มีปมวัยเด็กห้ามไปหาหมอจิตเวช ควรทำอย่างไรดี

เราเพิ่งเปลี่ยนงานเนื่องจาก เครียดไม่ได้นอน หลายวันติดจน
เรามีอาการแพนิค อยากไปหาหมอ แต่ คุณแม่ไม่ให้หาหมอ คลินิค
แค่รู้สึกตัวเองเป็นโรคจิต ควรทำอย่างไรอยากนอน พัก แบบ ไม่ตื่นเลย
ความฝันของเรา ถูกทำลายทุกอย่าง
ช่วงนี้พยายาม ตื่นมาวิ่ง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ผมขอกล่าวถึง แก่นคำสอนสูงสุดของพระพุทธเจ้า ต่อจากความเห็นข้างบนดังนี้ครับ
     
          อริยสัจ๔ (ความจริง ๔ ประการของผู้ประเสริฐเจริญ)  ได้แก่                                                                                            
                                                                                                   
๑.  ทุกข์     >    สิ่งมีชีวิตคือสิ่งทุกข์ ไม่ดี น่าสังเวช ต้องสลัดทิ้ง ยุติ ระงับความเป็นสิ่งมีชีวิตนี้เสีย
                      แต่ไม่ให้ใช้วิธีบั่นทอนชีวิตตน ให้ใช้วิธียังหล่อเลี้ยงชีวิตตนด้วยความสำรวมหนักแน่น
                      ประหยัดพอดี ( ไตรสิกขา ) จนกว่าจะละสังขารไป.                                                                                
                                                                                               
๒.  สมุทัย   >   สาเหตุที่ไม่ให้บั่นทอนชีวิตตนทั้งๆที่เป็นร่างแห่งทุกขสังเวชต้องเลิกต้องสลัดทิ้ง
                      ก็เพราะการบั่นทอนชีวิตตนนั้นจะไม่จบ เนื่องจากเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงก็จะมีการเกิดอีก ( สังสารวัฏ ).                                            
                                                                                               
๓.  นิโรธ    >   ต้องใช้ชีวิตอยู่ในแนวทางไตรสิกขาหรือบุญ,กุศล  ถ้าใช้ชีวิตออกนอกไตรสิกขาคือบาป,อกุศล  เมื่อมีบุญ,กุศล
                     ไปจนถึงระดับหนึ่งก็หลุดพ้นหมดสิ้นการต้องเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตใดๆอีก ( สำเร็จอรหัตผลหรือนิพพาน )   .                                                                                                                                                                               
๔.  มรรค    >   คือไตรสิกขา ( ที่ผ่านมาชาวพุทธมักกล่าวว่า " มรรคคือองค์ ๘ "  ซึ่งที่จริงแล้วองค์ทั้ง ๘ ข้อนั้น
                     หมายถึงการดำเนินชีวิตประจำวันต่างๆให้อยู่ในไตรสิกขานั่นเอง ).    

                      ไตรสิกขา ( คร่ำเชี่ยวอยู่กับ ๓ อย่าง ) ได้แก่                                                                                  
  ๑. ศีล       คือ   ประพฤติอยู่ในศีลธรรมของพระพุทธ                                       
  ๒. สมาธิ    คือ   มีจิตหนักแน่นมั่นคงอยู่ในศีลธรรมนี้                                               
  ๓. ปัญญา  คือ   รู้เข้าใจจุดสมบูรณ์พอดีของศีล,สมาธิ                                     
                                                                                                         
  องค์ ๘ ข้อนั้นเป็นการอธิบายไตรสิกขาที่รกรุงรังมากไป     ไตรสิกขามีความหมายแค่ที่ผมพิมพ์มาให้นี้เท่านั้นครับ

แม้ว่าเรื่องตายแล้วต้องเกิดอีกนี้ เป๊นขัอมูลระดับความเชื่อ ยังไม่ประจักษ์เป็นความจริง
แต่พระพุทธองค์ก็ทรงฝากข้อมูลรองรับ อันเป็นวิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่ง น่าตะลึงยิ่ง ( ที่ผมแจงมา ) มาให้ในพระไตรปิฏกด้วยครับ

***  ท่านที่ศรัทธาในข้อมูลที่ผมกล่าวมานี้ อย่าเพิ่งไปเข้าวัด ไปทำบุญทำทานกับพระกับวัดในยุคนี้นะครับ
เพราะจะเป็นบาปมากกว่าบุญ เนื่องจากพระสงฆ์พุทธในปัจจุบันนี้ทั่วไปกำลังสืบทอดศาสนาแบบละเมิดพระธรรมวินัยกัน
ทำศาสนาเสื่อมแบบทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว  ***

            ให้ท่านแค่ศึกษาศืลธรรมของพุทธด้วยตนเองไม่ยากครับ ภาพรวมภาพใหญ่ของศีลธรรมแห่งพุทธ คือ
                   ประพฤติอยู่แต่ในคุณธรรมทั่วไปต่างๆและประหยัดแค่พอดี มั่นคงอย่างนี้ตลอดไปครับ

{ เราประพฤติแค่คุณธรรมทั่วไป ไม่ต้องละเอียดสิกขาบทแบบพระสงฆ์ ก็ย่อมเป็นบุญมากกว่าพระสงฆ์ในปัจจุบัน
เพราะเราอยู่ในเภทพุทธบริษัท ( อุบาสก อุบาสิกา ) แต่พระสงฆ์อยู่ในเภทแก้วประการที่ ๓ ในพระรัตนไตรด้วย ผู้ทำหน้าที่เนื้อนาบุญ ( ที่ตอนนี้กำลังทำตัวเป็นเนื้อนาบาปกัน ) }  

                                             
                                                                 เป็นกำลังใจให้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่