แผ่นโลกเปลือกไหนดันอีสานให้ยกตัวมาเป็นที่ราบขนาดใหญ่กลางภูเขา

กระทู้คำถาม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ความจริงแล้วมันอยู่ที่ความละเอียดในการจำแนกครับ
บทที่ 1 แผ่นเปลือกโลก
ถ้าแบบที่เราทั่วไปเข้าใจกันคือ ภาพที่ 1.1

แผ่นอินโดจีน(Indochina,Inc)รวมถึงมาเลเซียตะวันตก ชนกับ แผ่นชิบูมาสึ(Shibumasu,Si) หรือ แผ่นฉานไทย(Shan-Thai) แต่ปกติงานวิชาการที่เห็นเขาก็เขียน ชิบูมาสึ
1.ใบขวาน = Inc
2.ด้ามขวน = Si
ภาพที่1.2 แสดงภาพรวมแผ่นอินโดจีนแบบละเอียดจากงานวิจัยของชาวเวียดนาม


บทที่ 2 กาวเชื่อมผสาน
ภาพที่ 2.1 เพิ่มความละเอียดคือมีตะเข็บธรณีที่ผสานระหว่าง2แผ่น

บริเวณเส้นสีเหลืองกับสีชมพู ชื่อเรียกเป็นไปตามแนวที่พาดผ่านตามตัวเลข ตรงจีนผมไม่รู้ แต่มาไทยตามลำดับตะเข็บผสาน เชียงใหม่->อินทนนท์->จันทบุรี->เบตง ไปเชื่อมมาเล
ภาพที่ 2.2 แสดงแนวตะเข็บผสาน2แผ่นแบบละเอียด บางงานวิจัยเขาก็เรียกแยกเป็นแผ่น แต่ในที่นี้ผมเรียกว่าตะเข็บผสานดีกว่า สีแดงคือแนวผสานสุโขทัย-จันทบุรี
สีฟ้าคือแนวผสานอินทนนท์ลากไปถึงกรุงเทพ


บทที่ 3 ของแถม
ภาพที่ 3 ละเอียดมากกว่านั้นอีกความจริงแล้วแผ่นอินโดจีนก็ไม่ได้เป็นเอกภาพแบบที่เข้าใจเพราะมีการศึกษารอยเลื่อนเพิ่มมากขึ้น แต่จำแค่ภาพที่1หรือ2ก็พอ ภาพที่3 แถมให้ดูเล่นเฉยๆ สีเขียวก็คือโคราช ลักษณะแผ่นอินโดจีนเหมือนเค้กเชื่อมมาหลายล้านปีแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่