ตอบคำถามว่าที่บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ ที่สงสัยระหว่าง แบบแรก. ป.ตรี -> ป.เอก และ แบบสอง ป.ตรี -> ป.โท ควบ ป.เอก หลายคนเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน จริงๆ แล้วแม้จะใช้โครงสร้างหลักสูตรเดียวกัน แต่กระบวนการเรียน เกณฑ์การเข้าศึกษา ความเข้มข้นต่างกัน และทั้งสองแบบก็มีเด่น มีด้อย ต่างกันมาก
สายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์(ประเทศไทย ทุกมหาวิทยาลัย ,อดีตประเทศในเครือจักรภพ เกือบทุกมหาวิทยาลัย และ ในยุโรปบางมหาวิทยาลัย) จบ. ป.ตรี ต่อ ป.เอก ได้เลยครับ และไม่ใช่แบบ โท ควบ เอก แต่เป็น ป.เอก ของแทร่ๆๆเลย ส่วนใหญ่จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ข้อ
1. จบ ป.ตรี ด้วยระดับคะแนน เกียรตินิยมอันดับ 1
2. คณะกรรมการหลักสูตร มีมติให้เข้ารับการศึกษา
ป.ตรี -> ป.เอก จะใช้เวลาในการเรียน 3 - 5 ปี (หลักสูตรกำหนดไว้ 4 ปี) หลักๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถมีงานวิจัยตีพิมพ์ตามเงื่อนไขการจบหลักสูตรได้ช้าเร็วแค่ไหน ความเข้มข้นก็จะเป็นแบบนักศึกษา ป.เอก ตั้งแต่ day 1 และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้ วุฒิ ป.เอก เลย ถ้าไม่สำเร็จการศึกษาจะขอรับแค่ ป.โท ก็ไม่ได้นะครับ คือไม่ได้อะไรเลย
ส่วนใหญ่แล้ว แม้จะจบ ป.ตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 และเดินเข้ามาสมัครแบบไม่รู้จักใคร คณะกรรมการหลักสูตรมักจะไม่ค่อยกล้ามีมติให้เข้ารับการศึกษาตามคุณสมบัติข้อ 2. นอกจากอาจารย์ในหลักสูตรสัก 1 คน(น่าจะต้องอาวุโสระดับนึงเลย) จะยืนยันอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะว่ารู้จักคุณดีระดับหนึ่ง พูดคุยกันมาระยะนึงแล้ว และอาจารย์ท่านนั้นก็พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาทั้งวิชาการและวิทยานิพนธ์ให้คุณ ยืนยันว่าคนนี้แหละใช่เลย คณะกรรมการหลักสูตรจึงจะมีมติให้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ครับ ทั้งนี้ก็เพราะระยะเวลาการเรียนมันยาวนาน 4 ปี และหลักเกณฑ์ก็เข้มข้นแบบ ป.เอก ตั้งแต่ day 1 อีกทั้งการเรียน ป.เอก เป็นการเน้นทำวิจัยเป็นหลัก ซึ่งเด็กที่พึ่งจบ ป.ตรี ส่วนใหญ่จะยังไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อน ดังนั้นถ้าคณะกรรมการเขาไม่มั่นใจ หรือคุณไม่ outstanding จริงๆ การให้นักศึกษาเรียน ป.โท 2 ปี ไปก่อน มันเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ ป.เอก และเบากว่าด้วยเงื่อนไขการจบหลักสูตรแบบ ป.โท และเมื่อจบ ป.โท คุณก็มีโอกาสตัดสินใจใหม่อีกครั้งว่าจะเรียน ป.เอก ต่อ หรือพอเท่านี้ อย่างน้อยก็ยังมี ป.โท ติดตัว แต่ถ้าเป็นหลักสูตร ป.เอก เลย ถ้าไม่จบคุณไม่ได้วุฒิอะไรติดตัวไปเลย
นอกจากคุณสมบัติ 2 ข้อ ยังมีอีกหลายอย่างที่แม้ไม่ได้กำหนดในเอกสารรับสมัครแต่ถ้าคุณไม่มีมา เขาก็จะมองว่าน่าจะยังไม่พร้อม เช่น
3. ผลสอบภาษาอังกฤษ ควรพกมาแบบคะแนนอยู่ในระดับจบ ป.เอก ได้เลย (ระดับ IELTS 6.5 - 7.5)
4. จดหมาย Recomendation จาก อาจารย์เก่าที่สอนคุณมา แล้วในจดหมายต้องนั่งยันมาเลยว่าคุณเรียนจบ ป.เอก ได้แน่นอน ซึ่งถ้าท่านไม่มั่นใจในตัวคุณท่านจะไม่เขียนให้ หรือเขียนแบบกลางๆ
5. ปริญญานิพนธ์ ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาต่อเป็น Thesis ระดับ ป.เอก ได้ หรือหัวข้อวิจัยที่คุณสนใจ กรรมการฟังแล้วเชื่อว่าไปต่อได้
6. เปเปอร์ที่ได้รับตีพิมพ์ มาแล้วถ้ามีคณะกรรมการอาจจะให้คะแนนคุณมากขึ้นอีกสักหน่อย
7. ความพร้อมทางการเงิน ตลอด 3-5 ปี ค่าลงทะเบียน กินใช้ ไม่มีงานทำระหว่างนั้นจะอยู่ยังไง
8. ทัศนคติ วุฒิภาวะ อุปนิสัย IQ และ EQ
สรุปคือ แบบแรก ป.ตรี -> ป.เอก คุณต้องฉายแววเป็นดุษฎีบัณฑิตมาตั้งแต่เรียน ป.ตรี จะต้องมีอาจารย์ในหลักสูตร 1 ท่าน ที่เห็นว่าคุณพกพาความพร้อมที่จะสำเร็จ ป.เอก ได้อย่างแน่นอน และยืนยันให้คุณ แม้คุณสมบัติข้อ 3 - 8 ของคุณจะไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าอาจารย์ท่านยันให้ก็พอผ่อนผันได้ ยกเว้นคุณสมบัติข้อ 1 อันนี้ไม่น่าจะผ่อนผันได้เพราะเป็นไปตามระเบียบบัณฑิตศึกษา ดังนั้นเมื่อคุณประสงค์จะสมัครเข้าหลักสูตร ป.ตรี -> ป.เอก อย่างน้อยคุณควรพก 1 Class Honour Degree + ผลสอบภาษาอังกฤษระดับ B+ ขึ้น แล้วเขาจะบอกให้คุณไปหา อาจารย์ที่ปรึกษาให้ได้ก่อน
ส่วน ป.โท ควบ ป.เอก นั้นจะใช้เวลาเรียน 4 - 6 ปี (โครงสร้างหลักสูตรเดียวกับ ป.ตรี -> ป.เอก) ระหว่างเรียน ป.โท อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นแววว่างานวิจัยที่กำลังทำอยู่มีคุณภาพในระดับที่ขอใช้จบ ป.เอก ได้ และนักศึกษามีทรัพยากรที่จะเรียนจนจบ ป.เอก หรือจากงานวิจัยที่มีแวว อาจารย์ท่านพอจะหาทุนการศึกษา ป.เอก ให้ได้ ท่านก็อาจจะให้ทำ ป.เอก ควบคู่กันไปหรือต่อเนื่องทันทีหรือแล๊ปกัน(ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าจะปรับแบบไหนให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ การศึกษา ป.โท ควบ ป.เอก) โดยอาจจะให้รายวิชาบางตัวในระดับ ป.โท เทียบแทน รายวิชาในระดับ ป.เอก และ ใช้งานวิจัยที่มีแววนั้น เป็นผลงานวิจัยตามเงื่อนไขการจบ ป.เอก เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้วุฒิ ป.โท และ ป.เอก หรือระหว่างเรียนจะขอหยุดแค่ ป.โท ก็ได้
แบบแรก คุณต้องมุ่งมั่น มีความพร้อมตั้งแต่ มีแววเป็น ดุษฏีบัณฑิตตั้งแต่ก่อนจบปริญญาตรีและมีผลการเรียนในระดับ ป.ตรี ที่โดดเด่น ควรมีผลสอบภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน มีหัวข้อวิจัยมาแล้วบ้างในใจที่อาจารย์ท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ จบ ป.เอก ได้ ส่วนแบบสองนั้นจะเป็นกลุ่มที่มาค้นพบตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจบการศึกษาระดับ ป.เอก ได้ในระหว่างเรียน ป.โท
แบบแรกไม่จบไม่ได้อะไรเลย แบบสองไม่จบ ป.เอก ก็จะขอหยุดแค่ ป.โท ก็ได้
ซึ่งส่วนใหญ่แม้คุณจะจบ ป.ตรี ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 แต่ไม่ outstanding อาจารย์ที่ปรึกษามักจะแนะนำให้คุณเรียน ป.โท ให้จบก่อน แล้วค่อยตัดสินใจอีกรอบว่าจะทำ ป.เอก หรือไม่ เป็นวิธีการที่ปลอดภัยกว่ามาก
แบบแรกเงื่อนไขการรับเข้าเรียนและสำเร็จการศึกษา เป็นแบบ ป.เอก ตั้งแต่ day 1 แบบที่สองเงื่อนไขการรับเข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาเป็นแบบ ป.โท ก่อน เมื่อปรับสภาพเป็น ป.เอก จึงเปลี่ยนเป็นเงื่อนไข ป.เอก
แบบแรก ม้วนเดียวจบ ป.ตรี -> ป.เอก ไม่มีกระบวนการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ป.โท เลย แบบสองจริงๆ ก็คือ 2 ขั้นตอนคือการเรียน ป.โท แล้ว ค่อยปรับสภาพมาเรียน ป.เอก จึงเรียกว่า โท ควบ เอก
แบบแรก เนื่องจากผู้เรียนมีผลการเรียน และคุณสมบัติอื่นๆ อยู่ในระดับ outstanding จึงมักมีทุนการศึกษารองรับตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน แบบที่สองมักไม่ค่อยมีทุนการศึกษารองรับ อาจจะได้ทุนก็มักจะเป็นช่วงหลัง
เมื่อสำเร็จการศึกษาทั้งแบบแรก และแบบสอง มีศํกดิ์และสิทธิ ถือว่าสำเร็จปริญญาเอก เทียบเสมอกัน
แบบแรก ป.ตรี -> ป.เอก เท่าที่ผมพอมีข้อมูล ผุ้เรียนมักจะสำเร็จการศึกษา 4 ปีภายในระยะเวลากำหนด หลายนคนมีแววว่าจะจบก่อนหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ก็เพราะนักศึกษากลุ่มนี้มีองค์ความรู้บริบูรณ์ มีความสามารถในทางภาษาเหมาะสมตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษา ป.เอก การรีวิวงานวิจัย ค้นคว้า ตลอดจนการเขียนแทบไม่เป็นปัญหาใหญ่ ได้รับการชี้แนะจากอาจารย์ที่ปรึกษาแบบมุ่งตรงและมักจะได้รับทุน จึงไม่ต้องคิดเรื่องอื่นเน้นทำวิจัยจบตามเกณฑ์
แบบที่สอง ป.ตรี -> ป.โท ควบ ป.เอก มักจะใช้เวลาศึกษานานกว่ามิใช้เพราะหลักสูตรกำหนดให้เรียนนานกว่าแต่เนื่องจากผู้เรียนมักไม่ได้คิดว่าจะเรียน ป.เอก มาตั้งแต่ต้น จึงไม่ได้เตรียมตัวทั้งผลการเรียน ป.ตรี และ ผลสอบภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่เข้ารับการศึกษาในระดับ ป.โท ก่อน งานวิจัยระดับ ป.โท โดยทั่วไปมักจะใช้สำเร็จการศึกษา ป.เอก ไม่ได้ แต่พอค้นพบตัวเองว่าเราน่าจะ จบ ป.เอก หรือประสงค์จะเรียนต่อ ป.เอก หรืออยากทำ ป.เอก ควบคู่กันไป ก็เหมือนต้องเริ่มปีนเขากันอีกครั้ง
ป.ตรี -> ป.เอก เวลาไปสมัครงานราชการ อาจจะปวดหัวนิดหน่อย เพราะคนจำนวนมากไม่ทราบว่ามี ป.ตรี -> ป.เอก ดังนั้นคุณจะถูกถามหาวุฒิ ป.โท แต่คุณไม่มี เจ้าหน้าที่รับสมัครอาจจะมองว่าคุณขาดคุณสมบัติการรับเข้าทำงานเพราะในประกาศรับสมัครมีระบุว่าต้องจบ ป.ตรี ป.โท ป.เอก ต้องอธิบายกันพักนึง แต่ถ้าสมัครเป็นอาจารย์ คุณจะได้รับการพิจารณาอันดับต้นๆ
จบ ป.ตรี เข้าเรียน ป.เอก ต่างจาก จบ ป.ตรี เข้าเรียน ป.โท ควบ ป.เอก อย่างไร
สายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์(ประเทศไทย ทุกมหาวิทยาลัย ,อดีตประเทศในเครือจักรภพ เกือบทุกมหาวิทยาลัย และ ในยุโรปบางมหาวิทยาลัย) จบ. ป.ตรี ต่อ ป.เอก ได้เลยครับ และไม่ใช่แบบ โท ควบ เอก แต่เป็น ป.เอก ของแทร่ๆๆเลย ส่วนใหญ่จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ข้อ
1. จบ ป.ตรี ด้วยระดับคะแนน เกียรตินิยมอันดับ 1
2. คณะกรรมการหลักสูตร มีมติให้เข้ารับการศึกษา
ป.ตรี -> ป.เอก จะใช้เวลาในการเรียน 3 - 5 ปี (หลักสูตรกำหนดไว้ 4 ปี) หลักๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถมีงานวิจัยตีพิมพ์ตามเงื่อนไขการจบหลักสูตรได้ช้าเร็วแค่ไหน ความเข้มข้นก็จะเป็นแบบนักศึกษา ป.เอก ตั้งแต่ day 1 และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้ วุฒิ ป.เอก เลย ถ้าไม่สำเร็จการศึกษาจะขอรับแค่ ป.โท ก็ไม่ได้นะครับ คือไม่ได้อะไรเลย
ส่วนใหญ่แล้ว แม้จะจบ ป.ตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 และเดินเข้ามาสมัครแบบไม่รู้จักใคร คณะกรรมการหลักสูตรมักจะไม่ค่อยกล้ามีมติให้เข้ารับการศึกษาตามคุณสมบัติข้อ 2. นอกจากอาจารย์ในหลักสูตรสัก 1 คน(น่าจะต้องอาวุโสระดับนึงเลย) จะยืนยันอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะว่ารู้จักคุณดีระดับหนึ่ง พูดคุยกันมาระยะนึงแล้ว และอาจารย์ท่านนั้นก็พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาทั้งวิชาการและวิทยานิพนธ์ให้คุณ ยืนยันว่าคนนี้แหละใช่เลย คณะกรรมการหลักสูตรจึงจะมีมติให้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ครับ ทั้งนี้ก็เพราะระยะเวลาการเรียนมันยาวนาน 4 ปี และหลักเกณฑ์ก็เข้มข้นแบบ ป.เอก ตั้งแต่ day 1 อีกทั้งการเรียน ป.เอก เป็นการเน้นทำวิจัยเป็นหลัก ซึ่งเด็กที่พึ่งจบ ป.ตรี ส่วนใหญ่จะยังไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อน ดังนั้นถ้าคณะกรรมการเขาไม่มั่นใจ หรือคุณไม่ outstanding จริงๆ การให้นักศึกษาเรียน ป.โท 2 ปี ไปก่อน มันเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ ป.เอก และเบากว่าด้วยเงื่อนไขการจบหลักสูตรแบบ ป.โท และเมื่อจบ ป.โท คุณก็มีโอกาสตัดสินใจใหม่อีกครั้งว่าจะเรียน ป.เอก ต่อ หรือพอเท่านี้ อย่างน้อยก็ยังมี ป.โท ติดตัว แต่ถ้าเป็นหลักสูตร ป.เอก เลย ถ้าไม่จบคุณไม่ได้วุฒิอะไรติดตัวไปเลย
นอกจากคุณสมบัติ 2 ข้อ ยังมีอีกหลายอย่างที่แม้ไม่ได้กำหนดในเอกสารรับสมัครแต่ถ้าคุณไม่มีมา เขาก็จะมองว่าน่าจะยังไม่พร้อม เช่น
3. ผลสอบภาษาอังกฤษ ควรพกมาแบบคะแนนอยู่ในระดับจบ ป.เอก ได้เลย (ระดับ IELTS 6.5 - 7.5)
4. จดหมาย Recomendation จาก อาจารย์เก่าที่สอนคุณมา แล้วในจดหมายต้องนั่งยันมาเลยว่าคุณเรียนจบ ป.เอก ได้แน่นอน ซึ่งถ้าท่านไม่มั่นใจในตัวคุณท่านจะไม่เขียนให้ หรือเขียนแบบกลางๆ
5. ปริญญานิพนธ์ ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาต่อเป็น Thesis ระดับ ป.เอก ได้ หรือหัวข้อวิจัยที่คุณสนใจ กรรมการฟังแล้วเชื่อว่าไปต่อได้
6. เปเปอร์ที่ได้รับตีพิมพ์ มาแล้วถ้ามีคณะกรรมการอาจจะให้คะแนนคุณมากขึ้นอีกสักหน่อย
7. ความพร้อมทางการเงิน ตลอด 3-5 ปี ค่าลงทะเบียน กินใช้ ไม่มีงานทำระหว่างนั้นจะอยู่ยังไง
8. ทัศนคติ วุฒิภาวะ อุปนิสัย IQ และ EQ
สรุปคือ แบบแรก ป.ตรี -> ป.เอก คุณต้องฉายแววเป็นดุษฎีบัณฑิตมาตั้งแต่เรียน ป.ตรี จะต้องมีอาจารย์ในหลักสูตร 1 ท่าน ที่เห็นว่าคุณพกพาความพร้อมที่จะสำเร็จ ป.เอก ได้อย่างแน่นอน และยืนยันให้คุณ แม้คุณสมบัติข้อ 3 - 8 ของคุณจะไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าอาจารย์ท่านยันให้ก็พอผ่อนผันได้ ยกเว้นคุณสมบัติข้อ 1 อันนี้ไม่น่าจะผ่อนผันได้เพราะเป็นไปตามระเบียบบัณฑิตศึกษา ดังนั้นเมื่อคุณประสงค์จะสมัครเข้าหลักสูตร ป.ตรี -> ป.เอก อย่างน้อยคุณควรพก 1 Class Honour Degree + ผลสอบภาษาอังกฤษระดับ B+ ขึ้น แล้วเขาจะบอกให้คุณไปหา อาจารย์ที่ปรึกษาให้ได้ก่อน
ส่วน ป.โท ควบ ป.เอก นั้นจะใช้เวลาเรียน 4 - 6 ปี (โครงสร้างหลักสูตรเดียวกับ ป.ตรี -> ป.เอก) ระหว่างเรียน ป.โท อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นแววว่างานวิจัยที่กำลังทำอยู่มีคุณภาพในระดับที่ขอใช้จบ ป.เอก ได้ และนักศึกษามีทรัพยากรที่จะเรียนจนจบ ป.เอก หรือจากงานวิจัยที่มีแวว อาจารย์ท่านพอจะหาทุนการศึกษา ป.เอก ให้ได้ ท่านก็อาจจะให้ทำ ป.เอก ควบคู่กันไปหรือต่อเนื่องทันทีหรือแล๊ปกัน(ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าจะปรับแบบไหนให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ การศึกษา ป.โท ควบ ป.เอก) โดยอาจจะให้รายวิชาบางตัวในระดับ ป.โท เทียบแทน รายวิชาในระดับ ป.เอก และ ใช้งานวิจัยที่มีแววนั้น เป็นผลงานวิจัยตามเงื่อนไขการจบ ป.เอก เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้วุฒิ ป.โท และ ป.เอก หรือระหว่างเรียนจะขอหยุดแค่ ป.โท ก็ได้
แบบแรก คุณต้องมุ่งมั่น มีความพร้อมตั้งแต่ มีแววเป็น ดุษฏีบัณฑิตตั้งแต่ก่อนจบปริญญาตรีและมีผลการเรียนในระดับ ป.ตรี ที่โดดเด่น ควรมีผลสอบภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน มีหัวข้อวิจัยมาแล้วบ้างในใจที่อาจารย์ท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ จบ ป.เอก ได้ ส่วนแบบสองนั้นจะเป็นกลุ่มที่มาค้นพบตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจบการศึกษาระดับ ป.เอก ได้ในระหว่างเรียน ป.โท
แบบแรกไม่จบไม่ได้อะไรเลย แบบสองไม่จบ ป.เอก ก็จะขอหยุดแค่ ป.โท ก็ได้
ซึ่งส่วนใหญ่แม้คุณจะจบ ป.ตรี ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 แต่ไม่ outstanding อาจารย์ที่ปรึกษามักจะแนะนำให้คุณเรียน ป.โท ให้จบก่อน แล้วค่อยตัดสินใจอีกรอบว่าจะทำ ป.เอก หรือไม่ เป็นวิธีการที่ปลอดภัยกว่ามาก
แบบแรกเงื่อนไขการรับเข้าเรียนและสำเร็จการศึกษา เป็นแบบ ป.เอก ตั้งแต่ day 1 แบบที่สองเงื่อนไขการรับเข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาเป็นแบบ ป.โท ก่อน เมื่อปรับสภาพเป็น ป.เอก จึงเปลี่ยนเป็นเงื่อนไข ป.เอก
แบบแรก ม้วนเดียวจบ ป.ตรี -> ป.เอก ไม่มีกระบวนการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ป.โท เลย แบบสองจริงๆ ก็คือ 2 ขั้นตอนคือการเรียน ป.โท แล้ว ค่อยปรับสภาพมาเรียน ป.เอก จึงเรียกว่า โท ควบ เอก
แบบแรก เนื่องจากผู้เรียนมีผลการเรียน และคุณสมบัติอื่นๆ อยู่ในระดับ outstanding จึงมักมีทุนการศึกษารองรับตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน แบบที่สองมักไม่ค่อยมีทุนการศึกษารองรับ อาจจะได้ทุนก็มักจะเป็นช่วงหลัง
เมื่อสำเร็จการศึกษาทั้งแบบแรก และแบบสอง มีศํกดิ์และสิทธิ ถือว่าสำเร็จปริญญาเอก เทียบเสมอกัน
แบบแรก ป.ตรี -> ป.เอก เท่าที่ผมพอมีข้อมูล ผุ้เรียนมักจะสำเร็จการศึกษา 4 ปีภายในระยะเวลากำหนด หลายนคนมีแววว่าจะจบก่อนหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ก็เพราะนักศึกษากลุ่มนี้มีองค์ความรู้บริบูรณ์ มีความสามารถในทางภาษาเหมาะสมตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษา ป.เอก การรีวิวงานวิจัย ค้นคว้า ตลอดจนการเขียนแทบไม่เป็นปัญหาใหญ่ ได้รับการชี้แนะจากอาจารย์ที่ปรึกษาแบบมุ่งตรงและมักจะได้รับทุน จึงไม่ต้องคิดเรื่องอื่นเน้นทำวิจัยจบตามเกณฑ์
แบบที่สอง ป.ตรี -> ป.โท ควบ ป.เอก มักจะใช้เวลาศึกษานานกว่ามิใช้เพราะหลักสูตรกำหนดให้เรียนนานกว่าแต่เนื่องจากผู้เรียนมักไม่ได้คิดว่าจะเรียน ป.เอก มาตั้งแต่ต้น จึงไม่ได้เตรียมตัวทั้งผลการเรียน ป.ตรี และ ผลสอบภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่เข้ารับการศึกษาในระดับ ป.โท ก่อน งานวิจัยระดับ ป.โท โดยทั่วไปมักจะใช้สำเร็จการศึกษา ป.เอก ไม่ได้ แต่พอค้นพบตัวเองว่าเราน่าจะ จบ ป.เอก หรือประสงค์จะเรียนต่อ ป.เอก หรืออยากทำ ป.เอก ควบคู่กันไป ก็เหมือนต้องเริ่มปีนเขากันอีกครั้ง
ป.ตรี -> ป.เอก เวลาไปสมัครงานราชการ อาจจะปวดหัวนิดหน่อย เพราะคนจำนวนมากไม่ทราบว่ามี ป.ตรี -> ป.เอก ดังนั้นคุณจะถูกถามหาวุฒิ ป.โท แต่คุณไม่มี เจ้าหน้าที่รับสมัครอาจจะมองว่าคุณขาดคุณสมบัติการรับเข้าทำงานเพราะในประกาศรับสมัครมีระบุว่าต้องจบ ป.ตรี ป.โท ป.เอก ต้องอธิบายกันพักนึง แต่ถ้าสมัครเป็นอาจารย์ คุณจะได้รับการพิจารณาอันดับต้นๆ