อ.เจษฎ์ ตอบแล้ว สาวรีวิวเปิดแอร์ 27 องศา แต่ค่าไฟขึ้น เทียบชัดๆ แบบไหนประหยัดกว่า
จากกรณี วันที่ 1 มิถุนายน 2567 มีชาวเน็ตอัดคลิปวิดีโอเปิดบิลค่าไฟเดือนนี้ หลังจากทดลองทำตามทฤษฎีเปิดแอร์ 27 องศา แล้วเปิดพัดลม ว่าจะช่วยลดค่าไฟได้ครึ่งหนึ่งจริงหรือไม่ ก่อนสรุปได้ว่า "ทฤษฎีนี้อย่าหาทำ บอกเลยอย่าหาทำ ไม่เวิร์ค"
โดยเธอบอกว่า เมื่อเดือนที่แล้วเปิดแอร์ 25 องศาตามปกติ พบว่าใช้ไฟฟ้าอยู่ที่จำนวน 1,000 หน่วย คิดเป็นเงินราคา 5,100 บาท ส่วนในเดือนนี้ทดลองเปิดแอร์ 27 องศา แล้วเปิดพัดลมช่วยทั้ง 3 ห้อง ปรากฎว่าใช้ไฟฟ้าอยู่ที่จำนวน 1,250 หน่วย คิดเป็นเงินราคา 6,100 บาท หรือก็คือเพิ่มขึ้นมา 1,000 บาท
โดนหลอกแล้ว! สาวทดลองเปิดแอร์ 27 องศา พร้อมพัดลม โชว์บิลค่าไฟชัดๆ เตือนอย่าหาทำ
ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นถึงประเด็นดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า การทดลองในคลิปติ๊กต๊อกที่แชร์กันนั้น ยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องการควบคุมตัวแปรต่างๆ และผมยังเชื่อว่า การเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมเป่าตัว ช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ มากกว่าการเปิดแอร์ 25 องศา (โดยเฉพาะถ้ายิ่งเป็นแอร์ Inverter ยิ่งประหยัดขึ้นไปอีก) ไม่น่าจะทำให้กินไฟขึ้นมาก อย่างในคลิปดังกล่าวครับ
ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดคือ คลิปการทดลองดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดใดๆ เลยว่าที่ทำการทดลองไปหนึ่งเดือนนั้น ได้ควบคุมปัจจัยอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะจากเครื่องแอร์ พัดลม รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้าน ให้เหมือนกันตลอดทั้งสองเดือนที่นำมาเทียบกัน
ในขณะที่ ถ้าเป็นการทดลองโดยอยู่ในสภาวะควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ และเปิดแอร์เป็นเวลานานเท่ากัน การตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องแอร์ที่สูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 10% (ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง) ทำให้การตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 27 องศาเซลเซียส จะประหยัดไฟฟ้ามากกว่าที่ 25 องศา
และการเปิดพัดลมช่วย ให้ลมปะทะร่างกาย ก็จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเย็นสบายมากขึ้นกว่าเดิมได้ถึง 2 องศาเซลเซียส .. จึงแนะนำให้เปิดแอร์ที่ 27 องศา+เปิดพัดลมเป่าตัว เพื่อให้ได้ "ความรู้สึก" เย็นสบายเหมือนเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส ... พูดง่ายๆ คือ ให้แอร์สร้างอากาศที่เย็น แล้วใช้พัดลมเป่าเข้ามา ให้ร่างกายรับอากาศเย็นนั้น
และการเปิดพัดลมนานๆ นั้น ก็ไม่ได้จะส่งต่อค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับแอร์แล้ว พัดลมใช้ไฟฟ้าน้อยกว่ากันมาก ... โดยส่วนใหญ่แล้ว พัดลมไฟฟ้าขนาดใบพัด 16 นิ้ว เปิดลมเบอร์ 1 จะกินไฟแค่ประมาณ 40 วัตต์เท่านั้น / หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้าเปิดแอร์ขนาด 9000 bTU จะใช้ไฟฟ้าไป พอกับพัดลมขนาด 16 นิ้ว มากถึง 16 ตัว / หรือถ้าคิดแบบหยาบๆ เครื่องแอร์ 1 เครื่อง จะกินไฟตกชั่วโมงละประมาณ 1 หน่วย ขณะที่พัดลม ใช้ไฟฟ้าแค่ 0.05 หน่วยต่อชั่วโมงเท่านั้น
ดังนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าจะทำการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ ก็คงต้องทำกันโดยควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ เช่น จำนวนชั่วโมงที่เปิดแอร์ในแต่ละวันต้องเท่าวัน ช่วงเวลาที่เปิดแอร์ก็ต้องเป็นช่วงเดียวกัน (กี่โมงถึงกี่โมง) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็ต้องไม่เปิดเพิ่มให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าแปรปรวนไป
สาวเวียดนามแชร์เคล็ดลับ 4 ข้อ ลองแล้ว "ค่าไฟ" ลดลงครึ่งหนึ่ง คนชาติไหนก็ทำได้!
ตัวแทนหมู่บ้าน! หนุ่มทดลองเปิดพัดลมเบอร์ 1-2-3 กินไฟเท่ากันไหม เบอร์ไหนประหยัดสุด?
หรืออย่างน้อย ถ้าดูจากคลิปวิดีโอยูทูปที่มีคนเคยทดลองเอาไว้ แบบควบคุมปัจจัย ซึ่งทดลองกับเครื่องแอร์แบบ Inverter และเมื่อวัดกระแสไฟฟ้า ระหว่างเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส พบว่าอยู่ที่ 8.58 แอมป์ ขณะที่วัดกระแสไฟฟ้าระหว่างเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมพัดลม จะอยู่ที่ 4.36 แอมป์ / ถ้าเปิดแอร์วันละ 9 ชั่วโมง คือตั้งแต่ 8 โมงเช้า - 5 โมงเย็น ได้ผลว่า ค่าไฟจะลดลงถึงประมาณ 50% เลยทีเดียว
ส่วนแอร์แบบรุ่นเก่าทั่วไป ที่ส่วนเครื่องคอมเพรสเซอร์ทำงานแบบ fixed speed ที่ความเร็วรอบคงที่ ไม่ได้ปรับให้เร็วช้าได้แบบแอร์ Inverter และไม่ได้ประหยัดไฟเท่าแบบ Inverter อยู่แล้วนั้น ผลที่ได้จากการเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียสแล้วเปิดพัดลม ก็ไม่น่าจะประหยัดไฟฟ้าไปได้ถึง 50% ดังว่า แต่ก็น่าจะประหยัดไฟขึ้นแน่ๆ (ถ้าอ้างอิงข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง ก็น่าจะได้ประมาณ 20%)
เมื่อย้อนกลับมาดูที่คลิปติ๊กต๊อก ที่บอกว่าการเปิดวิธีเปิดแอร์ ทำให้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 200 หน่วย ซึ่งขึ้นสูงกว่าเดิมมากถึง 20% จากเดิม .. ก็น่าสงสัยมาก ว่าจริงๆ แล้ว ได้มีการใช้งานแอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หนักขึ้นกว่าเดิม ด้วยหรือเปล่า ถึงได้มีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นขนาดนั้นครับ
โดยสรุป การทดลองในคลิปติ๊กต๊อกที่แชร์กันนั้น ยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องการควบคุมตัวแปรต่างๆ และผมยังเชื่อว่า การเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมเป่าตัว ช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ มากกว่าการเปิดแอร์ 25 องศา (โดยเฉพาะถ้ายิ่งเป็นแอร์ Inverter ยิ่งประหยัดขึ้นไปอีก) ไม่น่าจะทำให้กินไฟขึ้นมาก อย่างในคลิปดังกล่าว
เอาให้ชัด! อ.เจษฎ์ เทียบเปิดแอร์ 27 องศา ประหยัดกว่าจริง หลังสาวรีวิวทำแล้วค่าไฟขึ้น
อ.เจษฎ์ ตอบแล้ว สาวรีวิวเปิดแอร์ 27 องศา แต่ค่าไฟขึ้น เทียบชัดๆ แบบไหนประหยัดกว่า
จากกรณี วันที่ 1 มิถุนายน 2567 มีชาวเน็ตอัดคลิปวิดีโอเปิดบิลค่าไฟเดือนนี้ หลังจากทดลองทำตามทฤษฎีเปิดแอร์ 27 องศา แล้วเปิดพัดลม ว่าจะช่วยลดค่าไฟได้ครึ่งหนึ่งจริงหรือไม่ ก่อนสรุปได้ว่า "ทฤษฎีนี้อย่าหาทำ บอกเลยอย่าหาทำ ไม่เวิร์ค"
โดยเธอบอกว่า เมื่อเดือนที่แล้วเปิดแอร์ 25 องศาตามปกติ พบว่าใช้ไฟฟ้าอยู่ที่จำนวน 1,000 หน่วย คิดเป็นเงินราคา 5,100 บาท ส่วนในเดือนนี้ทดลองเปิดแอร์ 27 องศา แล้วเปิดพัดลมช่วยทั้ง 3 ห้อง ปรากฎว่าใช้ไฟฟ้าอยู่ที่จำนวน 1,250 หน่วย คิดเป็นเงินราคา 6,100 บาท หรือก็คือเพิ่มขึ้นมา 1,000 บาท
โดนหลอกแล้ว! สาวทดลองเปิดแอร์ 27 องศา พร้อมพัดลม โชว์บิลค่าไฟชัดๆ เตือนอย่าหาทำ
ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นถึงประเด็นดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า การทดลองในคลิปติ๊กต๊อกที่แชร์กันนั้น ยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องการควบคุมตัวแปรต่างๆ และผมยังเชื่อว่า การเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมเป่าตัว ช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ มากกว่าการเปิดแอร์ 25 องศา (โดยเฉพาะถ้ายิ่งเป็นแอร์ Inverter ยิ่งประหยัดขึ้นไปอีก) ไม่น่าจะทำให้กินไฟขึ้นมาก อย่างในคลิปดังกล่าวครับ
ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดคือ คลิปการทดลองดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดใดๆ เลยว่าที่ทำการทดลองไปหนึ่งเดือนนั้น ได้ควบคุมปัจจัยอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะจากเครื่องแอร์ พัดลม รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้าน ให้เหมือนกันตลอดทั้งสองเดือนที่นำมาเทียบกัน
ในขณะที่ ถ้าเป็นการทดลองโดยอยู่ในสภาวะควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ และเปิดแอร์เป็นเวลานานเท่ากัน การตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องแอร์ที่สูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 10% (ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง) ทำให้การตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 27 องศาเซลเซียส จะประหยัดไฟฟ้ามากกว่าที่ 25 องศา
และการเปิดพัดลมช่วย ให้ลมปะทะร่างกาย ก็จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเย็นสบายมากขึ้นกว่าเดิมได้ถึง 2 องศาเซลเซียส .. จึงแนะนำให้เปิดแอร์ที่ 27 องศา+เปิดพัดลมเป่าตัว เพื่อให้ได้ "ความรู้สึก" เย็นสบายเหมือนเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส ... พูดง่ายๆ คือ ให้แอร์สร้างอากาศที่เย็น แล้วใช้พัดลมเป่าเข้ามา ให้ร่างกายรับอากาศเย็นนั้น
และการเปิดพัดลมนานๆ นั้น ก็ไม่ได้จะส่งต่อค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับแอร์แล้ว พัดลมใช้ไฟฟ้าน้อยกว่ากันมาก ... โดยส่วนใหญ่แล้ว พัดลมไฟฟ้าขนาดใบพัด 16 นิ้ว เปิดลมเบอร์ 1 จะกินไฟแค่ประมาณ 40 วัตต์เท่านั้น / หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้าเปิดแอร์ขนาด 9000 bTU จะใช้ไฟฟ้าไป พอกับพัดลมขนาด 16 นิ้ว มากถึง 16 ตัว / หรือถ้าคิดแบบหยาบๆ เครื่องแอร์ 1 เครื่อง จะกินไฟตกชั่วโมงละประมาณ 1 หน่วย ขณะที่พัดลม ใช้ไฟฟ้าแค่ 0.05 หน่วยต่อชั่วโมงเท่านั้น
ดังนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าจะทำการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ ก็คงต้องทำกันโดยควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ เช่น จำนวนชั่วโมงที่เปิดแอร์ในแต่ละวันต้องเท่าวัน ช่วงเวลาที่เปิดแอร์ก็ต้องเป็นช่วงเดียวกัน (กี่โมงถึงกี่โมง) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็ต้องไม่เปิดเพิ่มให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าแปรปรวนไป
สาวเวียดนามแชร์เคล็ดลับ 4 ข้อ ลองแล้ว "ค่าไฟ" ลดลงครึ่งหนึ่ง คนชาติไหนก็ทำได้!
ตัวแทนหมู่บ้าน! หนุ่มทดลองเปิดพัดลมเบอร์ 1-2-3 กินไฟเท่ากันไหม เบอร์ไหนประหยัดสุด?
หรืออย่างน้อย ถ้าดูจากคลิปวิดีโอยูทูปที่มีคนเคยทดลองเอาไว้ แบบควบคุมปัจจัย ซึ่งทดลองกับเครื่องแอร์แบบ Inverter และเมื่อวัดกระแสไฟฟ้า ระหว่างเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส พบว่าอยู่ที่ 8.58 แอมป์ ขณะที่วัดกระแสไฟฟ้าระหว่างเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมพัดลม จะอยู่ที่ 4.36 แอมป์ / ถ้าเปิดแอร์วันละ 9 ชั่วโมง คือตั้งแต่ 8 โมงเช้า - 5 โมงเย็น ได้ผลว่า ค่าไฟจะลดลงถึงประมาณ 50% เลยทีเดียว
ส่วนแอร์แบบรุ่นเก่าทั่วไป ที่ส่วนเครื่องคอมเพรสเซอร์ทำงานแบบ fixed speed ที่ความเร็วรอบคงที่ ไม่ได้ปรับให้เร็วช้าได้แบบแอร์ Inverter และไม่ได้ประหยัดไฟเท่าแบบ Inverter อยู่แล้วนั้น ผลที่ได้จากการเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียสแล้วเปิดพัดลม ก็ไม่น่าจะประหยัดไฟฟ้าไปได้ถึง 50% ดังว่า แต่ก็น่าจะประหยัดไฟขึ้นแน่ๆ (ถ้าอ้างอิงข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง ก็น่าจะได้ประมาณ 20%)
เมื่อย้อนกลับมาดูที่คลิปติ๊กต๊อก ที่บอกว่าการเปิดวิธีเปิดแอร์ ทำให้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 200 หน่วย ซึ่งขึ้นสูงกว่าเดิมมากถึง 20% จากเดิม .. ก็น่าสงสัยมาก ว่าจริงๆ แล้ว ได้มีการใช้งานแอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หนักขึ้นกว่าเดิม ด้วยหรือเปล่า ถึงได้มีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นขนาดนั้นครับ
โดยสรุป การทดลองในคลิปติ๊กต๊อกที่แชร์กันนั้น ยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องการควบคุมตัวแปรต่างๆ และผมยังเชื่อว่า การเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมเป่าตัว ช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ มากกว่าการเปิดแอร์ 25 องศา (โดยเฉพาะถ้ายิ่งเป็นแอร์ Inverter ยิ่งประหยัดขึ้นไปอีก) ไม่น่าจะทำให้กินไฟขึ้นมาก อย่างในคลิปดังกล่าว