PFE น้า...น้า...หนูดอยหุ้น Pfizer Inc. ใครไม่รู้จัก ก็บริษัทที่ผลิตยา "ไวอะกรา" นั่นแหละ

กระทู้คำถาม
เรื่องมีอยู่ว่า...
เมื่อไตรมาสสี่... ปีที่แล้ว
หนูกระแดะ อยากโกอินเตอร์
เพราะมันดูเท่ห์ เวลาที่มาโพสบอกคนในสินธร ว่าหนูซื้อหุ้นต่างประเทศ

หนูพิจารณาแล้ว เห็นว่า
 เป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ จ่ายปันผล 6.4% และกำลังเข้าซื้อ บ. Seagen ที่ค้นคว้ายารักษามะเร็ง
ในอนาคตอันใกล้ เราจะใช้ Antibody แทนคีโม นำเอายาไปฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่มีผลต่อเซลล์ดีข้างเคียง
เป็นขาลงขนาดใหญ่ที่เหมาะกับการเทรด

พอหนูซื้อปุ๊ป มันก็ลงปั๊ป แต่หนูก็ถือต่อ
ด้วยความคิดโง่ๆ+ปญอ. ว่า
ในทางกราฟ Pfe หลุด 30$ ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญและ Fibonacci 50%
วันที่ 13 ธค เปิดแกป ลง 9% พร้อม Volume  แบบนี้เรียกว่า capitulation ซึ่งเป็นจุดซื้อที่ดี
ปิดวันเป็นแท่งเทียนที่เรียกว่า hammer  หนูก็ถือต่อ

แต่แล้ว มันก็ลงอีก
ข้อสันนิษฐานของหนู กลายเป็นเรื่อง ปญอ.
สร้างความตลก-ขบขัน สมเพช-เวทนา ให้กับผู้รู้ในสินธร
เพราะพื้นฐานทางเทคนิคระดับอนุบาลของหนู
ทำให้หนูต้องติดอยู่กับหุ้นตัวนี้


สภาพหุ้นหนู

หนูก็ไม่รู้จะทำยังไง หนูเครียดกับหุ้นตัวนี้
ก็เลยเข้ามาสินธร กะว่าจะมาอ่านกระทู้คลายเครียด
แต่ต้องมาเจอ เจ้าพวกชอบอวดกำไร แถมยังเป็นแค่เด็กเมื่อวานซืน ชอบทำต้วติงต๊อง
แล้วมันไม่ได้กำไรธรรมดา ได้กันทีละ เป็นสิบล้าน ร้อยล้าน
ในขณะที่หนู ทำต้มยำกุ้ง ทำผัดไทย ขายให้ฝรั่งกิน
กำไรวันละไม่ถึงแสน ทำจนตาย ก็สู้เจ้าเด็กนี่ไม่ได้ 

ใจหนูที่บอบช้ำอยู่แล้วก็เหมือนโดนฟ้าผ่าเข้าอย่างจัง
หนูเจ็บแค้น หนูคิดในใจว่า
ถ้าเขาตั้งกระทู้เมื่อไหร่ หนูก็จะไปป่วน ไปกวน สร้างความรำคาญ

หนูรู้ตัวดี ว่าหนูยังอ่อนหัด ชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่มีทางเทรดได้แบบเขา
แต่ก็กลับอวดดี กล้าไปกวนเขา

แต่หนูต้องทำต่อไป
เพราะเป็นวิธีเดียว ที่สามารถเยียวยาจิตใจของหนูได้

หนูพูดตรงๆเลยนะ
หนูอิจฉา-ริษยาเด็ก
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่อง.  “ผู้ใดไม่เคยถูกริษยา ผู้นั้นเป็นชนชั้นธรรมดา”

คำว่า “ริษยา”ในบาลี เรียกว่า “อิสฺสา” หรือ “อิจฉา”หมายถึง ลักษณะที่ไม่ต้องการเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตนเอง

ในชีวิตเรานั้น เราจะพบความอิจฉาเกิดขึ้นในจิตใจตลอดเวลา หากเราพิจารณา และสังเกตใจเราในเรื่องนี้ให้ถี่ถ้วนเราจะเห็นว่า
ความอิจฉานี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่วัยเด็ก วันทำงาน วัยเกษียณ หรือเราอาจจะอิจฉาคนตายก็เป็นได้ เป็นต้น

หากมาทบทวนพิจารณากันว่าในชีวิตเราเกี่ยวข้องกับความอิจฉาริษยาได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจมอง ใน  ๓. มุมมองได้แก่

๑.เราไปริษยาผู้อื่น เช่น ริษยาคนที่มีฐานะมั่นคง เรื่องของคนมีทรัพย์สินมากมาย หรือริษยาคนที่ก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่เติบโตกว่าเรา ซึ่งถือเป็นปรกติของคนทั่วไป, เหตุที่ทำให้เราริษยาคนอื่นนั้น เกิดจากการเปรียบเทียบ ซึ่งจิตใจเราจะเกิดความรู้สึกว่ามีสิ่งที่ดีกว่า และด้อยกว่าเสมอ และเมื่อเราเริ่มเปรียบเทียบ เราจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ความอิจฉาจะเข้ามาหาคุณทันที เพราะจะเกิดภาวะที่เรียกว่า “ทวินิยม” หรือ การยินดีในของคู่ เช่น หากการมาทำบุญวันนี้เป็นสีขาว แล้วไม่มาทำบุญเป็นสีดำ นั้นถูกจริงหรือ??? ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องระหว่างบุคคลเป็นหลัก จึงเป็นต้นเหตุของการเกิดความริษยา

๒.ผู้อื่นมาริษยาเรา เช่นหากเรามีครอบครัวที่มีความสุข คนรักของเราซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ท่านทั้งหลายจงภูมิใจเถิดที่มีคนอิจฉาริษยาเรา เพราะเรามิใช่คนธรรมดาตามภาษิตข้างต้น “ผู้ใดไม่เคยถูกริษยา ผู้นั้นเป็นชนชั้นธรรมดา” เรามีดีอยู่ในตัว เพียงแต่เรารักษาสิ่งที่ดีงามนั้น และเพิ่มกำลัง, เพิ่มปริมาณมากขึ้นได้เท่าไร, ได้ยาวนานเท่าใด

๓. นั่งดูผู้อื่นริษยากัน ซึ่งอาจเรียกว่าไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การปกครองคนหมู่มาก ซึ่งผู้นำต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบกันและกัน ได้แก่ หากมีการนำเรื่องมาแจ้งหากเห็นคนทำดีกว่า หรือทำการที่ผิดต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น ดังนั้นจึงเกิดสถานะภาพ “คนกลาง” เพื่อการพิจารณาไกล่เกลี่ยให้เกิดการปรองดองขึ้นมาซึ่งในฐานะคนกลาง ที่เป็นตำแหน่งที่ลำบาก เพราะท่านต้องทำให้คนใดคนหนึ่งเสียผลประโยชน์ ดังนั้นคนกลางหรือผู้ตัดสิน ต้องมีความลำบากใจ จึงต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ

เมื่อเร็วนี้ มีข่าว การฆาตกรรมระหว่างครอบครัว โดยพี่ชาย ยิง น้องชายสองคนเสียชีวิต เหตุเกิดเพราะพี่อิจฉาน้องที่ได้รับสิ่งดีๆ มากกว่าตนเสมอมา จนทำให้เกิดการสะสม ความริษยา จึงเกิดการฆาตกรรมนี้ขึ้น  แล้วในมุมมองของผู้เป็นพ่อแม่ จะรู้สึกอย่างไร?

ดังนั้น หากเราเก็บสะสมความอิจฉาริษยาอยู่ในใจตนแล้ว หากเรามองว่าเป็นเรื่องนิดหน่อย ระวังให้ดี มันจะสะสมพอกพูนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อผ่านไป เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วว่าความริษยานี้ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราท่านทั้งหลายพึงพิจารณาด้วยปัญญา โดยไม่คิดเปรียบเทียบด้วยการสร้างมานะทิฏฐิให้เกิดขึ้นในใจตน แล้วน้อมรับด้วยการยอมรับความเป็นจริงนั้น ด้วย “สติ” เพื่อขจัด”กิเลส” ไม่ให้กิเลสเติบโต หรือทำให้กิเลสขาดอาหารจนไม่สามารถอยู่ในใจเราได้อีกต่อไป.


อรติ โลกนาสิกา
"ความริษยา เป็นเหตุให้โลกพินาศ"

พุทธศาสนสุภาษิต

ริษยา คือ ความกระวนกระวายใจ ความเดือดร้อนใจ เมื่อเห็นคนอื่นเขามีความสุขเขามีอะไรที่ดีกว่าหรือเหนือกว่าตัว
ดิ้นรนต้องการจะให้เขาคนนั้น ต้องพินาศหรือสูญเสียไป เพื่อตนจะได้มีอำนาจหรือดีกว่าเขา

ความริษยานี้ เป็นเหตุให้คนทะเลาะวิวาทกัน ไม่ลงรอยสามัคคีกัน เป็นฝักฝ่ายไม่ลงกัน ถ้าเกิดเฉพาะคนต่อคน ก็มีความเดือดร้อนน้อย
แต่ถ้าอาจเกิดแก่สังคมระดับประเทศ ความเดือนร้อนนั้นจะมีมากยิ่งขึ้น เป็นเหตุก่อความพินาศต่อชาวโลก

บุคคลที่มีความเป็นอยู่ร่วมกัน จะต้องระวังเรื่องการพูดจาดังคำที่ว่า อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่ร่วมมิตรให้ระวังวาจา
เพราะคนที่ไม่ระวังทั้งกายและวาจา ย่อมจะมีปากเสียงทะเลาะต่อว่ากัน ซึ่งจะนับเนื่องมาจากใจที่มีการอิจฉาริษยากัน

ความอิจฉาริษยา จะเกิดกับคนใกล้ชิดกันเป็นส่วนใหญ่ จากนั้นก็จะเกิดกับสังคมที่อยู่ใกล้เคียงกัน สุดท้ายก็คนทั่วไป
จุดเกิดของความอิจฉาริษยา คือ เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีมีสุข หรือได้รับยศศักดิ์ หรือที่เรียกว่าโชคดี เป็นต้น

อันลักษณะเช่นนี้ ตามหลักพรหมวิหาร ท่านกล่าวว่า จะต้องเจริญมุทิตา คือร่วมดีใจไปกับเขาด้วย ในเมื่อเขามีความสุขเป็นต้น
ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าโชคนั้นเกิดโดยยุติธรรม ก็คงมีคนอิจฉาริษยาบ้าง แต่ก็เพียงเล็กน้อย
แต่ที่มากขนาดสร้างความพินาศให้เกิดขึ้นนั้น น่าจะมาจากความไม่ชอบธรรม
เช่น มีลูกสองคน ให้สิ่งของกับคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งไม่ให้ หรือให้ไม่เท่ากัน นี้คือสาเหตุสำคัญ

เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ จะต้องระวังใจตัวเอง อย่าให้มีความเดือดร้อนใจ เพราะทำใจให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น
ใครจะยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นเรื่องของเขา ไม่ต้องไปอิจฉาเขาเพียงแต่รักษาตัวเราไว้ มิให้เป็นคนไม่ยุติธรรม
ถ้ามีการอิจฉาริษยากัน รังแต่จะก่อเรื่องวุ่นวาย ขอให้คิดว่า

๑. อิจฉาพาใจ ให้ใฝ่ต่ำ จะยุ่งเหยิงเริงกิเลสทาสพินาศนำ
๒. อิจฉามี คนดีจะหายาก จะทะเลาะวิวาท ด้วยอำนาจความอยาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่