“เราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ดีไปกว่าความชอบธรรมของบรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีแล้ว ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย”
“ท่านได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ผู้ใดฆ่าคนจะต้องขึ้นศาล แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า ทุกคนที่โกรธเคืองพี่น้อง จะต้องขึ้นศาล ผู้ใดกล่าวแก่พี่น้องว่า ‘ไอ้โง่’ ผู้นั้นจะต้องขึ้นศาลสูง ผู้ใดกล่าวแก่พี่น้องว่า ‘ไอ้โง่บัดซบ’ ผู้นั้นจะต้องถูกปรับโทษถึงไฟนรก ดังนั้น ขณะที่ท่านนำเครื่องบูชาไปถวายยังพระแท่น ถ้าระลึกได้ว่าพี่น้องของท่านมีข้อบาดหมางกับท่านแล้ว จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าพระแท่น กลับไปคืนดีกับพี่น้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชานั้น จงคืนดีกับคู่ความของท่านขณะที่กำลังเดินทางไปศาลด้วยกัน มิฉะนั้น คู่ความจะมอบท่านแก่ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาจะมอบท่านให้ผู้คุม ซึ่งจะขังท่านในคุก เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ท่านจะออกจากคุกไม่ได้ จนกว่าท่านจะชำระหนี้จนเศษสตางค์สุดท้าย”
“ท่านได้ยินคำกล่าวที่ว่า อย่าล่วงประเวณี แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองหญิงด้วยความใคร่ ก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจแล้ว ถ้าตาขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาป จงควักมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดของท่านตกนรก ถ้ามือขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาป จงตัดมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดตกนรก”
“มีคำกล่าวว่า ผู้ใดจะหย่ากับภรรยา ก็จงทำหนังสือหย่ามอบให้นาง แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดที่หย่ากับภรรยา ยกเว้นกรณีแต่งงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็เท่ากับทำให้นางล่วงประเวณี และผู้ใดที่แต่งงานกับหญิงที่ได้หย่าร้าง ก็ล่วงประเวณีด้วย”
“ท่านยังได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณว่า อย่าผิดคำสาบาน แต่จงทำตามที่ได้สาบานไว้ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่เราบอกท่านทั้งหลายว่า อย่าสาบานเลย อย่าอ้างถึงสวรรค์เพราะเป็นที่ประทับของพระเจ้า อย่าอ้างถึงแผ่นดิน เพราะเป็นที่รองพระบาทของพระองค์ อย่าอ้างถึงกรุงเยรูซาเล็ม เพราะเป็นนครหลวงของพระมหากษัตริย์ อย่าอ้างถึงศีรษะของท่าน เพราะท่านไม่อาจเปลี่ยนผมสักเส้นให้เป็นดำเป็นขาวได้ ท่านจงพูดเพียงว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’คำพูดที่มากไปกว่านั้นมาจากมารร้าย”
“ท่านเคยได้ยินเขากล่าวว่า ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่าอย่าโต้ตอบคนชั่วผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย ผู้ใดอยากฟ้องท่านที่ศาลเพื่อจะได้เสื้อยาวของท่าน ก็จงแถมเสื้อคลุมให้เขาด้วย ผู้ใดจะเกณฑ์ให้ท่านเดินไปกับเขาหนึ่งหลัก จงไปกับเขาสองหลักเถิด ผู้ใดขออะไรจากท่าน ก็จงให้ อย่าหันหลังให้ผู้ที่มาขอยืมสิ่งใดจากท่าน”
“ท่านทั้งหลายได้ยินคำกล่าวว่า จงรักเพื่อนบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่วโปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน ท่านจะได้บำเหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคนเก็บภาษีมิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ ถ้าท่านทักทายแต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านทำอะไรพิเศษเล่า คนต่างศาสนามิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ ฉะนั้นท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด”
📖📖📖
อำนาจใหม่
มัทธิว 5:21-48 คำสอนของพระเยซูเจ้าในภาคนี้เป็นคำสอนที่สำคัญมากตอนหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ ก่อนที่เราจะอธิบายคำสอนของพระองค์โดยละเอียด ขอให้เราสังเกต ความจริงข้อหนึ่ง คือ
ในพระวรสารมีบันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างผู้มีอำนาจซึ่งไม่มีใครเลยเคยแสดงอำนาจเหมือนกับพระองค์ จนกระทั่งว่า ฝูงชนที่เคยฟังคำสอนของพระองค์หรือเคยคิดต่อพระองค์ โดยการเทศน์สอนที่ศาลาธรรม เมืองคาเปอรนาอุม นักบุญมาระโกได้บันทึกว่า “คำสั่งสอนของพระองค์ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจอย่างมาก เพราะทรงสอนเขาอย่างทรงอำนาจไม่เหมือนกับบรรดาธรรมาจารย์” (มาระโก 1:22) นักบุญมัทธิวได้ลงท้ายบทเทศน์บนภูเขาด้วยข้อความที่คล้ายๆ กันคือ “เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสถ้อยคำเหล่านี้จบแล้ว ประชาชนต่างพิศวงในคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสอนเขาอย่างผู้มีอำนาจ ไม่ใช่สอนเหมือนบรรดาธรรมาจารย์ของเขา“ (มัทธิว 7:28-29)
การสอนแบบของพระเยซูเจ้านี้คงจะสะกิดใจพวกชาวยิวพอสมควร ทั้งนี้ก็เพราะว่าสำหรับชาวยิวแล้ว กฎหมายเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด กฎหมายเป็นกฎหมายของพระเจ้า
อารีสเตอัส (Aristeas - Ἀριστέας) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “กฎหมายนั้นศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้”
เพลโต (Plato - Πλάτων) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “กฎหมายโมเสสคงอยู่ชั่วนิรันดร์ไม่เปลี่ยนแปลง“
พวกรับบี (Rabbi - רב) หรือธรรมาจารย์ (Scribes / Soferim - סופרים) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ใครที่บังอาจปฏิเสธว่า กฎหมายไม่ได้มาจากสวรรค์ก็ไม่มีส่วนในโลกหน้า” ยิ่งกว่านั้นพวกเขามีความเคารพต่อกฎหมายมากทีเดียว ก่อนจะเริ่มพิธีในศาลาธรรม เขาจะเชิญกฎหมายของโมเสส (Law of Moses - תֹּורַת מֹשֶׁה) ที่เก็บไว้ในตู้แห่ไปรอบๆ เพื่อให้ฝูงชนที่เข้าร่วมในพิธีแสดงความคารวะก่อนที่จะเริ่มพิธีใดๆ
เราจึงเห็นว่า พวกยิวมีความเคารพนับถือกฎหมายมาก ถึงกระนั้นก็ดีเรารู้ว่าพระเยซูเจ้าได้อ้างถึงกฎหมายไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง (มัทธิว 5:21 , 27 , 33 , 38 , 43) และได้สอนคำสอนของพระองค์เองแทนกฎหมายนั้น พระองค์กล้าพอที่จะตรัสว่า กฎหมายที่ชาวยิวถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลกนั้นยังไม่สมบูรณ์ อย่างแท้จริงและพระองค์ได้แก้ไขโดยอาศัยพระปรีชาญาณของพระองค์เอง พระองค์กระทำดังนี้อย่างผู้มีอำนาจ คำว่าอำนาจ ในภาษากรีกแปลว่า ἐξουσία - Exousia ซึ่งหมายถึง อำนาจที่จะเพิ่มเติมหรือตัดออกตามอำเภอใจ พระเยซูเจ้าอ้างว่าพระองค์มีอำนาจจะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ซึ่งชาวยิวถือว่า แก้ไขและจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เนื่องจากกฎหมาย คือ พระวาจาของพระเจ้า ที่จริงพระองค์ไม่ได้พิสูจน์ว่า พระองค์มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแต่ว่าพระองค์ได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายด้วยพระองค์เองอย่างสงบ
ไม่มีชาวยิวคนใดเลยเคยได้ยินหรือเคยเห็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อหน้าพวกเขาธรรมาจารย์ชาวยิว แม้จะยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงอย่างไรก็ตามและแม้แต่ประกาศกด้วยมักจะเริ่มต้นคำสอนหรือบทเทศน์ของตนว่า “พระสวามีเจ้า” ตรัสดังนี้ คือ เขามักจะอ้างอำนาจของพระเจ้าและธรรมาจารย์ (Scribes / Soferim - סופרים) มักจะย้ำคำสอนของอาจารย์ของตน เช่น เขาสอนกันมาว่าดังนี้เขามักจะไม่สอนสิ่งที่เขาคิดเองและแม้แต่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความของอาจารย์หลายๆครั้งเขาก็ไม่กล้าด้วยซ้ำไป ตรงข้ามพระเยซูเจ้าทรงสอนประชาชนด้วยอำนาจของพระองค์เอง พระองค์จะต้องมีความมั่นใจเป็นที่สุดในการสอนและเพิ่มเติมกฎหมายของโมเสส (Law of Moses - תֹּורַת מֹשֶׁה) แม้แต่พวกยิวเองก็สังเกตเห็นความจริงข้อนี้ พูดง่ายๆ ว่าทุกคนที่เคยเห็นและได้ยินพระองค์ตรัสสอนมีความรู้สึกว่า พระองค์มีอำนาจของพระเจ้าและพระองค์มีอำนาจมากกว่าประกาศกหรือธรรมาจารย์ใดๆ ที่อยู่ก่อนพระองค์
มาตรฐานใหม่
เรารู้สึกพิศวงในอำนาจของพระเยซูเจ้า แต่ว่าคำสอนของพระองค์หรือข้อเรียกร้องหรือมาตรฐานในการดำรงชีวิตที่พระองค์เทศน์ให้ฝูงชนฟังนั้นน่าพิศวงมากกว่าอีกพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า ในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่ใช่แต่ฆาตกรเท่านั้นที่ทำความผิด ผู้ที่เพียงแต่โกรธพี่น้องของเขาก็มีความผิดและสมควรจะถูกลงโทษด้วย พระองค์ตรัสว่าไม่ใช่แต่ผู้ที่ล่วงประเวณีเท่านั้นที่มีความผิด แม้คนที่ปล่อยตัวปรารถนาความชั่วช้าก็ต้องถือว่ามีความผิดด้วย นี่เป็นสิ่งใหม่ที่พระองค์ได้ทรงสอน พระองค์ทรงเน้นเรื่องจิตใจซึ่งเป็นบ่อเกิดของการกระทำมากกว่า พระองค์ต้องการตัดรากถอนโคนมากกว่าตัดลำต้น
เป็นไปได้ที่เราไม่เคยฆ่าใคร แต่บางครั้งเราปรารถนาจะฆ่าศัตรูหรือผู้ที่ทำอะไรขัดใจเราหรือขัดต่อผลประโยชน์ของเรา เป็นไปได้ที่เราไม่เคยล่วงประเวณี แต่หลายๆครั้งเราปล่อยใจตามความใคร่ของเนื้อหนัง ความคิดมักจะนำไปถึงกิจการ เราทำตามที่เราคิด เพราะฉะนั้นความคิดจึงถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมาก กิจกรรมดีหรือชั่วเป็นผลของการคิดชอบหรือคิดชั่ว
มาตรฐานการตัดสินทางโลกไม่ใช่เช่นนี้ โลกตัดสินแต่พียงภายนอกเท่านั้น เพราะไม่มีใครสามารถล่วงรู้ความคิดภายในได้ โลกตัดสินว่า คนใดคนหนึ่งเป็นคนดี ถ้าหากเขาไม่เคยมีความคิดเลวทรามหรือต่ำช้าอย่างไรก็ตาม พระเยซูเจ้าเพ่งเล็งความคิดความปรารถนาของมนุษย์มากกว่า
ถ้าหากเราจะพิจารณาคำสอนของพระองค์ เราจะเห็นว่า พระองค์สอนดี ถูกต้องและถ้าหากใครปฏิบัติตามก็จะเกิดความปลอดภัยมั่นคง ความจริงในตัวมนุษย์เรานี้มีอำนาจ2 ฝ่าย คือ ความโน้มเอียงไปในทางดีและความโน้มเอียงไปทางความชั่วซึ่งต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา เหตุผลและราคะตัณหาจะต่อสู้ในตัวเราเสมอ ชีวิตเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจฝ่ายสูงและอำนาจฝ่ายต่ำ เหตุผลจะต้องควบคุมราคะตัณหาให้ได้ การบังคับตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตราบใดที่เหตุผลยังบังคับหรือปราบตัณหาไม่ได้ ตราบนั้นเราก็ไม่มีความปลอดภัย เราเสี่ยง พระเยซูเจ้าจึงทรงสอนเราว่าวิธีเดียวที่เราจะปลอดภัย ก็คือ พยายามถอนรากถอนโคนความปรารถนาหรือตัณหาที่ชักนำให้เราตกต่ำอยู่ร่ำไปหรือทำสิ่งที่พระเจ้าทรงห้าม
ให้เราจำไว้ด้วยว่า พระเจ้าเท่านั้นทรงเป็นผู้ตัดสินมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์เห็นแก่ภายนอกและไม่สามารถจะล่วงรู้ภายในจิตใจ พระเจ้าทรงล่วงรู้สารพัด พระองค์จึงตัดสินได้อย่างถูกต้อง ส่วนมนุษย์นั้นอาจจะตัดสินได้ถูกต้อง แต่หลายๆครั้งอาจจะผิดพลาดได้ ฉะนั้นเราจึงต้องดำรงชีวิตอย่างดีทั้งภายนอกและภายใน เราจึงจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า
ข้อคิดประการสุดท้ายก็คือว่า เมื่อพระเจ้าเป็นผู้ตัดสิน เราต้องยอมรับว่า เราทุกคนเป็นคนบาป เคยผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น แม้เราจะพยายามดำรงชีวิตอย่างดีเท่าไรก็ตาม ข้อคิดนี้จะทำให้เราเป็นผู้สุภาพและพระองค์จะยกมาตรฐานการดำรงชีวิตของเราให้สูงขึ้น
อธิบายพระคัมภีร์ มัทธิว 5:20-48 มาตรฐานใหม่ สูงกว่ามาตรฐานเดิม
“เราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ดีไปกว่าความชอบธรรมของบรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีแล้ว ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย”
“ท่านได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ผู้ใดฆ่าคนจะต้องขึ้นศาล แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า ทุกคนที่โกรธเคืองพี่น้อง จะต้องขึ้นศาล ผู้ใดกล่าวแก่พี่น้องว่า ‘ไอ้โง่’ ผู้นั้นจะต้องขึ้นศาลสูง ผู้ใดกล่าวแก่พี่น้องว่า ‘ไอ้โง่บัดซบ’ ผู้นั้นจะต้องถูกปรับโทษถึงไฟนรก ดังนั้น ขณะที่ท่านนำเครื่องบูชาไปถวายยังพระแท่น ถ้าระลึกได้ว่าพี่น้องของท่านมีข้อบาดหมางกับท่านแล้ว จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าพระแท่น กลับไปคืนดีกับพี่น้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชานั้น จงคืนดีกับคู่ความของท่านขณะที่กำลังเดินทางไปศาลด้วยกัน มิฉะนั้น คู่ความจะมอบท่านแก่ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาจะมอบท่านให้ผู้คุม ซึ่งจะขังท่านในคุก เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ท่านจะออกจากคุกไม่ได้ จนกว่าท่านจะชำระหนี้จนเศษสตางค์สุดท้าย”
“ท่านได้ยินคำกล่าวที่ว่า อย่าล่วงประเวณี แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองหญิงด้วยความใคร่ ก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจแล้ว ถ้าตาขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาป จงควักมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดของท่านตกนรก ถ้ามือขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาป จงตัดมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดตกนรก”
“มีคำกล่าวว่า ผู้ใดจะหย่ากับภรรยา ก็จงทำหนังสือหย่ามอบให้นาง แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดที่หย่ากับภรรยา ยกเว้นกรณีแต่งงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็เท่ากับทำให้นางล่วงประเวณี และผู้ใดที่แต่งงานกับหญิงที่ได้หย่าร้าง ก็ล่วงประเวณีด้วย”
“ท่านยังได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณว่า อย่าผิดคำสาบาน แต่จงทำตามที่ได้สาบานไว้ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่เราบอกท่านทั้งหลายว่า อย่าสาบานเลย อย่าอ้างถึงสวรรค์เพราะเป็นที่ประทับของพระเจ้า อย่าอ้างถึงแผ่นดิน เพราะเป็นที่รองพระบาทของพระองค์ อย่าอ้างถึงกรุงเยรูซาเล็ม เพราะเป็นนครหลวงของพระมหากษัตริย์ อย่าอ้างถึงศีรษะของท่าน เพราะท่านไม่อาจเปลี่ยนผมสักเส้นให้เป็นดำเป็นขาวได้ ท่านจงพูดเพียงว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’คำพูดที่มากไปกว่านั้นมาจากมารร้าย”
“ท่านเคยได้ยินเขากล่าวว่า ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่าอย่าโต้ตอบคนชั่วผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย ผู้ใดอยากฟ้องท่านที่ศาลเพื่อจะได้เสื้อยาวของท่าน ก็จงแถมเสื้อคลุมให้เขาด้วย ผู้ใดจะเกณฑ์ให้ท่านเดินไปกับเขาหนึ่งหลัก จงไปกับเขาสองหลักเถิด ผู้ใดขออะไรจากท่าน ก็จงให้ อย่าหันหลังให้ผู้ที่มาขอยืมสิ่งใดจากท่าน”
“ท่านทั้งหลายได้ยินคำกล่าวว่า จงรักเพื่อนบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่วโปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน ท่านจะได้บำเหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคนเก็บภาษีมิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ ถ้าท่านทักทายแต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านทำอะไรพิเศษเล่า คนต่างศาสนามิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ ฉะนั้นท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด”
📖📖📖
อำนาจใหม่
มัทธิว 5:21-48 คำสอนของพระเยซูเจ้าในภาคนี้เป็นคำสอนที่สำคัญมากตอนหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ ก่อนที่เราจะอธิบายคำสอนของพระองค์โดยละเอียด ขอให้เราสังเกต ความจริงข้อหนึ่ง คือ
ในพระวรสารมีบันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างผู้มีอำนาจซึ่งไม่มีใครเลยเคยแสดงอำนาจเหมือนกับพระองค์ จนกระทั่งว่า ฝูงชนที่เคยฟังคำสอนของพระองค์หรือเคยคิดต่อพระองค์ โดยการเทศน์สอนที่ศาลาธรรม เมืองคาเปอรนาอุม นักบุญมาระโกได้บันทึกว่า “คำสั่งสอนของพระองค์ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจอย่างมาก เพราะทรงสอนเขาอย่างทรงอำนาจไม่เหมือนกับบรรดาธรรมาจารย์” (มาระโก 1:22) นักบุญมัทธิวได้ลงท้ายบทเทศน์บนภูเขาด้วยข้อความที่คล้ายๆ กันคือ “เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสถ้อยคำเหล่านี้จบแล้ว ประชาชนต่างพิศวงในคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสอนเขาอย่างผู้มีอำนาจ ไม่ใช่สอนเหมือนบรรดาธรรมาจารย์ของเขา“ (มัทธิว 7:28-29)
การสอนแบบของพระเยซูเจ้านี้คงจะสะกิดใจพวกชาวยิวพอสมควร ทั้งนี้ก็เพราะว่าสำหรับชาวยิวแล้ว กฎหมายเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด กฎหมายเป็นกฎหมายของพระเจ้า
อารีสเตอัส (Aristeas - Ἀριστέας) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “กฎหมายนั้นศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้”
เพลโต (Plato - Πλάτων) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “กฎหมายโมเสสคงอยู่ชั่วนิรันดร์ไม่เปลี่ยนแปลง“
พวกรับบี (Rabbi - רב) หรือธรรมาจารย์ (Scribes / Soferim - סופרים) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ใครที่บังอาจปฏิเสธว่า กฎหมายไม่ได้มาจากสวรรค์ก็ไม่มีส่วนในโลกหน้า” ยิ่งกว่านั้นพวกเขามีความเคารพต่อกฎหมายมากทีเดียว ก่อนจะเริ่มพิธีในศาลาธรรม เขาจะเชิญกฎหมายของโมเสส (Law of Moses - תֹּורַת מֹשֶׁה) ที่เก็บไว้ในตู้แห่ไปรอบๆ เพื่อให้ฝูงชนที่เข้าร่วมในพิธีแสดงความคารวะก่อนที่จะเริ่มพิธีใดๆ
เราจึงเห็นว่า พวกยิวมีความเคารพนับถือกฎหมายมาก ถึงกระนั้นก็ดีเรารู้ว่าพระเยซูเจ้าได้อ้างถึงกฎหมายไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง (มัทธิว 5:21 , 27 , 33 , 38 , 43) และได้สอนคำสอนของพระองค์เองแทนกฎหมายนั้น พระองค์กล้าพอที่จะตรัสว่า กฎหมายที่ชาวยิวถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลกนั้นยังไม่สมบูรณ์ อย่างแท้จริงและพระองค์ได้แก้ไขโดยอาศัยพระปรีชาญาณของพระองค์เอง พระองค์กระทำดังนี้อย่างผู้มีอำนาจ คำว่าอำนาจ ในภาษากรีกแปลว่า ἐξουσία - Exousia ซึ่งหมายถึง อำนาจที่จะเพิ่มเติมหรือตัดออกตามอำเภอใจ พระเยซูเจ้าอ้างว่าพระองค์มีอำนาจจะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ซึ่งชาวยิวถือว่า แก้ไขและจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เนื่องจากกฎหมาย คือ พระวาจาของพระเจ้า ที่จริงพระองค์ไม่ได้พิสูจน์ว่า พระองค์มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแต่ว่าพระองค์ได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายด้วยพระองค์เองอย่างสงบ
ไม่มีชาวยิวคนใดเลยเคยได้ยินหรือเคยเห็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อหน้าพวกเขาธรรมาจารย์ชาวยิว แม้จะยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงอย่างไรก็ตามและแม้แต่ประกาศกด้วยมักจะเริ่มต้นคำสอนหรือบทเทศน์ของตนว่า “พระสวามีเจ้า” ตรัสดังนี้ คือ เขามักจะอ้างอำนาจของพระเจ้าและธรรมาจารย์ (Scribes / Soferim - סופרים) มักจะย้ำคำสอนของอาจารย์ของตน เช่น เขาสอนกันมาว่าดังนี้เขามักจะไม่สอนสิ่งที่เขาคิดเองและแม้แต่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความของอาจารย์หลายๆครั้งเขาก็ไม่กล้าด้วยซ้ำไป ตรงข้ามพระเยซูเจ้าทรงสอนประชาชนด้วยอำนาจของพระองค์เอง พระองค์จะต้องมีความมั่นใจเป็นที่สุดในการสอนและเพิ่มเติมกฎหมายของโมเสส (Law of Moses - תֹּורַת מֹשֶׁה) แม้แต่พวกยิวเองก็สังเกตเห็นความจริงข้อนี้ พูดง่ายๆ ว่าทุกคนที่เคยเห็นและได้ยินพระองค์ตรัสสอนมีความรู้สึกว่า พระองค์มีอำนาจของพระเจ้าและพระองค์มีอำนาจมากกว่าประกาศกหรือธรรมาจารย์ใดๆ ที่อยู่ก่อนพระองค์
มาตรฐานใหม่
เรารู้สึกพิศวงในอำนาจของพระเยซูเจ้า แต่ว่าคำสอนของพระองค์หรือข้อเรียกร้องหรือมาตรฐานในการดำรงชีวิตที่พระองค์เทศน์ให้ฝูงชนฟังนั้นน่าพิศวงมากกว่าอีกพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า ในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่ใช่แต่ฆาตกรเท่านั้นที่ทำความผิด ผู้ที่เพียงแต่โกรธพี่น้องของเขาก็มีความผิดและสมควรจะถูกลงโทษด้วย พระองค์ตรัสว่าไม่ใช่แต่ผู้ที่ล่วงประเวณีเท่านั้นที่มีความผิด แม้คนที่ปล่อยตัวปรารถนาความชั่วช้าก็ต้องถือว่ามีความผิดด้วย นี่เป็นสิ่งใหม่ที่พระองค์ได้ทรงสอน พระองค์ทรงเน้นเรื่องจิตใจซึ่งเป็นบ่อเกิดของการกระทำมากกว่า พระองค์ต้องการตัดรากถอนโคนมากกว่าตัดลำต้น
เป็นไปได้ที่เราไม่เคยฆ่าใคร แต่บางครั้งเราปรารถนาจะฆ่าศัตรูหรือผู้ที่ทำอะไรขัดใจเราหรือขัดต่อผลประโยชน์ของเรา เป็นไปได้ที่เราไม่เคยล่วงประเวณี แต่หลายๆครั้งเราปล่อยใจตามความใคร่ของเนื้อหนัง ความคิดมักจะนำไปถึงกิจการ เราทำตามที่เราคิด เพราะฉะนั้นความคิดจึงถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมาก กิจกรรมดีหรือชั่วเป็นผลของการคิดชอบหรือคิดชั่ว
มาตรฐานการตัดสินทางโลกไม่ใช่เช่นนี้ โลกตัดสินแต่พียงภายนอกเท่านั้น เพราะไม่มีใครสามารถล่วงรู้ความคิดภายในได้ โลกตัดสินว่า คนใดคนหนึ่งเป็นคนดี ถ้าหากเขาไม่เคยมีความคิดเลวทรามหรือต่ำช้าอย่างไรก็ตาม พระเยซูเจ้าเพ่งเล็งความคิดความปรารถนาของมนุษย์มากกว่า
ถ้าหากเราจะพิจารณาคำสอนของพระองค์ เราจะเห็นว่า พระองค์สอนดี ถูกต้องและถ้าหากใครปฏิบัติตามก็จะเกิดความปลอดภัยมั่นคง ความจริงในตัวมนุษย์เรานี้มีอำนาจ2 ฝ่าย คือ ความโน้มเอียงไปในทางดีและความโน้มเอียงไปทางความชั่วซึ่งต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา เหตุผลและราคะตัณหาจะต่อสู้ในตัวเราเสมอ ชีวิตเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจฝ่ายสูงและอำนาจฝ่ายต่ำ เหตุผลจะต้องควบคุมราคะตัณหาให้ได้ การบังคับตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตราบใดที่เหตุผลยังบังคับหรือปราบตัณหาไม่ได้ ตราบนั้นเราก็ไม่มีความปลอดภัย เราเสี่ยง พระเยซูเจ้าจึงทรงสอนเราว่าวิธีเดียวที่เราจะปลอดภัย ก็คือ พยายามถอนรากถอนโคนความปรารถนาหรือตัณหาที่ชักนำให้เราตกต่ำอยู่ร่ำไปหรือทำสิ่งที่พระเจ้าทรงห้าม
ให้เราจำไว้ด้วยว่า พระเจ้าเท่านั้นทรงเป็นผู้ตัดสินมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์เห็นแก่ภายนอกและไม่สามารถจะล่วงรู้ภายในจิตใจ พระเจ้าทรงล่วงรู้สารพัด พระองค์จึงตัดสินได้อย่างถูกต้อง ส่วนมนุษย์นั้นอาจจะตัดสินได้ถูกต้อง แต่หลายๆครั้งอาจจะผิดพลาดได้ ฉะนั้นเราจึงต้องดำรงชีวิตอย่างดีทั้งภายนอกและภายใน เราจึงจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า
ข้อคิดประการสุดท้ายก็คือว่า เมื่อพระเจ้าเป็นผู้ตัดสิน เราต้องยอมรับว่า เราทุกคนเป็นคนบาป เคยผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น แม้เราจะพยายามดำรงชีวิตอย่างดีเท่าไรก็ตาม ข้อคิดนี้จะทำให้เราเป็นผู้สุภาพและพระองค์จะยกมาตรฐานการดำรงชีวิตของเราให้สูงขึ้น