ไมโครซอฟท์ (อังกฤษ: Microsoft ; แนสแด็ก: MSFT) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก[4][5] มีฐานการผลิตอยู่ที่ โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ
จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสำนักงานหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์[6]
ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่น ๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่น ๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.[4]บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท) [7][8][9]
ประวัติโดยรวมของบริษัท เริ่มเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเริ่มมีการแข่งขันทางด้านเอกสิทธิ์และการต่อต้านการปฏิบัติการด้านธุรกิจรวมทั้งการปฏิเสธ โดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และองค์กรจากทวีปยุโรป[10][11]
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ[12][9]
ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]
1975–1985: ก่อตั้ง[แก้ไขต้นฉบับ]
หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิล เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.[13]ในขณะที่ บิล เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 [13] และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน[13] สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา[13]
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟต์ เบสิก โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟต์การ์ด , ซีพียู Z80 สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M ในแอปเปิลซอฟต์ และ แอปแปิลดอส
ไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ ณ เมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตาม[14][15][16][17][18][19][20]หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้[13]
1985–1995[แก้ไขต้นฉบับ]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) [21]และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส [13]13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[22][8][9]ในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs.[23]
การเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน[แก้ไขต้นฉบับ]
ไมโครซอฟท์ดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในราคาปิดที่ 27.75 ดอลลาร์สหรัฐ และมีจุดสูงสุดของวันที่ 29.25 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไม่กี่นาที่ที่เปิดตลาด ทำให้ เกตส์ และ อเลน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านในเวลาต่อมา โดยเกตส์ถือหุ้นในไมโครซอฟท์ 45% ของมูลค่าหุ้น 24.7 ล้านดอลลาร์ และอเลนถือหุ้นอยู่ 25%[24] เกตส์ได้รับกำไรจากบริษัทอีก 234 ล้านดอลลาร์ และทำให้ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นรวม 520 ล้านดอลลาร์ ในเวลาต่อมา[25]
หลังจากเข้าสู่ตลาดหุ้น[แก้ไขต้นฉบับ]
ในปี ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล[13] ส่วนในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0[26] โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์[27]
วินโดวส์ 3.0 ได้สร้างกำไรมากมายให้กับไมโครซอฟท์ และทำให้บริษัทตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของโอเอสทูให้มาเป็นวินโดวส์[28]หลังจากนั้น มีผู้นิยมใช้ระบบปฏิบัติการโอเอสทูและวินโดวส์กันมากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องรีบเพิ่มการผลิตและปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตน
และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วยโปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3[29][30]
ในปี ค.ศ. 1993 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ เอ็นที 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในวงการธุรกิจโดยรูปแบบเหมือนกันกับ วินโดวส์ 3.11 [29]และในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 95 ซึ่งมีการปรับรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยเป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่ใช้ทาสก์บาร์ โดยมียอดการจำหน่ายใน 4 วันแรกกว่า 1 ล้านชุด[29]โดยไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถทางด้านเว็บแเบราว์เซอร์ (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ลงในวินโดวส์ 95 พลัส แพ็ค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995.[31]
1995–2005: อินเทอร์เน็ตและกฎหมาย[แก้ไขต้นฉบับ]
วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 บิล เกตส์ ออกประกาศภายในเรื่อง คลื่นแห่งระบบอินเทอร์เน็ต[32], ไมโครซอฟท์เริ่มต้นสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับระบบเครือข่าย ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 ก็ได้เปิดตัวบริการออนไลน์อย่างเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของเอโอแอล โดยเอ็มเอสเอ็นให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของไมโครซอฟท์[13][29][33]บริษัทยังคงสาขาไปตลาดใหม่ และในปี ค.ศ. 1996 เริ่มมีกิจการเคเบิลทีวีของตัวเองซึ่งใช้ชื่อว่า เอ็นบีซี โดยเป็นสถานีเคเบิลทีวีแบบ 24/7[29][34] ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่วงการพีดีเอ ด้วย วินโดวส์ ซีอี 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องพีดีเอ ใช้หน่วยความจำและสมรรถนำต่ำ เช่น handhelds และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ[35]
ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์ 4.0 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Mac OS และวินโดวส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการการครอบครองของตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เช่น เน็ตสเคป ในเดือนตุลาคม บริษัท จัสติส ดีพาร์ตเมนท์ ได้ ยื่นคำร้องใน Federal ว่าไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสัญญาที่ได้ทำในปี 1994 และได้ฟ้องให้บริษัทหยุดการพัฒนาโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์สำหรับวินโดวส์[13]
ในปี ค.ศ. 1998 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บอลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วย[13]และในปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์ 98 ซึ่งเป็นรุ่นอัปเดตจากวินโดวส์ 95 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้านอินเทอร์เน็ตและไดรเวอร์ให้ดีขึ้น[13] วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2000 คำตัดสินเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับไมโครซอฟท์[10]
ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น[36
ไมโครซอฟท์
จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสำนักงานหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์[6]
ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่น ๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่น ๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.[4]บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท) [7][8][9]
ประวัติโดยรวมของบริษัท เริ่มเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเริ่มมีการแข่งขันทางด้านเอกสิทธิ์และการต่อต้านการปฏิบัติการด้านธุรกิจรวมทั้งการปฏิเสธ โดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และองค์กรจากทวีปยุโรป[10][11]
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ[12][9]
ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]
1975–1985: ก่อตั้ง[แก้ไขต้นฉบับ]
หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิล เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.[13]ในขณะที่ บิล เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 [13] และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน[13] สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา[13]
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟต์ เบสิก โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟต์การ์ด , ซีพียู Z80 สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M ในแอปเปิลซอฟต์ และ แอปแปิลดอส
ไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ ณ เมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตาม[14][15][16][17][18][19][20]หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้[13]
1985–1995[แก้ไขต้นฉบับ]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) [21]และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส [13]13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[22][8][9]ในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs.[23]
การเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน[แก้ไขต้นฉบับ]
ไมโครซอฟท์ดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในราคาปิดที่ 27.75 ดอลลาร์สหรัฐ และมีจุดสูงสุดของวันที่ 29.25 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไม่กี่นาที่ที่เปิดตลาด ทำให้ เกตส์ และ อเลน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านในเวลาต่อมา โดยเกตส์ถือหุ้นในไมโครซอฟท์ 45% ของมูลค่าหุ้น 24.7 ล้านดอลลาร์ และอเลนถือหุ้นอยู่ 25%[24] เกตส์ได้รับกำไรจากบริษัทอีก 234 ล้านดอลลาร์ และทำให้ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นรวม 520 ล้านดอลลาร์ ในเวลาต่อมา[25]
หลังจากเข้าสู่ตลาดหุ้น[แก้ไขต้นฉบับ]
ในปี ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล[13] ส่วนในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0[26] โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์[27]
วินโดวส์ 3.0 ได้สร้างกำไรมากมายให้กับไมโครซอฟท์ และทำให้บริษัทตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของโอเอสทูให้มาเป็นวินโดวส์[28]หลังจากนั้น มีผู้นิยมใช้ระบบปฏิบัติการโอเอสทูและวินโดวส์กันมากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องรีบเพิ่มการผลิตและปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตน
และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วยโปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3[29][30]
ในปี ค.ศ. 1993 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ เอ็นที 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในวงการธุรกิจโดยรูปแบบเหมือนกันกับ วินโดวส์ 3.11 [29]และในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 95 ซึ่งมีการปรับรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยเป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่ใช้ทาสก์บาร์ โดยมียอดการจำหน่ายใน 4 วันแรกกว่า 1 ล้านชุด[29]โดยไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถทางด้านเว็บแเบราว์เซอร์ (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ลงในวินโดวส์ 95 พลัส แพ็ค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995.[31]
1995–2005: อินเทอร์เน็ตและกฎหมาย[แก้ไขต้นฉบับ]
วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 บิล เกตส์ ออกประกาศภายในเรื่อง คลื่นแห่งระบบอินเทอร์เน็ต[32], ไมโครซอฟท์เริ่มต้นสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับระบบเครือข่าย ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 ก็ได้เปิดตัวบริการออนไลน์อย่างเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของเอโอแอล โดยเอ็มเอสเอ็นให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของไมโครซอฟท์[13][29][33]บริษัทยังคงสาขาไปตลาดใหม่ และในปี ค.ศ. 1996 เริ่มมีกิจการเคเบิลทีวีของตัวเองซึ่งใช้ชื่อว่า เอ็นบีซี โดยเป็นสถานีเคเบิลทีวีแบบ 24/7[29][34] ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่วงการพีดีเอ ด้วย วินโดวส์ ซีอี 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องพีดีเอ ใช้หน่วยความจำและสมรรถนำต่ำ เช่น handhelds และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ[35]
ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์ 4.0 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Mac OS และวินโดวส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการการครอบครองของตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เช่น เน็ตสเคป ในเดือนตุลาคม บริษัท จัสติส ดีพาร์ตเมนท์ ได้ ยื่นคำร้องใน Federal ว่าไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสัญญาที่ได้ทำในปี 1994 และได้ฟ้องให้บริษัทหยุดการพัฒนาโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์สำหรับวินโดวส์[13]
ในปี ค.ศ. 1998 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บอลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วย[13]และในปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์ 98 ซึ่งเป็นรุ่นอัปเดตจากวินโดวส์ 95 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้านอินเทอร์เน็ตและไดรเวอร์ให้ดีขึ้น[13] วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2000 คำตัดสินเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับไมโครซอฟท์[10]
ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น[36