสัตว์ ก็กินหมดเลย รวมถึงปลาเล็กที่บังเอิญว่ายมาด้วย
5. ปะการัง สามารถขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้
หลังจากเซลล์ไข่ผสมพันธุ์กับอสุจิ มันก็จะกลายเป็นตัวอ่อนปะการัง ไหลไปตามกระแสน้ำหาที่เหมาะสมที่จะลงจอด
เมื่อเจอที่ดีๆ ในการเกาะติด มันจะพัฒนาเป็นโพลิป และอยู่ที่เดิมตรงนั้นไปชั่วชีวิต
แต่ก็.. ไม่จำเป็นต้องสร้าง เซลล์ไข่และอสุจิเสมอไป ปะการังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการ แตกหน่อ (Budding) หรือ การหักตัวเองออก (Fragmentation) ก็ได้ และตลอดชีวิตของปะการัง มันอาจจะใช้ทั้ง 3 วิธีสลับไปมาตามความเหมาะสมเลย
6. เกณฑ์แรกสุดที่นักอนุกรมวิธาน ใช้แบ่งกลุ่มปะการัง ก็คือ จำนวนหนวดของโพลิป
- Class
Hexacorallia มาจาก
Hexa แปลว่า 6 + Coral
คือสิ่งมีชีวิตที่โพลิปมี 6 หนวด
และมีโครงสร้างร่างกายทำจาก แร่แคลไซต์ (Calcite) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของหินปูน (Calcium carbonate)
อันนี้จะเป็นกลุ่มของ ปะการังหิน ดอกไม้ทะเล พรมทะเล
- Class
Octocorallia มาจาก
Octa แปลว่า 8 + Coral
คือสิ่งมีชีวิตที่โพลิปมี 8 หนวด
อันนี้จะเป็นกลุ่มของ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังอ่อน ปากกาทะเล กัลปังหา และ แส้ทะเล
*ชื่อแปลกๆเต็มเลย เดี๋ยวข้อต่อไปผมลงรูปรัวๆ ครับ
7. ปะการัง มีทุกสี ทุกรูปร่าง ทุกขนาด
และตรงนี้ก็จะรวมปะการังดังๆ เอาไว้ มาดูไปพร้อมกันเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1 Class Hexacorallia
1.1 Order Scleractinia - ปะการังหินแข็ง (Skleros แข็ง + Aktis รังสี)
*กลุ่มฟองน้ำและปะการัง ตัวมีรูพรุน ลำแสงลอดผ่านโดยทั่วไป คำเรียกที่สื่อถึงกลุ่มนี้อย่างมีนัยยะ คือ Aktis กับ Pora
1.1.1 Family Acroporidae - ปะการังเขากวาง (Akron ยอดเขา)
Acropora cervicornis
Staghorn, เขากวาง
แนวปะการังที่สำคัญมากๆ เพราะด้วยกิ่งก้านที่ใหญ่และแข็งแรง มันเป็นแนวปราการลำดับต้นๆ เลย สำหรับการลดแรงจากคลื่น
เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่ โตไวที่สุด และ ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนรุนแรงที่สุด
Acropora palmata
Elkhorn, เขากวาง
เมื่อก่อนพบกระจัดกระจายมาก โดยเฉพาะแถบแคริบเบียน แต่ตอนนี้ใกล้สูญพันธุ์อย่างรุนแรง
1.1.2 Family Agariciidae - ปะการังแผ่น (Agaric เห็ดประเภทที่ขึ้นขึ้นบนลำต้นของต้นไม้)
Agaricia agaricites
Lettuce, ผักกาดหอม
เป็นสถานที่ที่เหยื่อตัวน้อยมากมายใช้หลบภัยจากนักล่า
1.1.3 Family Mussidae - ปะการังสมอง
Diploria labyrinthiformis
Grooved brain, ร่องสมอง
เป็นปะการังที่โตช้ามาก ที่เราเห็นเป็นทรงสมองชัดแบบนี้ คือปะการังที่มีอายุเป็นร้อยๆ ปี
1.1.4 Family Euphylliidae - ปะการังกิ่งก้าน (Eu แท้จริง + Phyllon ใบไม้)
Plerogyra sinuosa
Bubble, ฟองสบู่
ตอนกลางวัน บวมเป่งเป็นลูกโป่งจิ๋ว ที่บางคนก็นึกว่าเป็นไข่ปลา แต่ตอนกลางคืนมันแฟบลงและยื่นหนวดออกมาหาอาหาร
1.1.5 Family Dendrophylliidae - ปะการังถ้วย (Dendron ต้นไม้)
*หลายสายพันธุ์ไม่มีสาหร่ายในตัว ใช้การจับเหยื่อเพื่อสารอาหารล้วนๆ
Tubastraea spp.
Sun, ดวงอาทิตย์
อยู่ในที่แสงสว่างเข้าถึงน้อย โดยเฉพาะบริเวณถ้ำ ที่ซึ่งมีกระแสน้ำแรงและสารอาหารมาก
1.1.6 Family Fungiidae - ปะการังเห็ด
Pleuractis paumotensis
Mushroom, เห็ด
พบได้ในมหาสมุทรน้ำอุ่นทั่วโลก มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นสมุทร
1.2 Order Actiniaria - ดอกไม้ทะเล
1.2.1 Family Actiniidae - ประมาณว่า ดอกไม้ทะเลที่แท้จริง
Condylactis gigantea
Pink-tipped anemone, ดอกไม้ทะเลปลายชมพู
มีเข็มพิษทรงพลัง ออกแบบมาสำหรับจับปลาและหนอนทะเล มักพบอยู่ร่วมกับ กุ้งพยาบาล หรือ ปูกระดุม (Porcelain crab)
1.2.2 Family Stichodactylidae - ดอกไม้ทะเลพรม (Stikhos แถว + Daktulos นิ้ว)
Stichodactyla haddoni
Saddle carpet anemone, ดอกไม้ทะเลพรมหลังอาน
ดอกไม้ทะเลที่อยู่ร่วมกับปลาการ์ตูนมากถึง 7 สายพันธุ์
2 Class Octocorallia - โพลิป 8 หนวด
2.1 Order Alcyonacea - ปะการังอ่อน กัลปังหา แส้ทะเล (Alkyon นกกระเต็น, รูปทรงคล้ายบ้านของมัน)
2.1.1 Family Tubipora - ปะการังท่อ (Tubus ท่อ)
Tubipora musica
Organ pipe, ท่อออร์แกน
แม้ว่าจะอยู่กลุ่มปะการังอ่อน แต่มันมีโครงสร้างหินปูนที่แข็งแรงมาก และพบในน้ำลึกเพียงแค่ 2-20 เมตร
2.1.2 Family Nephtheidae - ปะการังต้นไม้ (Nephthys สตรีผู้เฝ้าบ้าน)
Dendronephthya spp.
เป็นปะการังที่เบ่งบานได้ดีเมื่อมีกระแสน้ำเชี่ยวรุนแรง
2.1.3 Family Gorgoniidae - กัลปังหา (Gorgonia ผมของกอร์กอน)
Gorgonia flabellum
Gorgonian sea fan, กัลปังหากอร์กอน
มักจะเป็นบ้านให้กับม้าน้ำแคระ
Leptogorgia virgulata
Sea whip, แส้ทะเล
ถ้าส่องดูใกล้ๆ จะเจอกุ้งแส้ทะเลจิ๋วเต็มไปหมดเลย
8. ปะการัง ค้ำจุนชีวิตในมหาสมุทรกว่า 25%
ปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้อย และเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารมากมายนับไม่ถ้วน
มีการประมาณไว้ว่า แนวปะการังเป็นบ้านของสัตว์อย่างน้อย 550,000 สปีชีส์ และอาจจะสูงถึง 1,330,000
ซึ่งในปริมาณนี้เอง จำนวนไม่น้อยเลยที่พบเจอได้ที่นี่เท่านั้น
แม้จะมีอยู่ไม่ถึง 1% ของพื้นที่มหาสมุทร แต่มีปลามากกว่า 4,000 สปีชีส์เลยที่พึ่งพาปะการังในการดำรงชีวิต
9. ปะการัง ทำความสะอาดน้ำที่มันอาศัยอยู่
เราจะไม่มีทางเจอปะการังในน้ำที่ขุ่นมัว
ปะการังมากมายกินเศษอนุภาพที่ล่องลอยในน้ำ ทำให้น้ำสะอาดใจแจ๋ว
10. แนวปะการังที่แข็งแรง ลดแรงจากคลื่นได้มากถึง 97%
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงมากๆ มันช่วยลดความแรงของคลื่นกระทบฝั่ง และลดโอกาสเกิดน้ำท่วม
มีการประเมินไว้ว่า แนวปะการังช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้มากถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
11. หาดทรายขาว มาจากปะการัง
ปลานกแก้ว (Parrotfish) แทะปะการัง เพื่อกรองกินซูแซนเทลลี และขับถ่ายสิ่งที่เหลือ ซึ่งจะเป็นทราย
โดยเฉลี่ยแล้ว ใน 1 ปี ปลานกแก้ว 1 ตัวสามารถสร้างทรายได้ถึง 90 กิโลกรัมเลย
12. ปะการัง มีมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์แล้ว
ปะการังมีอยู่บนโลกมากว่า 240 ล้านปีแล้ว และทั่วโลกมีมากกว่า 100 ประเทศที่มีแนวปะการัง
มันโตช้ามาก ในช่วงเวลา 1 ปี มันงอกขึ้นเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น
และนี่ทำให้เกิดความกังวลอย่างหนักว่าถ้าหากวันหนึ่งมีบางอย่างคุกคามปะการัง เราอาจจะสูญเสียมันไปตลอดกาล
13. ปะการังสีขาว คือปะการังตาย
ปะการังสีขาว อาจจะดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
แต่ความจริงแล้วนี่คือมหันตภัย มันคือ การฟอกขาว (Bleaching)
ปะการัง มีชีวิตอยู่ได้โดยพึ่งพา ซูแซนเทลลี มากถึงประมาณ 90%
เมื่อท้องทะเลมีอุณหภูมิ แสงสว่าง และ สารอาหาร ที่ไม่เหมาะสม สาหร่ายเหล่านี้จะลี้ภัยออกจากปะการัง
และภาวะโลกร้อนจากมนุษย์ก็เป็นปัญหาใหญ่ต่อแนวปะการังทั่วโลกในปัจจุบัน
การเพิ่มขึ้น เพียงแค่ 1.5 องศาเซลเซียส ของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิมหาสมุทร ก็หมายถึงการสูญเสีย 70-90% แล้ว
14. ตอนนี้ปะการังกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างหนัก
ภาวะโลกร้อน ทำให้ปะการังสูญเสียภูมิคุ้มกันและเป็นโรคได้ง่ายขึ้น
ท้องทะเลที่อุ่นขึ้น สนับสนุนการเจริญเติบโตของนักล่าปะการังอย่าง ดาวมงกุฎหนาม
เต่าทะเลที่ลดลง ทำให้ไม่มีผู้ควบคุมวัชพืชอย่าง หญ้าทะเล
และ สารเคมีที่เราโหมกระหน่ำปล่อยลงทะเล (ทะเลกลายเป็นกรดมากขึ้นเรื่อยๆ)
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการคุกคามปะการัง
REFERENCE
https://www.discoverwildlife.com/animal-facts/insects-invertebrates/facts-about-coral-reefs
https://www.sheddaquarium.org/stories/seven-surprising-facts-about-coral
https://www.citrusreef.com/blogs/news/types-of-coral-reef-species
https://www.mcsuk.org/news/six-facts-about-corals/
https://oceangeneration.org/coral-reef-facts/
https://reef-world.org/blog/surprising-coral-facts
ชีวิตมหัศจรรย์ EP. 2 - 14 เรื่องที่น่าสนใจของ ปะการัง (Coral)
อนุกรมวิธาน
Kingdom : Animalia (สัตว์)
Phylum : Cnidaria (สัตว์ลำตัวมีโพรงและมีเข็มพิษ)
Subphylum : Anthozoa (ปะการังและดอกไม้ทะเล)
Phylum Cnidaria ตั้งจากรากศัพท์ Knide แปลว่า Nettle หรือ ตำแยที่ทำให้เจ็บคันระคายเคือง
ตามลักษณะเฉพาะของสัตว์ในไฟลัมนี้ คือมีเข็มพิษ (Cnidocyte)
Cnidocyte คือเซลล์ที่ออกแบบมาพิเศษ สำหรับการฉีดสารพิษเข้าตัวเหยื่อ (Envenomation) และ การจับเหยื่อ
เดิมที Cnidaria มีชื่อว่า Coelenterata อันมาจาก Koilos แปลว่า ช่องโพรง + Enteron แปลว่า ลำไส้
แต่ว่า คำอธิบายแบบนั้น มันสื่อรวมไฟลัมอื่น อย่าง ฟองน้ำ (Sponge, Phylum Porifera) และ หวีวุ้น (Comb jelly, Phylum Ctenophora) เข้าไปด้วย ก็เลยเปลี่ยน เพื่อลดความคลุมเครือ มาใช้ลักษณะเฉพาะไฟลัมจริงๆ นั่นคือ การมีเข็มพิษ Cnidocyte จึงเป็น Cnidaria ในปัจจุบัน
ส่วน Subphylum Anthozoa มาจาก Anthos แปลว่า ดอกไม้ + Zoa แปลว่า สัตว์
1. ปะการังเป็นสัตว์
ไม่น่าแปลกใจอะไรถ้าหากเราจะเข้าใจว่าปะการังเป็นพืช เพราะด้วยโครงสร้างกิ่งก้านและยังมีฐานเป็นหินปูนแข็งๆ
แต่มันเป็นสัตว์ครับ ปะการัง เกิดจากการรวมตัวกันของ โพลิป (Polyp) จำนวนมหาศาล
โดย โพลิป มีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันกับ ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) สาหร่ายเซลล์เดียว ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของสีสันปะการังเลย
2. ปะการังต้องการแสงสว่างในการดำรงชีวิต
โพลิปจะส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียให้กับซูแซนเทลลี
ซูแซนเทลลีจะเอาสิ่งส่งมอบจากโพลิปไปสังเคราะห์แสง ได้น้ำตาลและสารอาหารจำเป็นส่งให้โพลิป
วนเวียนไปเป็นวัฏจักร
ดังนั้นแล้วปะการังต้องการแสงในการดำรงชีวิต และความลึกสูงสุดที่จะพบปะการัง คือประมาณ 70 เมตร
3. ปะการัง เรืองแสงในตอนกลางคืนได้
ด้วยความที่เติบโตห่างจากผิวน้ำเพียงไม่กี่เมตร ปะการังน้ำตื้นส่วนใหญ่มีการสร้างโปรตีนป้องกันร่างอันบอบบางของตัวเอง จาก รังสี UV
และโปรตีนนี้เอง ก็มีคุณสมบัติเรืองแสงในที่มืด
4. ปะการัง กินแพลงค์ตอน และ ปลาเล็ก
โพลิปเอง มีปากและลำไส้ ซึ่งมันกินเนื้อ ไม่ว่าจะเพลงค์ตอนพืชหรือแพลงค์ตอนสัตว์ ก็กินหมดเลย รวมถึงปลาเล็กที่บังเอิญว่ายมาด้วย
5. ปะการัง สามารถขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้
หลังจากเซลล์ไข่ผสมพันธุ์กับอสุจิ มันก็จะกลายเป็นตัวอ่อนปะการัง ไหลไปตามกระแสน้ำหาที่เหมาะสมที่จะลงจอด
เมื่อเจอที่ดีๆ ในการเกาะติด มันจะพัฒนาเป็นโพลิป และอยู่ที่เดิมตรงนั้นไปชั่วชีวิต
แต่ก็.. ไม่จำเป็นต้องสร้าง เซลล์ไข่และอสุจิเสมอไป ปะการังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการ แตกหน่อ (Budding) หรือ การหักตัวเองออก (Fragmentation) ก็ได้ และตลอดชีวิตของปะการัง มันอาจจะใช้ทั้ง 3 วิธีสลับไปมาตามความเหมาะสมเลย
6. เกณฑ์แรกสุดที่นักอนุกรมวิธาน ใช้แบ่งกลุ่มปะการัง ก็คือ จำนวนหนวดของโพลิป
- Class Hexacorallia มาจาก Hexa แปลว่า 6 + Coral
คือสิ่งมีชีวิตที่โพลิปมี 6 หนวด
และมีโครงสร้างร่างกายทำจาก แร่แคลไซต์ (Calcite) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของหินปูน (Calcium carbonate)
อันนี้จะเป็นกลุ่มของ ปะการังหิน ดอกไม้ทะเล พรมทะเล
- Class Octocorallia มาจาก Octa แปลว่า 8 + Coral
คือสิ่งมีชีวิตที่โพลิปมี 8 หนวด
อันนี้จะเป็นกลุ่มของ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังอ่อน ปากกาทะเล กัลปังหา และ แส้ทะเล
*ชื่อแปลกๆเต็มเลย เดี๋ยวข้อต่อไปผมลงรูปรัวๆ ครับ
7. ปะการัง มีทุกสี ทุกรูปร่าง ทุกขนาด
และตรงนี้ก็จะรวมปะการังดังๆ เอาไว้ มาดูไปพร้อมกันเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
8. ปะการัง ค้ำจุนชีวิตในมหาสมุทรกว่า 25%
ปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้อย และเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารมากมายนับไม่ถ้วน
มีการประมาณไว้ว่า แนวปะการังเป็นบ้านของสัตว์อย่างน้อย 550,000 สปีชีส์ และอาจจะสูงถึง 1,330,000
ซึ่งในปริมาณนี้เอง จำนวนไม่น้อยเลยที่พบเจอได้ที่นี่เท่านั้น
แม้จะมีอยู่ไม่ถึง 1% ของพื้นที่มหาสมุทร แต่มีปลามากกว่า 4,000 สปีชีส์เลยที่พึ่งพาปะการังในการดำรงชีวิต
9. ปะการัง ทำความสะอาดน้ำที่มันอาศัยอยู่
เราจะไม่มีทางเจอปะการังในน้ำที่ขุ่นมัว
ปะการังมากมายกินเศษอนุภาพที่ล่องลอยในน้ำ ทำให้น้ำสะอาดใจแจ๋ว
10. แนวปะการังที่แข็งแรง ลดแรงจากคลื่นได้มากถึง 97%
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงมากๆ มันช่วยลดความแรงของคลื่นกระทบฝั่ง และลดโอกาสเกิดน้ำท่วม
มีการประเมินไว้ว่า แนวปะการังช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้มากถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
11. หาดทรายขาว มาจากปะการัง
ปลานกแก้ว (Parrotfish) แทะปะการัง เพื่อกรองกินซูแซนเทลลี และขับถ่ายสิ่งที่เหลือ ซึ่งจะเป็นทราย
โดยเฉลี่ยแล้ว ใน 1 ปี ปลานกแก้ว 1 ตัวสามารถสร้างทรายได้ถึง 90 กิโลกรัมเลย
12. ปะการัง มีมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์แล้ว
ปะการังมีอยู่บนโลกมากว่า 240 ล้านปีแล้ว และทั่วโลกมีมากกว่า 100 ประเทศที่มีแนวปะการัง
มันโตช้ามาก ในช่วงเวลา 1 ปี มันงอกขึ้นเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น
และนี่ทำให้เกิดความกังวลอย่างหนักว่าถ้าหากวันหนึ่งมีบางอย่างคุกคามปะการัง เราอาจจะสูญเสียมันไปตลอดกาล
13. ปะการังสีขาว คือปะการังตาย
ปะการังสีขาว อาจจะดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
แต่ความจริงแล้วนี่คือมหันตภัย มันคือ การฟอกขาว (Bleaching)
ปะการัง มีชีวิตอยู่ได้โดยพึ่งพา ซูแซนเทลลี มากถึงประมาณ 90%
เมื่อท้องทะเลมีอุณหภูมิ แสงสว่าง และ สารอาหาร ที่ไม่เหมาะสม สาหร่ายเหล่านี้จะลี้ภัยออกจากปะการัง
และภาวะโลกร้อนจากมนุษย์ก็เป็นปัญหาใหญ่ต่อแนวปะการังทั่วโลกในปัจจุบัน
การเพิ่มขึ้น เพียงแค่ 1.5 องศาเซลเซียส ของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิมหาสมุทร ก็หมายถึงการสูญเสีย 70-90% แล้ว
14. ตอนนี้ปะการังกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างหนัก
ภาวะโลกร้อน ทำให้ปะการังสูญเสียภูมิคุ้มกันและเป็นโรคได้ง่ายขึ้น
ท้องทะเลที่อุ่นขึ้น สนับสนุนการเจริญเติบโตของนักล่าปะการังอย่าง ดาวมงกุฎหนาม
เต่าทะเลที่ลดลง ทำให้ไม่มีผู้ควบคุมวัชพืชอย่าง หญ้าทะเล
และ สารเคมีที่เราโหมกระหน่ำปล่อยลงทะเล (ทะเลกลายเป็นกรดมากขึ้นเรื่อยๆ)
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการคุกคามปะการัง
REFERENCE
https://www.discoverwildlife.com/animal-facts/insects-invertebrates/facts-about-coral-reefs
https://www.sheddaquarium.org/stories/seven-surprising-facts-about-coral
https://www.citrusreef.com/blogs/news/types-of-coral-reef-species
https://www.mcsuk.org/news/six-facts-about-corals/
https://oceangeneration.org/coral-reef-facts/
https://reef-world.org/blog/surprising-coral-facts