เจาะใจ “ศิธา ทิวารี”-เอาทักษิณปราบก้าวไกล มีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4594777
รายการมีเรื่องมาเคลียร์ by
ศิโรตม์ พูดคุยกับ น.ต.
ศิธา ทิวารี นักวิเคราะห์การเมือง ฉายภาพสมการการเมือง แยกเพื่อไทยและก้าวไกล ออกจากกัน ทักษิณแลกดีล เล่นเกมส์สกัดก้าวไกล และชะตากรรม “
เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร” ในวังวนนี้
1 ปีผ่านไป ของ สส.เลือดใหม่ จากโรงเรียนก้าวไกล ยังเข้มแข็งแค่ไหน จากเฉียดรัฐบาลสู่ความเสี่ยงยุบพรรค
https://www.matichon.co.th/clips/news_4594801
ปัจจุบัน สส.พรรคก้าวไกล ในสภา เกินครึ่ง ล้วนแล้วแต่เป็น สส.ใหม่ บางคนปรับตัวได้ บางคนยากหน่อย ต้องทำการบ้าน ลงพื้นที่ พิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงาน ให้สมกับที่ประชาชนเลือกมา เส้นทางของ สส.ก้าวไกล นอกจากไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแล้ว ยังเต็มไปด้วยขวากหนาม เหล่าขุนพลคนสีส้ม จิตใจต้องเข้มแข็งไม่พอ จิตวิญญาณข้างใน ต้องหึกเหิมเป็นร้อยเท่าตัว เพราะเป็น สส.พรรคก้าวไกล ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็น สส.ก้าวไกลที่ประชาชนไว้วางใจไม่ง่ายอย่างที่คิด
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" แนะ "ครม.เศรษฐกิจ" สร้างกลไกแก้หนี้ทั้งระบบ
https://www.thansettakij.com/business/economy/596971
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" แนะ "ครม.เศรษฐกิจ" สร้างกลไกแก้หนี้ทั้งระบบ หลังเอสเอ็มอีติดกับดักรายได้น้อยกว่ารายจ่าย 52% สภาพคล่องลดลง 26% และ 22% เผชิญอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการควบคุมต้นทุน ค่าครองชีพ
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงประเด็นเรื่องที่นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันจันทร์ที่ 27 พ.ค. 67 เพื่อหามาตรการ หรือแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยโตต่ำสุดในอาเซียน ว่า
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมีประเด็นเสนอเพื่อการวางนโยบายเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและแรงงาน ประกอบด้วย
1. หนี้ครัวเรือน หนี้เสีย และหนี้นอกระบบ จากการสำรวจ สสว. ไตรมาส 1/2567 พบว่าเอสเอ็มอีติดกับดักรายได้น้อยกว่ารายจ่าย 52% สภาพคล่องลดลง 26% และ 22% เผชิญอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่เอสเอ็มอี 46% มีภาระดอกเบี้ยสูง 23% ขั้นตอนยุ่งยากและอนุมัติล่าช้า 14% ขาดความรู้ในการเข้าถึงแหล่งทุนที่เหมาะสม 7% ขาดหลักทรัพย์ในการยื่นขอสินเชื่อ
นอกจากนี้การเติบโตของ GDP SME ยังคงที่ 35% ของ GDP ทั้งประเทศ ซึ่งรายย่อยที่มีสัดส่วนผู้ประกอบการถึง 85% มีสัดส่วนการจ้างงาน 30% ของการจ้างงานภาคเอกชน แต่มีสัดส่วน GDP รายย่อยเพียง 3% เท่านั้น
หากมองในมิติแหล่งทุนพบว่าเอสเอ็มอีพึ่งพาแหล่งทุนนอกระบบถึง 35% ขณะที่ภาคแรงงาน ลูกจ้าง 37% ขณะที่สัญญาณหนี้เสียประมาณ 1.05% ล้านล้านบาทเพิ่มขี้น 8% เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล 260,000 ล้านบาท สินเชื่อยานยนต์ 230,000 ล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัย 180,000 ล้านบาท และบัตรเครดิต 60,000 ล้านบาท
ด้านหนี้เฝ้าระวัง (Special mention) รอประทุกว่า 610,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมองว่า ต้องออกแบบกลไกการแก้ไขหนี้ทั้งระบบ โดยคำนึงถึงปัจจัยผลกระทบที่ต้องไม่ทำให้ ยิ่งจน ยิ่งเปราะบาง ดอกเบี้ยยิ่งสูง เข้าถึงแหล่งทุนในระบบยาก เช่น การนำ บสย. มาช่วยเหลือในการค้ำประกันสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มสภาพคล่องรายย่อยกับสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น รวมทั้งกองทุน สสว. กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เป็นต้น"
นาย
แสงชัย กล่าวอีกว่า การแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืนต้องดำเนินการร่วมมือทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคการศึกษาทุกระดับ และกระทรวงการคลังควรร่วมกับ อปท. และราชการในระดับส่วนภูมิภาค สถาบันการเงินพาณิชย์และรัฐ รวมทั้ง บสย. ในการยกระดับทักษะการบริหารการจัดการทางการเงินที่ถูกต้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืนให้กับประชาชนทุกครอบครัว
ขณะเดียวกันต้องมีระบบส่งต่อความต้องการพัฒนาทักษะในระดับต่างๆเพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น ทักษะการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการพัฒนาความคิดส้างสรรค์และนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้า บริการและธุรกิจ เป็นต้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการแก้ไขปัญหาหนี้ในทุกระดับ สาขาอาชีพ
2. การบริหารจัดการควบคุมต้นทุน ค่าครองชีพ ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ขนส่ง ความเป็นธรรมทางพลังงานน้ำมัน ไฟฟ้า และดอกเบี้ย (ความเสี่ยง) ที่สถาบันการเงินทั้งในและนอกการกำกับ เพื่อไม่ให้เอาเปรียบประชาชน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แรงงานที่ต้องแบกรับภาระเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง และหารายได้ไม่ทันรายจ่าย
ซึ่งต้องมีการเร่งแก้ไขปัญหาให้เกิดการปรับโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริงพลังงาน และส่งเสริม Green Finance ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการ ประชาชนที่มีความพร้อมเข้าถึงในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานสีเขียว อีกทั้งการกระจายอำนาจให้ภาคประชาชน ท้องถิ่นได้มี Solar Farm ของชุมชนท้องถิ่นใช้เอง เพราะปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานฟอสซิลถึง 75% และพลังงานสีเขียวมีเพียง 25% เท่านั้น
ด้านอัตราดอกเบี้ยความเสี่ยงเป็นอีกหนึ่งกับดักรายย่อยที่ต้องไปพึ่งพาแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น ควรทบทวนอัตราดอกเบี้ยพิโกไฟแนนซ์ แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน วงเงิน 50,001-100,000 บาท มีอัตราเท่ากัน 28% ต่อปี ขณะที่วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน โดยมีหลักประกัน 33% ต่อปี ไม่มีหลักประกัน 36% ต่อปี อีกทั้งแบบไม่มีหลักประกันยังมีนิยามทีไม่เป็นธรรม กล่าวคือ การวางโฉนด จำนำทะเบียนรถ ถือว่าเป็นแบบไม่มีหลักประกัน
3. มาตรการจูงใจเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ ทั้งภาคแรงงานนนอกระบบ ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบที่มีอยู่ถึง 46% ต่อ GDP ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และอันดับที่ 2 ของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ฐานการจัดเก็บรายได้ และการส่งเสริมยกระดับการพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถกำลังคน และลดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ทำให้เศรษฐกิจและสังคมมีความยั่งยืน โดยอาจนำโครงการแนงคิดที่ดีของรัฐบาลในการทำเรื่อง Soft Power มาใช้เป็นกลไกในการยกระดับเข้าระบบรูปแบบเติมทุนพัฒนา Soft Power และหรือ Soft Skills ปรับระบบฐานภาษีจูงใจเข้าระบบ ออกแบบระบบสวัสดิการรัฐที่ตอบโจทย์ความต้องการประชาชน เป็นต้น
4. มาตรการเพิ่มศักยภาพ และส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี และแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้า บริหาร และได้รับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงมาตรฐานต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ การขอใบอนุญาตต่างๆที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องใช้ ต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายนอกระบบ และต้องไม่ประวิงเวลาการออกใบอนุญาตินานจนผู้ประกอบการด้รับผลกระทบจากการดำเนินการออกใบอนุญาติบางหน่วยงาน
รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานแรงงานที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงมาตรการต่างๆที่ดีของภาครัฐในการพัฒนากำลังคน ที่สำคัญ คือ จากข้อมูลความต้องการพัฒนาขีดคามสามารถของประชากรไทยวัยแรงงานเฉลี่ย 5 ล้านคนต่อปี แต่การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอและขาดการเชื่อมโยง บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในการเชื่อม จับคู่งาน ฝึกอบรม รับรองมาตรฐาน นำมาตรฐานไปใช้ในการกำหนดค่าแรง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเชื่อมส่งต่อความช่วยเหลือพัฒนาเอสเอ็มอี ต้องยกระดับ BDS ของ สสว. ให้ขยายวงในการเชื่อมเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เพิ่มความหลากหลายผู้ให้บริการ Up skills – Re skills ที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ประกอบการมากขึ้น และควรจัดสรรงบประมาณให้สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เอสเอ็มอีได้รับสิทธิประโยชน์ในการพัฒนากิจการให้มีแต้มต่อพร้อมด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเข้าถึงเอสเอ็มอี
"
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมีความคาดหวังและพร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อเดินเครื่องยนต์เศรษฐกิจประเทศไทยให้สามารถพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้า ลดการขาดดุลการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการและแรงงานไทยสามารถไปเติบโตได้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปด้วยกัน พร้อมทั้งการกระจายรายได้ให้เศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมความเหลื่อมล้ำรายได้และโอกาสก็จะเป็นอดีตสำหรับประเทศไทย
นาย
แสงชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณชะลอตัวเติบโตเพียง 1.5% ในไตรมาส 1/67 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านประเทศมาเลเซียเติบโต 4.2% ประเทศสิงคโปร์เติบโต 2.7% ประเทศฟิลิปปินส์เติบโต 5.7% ประเทศเวียดนามเติบโต 11% มีเพียงประเทศอินโดนีเซียที่เติบโตใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ 1.7%
JJNY : เจาะใจ “ศิธา ทิวารี”│1 ปีเลือดใหม่จากโรงเรียนก้าวไกล│แนะ"ครม.เศรษฐกิจ"แก้หนี้│กรุงเม็กซิโกซิตีมีอุณหภูมิสูงสุด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4594777
รายการมีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ พูดคุยกับ น.ต.ศิธา ทิวารี นักวิเคราะห์การเมือง ฉายภาพสมการการเมือง แยกเพื่อไทยและก้าวไกล ออกจากกัน ทักษิณแลกดีล เล่นเกมส์สกัดก้าวไกล และชะตากรรม “เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร” ในวังวนนี้
1 ปีผ่านไป ของ สส.เลือดใหม่ จากโรงเรียนก้าวไกล ยังเข้มแข็งแค่ไหน จากเฉียดรัฐบาลสู่ความเสี่ยงยุบพรรค
https://www.matichon.co.th/clips/news_4594801
ปัจจุบัน สส.พรรคก้าวไกล ในสภา เกินครึ่ง ล้วนแล้วแต่เป็น สส.ใหม่ บางคนปรับตัวได้ บางคนยากหน่อย ต้องทำการบ้าน ลงพื้นที่ พิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงาน ให้สมกับที่ประชาชนเลือกมา เส้นทางของ สส.ก้าวไกล นอกจากไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแล้ว ยังเต็มไปด้วยขวากหนาม เหล่าขุนพลคนสีส้ม จิตใจต้องเข้มแข็งไม่พอ จิตวิญญาณข้างใน ต้องหึกเหิมเป็นร้อยเท่าตัว เพราะเป็น สส.พรรคก้าวไกล ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็น สส.ก้าวไกลที่ประชาชนไว้วางใจไม่ง่ายอย่างที่คิด
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" แนะ "ครม.เศรษฐกิจ" สร้างกลไกแก้หนี้ทั้งระบบ
https://www.thansettakij.com/business/economy/596971
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" แนะ "ครม.เศรษฐกิจ" สร้างกลไกแก้หนี้ทั้งระบบ หลังเอสเอ็มอีติดกับดักรายได้น้อยกว่ารายจ่าย 52% สภาพคล่องลดลง 26% และ 22% เผชิญอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการควบคุมต้นทุน ค่าครองชีพ
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงประเด็นเรื่องที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันจันทร์ที่ 27 พ.ค. 67 เพื่อหามาตรการ หรือแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยโตต่ำสุดในอาเซียน ว่า
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมีประเด็นเสนอเพื่อการวางนโยบายเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและแรงงาน ประกอบด้วย
1. หนี้ครัวเรือน หนี้เสีย และหนี้นอกระบบ จากการสำรวจ สสว. ไตรมาส 1/2567 พบว่าเอสเอ็มอีติดกับดักรายได้น้อยกว่ารายจ่าย 52% สภาพคล่องลดลง 26% และ 22% เผชิญอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่เอสเอ็มอี 46% มีภาระดอกเบี้ยสูง 23% ขั้นตอนยุ่งยากและอนุมัติล่าช้า 14% ขาดความรู้ในการเข้าถึงแหล่งทุนที่เหมาะสม 7% ขาดหลักทรัพย์ในการยื่นขอสินเชื่อ
นอกจากนี้การเติบโตของ GDP SME ยังคงที่ 35% ของ GDP ทั้งประเทศ ซึ่งรายย่อยที่มีสัดส่วนผู้ประกอบการถึง 85% มีสัดส่วนการจ้างงาน 30% ของการจ้างงานภาคเอกชน แต่มีสัดส่วน GDP รายย่อยเพียง 3% เท่านั้น
หากมองในมิติแหล่งทุนพบว่าเอสเอ็มอีพึ่งพาแหล่งทุนนอกระบบถึง 35% ขณะที่ภาคแรงงาน ลูกจ้าง 37% ขณะที่สัญญาณหนี้เสียประมาณ 1.05% ล้านล้านบาทเพิ่มขี้น 8% เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล 260,000 ล้านบาท สินเชื่อยานยนต์ 230,000 ล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัย 180,000 ล้านบาท และบัตรเครดิต 60,000 ล้านบาท
ด้านหนี้เฝ้าระวัง (Special mention) รอประทุกว่า 610,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมองว่า ต้องออกแบบกลไกการแก้ไขหนี้ทั้งระบบ โดยคำนึงถึงปัจจัยผลกระทบที่ต้องไม่ทำให้ ยิ่งจน ยิ่งเปราะบาง ดอกเบี้ยยิ่งสูง เข้าถึงแหล่งทุนในระบบยาก เช่น การนำ บสย. มาช่วยเหลือในการค้ำประกันสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มสภาพคล่องรายย่อยกับสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น รวมทั้งกองทุน สสว. กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เป็นต้น"
นายแสงชัย กล่าวอีกว่า การแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืนต้องดำเนินการร่วมมือทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคการศึกษาทุกระดับ และกระทรวงการคลังควรร่วมกับ อปท. และราชการในระดับส่วนภูมิภาค สถาบันการเงินพาณิชย์และรัฐ รวมทั้ง บสย. ในการยกระดับทักษะการบริหารการจัดการทางการเงินที่ถูกต้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืนให้กับประชาชนทุกครอบครัว
ขณะเดียวกันต้องมีระบบส่งต่อความต้องการพัฒนาทักษะในระดับต่างๆเพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น ทักษะการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการพัฒนาความคิดส้างสรรค์และนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้า บริการและธุรกิจ เป็นต้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการแก้ไขปัญหาหนี้ในทุกระดับ สาขาอาชีพ
2. การบริหารจัดการควบคุมต้นทุน ค่าครองชีพ ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ขนส่ง ความเป็นธรรมทางพลังงานน้ำมัน ไฟฟ้า และดอกเบี้ย (ความเสี่ยง) ที่สถาบันการเงินทั้งในและนอกการกำกับ เพื่อไม่ให้เอาเปรียบประชาชน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แรงงานที่ต้องแบกรับภาระเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง และหารายได้ไม่ทันรายจ่าย
ซึ่งต้องมีการเร่งแก้ไขปัญหาให้เกิดการปรับโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริงพลังงาน และส่งเสริม Green Finance ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการ ประชาชนที่มีความพร้อมเข้าถึงในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานสีเขียว อีกทั้งการกระจายอำนาจให้ภาคประชาชน ท้องถิ่นได้มี Solar Farm ของชุมชนท้องถิ่นใช้เอง เพราะปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานฟอสซิลถึง 75% และพลังงานสีเขียวมีเพียง 25% เท่านั้น
ด้านอัตราดอกเบี้ยความเสี่ยงเป็นอีกหนึ่งกับดักรายย่อยที่ต้องไปพึ่งพาแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น ควรทบทวนอัตราดอกเบี้ยพิโกไฟแนนซ์ แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน วงเงิน 50,001-100,000 บาท มีอัตราเท่ากัน 28% ต่อปี ขณะที่วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน โดยมีหลักประกัน 33% ต่อปี ไม่มีหลักประกัน 36% ต่อปี อีกทั้งแบบไม่มีหลักประกันยังมีนิยามทีไม่เป็นธรรม กล่าวคือ การวางโฉนด จำนำทะเบียนรถ ถือว่าเป็นแบบไม่มีหลักประกัน
3. มาตรการจูงใจเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ ทั้งภาคแรงงานนนอกระบบ ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบที่มีอยู่ถึง 46% ต่อ GDP ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และอันดับที่ 2 ของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ฐานการจัดเก็บรายได้ และการส่งเสริมยกระดับการพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถกำลังคน และลดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ทำให้เศรษฐกิจและสังคมมีความยั่งยืน โดยอาจนำโครงการแนงคิดที่ดีของรัฐบาลในการทำเรื่อง Soft Power มาใช้เป็นกลไกในการยกระดับเข้าระบบรูปแบบเติมทุนพัฒนา Soft Power และหรือ Soft Skills ปรับระบบฐานภาษีจูงใจเข้าระบบ ออกแบบระบบสวัสดิการรัฐที่ตอบโจทย์ความต้องการประชาชน เป็นต้น
4. มาตรการเพิ่มศักยภาพ และส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี และแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้า บริหาร และได้รับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงมาตรฐานต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ การขอใบอนุญาตต่างๆที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องใช้ ต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายนอกระบบ และต้องไม่ประวิงเวลาการออกใบอนุญาตินานจนผู้ประกอบการด้รับผลกระทบจากการดำเนินการออกใบอนุญาติบางหน่วยงาน
รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานแรงงานที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงมาตรการต่างๆที่ดีของภาครัฐในการพัฒนากำลังคน ที่สำคัญ คือ จากข้อมูลความต้องการพัฒนาขีดคามสามารถของประชากรไทยวัยแรงงานเฉลี่ย 5 ล้านคนต่อปี แต่การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอและขาดการเชื่อมโยง บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในการเชื่อม จับคู่งาน ฝึกอบรม รับรองมาตรฐาน นำมาตรฐานไปใช้ในการกำหนดค่าแรง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเชื่อมส่งต่อความช่วยเหลือพัฒนาเอสเอ็มอี ต้องยกระดับ BDS ของ สสว. ให้ขยายวงในการเชื่อมเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เพิ่มความหลากหลายผู้ให้บริการ Up skills – Re skills ที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ประกอบการมากขึ้น และควรจัดสรรงบประมาณให้สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เอสเอ็มอีได้รับสิทธิประโยชน์ในการพัฒนากิจการให้มีแต้มต่อพร้อมด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเข้าถึงเอสเอ็มอี
"สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยมีความคาดหวังและพร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อเดินเครื่องยนต์เศรษฐกิจประเทศไทยให้สามารถพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้า ลดการขาดดุลการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการและแรงงานไทยสามารถไปเติบโตได้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปด้วยกัน พร้อมทั้งการกระจายรายได้ให้เศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมความเหลื่อมล้ำรายได้และโอกาสก็จะเป็นอดีตสำหรับประเทศไทย
นายแสงชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณชะลอตัวเติบโตเพียง 1.5% ในไตรมาส 1/67 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านประเทศมาเลเซียเติบโต 4.2% ประเทศสิงคโปร์เติบโต 2.7% ประเทศฟิลิปปินส์เติบโต 5.7% ประเทศเวียดนามเติบโต 11% มีเพียงประเทศอินโดนีเซียที่เติบโตใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ 1.7%