JJNY : แห่แชร์วิธีเรียนจบ "California University"│เปิดตลาดหุ้นไทยร่วง│เตรียมกระอัก ค่าไฟปลายปีพุ่ง│เวียดนาม‘เศรษฐี’เพิ่ม

โซเชียลแห่แชร์ วิธีเรียนจบมหาวิทยาลัยดัง "California University" พร้อมคลิปพาทัวร์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_777777827861
 
 
โซเชียลแห่แชร์วิธีได้ใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยดัง “California University” พร้อมคลิปทัวร์มหาวิทยาลัย สภาพภายในสุดอึ้ง!
 
เป็นประเด็นร้อนแรงไม่น้อย สำหรับ “มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (California University) ที่ชาวเน็ตแห่แสดงความสนใจและตั้งคำถามถึงมาตรฐานของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเรียน-การได้ปริญญา รวมถึงพาไปส่องมหาวิทยาลัย
 
ล่าสุดผู้ใช้ X (@iwhale) ได้แชร์วิธีการเรียนจบหลักสูตรปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น ได้แก่:
1. กรอกแบบฟอร์ม (คลิก)
2. จ่ายค่าประเมินวุฒิเทียบเท่า 200 ดอลลาร์
3. จ่ายค่าจัดส่งมาไทย 40 ดอลลาร์
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด คิดเป็นเงินไทยราว 8,467 บาท เพียงเท่านี้ก็ได้จะได้รับวุฒิดอกเตอร์แล้ว
 
นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ x แห่แชร์วิดีโอของคนไทยใน LA ที่เคยพาไปส่องมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โดยพบว่ามหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนถนน Beverly ในเขตฟิลิปปินส์ทาวน์หรือเขตผู้มีรายได้น้อย ภายนอกมีลักษณะเป็นห้องแถวสูง 2 ชั้น พร้อมป้ายระบุว่า California University
 
ส่วนภายในมีโต๊ะเพียงไม่กี่ตัว อีกทั้งยังเป็นที่ทำฟันและเลี้ยงเด็กอีกด้วย ถือว่า ภาพลักษณ์ค่อนข้างที่ดูแตกต่างจากมหาวิทยาลัยโดยทั่วๆ ไปไม่น้อย

https://x.com/iwhale/status/1811462863384641866



เปิดตลาดหุ้นไทยร่วง 2.75 จุด
https://www.dailynews.co.th/news/3633157/

หุ้นไทยเช้านี้ลบ 2.75 จุด คาดนักลงทุนขายทำกำไร

เปิดตลาดหุ้นไทยภาคเช้า ของวันที่ 12 ก.ค. 67 ดัชนีอยู่ที่ 1,326.62 จุด ลดลง 2.75 จุด มูลค่าการซื้อขาย 2,046.39 ล้านบาท โดย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐในเดือน มิ.ย. ที่ชะลอตัวต่อเนื่อง คาดช่วยหนุน SET ได้ในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม มองดัชนีขึ้นมาสะท้อนความหวังการลดดอกเบี้ยของเฟดใน ก.ย. ระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นทิศทางการเคลื่อนไหว ให้ระวังแรงขายทำกำไรเหมือนตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืน ด้านแนวต้านอยู่ที่ 1,335-1,340 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1,320-1,325 จุด
 

 
ผู้ใช้เตรียมกระอัก ค่าไฟปลายปีพุ่ง กกพ.เปิด 3 ทางเลือก จ่ายแพงสุดหน่วยละ 6.01 บาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_4676940

ค่าไฟปลายปีพุ่ง กกพ.เปิด 3 ทางเลือก จ่ายแพงสุดหน่วยละ 6.01 บ.
 
ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงจากงวดก่อนหน้า 1.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด พ.ค. – ส.ค. 2567) เป็น 36.63 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศและต่างประเทศ และการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแม่เมาะซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีความพร้อมในการผลิตลดลง และสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า 3.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูตามสถานการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวในปลายปี เป็นสามสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าส่งผลให้ค่าไฟในช่วงปลายปีนี้อาจจะต้องปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ขึ้นในระดับ 46.83-182.99 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด ก.ย. – ธ.ค. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วยจากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย

ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ในการประชุมกกพ. ครั้งที่ 28/2567 (ครั้งที่ 913) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณ ค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ก.ย – ธ.ค. 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป ดังนี้

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 222.71 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 98,495 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 163.39 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นจำนวน 188.41 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2567 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน
 
กรณีที่ 2: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 3 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 113.78 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 32,832 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 54.46 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 79.48 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567
จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 65,663 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากงวดปัจจุบัน
 
กรณีที่ 3: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 86.55 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 16,416 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 27.23 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 52.25 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น
 
โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 82,079 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากงวดปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่