ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
๑. โดยทั่วไป ถ้าจะเดินลงน้ำหนักเต็มที่ ต้องรอให้กระดูกติดสนิท ซึ่งใช้เวลา ๔ - ๖ เดือน บางคนก็เร็วบางคนก็ช้า
๒. สอบถามแพทย์ที่รักษาอยู่ดีที่สุด
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=26&group=6&gblog=4
ระยะเวลาของการซ่อมแซมกระดูก ตั้งแต่กระดูกหักจนหายสนิท สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว แบ่งเป็น
ระยะที่ 1. กระดูกเริ่มติด ใช้เวลาประมาณ 4 - 6 อาทิตย์
ในช่วง 2 อาทิตย์แรกหลังกระดูกหัก จะมีอาการปวดบริเวณที่กระดูกหักมาก
พอถึงอาทิตย์ที่ 3-4 อาการปวดจะลดลง แต่เมื่อเอ๊กซเรย์จะเห็นรอยกระดูกหักอยู่ ซึ่งแสดงว่ากระดูกนั้นยังไม่ติดสนิทดี
ดังนั้นจะต้องทำกายภาพบำบัดและระมัดระวังในการใช้อวัยวะที่กระดูกหัก อย่าใช้งานมากนัก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เดินโดยใช้ไม้เท้า เป็นต้น เพราะกระดูกที่ยังติดไม่สนิท จะรับแรงของกล้ามเนื้อหรือรับน้ำหนักตัวได้ไม่มาก ถ้าลงน้ำหนัก หรือ ใช้แรงมากเกินไป กระดูกก็อาจหักซ้ำได้ ถึงแม้ว่าจะใส่เหล็กดามกระดูกไว้เหล็กก็อาจจะหักหรือถอนออกได้
ในระยะ 4 - 6 อาทิตย์นี้มีผู้ป่วยบางคนคิดว่าหายแล้ว เพราะไม่มีอาการปวด เลยไม่ไปตรวจตามที่แพทย์นัด และใช้แรงเต็มที่หรือลงน้ำหนักเต็มที่ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ก็จะทำได้แต่เมื่อผ่านไปช่วงหนึ่ง เหล็กดามกระดูกและกระดูกที่เริ่มติด ก็หักซ้ำ ต้องเริ่มรักษากันใหม่ ซึ่งผลการรักษาในกระดูกที่หักซ้ำครั้งที่สองนี้จะไม่ค่อยดีเหมือนกับผลของการรักษากระดูกหักครั้งแรก
ระยะที่ 2. กระดูกติดสนิท ต้องใช้เวลาอีก 3 - 5 เดือน หลังจากระยะที่ 1 (รวมทั้งหมด 4 - 6 เดือน)
แพทย์จะนัดเอ๊กซเรย์ทุก 1 - 2 เดือน ถ้าเอ๊กซเรย์แล้วไม่เห็นรอยกระดูกหัก จึงจะถือว่ากระดูกติดสนิท (หายสนิท) สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก ซึ่งระยะเวลาในช่วงนี้ไม่แน่นอน จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
ดังนั้นจึงควรมาตรวจตามแพทย์นัด และสอบถามกับแพทย์ว่า กระดูกติดสนิทหรือยัง ถ้าแพทย์บอกว่ากระดูกติดสนิทแล้วจึงจะถือว่าหายสนิท สามารถทำทุกอย่างได้ตามปกติ
๑. โดยทั่วไป ถ้าจะเดินลงน้ำหนักเต็มที่ ต้องรอให้กระดูกติดสนิท ซึ่งใช้เวลา ๔ - ๖ เดือน บางคนก็เร็วบางคนก็ช้า
๒. สอบถามแพทย์ที่รักษาอยู่ดีที่สุด
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=26&group=6&gblog=4
ระยะเวลาของการซ่อมแซมกระดูก ตั้งแต่กระดูกหักจนหายสนิท สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว แบ่งเป็น
ระยะที่ 1. กระดูกเริ่มติด ใช้เวลาประมาณ 4 - 6 อาทิตย์
ในช่วง 2 อาทิตย์แรกหลังกระดูกหัก จะมีอาการปวดบริเวณที่กระดูกหักมาก
พอถึงอาทิตย์ที่ 3-4 อาการปวดจะลดลง แต่เมื่อเอ๊กซเรย์จะเห็นรอยกระดูกหักอยู่ ซึ่งแสดงว่ากระดูกนั้นยังไม่ติดสนิทดี
ดังนั้นจะต้องทำกายภาพบำบัดและระมัดระวังในการใช้อวัยวะที่กระดูกหัก อย่าใช้งานมากนัก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เดินโดยใช้ไม้เท้า เป็นต้น เพราะกระดูกที่ยังติดไม่สนิท จะรับแรงของกล้ามเนื้อหรือรับน้ำหนักตัวได้ไม่มาก ถ้าลงน้ำหนัก หรือ ใช้แรงมากเกินไป กระดูกก็อาจหักซ้ำได้ ถึงแม้ว่าจะใส่เหล็กดามกระดูกไว้เหล็กก็อาจจะหักหรือถอนออกได้
ในระยะ 4 - 6 อาทิตย์นี้มีผู้ป่วยบางคนคิดว่าหายแล้ว เพราะไม่มีอาการปวด เลยไม่ไปตรวจตามที่แพทย์นัด และใช้แรงเต็มที่หรือลงน้ำหนักเต็มที่ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ก็จะทำได้แต่เมื่อผ่านไปช่วงหนึ่ง เหล็กดามกระดูกและกระดูกที่เริ่มติด ก็หักซ้ำ ต้องเริ่มรักษากันใหม่ ซึ่งผลการรักษาในกระดูกที่หักซ้ำครั้งที่สองนี้จะไม่ค่อยดีเหมือนกับผลของการรักษากระดูกหักครั้งแรก
ระยะที่ 2. กระดูกติดสนิท ต้องใช้เวลาอีก 3 - 5 เดือน หลังจากระยะที่ 1 (รวมทั้งหมด 4 - 6 เดือน)
แพทย์จะนัดเอ๊กซเรย์ทุก 1 - 2 เดือน ถ้าเอ๊กซเรย์แล้วไม่เห็นรอยกระดูกหัก จึงจะถือว่ากระดูกติดสนิท (หายสนิท) สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก ซึ่งระยะเวลาในช่วงนี้ไม่แน่นอน จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
ดังนั้นจึงควรมาตรวจตามแพทย์นัด และสอบถามกับแพทย์ว่า กระดูกติดสนิทหรือยัง ถ้าแพทย์บอกว่ากระดูกติดสนิทแล้วจึงจะถือว่าหายสนิท สามารถทำทุกอย่างได้ตามปกติ
แสดงความคิดเห็น
ขาหัก