ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ทั้งในแง่ของการเติบโตที่ชะลอตัวและความยากลำบากในการทำกำไร พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และการแข่งขันในตลาด
โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดฟู้ด เดลิเวอรี ในปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัว 1% จากปีก่อน แม้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งจะเพิ่มขึ้น 2.8% เป็น 185 บาท แต่จำนวนครั้งและปริมาณ การสั่งมีแนวโน้มลดลง การปิดตัวของ Robinhood เป็นสัญญาณที่ชัดเจนถึงความจำเป็นในการปรับตัวและหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้
ทั้งนี้หากพิจารณาจากภูมิทัศน์ของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดทุนปีละหลายพันล้านบาท โดยจากการวิเคราะห์ ผลประกอบการของผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี 4 รายใหญ่ (Grab, LINE MAN, Robinhood, foodpanda) พบว่ามีเพียง Grab ที่ทำกำไรได้ 2 ปีติดต่อกัน ข้อมูลจากครีเดน ดาต้า ระบุว่า Grab ที่จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทแกร็บ แท็กซี่ ประเทศไทย จำกัด มีรายได้ในปี 2565 อยู่ที่ 15,197 ล้านบาท และ มีกำไร 576 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2566 มีรายได้ 15,622 ล้านบาท และมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 1,308 ล้านบาท
โดยแกร็บ ประเทศไทย สามารถทำกำไรได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จากการเปิดตัวบริการใหม่ โดยธุรกิจหลักยังคงเป็นธุรกิจการเดินทาง เรียกรถและฟู้ดเดลิเวอรี ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในธุรกิจเดลิเวอรี GrabFood และ GrabMart ผลจากการวางกลยุทธ์มาตั้งแต่ปี 2563 ทำให้มูลค่าออเดอร์เติบโตขึ้น 17% ส่งผลให้ Value ต่อออเดอร์มีคุณภาพขึ้นมาก ลูกค้าที่มาใช้บริการมีคุณภาพสูงขึ้นด้วยเช่นกัน อานิสงส์จากการดึงแบรนด์ใหญ่เข้ามาเปิดร้านบน Grab ได้มากขึ้น ด้าน Grab ThumbsUp จำนวนพาร์ตเนอร์ร้านค้าอยู่ในหลักพันแห่ง ตั้งเป้าเติมร้านใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมในทุกหัวเมือง และ Only at Grab ยังคงช่วยดึงดูดให้ร้านอาหารต่างๆ เข้ามาเปิดให้บริการบนแพลตฟอร์ม เนื่องจากบริการของ Grab ThumbsUp และ Only at Grab สามารถช่วยให้ร้านค้าถูกมองเห็นมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมายอดขายของร้านอาหารบนทั้งสองบริการเพิ่มสูงถึง 50-300%
นอกจากนี้ แกร็บ ยังได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างบริการรับเองที่ร้าน (Pickup) บริการสั่ง
ส่วน LINE MAN และ foodpanda แม้ว่ายังคงขาดทุน แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าตัวเลขการขาดทุนลดลง โดย LINE MAN จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทไลน์แมน (ประเทศไทย) จำกัด นั้นในปี 2565 มีรายได้ 7,802 ล้านบาท และขาดทุน 2,730 ล้านบาท ส่วนในปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 11,634 ล้านบาท และเริ่มขาดทุนลดลงเหลือ 253 ล้านบาท ขณะที่ยังมีเงินทุนที่แข็งแกร่ง เพราะปลายปี 2565 รับเงินระดมทุนรอบซีรีส์บี มูลค่า 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9,700 ล้านบาท) นำโดย GIC กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ และบริษัท LINE Corporation ในการระดมทุนรอบนี้ยังมี BRV Capital Management, บริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR), Bualuang Ventures และ Taiwan Mobile ร่วมลงทุนด้วย
ขณะที่ foodpanda ที่จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทเดลิเวอรี่ ฮีโร่ ประเทศไทย จำกัด นั้นในปี 2565 มีรายได้ 3,628 ล้านบาทและ ขาดทุน 3,255 ล้านบาท และปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 3,843 ล้านบาท และขาดทุนลดลงเหลือ 522 ล้านบาท
ส่วน Robinhood ที่กำลังยุติการให้บริการ ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ที่ในปี 2565 มีรายได้ 538 ล้านบาท และ ขาดทุน 1,986 ล้านบาท และในปี 2566 แอป Robinhood มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 724 ล้านบาท และ ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2,155 ล้านบาท ซึ่งหากมองย้อนหลังกลับปี 4 ปีที่เปิดให้บริการ แอป Robinhood บริษัท เพอเพิล เวนเจอร์ จำกัด มียอดขาดทุนสะสมกว่า 5,565 ล้านบาท
แม้ว่า เอสซีบี เอกซ์ จะให้เหตุผลจากการยุติให้บริการของ Robinhood ครั้งนี้ว่าบรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิดได้ตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
แต่ภาพที่เกิดขึ้นในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี นั้นคล้ายกับการแข่งขันธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่เนื้อหอมมีผู้ให้บริการไทย-เทศ หลาย 10 ราย แห่เข้ามาเปิดให้บริการ มีใช้เม็ดเงินการตลาดมหาศาลแย่งชิงฐานลูกค้า ท้ายสุดทยอยปิดตัวไป จนเหลือขณะนี้เหลือเพียงผู้ให้บริการมาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ อยู่ 2 ราย คือช้อปปี้ และลาซาด้า ที่สามารถยืนหยัด และมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
ขณะที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี คาดการณ์ว่าในเร็วๆ นี้อาจจะเหลือผู้ให้บริการที่มีความแข็งแกร่ง และสามารถทำกำไรได้เหลือเพียงแค่ 2 รายเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าการมีผู้ให้บริการน้อยราย ทำให้การแข่งขันลดลง ผู้ให้บริการสามารถกำหนดทิศทางตลาด เช่น ค่า GP หรือค่าเที่ยวสำหรับไรเดอร์
Cr.
https://www.thansettakij.com/technology/technology/600886
‘ฟู้ดเดลิเวอรี’ ตามรอย‘อีคอมเมิร์ซ’ เวทีนี้มีผู้แข็งแกร่งได้เพียงแค่ 2 ราย
โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดฟู้ด เดลิเวอรี ในปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัว 1% จากปีก่อน แม้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งจะเพิ่มขึ้น 2.8% เป็น 185 บาท แต่จำนวนครั้งและปริมาณ การสั่งมีแนวโน้มลดลง การปิดตัวของ Robinhood เป็นสัญญาณที่ชัดเจนถึงความจำเป็นในการปรับตัวและหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้
ทั้งนี้หากพิจารณาจากภูมิทัศน์ของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดทุนปีละหลายพันล้านบาท โดยจากการวิเคราะห์ ผลประกอบการของผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี 4 รายใหญ่ (Grab, LINE MAN, Robinhood, foodpanda) พบว่ามีเพียง Grab ที่ทำกำไรได้ 2 ปีติดต่อกัน ข้อมูลจากครีเดน ดาต้า ระบุว่า Grab ที่จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทแกร็บ แท็กซี่ ประเทศไทย จำกัด มีรายได้ในปี 2565 อยู่ที่ 15,197 ล้านบาท และ มีกำไร 576 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2566 มีรายได้ 15,622 ล้านบาท และมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 1,308 ล้านบาท
โดยแกร็บ ประเทศไทย สามารถทำกำไรได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จากการเปิดตัวบริการใหม่ โดยธุรกิจหลักยังคงเป็นธุรกิจการเดินทาง เรียกรถและฟู้ดเดลิเวอรี ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในธุรกิจเดลิเวอรี GrabFood และ GrabMart ผลจากการวางกลยุทธ์มาตั้งแต่ปี 2563 ทำให้มูลค่าออเดอร์เติบโตขึ้น 17% ส่งผลให้ Value ต่อออเดอร์มีคุณภาพขึ้นมาก ลูกค้าที่มาใช้บริการมีคุณภาพสูงขึ้นด้วยเช่นกัน อานิสงส์จากการดึงแบรนด์ใหญ่เข้ามาเปิดร้านบน Grab ได้มากขึ้น ด้าน Grab ThumbsUp จำนวนพาร์ตเนอร์ร้านค้าอยู่ในหลักพันแห่ง ตั้งเป้าเติมร้านใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมในทุกหัวเมือง และ Only at Grab ยังคงช่วยดึงดูดให้ร้านอาหารต่างๆ เข้ามาเปิดให้บริการบนแพลตฟอร์ม เนื่องจากบริการของ Grab ThumbsUp และ Only at Grab สามารถช่วยให้ร้านค้าถูกมองเห็นมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมายอดขายของร้านอาหารบนทั้งสองบริการเพิ่มสูงถึง 50-300%
นอกจากนี้ แกร็บ ยังได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างบริการรับเองที่ร้าน (Pickup) บริการสั่ง
ส่วน LINE MAN และ foodpanda แม้ว่ายังคงขาดทุน แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าตัวเลขการขาดทุนลดลง โดย LINE MAN จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทไลน์แมน (ประเทศไทย) จำกัด นั้นในปี 2565 มีรายได้ 7,802 ล้านบาท และขาดทุน 2,730 ล้านบาท ส่วนในปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 11,634 ล้านบาท และเริ่มขาดทุนลดลงเหลือ 253 ล้านบาท ขณะที่ยังมีเงินทุนที่แข็งแกร่ง เพราะปลายปี 2565 รับเงินระดมทุนรอบซีรีส์บี มูลค่า 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9,700 ล้านบาท) นำโดย GIC กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ และบริษัท LINE Corporation ในการระดมทุนรอบนี้ยังมี BRV Capital Management, บริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR), Bualuang Ventures และ Taiwan Mobile ร่วมลงทุนด้วย
ขณะที่ foodpanda ที่จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัทเดลิเวอรี่ ฮีโร่ ประเทศไทย จำกัด นั้นในปี 2565 มีรายได้ 3,628 ล้านบาทและ ขาดทุน 3,255 ล้านบาท และปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 3,843 ล้านบาท และขาดทุนลดลงเหลือ 522 ล้านบาท
ส่วน Robinhood ที่กำลังยุติการให้บริการ ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ที่ในปี 2565 มีรายได้ 538 ล้านบาท และ ขาดทุน 1,986 ล้านบาท และในปี 2566 แอป Robinhood มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 724 ล้านบาท และ ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2,155 ล้านบาท ซึ่งหากมองย้อนหลังกลับปี 4 ปีที่เปิดให้บริการ แอป Robinhood บริษัท เพอเพิล เวนเจอร์ จำกัด มียอดขาดทุนสะสมกว่า 5,565 ล้านบาท
แม้ว่า เอสซีบี เอกซ์ จะให้เหตุผลจากการยุติให้บริการของ Robinhood ครั้งนี้ว่าบรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิดได้ตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
แต่ภาพที่เกิดขึ้นในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี นั้นคล้ายกับการแข่งขันธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่เนื้อหอมมีผู้ให้บริการไทย-เทศ หลาย 10 ราย แห่เข้ามาเปิดให้บริการ มีใช้เม็ดเงินการตลาดมหาศาลแย่งชิงฐานลูกค้า ท้ายสุดทยอยปิดตัวไป จนเหลือขณะนี้เหลือเพียงผู้ให้บริการมาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ อยู่ 2 ราย คือช้อปปี้ และลาซาด้า ที่สามารถยืนหยัด และมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
ขณะที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี คาดการณ์ว่าในเร็วๆ นี้อาจจะเหลือผู้ให้บริการที่มีความแข็งแกร่ง และสามารถทำกำไรได้เหลือเพียงแค่ 2 รายเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าการมีผู้ให้บริการน้อยราย ทำให้การแข่งขันลดลง ผู้ให้บริการสามารถกำหนดทิศทางตลาด เช่น ค่า GP หรือค่าเที่ยวสำหรับไรเดอร์
Cr. https://www.thansettakij.com/technology/technology/600886