กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมโชว์โนรา-หนังตะลุง ยิ่งใหญ่ในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” 27 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2567 จังหวัดสงขลา พร้อมแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน ดนตรีลูกทุ่ง จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) 14 จังหวัดภาคใต้ สร้างรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)มีนโยบายนำวัฒนธรรมไทยมาสืบสาน รักษา และต่อยอดไปสู่มิติใหม่ๆให้เกิดการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทยเพื่อสนับสนุนมิติทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อน Soft Power การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมุ่งยกระดับมหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นระดับชาติเพื่อเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้น วธ.จึงจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางและภาคตะวันออก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
สำหรับพื้นที่แรกภาคใต้ จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” วันที่ 27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2567 ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายในงานมีการแสดงรำโนราถวายพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 การแสดงหนังตะลุง โนรา โขน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง บูธงานศิลปะ การเสวนาทางวิชาการหนังตะลุง-โนรา นิทรรศการมีชีวิต “โนราและวิถีชีวิตชุมชนสงขลาในอดีต” บูธงานศิลปะและนิทรรศการกิจกรรมวาดเส้น ชุด“เรือนพื้นถิ่นรอบลุ่มเลสาบสงขลา” การอบรมการร้องกลอนโนราขั้นพื้นฐาน การนวดเพื่อสุขภาพ การสาธิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจาก 14 จังหวัดภาคใต้
ถัดมาจัดงานพื้นที่ภาคเหนือ งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “ร่วมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” วันที่ 16-20 สิงหาคม 2567 ณ พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีกิจกรรม อาทิ การเทศน์มหาชาติ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ การแสดงแสง เสียง ละครอิงประวัติศาสตร์ “เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” ถนนสายวัฒนธรรมเลียบวัดเคียงวัง การแสดงโขนและการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ โรงหมอยา บริการนวดแพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ถ่ายรูปจุดเช็คอินทุ่งไฟประดับและเชิญชวนแต่งกายย้อนยุค
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นจัดที่ภาคกลางและภาคตะวันออก งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “ศาสตร์ศิลป์ตระการตา เลอค่ามรดกวัฒนธรรม” วันที่ 22 - 26 สิงหาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกิจกรรมการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเก หนังใหญ่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม(วิถีชาววัง) เช่น การทำหัวโขน งานช่างดอกไม้สด งาช่างแกะสลัก งานช่างแทงหยวก กิจกรรมเที่ยววัดชมวังยามค่ำคืน(Night Museum) การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออก 25 จังหวัด
ถัดจากนั้นจัดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์” วันที่ 5-9 กันยายน 2567 ณ ลานศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จังหวัดนครราชสีมา มีกิจกรรม ได้แก่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน เช่น หมอลำ กันตรึม การจัด Graffiti on Street (ถนนจอมพล) Street Art and Food และ Lighting & Sound การแสดงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จำหน่ายอาหารของดีโคราช การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
“งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทยทั้ง 4 ภูมิภาค ทำให้คนไทยแต่ละภาคได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีและเสริมพลังความเข้มแข็งของสถาบันหลักของชาติ ช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีพื้นที่ในการนำเสนอคุณค่าของงานศิลปวัฒนธรรมของไทย เพิ่มบทบาทของหน่วยงานทางวัฒนธรรมในพื้นที่ในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และร่วมสืบสานอนุรักษ์ไว้ นำทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจ และเสริมฐานรากวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว
งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” 27 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2567 จังหวัดสงขลา
สำหรับพื้นที่แรกภาคใต้ จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” วันที่ 27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2567 ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายในงานมีการแสดงรำโนราถวายพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 การแสดงหนังตะลุง โนรา โขน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง บูธงานศิลปะ การเสวนาทางวิชาการหนังตะลุง-โนรา นิทรรศการมีชีวิต “โนราและวิถีชีวิตชุมชนสงขลาในอดีต” บูธงานศิลปะและนิทรรศการกิจกรรมวาดเส้น ชุด“เรือนพื้นถิ่นรอบลุ่มเลสาบสงขลา” การอบรมการร้องกลอนโนราขั้นพื้นฐาน การนวดเพื่อสุขภาพ การสาธิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจาก 14 จังหวัดภาคใต้
ถัดมาจัดงานพื้นที่ภาคเหนือ งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “ร่วมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” วันที่ 16-20 สิงหาคม 2567 ณ พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีกิจกรรม อาทิ การเทศน์มหาชาติ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ การแสดงแสง เสียง ละครอิงประวัติศาสตร์ “เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” ถนนสายวัฒนธรรมเลียบวัดเคียงวัง การแสดงโขนและการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ โรงหมอยา บริการนวดแพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ถ่ายรูปจุดเช็คอินทุ่งไฟประดับและเชิญชวนแต่งกายย้อนยุค
ถัดจากนั้นจัดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์” วันที่ 5-9 กันยายน 2567 ณ ลานศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จังหวัดนครราชสีมา มีกิจกรรม ได้แก่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน เช่น หมอลำ กันตรึม การจัด Graffiti on Street (ถนนจอมพล) Street Art and Food และ Lighting & Sound การแสดงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จำหน่ายอาหารของดีโคราช การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(CPOT)และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
“งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทยทั้ง 4 ภูมิภาค ทำให้คนไทยแต่ละภาคได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีและเสริมพลังความเข้มแข็งของสถาบันหลักของชาติ ช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีพื้นที่ในการนำเสนอคุณค่าของงานศิลปวัฒนธรรมของไทย เพิ่มบทบาทของหน่วยงานทางวัฒนธรรมในพื้นที่ในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และร่วมสืบสานอนุรักษ์ไว้ นำทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจ และเสริมฐานรากวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว