มาตรฐาน WELL Building Standard เรื่องเสียง

หากท่านต้องการทำอาคารให้มีมาตรฐานเป็นอาคารน่าอยู่ และมีคุณภาพของเสียงที่ดี เราคือที่ปรึกษาในเรื่องเสียง ที่จะให้อาคารของท่านเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานในระดับสากลต่างๆ ทีมงานวิศวกรด้านอะคูสติกส์ของทาง Geonoise Asia ที่มีประสบการณ์กว่า 40ปี มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเสียงในอาคารอาคาร (Building Acoustics) ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีหลายๆอาคารใช้มาตรฐานที่มีความเป็นสากลเพื่อความสบายในการใช้สอยของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน LEED หรือ WELL ซึ่งทีมวิศวกรของเราสามารถช่วยเหลือได้ตั้งแต่การออกแบบ ทั้งแบบกรณีของอาคารที่ก่อสร้างใหม่ หรืออาคารที่ต้องการปรับปรุงให้ผ่านเกณฑ์ของ WELL standard หรือทำ LEED อยู่แล้วอยากจะทำเรื่อง WELL ด้วย รวมถึงการทำ Performance test ทดสอบค่าต่างๆทาง Acoustics ตามมาตรฐานที่ทาง WELL ได้กำหนด ซึ่งเราได้รวบรวมหัวข้อด้านเสียงไว้ดังต่อไปนี้

แนวคิด WELL มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ถ้าได้ลองศึกษาจะเห็นว่า WELL Building Standard มีหลักเกณฑ์อยู่หลายหัวข้อซึ่งหัวข้อที่สำคัญอย่างนึงที่สำคัญมากๆคือเรื่องของ “เสียง” หรือ “Sound” ซึ่งถ้าหากผู้ออกแบบได้มีการประเมินหัวข้ออื่นๆเป็นอย่างดีแล้ว หัวข้อเสียงก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะว่าความสุขสบายของผู้อาศัยในอาคาร เรื่องของ เสียง เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องได้รับสัมผัส
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้พบว่า คนที่ใช้ชีวิตในเมืองส่วนใหญ่มีการสัมผัสกับแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน เช่น การจราจรและการขนส่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น ผลกระทบของเสียงรบกวนจากภายนอกจากแหล่งขนส่งหรืออุตสาหกรรม ที่ส่งผลต่อกับการรบกวนการนอนหลับ ความดันโลหิตสูง และการลดทักษะการคำนวณ และอาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิต ในการศึกษาหนึ่งจากกลุ่มตัวอย่างขนาด 4,115 คน (อ้างอิงจาก WELL V2. Q1-Q2; 2024) พบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นในผู้ชายจากเสียงการจราจรบนท้องถนนในตอนกลางคืนและในผู้หญิงจากเสียงการจราจรทางอากาศในตอนกลางคืน การศึกษาหลายชิ้นยังระบุด้วยว่าเสียงที่เกิดขึ้นภายในเป็นสาเหตุหลักของการร้องเรียนและส่งผลให้เกิดความไม่พอใจของผู้อยู่อาศัย
ยังมีเสียงภายในพื้นที่ปิดจากแหล่งต่างๆภายในอาคาร เช่น อุปกรณ์ของระบบงานปรับอากาศ HVAC เครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้อยู่อาศัยอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน การมีสมาธิ การจดจำ และการคำนวณนึกคิดการ focus ของเด็กนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัย และพนักงานในที่ทำงาน นอกจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เดินทางผ่านทางอากาศแล้ว (Airborne) เสียงกระทบจากกิจกรรมข้างเคียง เช่น การเดิน การออกกำลังกาย หรือการสั่นสะเทือนของอุปกรณ์เครื่องกลสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่สบายสำหรับผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้เคียงได้เช่นกัน อีกปัญหาทางเสียงที่พบบ่อยคือการขาดความเป็นส่วนตัวภายในและระหว่างพื้นที่ปิด ตัวอย่างเช่น การวิจัยระบุว่าผู้อยู่อาศัยมักไม่พอใจเมื่อการสนทนาสามารถส่งผ่านระหว่างห้องหรือข้ามสำนักงานเปิดได้ง่าย ทำให้ความลับไม่เป็นความลับหรือเป็นสิ่งรบกวนสมาธิจากงาน ระยะเวลาการสะท้อนเสียงและระดับเสียงพื้นหลังที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่อาจขัดขวางความชัดเจนในการพูดและทำให้ผู้อยู่อาศัยที่มีความบกพร่องทางการได้ยินรู้สึกเครียด ความชัดเจนในการพูดยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในสถานศึกษา ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลต่อผู้ฟังจำนวนมากและความเข้าใจทางการได้ยินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจดจำและการทำงานให้สำเร็จ
ด้วยการเพิ่มขึ้นของความบกพร่องทางการได้ยินและปัญหาสุขภาพต่างๆ อันเนื่องมาจากการสัมผัสกับเสียงมากเกินไป การออกแบบพื้นที่เดียวให้ตรงตามความต้องการด้านความสะดวกสบายทางเสียงของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม การวิจัยที่มีอยู่เกี่ยวกับผลกระทบของการออกแบบเสียงตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดภายในพื้นที่ชี้ให้เห็นว่าการใช้แนวทางแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาความสะดวกสบายทางเสียงในสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นนั้นสามารถทำได้ การวางแผนและการติดตั้งระบบ HVAC ที่เหมาะสมจะทำให้ค่าระดับเสียง Background noise อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด การเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์ประกอบของเปลือกอาคาร Façade จะช่วยลดเสียงที่ส่งมาจากภายนอก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความสะดวกสบาย สุขภาพ และประสิทธิภาพการทำงานของผู้อยู่อาศัย การเพิ่มมวลและการออกแบบระบบส่วนประกอบพาร์ทิชั่น การปิดช่องว่างที่รอยต่อและประตู และการเพิ่มพื้นที่ว่างระหว่างพื้นที่ปิดช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวทางเสียงและเพิ่มความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัย การเปลี่ยนพื้นที่ที่มีพื้นผิวแข็งในพื้นที่ด้วยวัสดุดูดซับ Sound absorption สามารถลดพลังงานเสียงสะท้อนและช่วยด้านความเป็นส่วนตัวทางเสียง Privacy หรือในทางกลับกัน ปรับปรุงการกระจายเสียงพูด ระดับเสียงพื้นหลังที่สม่ำเสมอสามารถนำไปใช้ในพื้นที่โดยใช้ระบบสร้างเสียง Sound masking เพื่อปรับปรุงอัตราส่วนสัญญาณต่อเสียงรบกวน หรือ Signal to Noise ratio ให้เหมาะสมจะทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นในเรื่องของ Speech Privacy
มาดูกันว่าหลักเกณฑ์ต่างๆในเรื่องของเสียง “Sound” ในเกณฑ์ของ WELL Standard ที่สำคัญมีอะไรบ้าง

1. Sound Mapping 
การทำ Label Acoustic Zones โดยการทำแผนผังหรือแผนที่เสียงที่จำแนกพื้นที่ต่างๆของอาคารดังต่อไปนี้ 


 
นอกจากนั้นยังต้องมีแผนการปรับปรุงด้านเสียงจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่พื้นที่ในอาคารเป็นที่ที่ต้องควบคุมเสียงและให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งเรื่องของระดับเสียง ค่า Reverberation time ค่าฉนวนกันเสียง Sound insulation ค่าความชัดเจนของเสียงพูด รวมถึงความ Privacy ของเสียง จนถึงการทดสอบ ณ สถานที่จริงในทุกพื้นที่ 

2. Maximum Noise Levels
 ค่าระดับเสียงในห้องแต่ละประเภท เป็นไปตามเกณฑ์ดังตารางต่อไปนี้


 
การตรวจวัดระดับเสียงจะต้องดำเนินการโดยเครื่องมือวัดและทดสอบตามมาตรฐานรวมถึงผู้ทดสอบต้องมีความเชี่ยวชาญในการทดสอบหัวข้อดังกล่าว
Category 1 Room Types:
Areas for conferencing
Areas for learning
Areas for speaking
Category 2 Room Types:
Enclosed areas for concentration
Category 3 Room Types:
Open areas for concentration
Areas with regularly used PA systems
Areas for dining (excluding office kitchenettes)
Category 4 Room Types:
Areas with machinery and appliances used by occupants (e.g., baggage handling areas, security, commercial kitchens, labs where spoken lectures do not take place)
 
3. Sound Barriers
ว่ากันด้วยเรื่องของการกำหนดให้ผนังและประตูต้องมีระดับการแยกเสียงขั้นต่ำเพื่อให้มีการแยกเสียงที่เพียงพอและปรับปรุงความเป็นส่วนตัวในการสนทนา ที่เรียกว่า speech privacy
เกณฑ์ที่กำหนดของ WELL กำหนดไว้ดังนี้
ผนังภายในต้องมีค่า Sound Transmission Class (STC) หรือ weighted sound reduction (Rw) ตามค่าที่กำหนดไว้ด้านล่างนี้ หากผนังภายในตรงตามหลายหมวดหมู่ที่ระบุไว้ ให้ใช้ค่า STC/Rw ที่สูงที่สุด (เช่น ค่าที่เข้มงวดที่สุด) ที่ระบุไว้

นอกจากนั้นยังมีเกณฑ์ของผนังที่แยกพื้นที่ของการใช้งาน และค่าความเป็นส่วนตัวของเสียงพูด Speech Privacy ที่จะต้องออกแบบให้ได้ตามที่กำหนดที่สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในเกณฑ์ของ WELL และมีทำ Performance Test ที่หน้างานจริง

4. Reverberation Time
ค่าความสะท้อน หรือระดับความก้องกังวาลของห้อง จะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสม โดยเกณฑ์ที่กำหนดดังตารางต่อไปนี้ 

ซึ่งจะต้องทำการคำนวณหรือจัดทำ Technical document และทำการ Performance Test ที่หน้างานจริง เช่นกัน

5. Sound Reducing Surfaces 
หัวข้อนี้คือการกำหนดให้ใช้วัสดุอะคูสติกที่ดูดซับและ/หรือป้องกันเสียงและลดการสะท้อนเสียง ซึ่งทางผู้ออกแบบจะต้องจัดทำ Technical document การคำนวณทาง Acoustics และบอกค่า NRC หรือ Alpha ในการใช้งานวัสดุที่นำมาลดเสียงสะท้อน
 
6. Minimum Background Sound 
สำหรับ Office area ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ 
ติดตั้งระบบสร้างเสียงที่เรียกว่า sound masking ในพื้นที่ quiet zones, circulation zones และในพื้นที่ที่มีการทำงาน
ระบบสร้างเสียง sound masking ต้องผลิตสัญญาณเอาท์พุตที่ปรับได้ในแถบ 1/3 octave band และมีสเปกตรัมความถี่ขั้นต่ำตั้งแต่ 100 Hz ถึง 5 kHz
ระบบ sound masking สร้างเสียงต้องได้รับการตรวจสอบและตั้งค่าให้ระดับความดันเสียงไม่เกินค่าต่อไปนี้:
- พื้นที่เปิดที่กำหนดให้เป็น quiet zones, circulation zones และพื้นที่สถานที่ทำงาน : 48 dBA
- ห้องปิดที่กำหนดให้เป็นเขต quiet zones: 42 dBA
ระบบสร้างเสียง sound masking ต้องได้รับการตรวจสอบโดยผู้ติดตั้งระบบสร้างเสียง sound masking ตามมาตรฐาน ASTM 1573-18 หรือมาตรฐานที่เทียบเท่า

7. Impact Noise Management 
เรื่องเสียงกระแทก Impact noise เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องคำนึงถึงเพราะว่าการที่อาคารมีพื้นที่ใช้สอยต่างๆ เช่นห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ ห้องจัดแสดง หรือห้องพักอาศัย จะต้องมีการออกแบบระบบพื้น หรือเพดานให้รองรับกิจกรรมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อห้องด้านล่าง โดยที่การทดสอบจริงนั้นจะใช้เครื่องมือ Tapping Machine และทดสอบตามมาตฐาน ASTM E1007-19, ISO 16283 ที่ทดสอบออกมาเป็นค่า Normalized Impact Sound Ratings (NISR) หรือ LnTw
 
8. Enhanced Audio Devices
จะเป็นเรื่องของการออกแบบระบบเสียงประกาศ เสียงตามสายภายในอาคารที่ใช้ระบบเครื่องเสียง ให้มีความชัดเจนของคำพูด ความชัดเจนของภาษา เมื่อมีการใช้งานระบบประกาศ ผู้รับสารจะต้องได้ยินอย่างชัดเจนและเข้าใจ 
ซึ่งในการออกแบบเองจำเป็นต้องให้วิศวกรด้าน Acoustic เป็นผู้คำนวณ ซึ่งจะมีเกณฑ์การตัดสินเป็นค่า STI หรือ CIS ตามมาตรฐานของ IEC 60268-16 ซึ่งจะต้องใช้เครื่อง STIPA Meter ในการวิเคราะห์ระดับความชัดเจนของภาษาและการได้ยิน
รวมถึงการติดตั้งระบบเสียงดังกล่าว และการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอุปกรณ์แก่ผู้เกี่ยวข้อง
 

9. Hearing Health Conservation
การให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของ hearing health conservation ที่เกี่ยวกับสุขภาวะ และอาชีวอนามัย ที่เกี่ยวข้องกับเสียงจากการประกอบการทำงาน โดยให้คนในองค์กรมีความตระหนักถึงภัยร้ายของเสียงรบกวน มาตรฐานและกฎหมายทางด้านเสียงและข้อบังคับในประเทศ และระดับสากล โดยผู้ให้การอบรมต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านเสียงที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมด้านเสียง
 
จะเห็นได้ว่าเรื่องของเสียงเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนอยู่พอสมควรและมาตรฐานของ WELL ที่ค่อนข้างเข้มงวด และจะต้องทำการทดสอบที่หน้างานจริงเท่านั้น
 
แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2024/06/25/มาตรฐาน-well-building-standard-เรื่องเสียง/
By Pitupong Sarapho
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่