คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
เพิ่มเติม ครับ ที่มาของพุทธภาษิต นี้
อรรถกถา มหาสุตโสมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28.0&i=315&p=1
(บางส่วน)
การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้
พึงคบกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อม.
ราชรถที่เขาทำให้วิจิตรเป็นอย่างดี ยังคร่ำคร่าได้แล แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษด้วยกันนั่นแลย่อมรู้กันได้.
ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวว่า ไกลกัน ดูก่อนพระราชา ธรรมของสัตบุรุษ และของอสัตบุรุษ ท่านก็กล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้นอีก.
!
!
เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงนำคาถาที่เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวไว้ก่อนแล้ว มาแสดงอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงสนับสนุนให้เจ้าโปริสาทอาจหาญในการให้พร จึงตรัสว่า
การเสียสละชีวิตได้ นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์ทีเดียว พรอันพระองค์ประทานไว้แล้ว จงประทานเสียฉับพลัน ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด พระองค์จงสมบูรณ์ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้นเถิด.
นรชนพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อนึกถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ แม้ชีวิตทั้งหมดเถิด.
ในคาถานั้น คำว่า ชีวิต หมายถึงละชีวิตได้ อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมละชีวิตได้โดยแท้ พระองค์จงประทานพรเสียโดยฉับพลัน คือ จงประทานแก่เราเสียโดยเร็วในที่นี้เถิด. คำว่า ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้น คือเป็นผู้สมบูรณ์ถึงพร้อม เข้าถึงแล้วด้วยธรรมและความสัตย์นี้ พระโพธิสัตว์ทรงยกย่องเจ้าโปริสาทนั้น จึงทรงเรียกว่า ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด. คำว่า พึงสละทรัพย์ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่ออวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นยังมีอยู่ พึงสละทรัพย์แม้มาก เมื่อต้องการจะรักษาอวัยวะนั้น. คำว่า เมื่อนึกถึงธรรม อธิบายว่า เมื่อนึกถึงธรรมอยู่อย่างนี้ว่า แม้เราจะต้องสละอวัยวะทรัพย์และชีวิต ก็ไม่ยอมล่วงธรรมของสัตบุรุษ.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อรรถกถา มหาสุตโสมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28.0&i=315&p=1
(บางส่วน)
การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้
พึงคบกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อม.
ราชรถที่เขาทำให้วิจิตรเป็นอย่างดี ยังคร่ำคร่าได้แล แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษด้วยกันนั่นแลย่อมรู้กันได้.
ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวว่า ไกลกัน ดูก่อนพระราชา ธรรมของสัตบุรุษ และของอสัตบุรุษ ท่านก็กล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้นอีก.
!
!
เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงนำคาถาที่เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวไว้ก่อนแล้ว มาแสดงอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงสนับสนุนให้เจ้าโปริสาทอาจหาญในการให้พร จึงตรัสว่า
การเสียสละชีวิตได้ นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์ทีเดียว พรอันพระองค์ประทานไว้แล้ว จงประทานเสียฉับพลัน ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด พระองค์จงสมบูรณ์ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้นเถิด.
นรชนพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อนึกถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ แม้ชีวิตทั้งหมดเถิด.
ในคาถานั้น คำว่า ชีวิต หมายถึงละชีวิตได้ อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมละชีวิตได้โดยแท้ พระองค์จงประทานพรเสียโดยฉับพลัน คือ จงประทานแก่เราเสียโดยเร็วในที่นี้เถิด. คำว่า ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้น คือเป็นผู้สมบูรณ์ถึงพร้อม เข้าถึงแล้วด้วยธรรมและความสัตย์นี้ พระโพธิสัตว์ทรงยกย่องเจ้าโปริสาทนั้น จึงทรงเรียกว่า ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด. คำว่า พึงสละทรัพย์ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่ออวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นยังมีอยู่ พึงสละทรัพย์แม้มาก เมื่อต้องการจะรักษาอวัยวะนั้น. คำว่า เมื่อนึกถึงธรรม อธิบายว่า เมื่อนึกถึงธรรมอยู่อย่างนี้ว่า แม้เราจะต้องสละอวัยวะทรัพย์และชีวิต ก็ไม่ยอมล่วงธรรมของสัตบุรุษ.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แสดงความคิดเห็น
ทำไมไม่มีใครสละชีวิต เพื่อปกป้องพุทธศาสนาเพื่อรักษาธรรมแบบพระพุทธเจ้า
"พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้" (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๗
พระพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการเสียสละ ในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ บางชาติทรงยอมสละชีวิต เพื่อแลกกับธรรม ถึงกับยอมสละชีวิตให้ยักษ์กิน ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นยอดนักสร้างบารมี ผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่
ในคราวที่จำเป็นจะต้องสละบางสิ่งไปเพื่อรักษาบางสิ่งไว้ ให้เรียงลำดับการเสียสละดังนี้ คือ ให้สละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ เพราะทรัพย์สินเงินทองเป็นของนอกกาย หมดไปแล้วเรายังหาใหม่ได้ ให้สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เพราะชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ชีวิตมีค่าต่อการสร้างบารมี แม้ต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป ก็ให้รักษาชีวิตไว้ เพื่อการสร้างบารมี
เมื่อเห็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการบรรลุธรรม ก็ทรงให้สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อรักษาธรรมไว้ แม้ชีวิตจะสูญสิ้น แต่ธรรมะไม่สิ้นสูญ ให้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อแลกกับธรรมะ
.. ... .. ...
ความเห็น13 มีหลักฐานยืนยันข้อความด้านบนมาจากพระไตรปิฎก
ขอบใจคับสังคมพุทธ