และแล้วก็เดินทางมาถึงภาคที่ 4 สำหรับภาพยนตร์ในจักรวาลมือปราบกำปั้นเหล็กอย่าง The Roundup ที่ใช้ชื่อภาคว่า Punishment กับเรื่องราวของการตามล่า “แบค ชางกี” (คิมมูยอล) อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษเกาหลีที่ผันตัวกลายเป็นหัวหน้าแก๊งค์เว็บพนันออนไลน์ข้ามชาติ ร่วมกับเจ้าพ่อไอทีผู้ควบคุมระบบทุกอย่างอยู่เบื้องหลังอย่าง “ดงชอล” (อีดงฮวี) ในขณะที่ทีมพี่เบิ้มมาซอกโดก็มีผู้ช่วยใหม่เป็นตำรวจไซเบอร์สาวนามว่า “จีซู” (อีจูบิน) มาร่วมทีมและพร้อม “ลงทัณฑ์” เหล่าอาชญากรเหนือกฏหมายให้สิ้นซาก
.
หากย้อนดูสถิติของ The Roundup แต่ละภาคจะพบว่า ทั้งภาค 2 และ 3 ต่างก็สามารถทำเงินได้เป็นอันดับหนึ่งของปีใน Box Office เกาหลีใต้ นั่นหมายความว่า ผู้สร้างภาพยนตร์ชุดนี้พวกเขารู้แล้วว่าอะไรเป็น “จุดขาย” ที่สำคัญของ The Roundup และควรจะจัดสรรมันอย่างไรให้กลมกล่อมและดูสดใหม่อยู่เสมอในทุกภาค เพื่อทั้งตอบโจทย์ผู้ชมที่เป็นแฟนหนังชุดนี้อยู่แล้วและผู้ชมหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยลิ้มลองรสชาติของ The Roundup
.
แน่นอนว่าใน The Roundup: Punishment สิ่งที่เป็นจุดขายหลัก คงหนีไม่พ้นตัวละครหลักของเรื่องอย่าง มาซอกโด ที่รับบทโดย มาดงซอก/ดอน ลี กับคาแรคเตอร์พี่เบิ้มตัวบึ้กที่พร้อมต่อยทุกวายร้ายที่ขวางหน้าด้วยหมัดที่ฟังแล้วเจ็บไปจนถึงลำไส้ใหญ่ และด้วยมาดเข้ม จริงจัง แต่ก็แฝงไปด้วยความตลก ความรั่วแบบหน้ามึนในบางครั้ง ก็กลายเป็นจุดสร้างเสียงฮาอันเป็นเอกลักษณ์ของ The Roundup เลยก็ว่าได้ และผู้สร้างรู้ดีว่าควรใช้งานมันอย่างไร ให้สมดุลกับความตึงเครียดของเนื้อเรื่อง จนออกมาเป็นภาพยนตร์แอคชั่นสืบสวนสอบสวนปนคอมเมดี้ที่มีรสชาติอร่อยเหมาะที่จะเสิร์ฟให้กับผู้ชมทุกคน
.
เมื่อเทียบกับภาคก่อนหน้านี้อย่าง No Way Out จะเห็นได้ชัดเจนว่า โทนของเรื่องกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง คล้ายๆ กับในภาค 2 รวมถึงตัว “บอส” ของเรื่องอย่างดงชอลที่มีความจิตวิปริตเหมือนกัน ในขณะที่ภาค No Way Out มีโทนเรื่องออกไปในทางที่สดใสมากกว่า ความรุนแรงของฉากแอคชั่นที่เน้นไปในทางบู๊ล้างผลาญเอามันส์มากกว่าจะเน้นความสมจริง เราจึงได้เห็นตัวของดอน ลี ปล่อยมุกเรียกเสียงฮาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหลายครั้งก็มาจากการใช้หมัดของเขาด้วยเช่นกัน แต่ใน Punishment เราไม่ได้เห็นเขาปล่อยหมัดออกมาถี่เท่าเดิมอีกแล้ว
.
โทนเรื่องที่จริงจังขึ้นก็นำมาซึ่งการสืบสวนที่มีดูสมจริงมากขึ้น ในภาคนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ข้ามชาติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการฟอกเงินโดยการใช้เงินดิจิตอลก็ถูกพูดถึงด้วยเช่นกัน ในแง่ของเทคนิคตัวภาพยนตร์อาจจะไม่ได้ลงลึกไปจนถึงขั้นพวกหนังสายลับจารกรรม แต่จะเน้นไปที่การนำเสนอภาพของการทำงาน ว่าแก๊งค์พวกนี้มีการทำงานกันอย่างไร มีการตั้งเซิฟเวอร์ที่ไหน เปิดโกดังถ่ายทอดสดเล่นพนันกันแบบใด ซึ่งมันก็ทำให้ฉากการทลายบ่อนที่เกิดขึ้นดูสมจริงคล้ายๆ กับได้ดูสารคดีอยู่เหมือนกัน (เรียกว่าดูไม่ง่ายไม่ยากกำลังดีเลย)
.
อีกด้านหนึ่งตัวเรื่องมีการเจืออารมณ์ดราม่าเข้ามาพอสมควร ซึ่งก็เปิดโอกาสให้เราได้เห็นถึงอีกมุมหนึ่งของตัวเอกอย่างมาซอกโด ซึ่งที่ผ่านๆ มา วิธีการลุยเดี่ยวใส่ไม่ยั้งของเขามักจะทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วง การรีดเค้นข้อมูลจากพวกนักเลงปลาซิวปลาสร้อยมักจะทำให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ
.
แต่ในครั้งนี้กลับไม่ได้ผล วิธีการห่ามๆ ของมาซอกโดที่คล้ายกับว่าเป็นตัวแทนของคนยุคเก่าไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เขาจึงต้องพึ่งทีมมากขึ้นในภาคนี้ เป็นจุดให้คนยุคใหม่อย่างตำรวจไซเบอร์สาวจีซูได้เข้ามามีบทบาทนั่นเอง
.
ด้วยความที่ทุกอย่างดูจริงจังขึ้น ตึงเครียดขึ้น มาซอกโดเองก็ขำน้อยลง ตัวละครที่เข้ามาสร้างเสียงฮาอย่างคาดไม่ถึง กลับกลายเป็น “พัคจีฮวัน” ในบทลิ่วล้อของมาซอกโดที่เขามักจะออกมาแย่งซีนเป็นระยะในภาคที่แล้ว แต่มีบทบาทค่อนข้างเยอะในภาคนี้ และกลายเป็น “ตัวโจ๊ก” ที่เรียกว่าหากขาดตัวละครนี้ไปทั้งเรื่องคงจืดชืดแน่นอน
.
ส่วนที่น่าผิดหวังคงเป็นทางด้านตัวร้ายหลักของเรื่องทั้งสองคนอย่างชางกีและดงซอล ที่แม้ว่าตัวเรื่องพยายามจะปูให้สองคนนี้ต้องแตกคอกันสักวันหนึ่งแน่ๆ แต่ประเด็นนี้มันไม่ได้ต่อยอดจนเกิดความน่าตื่นตาแต่อย่างใด กลับกันมันเป็นการจบแบบเงียบๆ ทั้งตัวของดงซอล ที่ก็เข้าใจได้ว่าเขาคงไม่ได้ปะทะหมัดกับใครแน่ๆ
.
ส่วนชางกีที่เน้นนักเน้นหนาว่า โหด เลือดเย็น ดีเอ็นเอของเขาไร้ซึ่งความกลัว หรืออะไรก็ตาม แต่สุดท้ายเขาก็ยังเป็นตัวร้ายแบนๆ ที่หากเทียบกับ “คังแฮซาง” (ซนซอกกู) ว้ายร้ายหัวหน้าแก๊งค์ค้ามนุษย์ข้ามชาติที่มีความอำมหิตแบบสุดๆ ยิ่งเห็นความแตกต่างได้ชัด และมันยังทำให้การเผด็จศึกตัวร้ายดูไม่ค่อยสะใจเท่ากับครั้งก่อนหน้าด้วย (และไม่ค่อยสมกับคำว่าลงทัณฑ์)
.
อย่างไรก็ตาม นับว่า The Roundup: Punishment ก็ยังคงรักษามาตรฐานได้ดีในการต่อยอดเรื่องราวของจักรวาลนี้ต่อไป ซึ่งไปๆ มาๆ ก็ให้ความรู้สึกเหมือนจะเป็นซีรี่ส์ฉบับภาพยนตร์ที่ฉายกันปีต่อปีไปแล้ว และเห็นได้ชัดว่า ในภาคนี้เริ่มออกลูกจำเจบ้างเหมือนกัน ซึ่งในภาคหน้าก็คงต้องหวังว่าตัวเรื่องจะมีแนวทางใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นเพิ่มมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการรักษามาตรฐานการเล่าเรื่องที่ต้องบอกว่า สมดุลระหว่างความจริงจังของการสืบสวนกับความตลกของ The Roundup มันกลมกล่อมจริงๆ
Story Decoder
[รีวิว] The Roundup: Punishment - หมัดเหล็กลงทัณฑ์วายร้ายกับความจริงจังและความดุดันที่เพิ่มมากขึ้น
.
หากย้อนดูสถิติของ The Roundup แต่ละภาคจะพบว่า ทั้งภาค 2 และ 3 ต่างก็สามารถทำเงินได้เป็นอันดับหนึ่งของปีใน Box Office เกาหลีใต้ นั่นหมายความว่า ผู้สร้างภาพยนตร์ชุดนี้พวกเขารู้แล้วว่าอะไรเป็น “จุดขาย” ที่สำคัญของ The Roundup และควรจะจัดสรรมันอย่างไรให้กลมกล่อมและดูสดใหม่อยู่เสมอในทุกภาค เพื่อทั้งตอบโจทย์ผู้ชมที่เป็นแฟนหนังชุดนี้อยู่แล้วและผู้ชมหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยลิ้มลองรสชาติของ The Roundup
.
แน่นอนว่าใน The Roundup: Punishment สิ่งที่เป็นจุดขายหลัก คงหนีไม่พ้นตัวละครหลักของเรื่องอย่าง มาซอกโด ที่รับบทโดย มาดงซอก/ดอน ลี กับคาแรคเตอร์พี่เบิ้มตัวบึ้กที่พร้อมต่อยทุกวายร้ายที่ขวางหน้าด้วยหมัดที่ฟังแล้วเจ็บไปจนถึงลำไส้ใหญ่ และด้วยมาดเข้ม จริงจัง แต่ก็แฝงไปด้วยความตลก ความรั่วแบบหน้ามึนในบางครั้ง ก็กลายเป็นจุดสร้างเสียงฮาอันเป็นเอกลักษณ์ของ The Roundup เลยก็ว่าได้ และผู้สร้างรู้ดีว่าควรใช้งานมันอย่างไร ให้สมดุลกับความตึงเครียดของเนื้อเรื่อง จนออกมาเป็นภาพยนตร์แอคชั่นสืบสวนสอบสวนปนคอมเมดี้ที่มีรสชาติอร่อยเหมาะที่จะเสิร์ฟให้กับผู้ชมทุกคน
.
เมื่อเทียบกับภาคก่อนหน้านี้อย่าง No Way Out จะเห็นได้ชัดเจนว่า โทนของเรื่องกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง คล้ายๆ กับในภาค 2 รวมถึงตัว “บอส” ของเรื่องอย่างดงชอลที่มีความจิตวิปริตเหมือนกัน ในขณะที่ภาค No Way Out มีโทนเรื่องออกไปในทางที่สดใสมากกว่า ความรุนแรงของฉากแอคชั่นที่เน้นไปในทางบู๊ล้างผลาญเอามันส์มากกว่าจะเน้นความสมจริง เราจึงได้เห็นตัวของดอน ลี ปล่อยมุกเรียกเสียงฮาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหลายครั้งก็มาจากการใช้หมัดของเขาด้วยเช่นกัน แต่ใน Punishment เราไม่ได้เห็นเขาปล่อยหมัดออกมาถี่เท่าเดิมอีกแล้ว
.
โทนเรื่องที่จริงจังขึ้นก็นำมาซึ่งการสืบสวนที่มีดูสมจริงมากขึ้น ในภาคนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ข้ามชาติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการฟอกเงินโดยการใช้เงินดิจิตอลก็ถูกพูดถึงด้วยเช่นกัน ในแง่ของเทคนิคตัวภาพยนตร์อาจจะไม่ได้ลงลึกไปจนถึงขั้นพวกหนังสายลับจารกรรม แต่จะเน้นไปที่การนำเสนอภาพของการทำงาน ว่าแก๊งค์พวกนี้มีการทำงานกันอย่างไร มีการตั้งเซิฟเวอร์ที่ไหน เปิดโกดังถ่ายทอดสดเล่นพนันกันแบบใด ซึ่งมันก็ทำให้ฉากการทลายบ่อนที่เกิดขึ้นดูสมจริงคล้ายๆ กับได้ดูสารคดีอยู่เหมือนกัน (เรียกว่าดูไม่ง่ายไม่ยากกำลังดีเลย)
.
อีกด้านหนึ่งตัวเรื่องมีการเจืออารมณ์ดราม่าเข้ามาพอสมควร ซึ่งก็เปิดโอกาสให้เราได้เห็นถึงอีกมุมหนึ่งของตัวเอกอย่างมาซอกโด ซึ่งที่ผ่านๆ มา วิธีการลุยเดี่ยวใส่ไม่ยั้งของเขามักจะทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วง การรีดเค้นข้อมูลจากพวกนักเลงปลาซิวปลาสร้อยมักจะทำให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ
.
แต่ในครั้งนี้กลับไม่ได้ผล วิธีการห่ามๆ ของมาซอกโดที่คล้ายกับว่าเป็นตัวแทนของคนยุคเก่าไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เขาจึงต้องพึ่งทีมมากขึ้นในภาคนี้ เป็นจุดให้คนยุคใหม่อย่างตำรวจไซเบอร์สาวจีซูได้เข้ามามีบทบาทนั่นเอง
.
ด้วยความที่ทุกอย่างดูจริงจังขึ้น ตึงเครียดขึ้น มาซอกโดเองก็ขำน้อยลง ตัวละครที่เข้ามาสร้างเสียงฮาอย่างคาดไม่ถึง กลับกลายเป็น “พัคจีฮวัน” ในบทลิ่วล้อของมาซอกโดที่เขามักจะออกมาแย่งซีนเป็นระยะในภาคที่แล้ว แต่มีบทบาทค่อนข้างเยอะในภาคนี้ และกลายเป็น “ตัวโจ๊ก” ที่เรียกว่าหากขาดตัวละครนี้ไปทั้งเรื่องคงจืดชืดแน่นอน
.
ส่วนที่น่าผิดหวังคงเป็นทางด้านตัวร้ายหลักของเรื่องทั้งสองคนอย่างชางกีและดงซอล ที่แม้ว่าตัวเรื่องพยายามจะปูให้สองคนนี้ต้องแตกคอกันสักวันหนึ่งแน่ๆ แต่ประเด็นนี้มันไม่ได้ต่อยอดจนเกิดความน่าตื่นตาแต่อย่างใด กลับกันมันเป็นการจบแบบเงียบๆ ทั้งตัวของดงซอล ที่ก็เข้าใจได้ว่าเขาคงไม่ได้ปะทะหมัดกับใครแน่ๆ
.
ส่วนชางกีที่เน้นนักเน้นหนาว่า โหด เลือดเย็น ดีเอ็นเอของเขาไร้ซึ่งความกลัว หรืออะไรก็ตาม แต่สุดท้ายเขาก็ยังเป็นตัวร้ายแบนๆ ที่หากเทียบกับ “คังแฮซาง” (ซนซอกกู) ว้ายร้ายหัวหน้าแก๊งค์ค้ามนุษย์ข้ามชาติที่มีความอำมหิตแบบสุดๆ ยิ่งเห็นความแตกต่างได้ชัด และมันยังทำให้การเผด็จศึกตัวร้ายดูไม่ค่อยสะใจเท่ากับครั้งก่อนหน้าด้วย (และไม่ค่อยสมกับคำว่าลงทัณฑ์)
.
อย่างไรก็ตาม นับว่า The Roundup: Punishment ก็ยังคงรักษามาตรฐานได้ดีในการต่อยอดเรื่องราวของจักรวาลนี้ต่อไป ซึ่งไปๆ มาๆ ก็ให้ความรู้สึกเหมือนจะเป็นซีรี่ส์ฉบับภาพยนตร์ที่ฉายกันปีต่อปีไปแล้ว และเห็นได้ชัดว่า ในภาคนี้เริ่มออกลูกจำเจบ้างเหมือนกัน ซึ่งในภาคหน้าก็คงต้องหวังว่าตัวเรื่องจะมีแนวทางใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นเพิ่มมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการรักษามาตรฐานการเล่าเรื่องที่ต้องบอกว่า สมดุลระหว่างความจริงจังของการสืบสวนกับความตลกของ The Roundup มันกลมกล่อมจริงๆ
Story Decoder