ช่วงปีที่ผ่านหลังจากประกอบอาชีพอิสระมาหลายปี เพราะด้วยความที่จบสายวิทยาศาสตร์มา แต่งานค่อนข้างหายากและไม่เป็นที่น่าพอใจ ผมเลยมีความคิดอยากจะหางานที่มั่นคงและมีอนาคตเพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ เลยมาสอบราชการ แต่จนแล้วจนรอด งานราชการที่ตรงกับวุฒิเรานั้นก็หายากซะเหลือเกิน แล้วเราจะไปทำอะไรได้บ้าง?
คำตอบก็คือ ตำแหน่งสอบได้ทุกวุฒิ ผมก็เริ่มมองหาตำแหน่งสอบภาค ข ที่เหมาะสมกับตัวเอง และเปิดรับวุฒิที่กว้างพอ เช่น
1. นักจัดการงานทั่วไป
2. นักทรัพยากรบุคคล
3. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4. เจ้าพนักงานธุรการ
5. มีอีกแต่นึกไม่ออก...
พอเราลิสต์รายชื่ออาชีพที่พอจะสมัครสอบได้ ก็มาดูอีกว่า จริตของเราเหมาะกับอาชีพไหน โดยดูจาก
1. คำอธิบายลักษณะงานในประกาศรับสมัคร
2. ดูสัมภาษณ์คนที่ทำอาชีพนี้ใน youtube
3. ลองอ่านเนื้อหาที่ออกสอบภาค ข ว่า เราไหวมั้ย ถ้าเข้าไปทำงานแล้วเจอกับเรื่องพวกนี้
พอเราได้ตำแหน่งในดวงใจ ก็หาสถานที่ทำงานในดวงใจไว้ด้วย เพราะ ข้าราชการแต่ละที่มีเงินที่แตกต่างกัน จะให้ไปเริ่ม 16500 ในสมัยนี้ก็คงลำบาก แต่จะโฟกัสไปไม่กี่อย่าง เช่น
1. เป็นข้าราชการพลเรือน กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมราชทันฑ์ ฯลฯ เพราะบางกรมทำงานเกี่ยวกับภาษี จะมีเงินบางอย่างที่เพิ่มมา บางกรมทำงานเสี่ยงอันตรายมีค่าเสี่ยงภัย (ได้เงินมากกว่าปกติ)
2. เป็นข้าราชการองค์กรอิสระ มีเงินพิเศษ (เช็คว่าได้บำนาญมั้ยด้วย)
3. บางพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เงินก็จะเพิ่มมากกว่าปกติ เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เผื่อศึกษาเพิ่มเติม)
พอตอบทั้งหมดได้ครบก็เริ่มเก็บประสบการณ์ด้วยการลงสอบ เพื่อเจอข้อสอบจริง "ให้สอบทุกๆที่ที่เปิดรับสมัครในตำแหน่งที่เราสนใจ"
เพราะ สอบครั้งแรกเราคงไม่ติดแน่ๆ หรือต่อให้ติดลำดับขึ้นบัญชีก็คงไม่ดี สิ่งที่เราจะได้จากการสอบ
1. ประสบการณ์การสอบข้าราชการ ภาค ข
2. แนวข้อสอบที่ออกสอบ จริงที่มีบอกในประกาศ แต่สัดส่วนการออก ต้องเน้นไปที่ไหนเราไม่รู้และจะรู้จากการสอบตรงนี้
ทั้งนี้การสอบเราควรวางแผนเรื่องเวลาดีๆ ว่า ก่อนจะถึงสนามจริงที่เราอยากเป็นตัวจริง เรามีเวลาอ่านหนังสือมากน้อยแค่ไหน มีระยะเวลาการลงสนามสอบเพื่อเก็บประสบการณ์หรือไม่ เพื่อที่จะ ได้ทั้งอ่านและได้ทั้งสอบ ก่อนถึงสนามจริง ระยะเวลาน้อยที่สุด คือ 3 เดือนก่อนสอบ
การกะระยะเวลา หลังจากมีประกาศรับสมัครสอบ จะมีเวลา 1 เดือน ในการประกาศรายชื่อ และอีก 1 เดือนก่อนถึงวันสอบ รวมๆ คือ มี 2 เดือน แต่เวลามันสามารถย่นเข้ามาได้ เพราะงั้น การอ่านไปก่อนที่ประกาศรับสมัครจะออก จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยที่เราสามารถรู้ได้จาก
1. การสอบสนามนี้ในรอบก่อนๆ เช่น 2 ปีย้อนหลัง ว่าออกสอบอะไรเรื่องไหนบ้าง
2. กลุ่มอ่านหนังสือใน facebook และ line openchat ที่จะรวมคนสอบผ่านจากรอบก่อนและ กำลังเตรียมตัวสอบรอบนี้
3. กลุ่มติวตามสถาบันต่างๆ
ผ่านมา 1 ปี นับตั้งแต่เริ่มสอบ ภาค ก อันนี้คือ แผนที่ผมวางไว้คร่าวๆและใช้ได้ผล เลยอยากจะมาแชร์เผื่อมีใครกำลังวางแผนสอบราชการนะครับ
สอบราชการสายงานที่เปิดทุกวุฒิ
คำตอบก็คือ ตำแหน่งสอบได้ทุกวุฒิ ผมก็เริ่มมองหาตำแหน่งสอบภาค ข ที่เหมาะสมกับตัวเอง และเปิดรับวุฒิที่กว้างพอ เช่น
1. นักจัดการงานทั่วไป
2. นักทรัพยากรบุคคล
3. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4. เจ้าพนักงานธุรการ
5. มีอีกแต่นึกไม่ออก...
พอเราลิสต์รายชื่ออาชีพที่พอจะสมัครสอบได้ ก็มาดูอีกว่า จริตของเราเหมาะกับอาชีพไหน โดยดูจาก
1. คำอธิบายลักษณะงานในประกาศรับสมัคร
2. ดูสัมภาษณ์คนที่ทำอาชีพนี้ใน youtube
3. ลองอ่านเนื้อหาที่ออกสอบภาค ข ว่า เราไหวมั้ย ถ้าเข้าไปทำงานแล้วเจอกับเรื่องพวกนี้
พอเราได้ตำแหน่งในดวงใจ ก็หาสถานที่ทำงานในดวงใจไว้ด้วย เพราะ ข้าราชการแต่ละที่มีเงินที่แตกต่างกัน จะให้ไปเริ่ม 16500 ในสมัยนี้ก็คงลำบาก แต่จะโฟกัสไปไม่กี่อย่าง เช่น
1. เป็นข้าราชการพลเรือน กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมราชทันฑ์ ฯลฯ เพราะบางกรมทำงานเกี่ยวกับภาษี จะมีเงินบางอย่างที่เพิ่มมา บางกรมทำงานเสี่ยงอันตรายมีค่าเสี่ยงภัย (ได้เงินมากกว่าปกติ)
2. เป็นข้าราชการองค์กรอิสระ มีเงินพิเศษ (เช็คว่าได้บำนาญมั้ยด้วย)
3. บางพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เงินก็จะเพิ่มมากกว่าปกติ เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เผื่อศึกษาเพิ่มเติม)
พอตอบทั้งหมดได้ครบก็เริ่มเก็บประสบการณ์ด้วยการลงสอบ เพื่อเจอข้อสอบจริง "ให้สอบทุกๆที่ที่เปิดรับสมัครในตำแหน่งที่เราสนใจ"
เพราะ สอบครั้งแรกเราคงไม่ติดแน่ๆ หรือต่อให้ติดลำดับขึ้นบัญชีก็คงไม่ดี สิ่งที่เราจะได้จากการสอบ
1. ประสบการณ์การสอบข้าราชการ ภาค ข
2. แนวข้อสอบที่ออกสอบ จริงที่มีบอกในประกาศ แต่สัดส่วนการออก ต้องเน้นไปที่ไหนเราไม่รู้และจะรู้จากการสอบตรงนี้
ทั้งนี้การสอบเราควรวางแผนเรื่องเวลาดีๆ ว่า ก่อนจะถึงสนามจริงที่เราอยากเป็นตัวจริง เรามีเวลาอ่านหนังสือมากน้อยแค่ไหน มีระยะเวลาการลงสนามสอบเพื่อเก็บประสบการณ์หรือไม่ เพื่อที่จะ ได้ทั้งอ่านและได้ทั้งสอบ ก่อนถึงสนามจริง ระยะเวลาน้อยที่สุด คือ 3 เดือนก่อนสอบ
การกะระยะเวลา หลังจากมีประกาศรับสมัครสอบ จะมีเวลา 1 เดือน ในการประกาศรายชื่อ และอีก 1 เดือนก่อนถึงวันสอบ รวมๆ คือ มี 2 เดือน แต่เวลามันสามารถย่นเข้ามาได้ เพราะงั้น การอ่านไปก่อนที่ประกาศรับสมัครจะออก จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยที่เราสามารถรู้ได้จาก
1. การสอบสนามนี้ในรอบก่อนๆ เช่น 2 ปีย้อนหลัง ว่าออกสอบอะไรเรื่องไหนบ้าง
2. กลุ่มอ่านหนังสือใน facebook และ line openchat ที่จะรวมคนสอบผ่านจากรอบก่อนและ กำลังเตรียมตัวสอบรอบนี้
3. กลุ่มติวตามสถาบันต่างๆ
ผ่านมา 1 ปี นับตั้งแต่เริ่มสอบ ภาค ก อันนี้คือ แผนที่ผมวางไว้คร่าวๆและใช้ได้ผล เลยอยากจะมาแชร์เผื่อมีใครกำลังวางแผนสอบราชการนะครับ