ประธานาธิบดีเอบราฮิม ไรซี ของอิหร่านเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันอาทิตย์ด้วยวัย 63 ปี เขาได้รับสมญานามว่า “Butcher of Tehran" หรือ "นักเชือดแห่งเตหะราน" จากบทบาทของเขาในการประหารชีวิตผู้คนหลายพันคนในปี 1988 เขาเป็นผู้นำประเทศภายใต้อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ในขณะที่ประเทศนี้เสริมสมรรถนะอาวุธให้ใกล้เคียงยูเรเนียม และทำการโจมตีด้วยโดรนและขีปนาวุธครั้งใหญ่ใส่อิสราเอล
ไรซีเกิดในปี 1960 ในครอบครัวนักบวชในเมืองมัชฮัด (Mashhad) เป็นลูกของสมาชิกแนวร่วมปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์อิหร่าน และด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์อันเข้มข้น ทำให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ตั้งแต่อายุเพียง 15 ปี ตามรอยพ่อของเขา
ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษา เขาได้เข้าร่วมการประท้วงครั้งใหญ่ต่อต้านชาห์ (ตำแหน่งผู้นำราชวงศ์อิหร่าน) ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกในปี 1979 ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอิสลามภายใต้การแนะนำของ อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี อดีตผู้นำสูงสุดอิหร่าน
ในช่วงปีแรกอันวุ่นวายของการปฏิวัติอิสลาม ไรซีศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยชาฮิดโมตาฮารี (Shahid Motahari) ในกรุงเตหะราน ซึ่งเขาได้รับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์และกฎหมายอิสลาม
ต่อมาเมื่ออายุ 25 ปี ไรซีเข้าร่วมกับฝ่ายตุลาการ และขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญอย่างรวดเร็ว โดยได้เป็นรองอัยการของเตหะราน
กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้พิพากษา 4 คนที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการประหารชีวิตเพื่อพิจารณาคดีนักโทษหลายพันคน
ในเวลาต่อมา ไรซีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอัยการของเตหะราน จากนั้นเป็นหัวหน้าองค์กรตรวจราชการของรัฐ กระทั่งในปี 2006 เขาได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้เชี่ยวชาญ (Assembly of Experts) ซึ่งมีหน้าที่แต่งตั้งและดูแลผู้นำสูงสุด สมาชิกของสภานี้จะต้อวได้รับอนุมัติจากสภาผู้พิทักษ์ (Guardian Council)
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในปี 2009 ได้ก่อให้เกิดการประท้วงในประเทศต่อเนื่องหลายเดือน ซึ่งไรซีจัดการด้วยการปราบปรามอย่างโหดร้ายและกักขังผู้ประท้วงจำนวนมาก เขากลายเป็นอัยการสูงสุดของประเทศในปี 2014 และถูกกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรในปี 2019 จากบทบาทของเขาในการปราบปรามด้วยความรุนแรง
จนปี 2021 เมื่อเขาชนะการเลือกตั้ง เป็นสัญญาณการกลับมาของกลุ่มอนุรักษ์นิยมขั้นสูงสุดของอิหร่าน ซึ่งกลุ่มนี้ต่อต้านข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่อิหร่านทำกับมหาอำนาจโลกเพื่อผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร
แต่ภายใต้การนำของไรซี เขาสั่งงเดินหน้าการพัฒนาและเสริมสมรรถนะยูเรเนียมในระดับเกือบเป็นเกรดทำอาวุธ และขัดขวางการตรวจสอบระหว่างประเทศ
ไรซีถูกมองว่าอาจจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดอิหร่านต่อจากคาเมเนอี โดยผู้นำสูงสุดเคยแสดงการสนับสนุนไรซีด้วยการแต่งตั้งเขาเป็นรองหัวหน้าสภาผู้เชี่ยวชาญในปี 2019 ซึ่งเป็นฐานอำนาจสำคัญที่นำไปสู่การคว้าชัยเลือกตั้ง 2021 แม้จะเป็นการเลือกตั้งที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิหร่านก็ตาม
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจลดธงครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักร เพื่อไว้อาลัยแด่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ในวันพฤหัสบดีที่ 23 วันศุกร์ที่ 24 และวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 รวม 3 วันทำการ
ที่มา:
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/224250
https://www.thairath.co.th/news/politic/2787288
รัฐบาลเพื่อไทยไว้อาลัย "เผด็จการฆาตกรโหดอิหร่าน" เศรษฐาสั่งลดธงครึ่งเสา 3 วัน
ประธานาธิบดีเอบราฮิม ไรซี ของอิหร่านเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันอาทิตย์ด้วยวัย 63 ปี เขาได้รับสมญานามว่า “Butcher of Tehran" หรือ "นักเชือดแห่งเตหะราน" จากบทบาทของเขาในการประหารชีวิตผู้คนหลายพันคนในปี 1988 เขาเป็นผู้นำประเทศภายใต้อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ในขณะที่ประเทศนี้เสริมสมรรถนะอาวุธให้ใกล้เคียงยูเรเนียม และทำการโจมตีด้วยโดรนและขีปนาวุธครั้งใหญ่ใส่อิสราเอล
ไรซีเกิดในปี 1960 ในครอบครัวนักบวชในเมืองมัชฮัด (Mashhad) เป็นลูกของสมาชิกแนวร่วมปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์อิหร่าน และด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์อันเข้มข้น ทำให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ตั้งแต่อายุเพียง 15 ปี ตามรอยพ่อของเขา
ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษา เขาได้เข้าร่วมการประท้วงครั้งใหญ่ต่อต้านชาห์ (ตำแหน่งผู้นำราชวงศ์อิหร่าน) ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกในปี 1979 ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอิสลามภายใต้การแนะนำของ อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี อดีตผู้นำสูงสุดอิหร่าน
ในช่วงปีแรกอันวุ่นวายของการปฏิวัติอิสลาม ไรซีศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยชาฮิดโมตาฮารี (Shahid Motahari) ในกรุงเตหะราน ซึ่งเขาได้รับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์และกฎหมายอิสลาม
ต่อมาเมื่ออายุ 25 ปี ไรซีเข้าร่วมกับฝ่ายตุลาการ และขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญอย่างรวดเร็ว โดยได้เป็นรองอัยการของเตหะราน
กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้พิพากษา 4 คนที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการประหารชีวิตเพื่อพิจารณาคดีนักโทษหลายพันคน
ในเวลาต่อมา ไรซีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอัยการของเตหะราน จากนั้นเป็นหัวหน้าองค์กรตรวจราชการของรัฐ กระทั่งในปี 2006 เขาได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้เชี่ยวชาญ (Assembly of Experts) ซึ่งมีหน้าที่แต่งตั้งและดูแลผู้นำสูงสุด สมาชิกของสภานี้จะต้อวได้รับอนุมัติจากสภาผู้พิทักษ์ (Guardian Council)
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในปี 2009 ได้ก่อให้เกิดการประท้วงในประเทศต่อเนื่องหลายเดือน ซึ่งไรซีจัดการด้วยการปราบปรามอย่างโหดร้ายและกักขังผู้ประท้วงจำนวนมาก เขากลายเป็นอัยการสูงสุดของประเทศในปี 2014 และถูกกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรในปี 2019 จากบทบาทของเขาในการปราบปรามด้วยความรุนแรง
จนปี 2021 เมื่อเขาชนะการเลือกตั้ง เป็นสัญญาณการกลับมาของกลุ่มอนุรักษ์นิยมขั้นสูงสุดของอิหร่าน ซึ่งกลุ่มนี้ต่อต้านข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่อิหร่านทำกับมหาอำนาจโลกเพื่อผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร
แต่ภายใต้การนำของไรซี เขาสั่งงเดินหน้าการพัฒนาและเสริมสมรรถนะยูเรเนียมในระดับเกือบเป็นเกรดทำอาวุธ และขัดขวางการตรวจสอบระหว่างประเทศ
ไรซีถูกมองว่าอาจจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดอิหร่านต่อจากคาเมเนอี โดยผู้นำสูงสุดเคยแสดงการสนับสนุนไรซีด้วยการแต่งตั้งเขาเป็นรองหัวหน้าสภาผู้เชี่ยวชาญในปี 2019 ซึ่งเป็นฐานอำนาจสำคัญที่นำไปสู่การคว้าชัยเลือกตั้ง 2021 แม้จะเป็นการเลือกตั้งที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิหร่านก็ตาม
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจลดธงครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักร เพื่อไว้อาลัยแด่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ในวันพฤหัสบดีที่ 23 วันศุกร์ที่ 24 และวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 รวม 3 วันทำการ
ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/224250
https://www.thairath.co.th/news/politic/2787288