20 อันดับศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า

กระทู้ข่าว
รวบรวม 20 อันดับยอดศิลปะการต่อสู้จากทั่วโลก "ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า" คือการจู่โจม ออกอาวุธ และป้องกันตั้งรับ โดยใช้แทบทุกส่วนของร่างกายให้เป็นประโยชน์มีทั้ง มือ เท้า เข่า ศอก และส่วนอื่นๆ ซึ่งแต่ละศิลปะการต่อสู้ก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป เป็นศิลปะซึ่งเรียนรู้ได้ยาก
มีประโยชน์ หากแต่ใช้ในทางที่ผิดย่อมเป็นดาบสองคม  
  ปัจจุบั้นนี้มนุษย์ได้นำศิลปะการต่อสู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นกีฬาแข่งขัน ทำให้สโมสรและสมาคมต่างๆมากมายขึ้นบนโลก และยังมีค่ายมวยที่สอนการต่อสู้มากมาย แต่ศิลปะการต่อสู้ไม่ได้ใช้แข่งเพียงอย่างเดียว ยังสามารถใช้ป้องกันจากการอาชญากรรมได้ด้วย 
พวกเราจึงนำเสนอ 20 ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ดังนี้

1. MMA (Mixed Martial Arts)
 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบผสม คือ การต่อสู้ที่รวมเอาศิลปะการต่อสู้หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น มวยไทย มวยสากล ยูโด มวยปล้ำ คาราเต้ แชมโบ บราซิลเลี่ยน ยูยิสสู มีทั้งการเตะต่อย และการทำให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ โดยมี รายการ อัลติเมท ไฟต์ติง แชมเปียนชิพ (Ultimate Fighting Championship) หรือ UFC ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม


2. ยูโด
เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดยคะโน จิโงะโร ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัง ยูโด เดิมเรียกว่า ยูยิสสู ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่า


3. Wing Chun
 เป็นศิลปะการต่อสู้จีนแขนงหนึ่งในแบบของกังฟู หวิงชุน แตกต่างจากกังฟูแบบอื่นอย่างชัดเจน เป็นมวยที่ไม่ต้องใช้พละศึกษาหรือสุขศึกษามากนัก เหมาะสมกับสรีระของผู้หญิง ที่แรงกายอ่อนกว่าผู้ชาย แต่เน้นในการป้องกันตัวและจู่โจมในระยะสั้นแบบเชื่องช้า


4.เทควันโด
เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวโดยไม่ใช้อาวุธของชาวเกาหลี คำว่า "แท" เท้าหรือการโจมตีด้วยเท้า "คว็อน"  มือหรือการโจมตีด้วยมือ "โท"วิถีหรือสติปัญญา ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัว หรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ


5. Boxing
มวยสากลเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมาแต่โบราณ โดยเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของทหารในสนามรบ และกลายเป้นเกมกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิคยุคโบราณ โดยที่นักมวยในยุคนั้นไม่มีการจำกัดน้ำหนัก ไม่สวมเครื่องป้องกันตัว และไม่จำกัดว่าต้องใช้ได้เพียงหมัด สามารถกัดหรือถองคู่ต่อสู้ได้ โดยไม่มีกติกามากนัก เพียงแต่นักมวยทั้งคู่ต้องถอดเสื้อผ้าให้หมดทั้งตัว เพื่อไม่ให้ซ่อนอาวุธเอาไว้


6. กังฟู
เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีน ในภาษาจีนกลางใช้คำว่า "วูซู" และเมื่อมีการแพร่ขยายออกไปกลายเป็น "กังฟู" ซึ่งเป็นตัวเลข การต่อสู้รูปแบบที่ได้มีการพัฒนากว่าหนึ่งศตวรรษในจีน


7. Karate
เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอะกินะวะและชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เมื่อชาวโอะกินะวะอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้า


8. Krav Maga
คราฟมาก้า เป็นระบบการป้องกันตัว ของอิสราเอล ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและในสงคราม ใช้อบรมในหน่วยราชการตำรวจทหาร ทั้งอเมริกาและยุโรป ใช้ในหลักสูตรการต่อสู้มือเปล่าของทหารในกองทัพอิสราเอล และไม่ใช่ศิลปะการต่อสู้จึงไม่มีความสวยงาม เน้นการฝึกซ้ำในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดการตอบรับอัตโนมัติของร่างกายต่อ สภาวะคับขันต่างๆ


9. มวยไทย
มวยไทย เป็น ศิลปะการต่อสู้จากประเทศไทย ที่ใช้หมัด ศอก แขนท่อนล่าง เท้า แข้ง เข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ และลำตัวในการต่อสู้ ศิลปะการต่อสู้ลักษณะนี้ สามารถพบเห็นได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศกัมพูชาเรียกว่า ประดั่ญเซเรีย (Pradal Serey) หรือขอมมวย ส่วนประเทศลาวเรียก มวยลายลาว (มวยเสือลากหาง)


10. Brazilian Jiu-Jitsu
วิชาบราซิลเลี่ยน ยูยิสสูถูกพัฒนาต่อกันมาโดยบ่อยครั้งที่ถูกนำไปใช้ในการแข่งขัน Valetudo และในภายหลังได้ถูกนำมาสอนในต่างประเทศ และมีชื่อเสียงอย่างมากจากการแข่งขัน Ultimate Fighting Championship ในครั้งที่หนึ่ง ปัจจุบันวิชา บราซิลเลี่ยน ยูยิสสู ถูกแบ่งได้เป็นสองรูปแบบ คือ แบบต้นตำรับของตระกูลเกรซี่ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัว และ ในแบบบราซิลเลี่ยน ยูยิสสู สมัยใหม่เพื่อการแข่งขัน


11.ไอกิโด 
เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่พัฒนาโดยโมะริเฮอิ อุเอะชิบะ เป็นการรวมศิลปะการต่อสู้ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนาไว้ด้วยกัน ไอกิโดมักแปลว่า หนทางแห่งการรวมพลังงานชีวิต หรือ หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน เป้าหมายของอุเอะชิบะคือสร้างศิลปะที่ผู้ฝึกฝนใช้ป้องกันตัวและป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ ทักษะไอกิโดประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนทิศทางโมเมนตัมของท่าโจมตีของคู่ต่อสู้ และการทุ่มหรือล็อกข้อต่อที่ยุติทักษะดังกล่าว


12.ฮับกีโด 
ศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวของชนชาติเกาหลี โดยได้รับอิทธิพลมาจากไอกิโด ซึ่งเป็นศิลปะการป้องกันตัวของญี่ปุ่น กำเนิดและเผยแผ่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จากการลื่นไหลของวัฒนธรรม ของชนชาติจีน และ ญี่ปุ่น มีความเด่นชัดในแนวทางเฉพาะตัว เนื่องจากได้ปรับแก้ไขข้อบกพร่องของไอกิโด ใช้ต่อสู้ได้ทั้งระยะไกลถึงระยะประชิด ผสมผสานการต่อสู้ของ ไอกิโด เทควันโด ยูโด ยูยิตสู


13.เค็นโด
เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศญี่ปุ่น เค็นโด มีความหมายว่า"วิถีแห่งดาบ" มีพื้นฐานมาจากการใช้ดาบของพวกซามูไรในสมัยก่อน สืบทอดมากันประมาณ พ.ศ. 1332 เป็นวิชาที่ใช้มือแทนดาบไม้ไผ่ ในการฝึก ด้วยกระบวนท่าการต่อสู้ที่รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด ต่อเนื่อง จึงเป็นที่นิยมไปกว่า เกือบ 30 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย


14.โววีนัม
เทคนิคการป้องกันตัวครอบคลุมการป้องกันการโจมตีแบบปราศจากอาวุธได้ด้วยวิธีการ เช่น การรัดคอ หรือป้องกันการโจมตีด้วยมีดหรือดาบ นักเรียนระดับสูงจะทำการเรียนรู้ในการผสมผสานเทคนิคในการป้องกันตัวจากการใช้อาวุธของฝ่ายตรงข้าม อาจารย์ผู้สอนจะฝึกการใช้อาวุธแบบดั้งเดิม ดังเช่น พลองยาว, พลองสั้น, มีด, ดาบ และกระบี่ ดังนั้นอาวุธเหล่านั้นจึงเป็นอุปกรณ์สำหรับการฝึกฝนสำหรับการเข้าถึงทั้งทางร่างกายและจิตใจ


15.กาโปเอย์รา
เป็นศิลปะป้องกันตัวแขนงหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากประเทศบราซิล เกิดจากการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ การเต้น ดนตรี กายกรรม ปรัชญา กาโปเอย์ราเกิดโดยทาสชาวแอฟริกาในบราซิล เริ่มในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีข้อถกเถียงกันว่า กาโปเอย์รานั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในแอฟริกา
กาโปเอย์ราจะมี 2 รูปแบบคือ การฝึกแบบดั้งเดิมหรือแบบอังกอลาที่ใช้เวลาฝึกยาวนานและท่วงท่าเชื่องช้ากว่าแบบเรฌีโยนัล  ที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วกว่า และใช้เวลาสั้นกว่าในการปฏิบัติ

16.ซิสเตมา
เป็นศิลปะการป้องกันตัวของรัสเซีย ซึ่งมีทั้งการโจมตีด้วยฝ่ามือ ตะขอ หรือมีด แต่โดยส่วนมากแล้วจะเน้นไปในทางการโจมตีด้วยมือเปล่า ในการฝึกฝนจะเน้นหลักการควบคุมร่างกายทั้งหกส่วน (ข้อศอก, คอ, หัวเข่า, เอว, ข้อเท้าและไหล่) โดยการลงแรงเข้าโจมตีจุดสำคัญ มุ่งล้มผู้ต่อสู้โดยการโจมตีเพียงไม่กี่ครั้ง จัดเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีกระบวนท่าที่งดงามและอันตรายที่สุดแขนงหนึ่ง


17.ซามบะ
เป็นศิลปะการต่อสู้จากรัสเซีย คำว่า Sambo มาจากคำว่า SAMozashchita Bez Oruzhiya (แปลว่า "การป้องกันตัวโดยไม่ใช้อาวุธ") ซามบะได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยวิคตอร์ สปีรีโดนอฟ และวาซีลี โอเชปคอฟ โดยทั้งคู่ได้ผสมผสานศิลปะการต่อสู้หลายแขนง เช่น ยูโด, ยิวยิตสู มวยปล้ำ เพื่อใช้ฝึกทหารในกองทัพแดง


18.เจี๋ยฉวนเต้า
มวยปาจี๋ หรือ มวยแปดสุดยอด ที่เน้นการใช้ศอก รวมไปถึงการใช้ไหล่กระแทก โดยการใช้แรงสะโพกมาช่วยเสริม โดยท่าส่วนใหญ่ของมวยปาจี๋จะเน้นเผด็จศึกในครั้งเดียว ด้วยการโจมตีที่รุนแรงในระยะประชิดยครั้ง
 

19.ไท่เก๊ก
วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จาง ซันเฟิง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12–14 แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยหยาง ลู่ฉาน ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก


20.ปันจักสีลัต
เป็นคำที่มีความหมายกว้าง ใช้เรียกศิลปะการต่อสู้ของอินโดนีเซียจำพวกหนึ่ง และประเทศเพื่อนบ้านของอินโดนีเซียมักใช้คำนี้เรียกการแข่งขันสีลัตแบบมืออาชีพ ปันจักสีลัตนี้เป็นการต่อสู้แบบเต็มตัวรูปแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยการฟาดฟัน (strike) การยื้อยุด (grappling) และการจับโยน (throwing) นอกเหนือไปจากการใช้อาวุธ โดยที่ทุกส่วนของร่างกายนั้นจะได้รับการใช้งานและอาจถูกโจมตีได้ ปันจักสีลัตไม่เพียงฝึกฝนเพื่อการป้องกันตัวในทางกายภาพ แต่ยังเพื่อความมุ่งหมายในทางจิตวิทยาด้วย


  เป็นยังไงกันบ้างน่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ "ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า" ทั้ง 20 แบบ ที่พวกเราได้นำเสนอมา ซึ่งทุกศิลปะการต่อสู้มีความสวยงาม สุดยอด เป็นระเบียบ และอันตราย แตกต่างกันไปตามการออกอาวุธ 
  ปัจจุบันศิลปะการต่อสู้หลายแบบยังคงอยู่และมีการประยุกต์ใช้ตามแบบของผู้ใช้ ทำให้มีเทคนิคใหม่ๆ หรืออาจเกิดศิลปะชิ้นใหม่ขึ้นมาได้เลยซึ่งจะเพิ่มความสุดยอดให้กับการต่อสู้ และในวงการมากขึ้น 
  แต่ก็น่าเสียดายที่ศิลปะบางชนิดก็ได้หายไปแล้วหรืออาจมีผู้ใช้อยู่เพียงน้อยนิดอาจจะเพราะ ความไม่น่าสนใจของศิลปะมวยในตอนนั้นตามยุคและเวลา หรืออาจเป็นเพราะ การที่ไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และยังมีการต่อสู้ที่ดีกว่าจึงทำให้หายไปและมีผู้ใช้น้อย แต่อย่างไร"เราจะขอเคารพและขอบคุณศิลปินหรือผู้คิดค้นการต่อสู้ทุก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่