โรม ลั่นสู้ยิบแน่ ถ้าเจอแกล้ง หลังคารม เป็นพยานคดี 44 ส.ส.ก้าวไกล ยื่นแก้ 112
https://www.matichon.co.th/politics/news_4582539
‘โรม’ ยืนยัน 44 ส.ส. ก้าวไกล เสนอแก้ไขม.112 ทำไปตามหน้าที่ บอก หากพบใช้กม.กลั่นแกล้ง พร้อมสู้ถึงที่สุด ระบุยิ่งจับคนเห็นต่างเข้าคุก ทำปัญหาการเมืองยิ่งไม่ถูกแก้
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 นาย
รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เรียก นาย
คารม พลพรกลาง สมาชิกพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะอดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. เป็นพยานสอบกรณีส.ส. พรรค ก.ก. เสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า ยืนยันว่า การทำหน้าที่ของพวกเรา เป็นการทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามในการยื่นแก้ไขกฎหมาย ก็เป็นการทำหน้าที่อย่างไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งตนคิดว่า คงมีขั้นตอนทางกฎหมายที่เราในฐานะส.ส. ต้องพิสูจน์ในข้อเท็จจริง สุดท้ายหากมีการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบทำตามกฎหมายในการกลั่นแกล้ง เราก็ไม่ยอม เราก็ต้องสู้จนถึงที่สุดเช่นเดียวกัน
ส่วนที่ นาย
คารม ระบุว่า ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวให้นิรโทษกรรมผู้ที่มีคดีตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งจะทำให้ส.ส. ที่ลงชื่อแก้ไขกฎหมาย ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ด้วย นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ตนคิดว่า การนิรโทษกรรมแล้ว อาจจะมีส.ส. บางส่วนได้ประโยชน์จากตรงนี้ เราต้องแยกกัน การนิรโทษกรรมคดีการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่เราเพิ่ง จะพูดเป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว ตนว่า เรื่องนี้เราไม่ควรเอามาเชื่อมโยงว่า เป็นเรื่องผลประโยชน์อะไร ถามว่ามีคนจำนวนมากหรือไม่ ที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหา 112 ตลอดระยะเวลาการรัฐประหารในปี 2549 เป็นต้นมา
นาย
รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ประเด็นหลักเราต้องยอมรับว่า หากมีคนถูกดำเนินคดีมากขนาดนี้ ต้องถามต่อว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยเกิดความขัดแย้งหรือไม่ ดังนั้นการเสนอของพรรคก.ก. ก็เสนอว่าอย่าเพิ่งระบุข้อหาอะไรในการนิรโทษกรรมเลย เพราะเราทราบว่า การนิรโทษกรรม เป็นกระบวนการที่ใช้เวลา จำเป็นต้องมีการพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ เราอยากเริ่มด้วยการตั้งต้นว่า หากมีแรงจูงใจทางการเมือง ไม่ว่าคดีอะไรก็จะมีโอกาสที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรมได้หมด แต่ในทางปฏิบัติ เราต้องอาศัยการพูดคุย การนิรโทษกรรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ อย่างการกำหนดเงื่อนไขบางอย่าง ที่จะพอช่วยให้สังคมกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง
“
ถามตรงๆ เอาคนที่เป็นนักกิจกรรมการเมือง เอาคนที่มีความเห็นต่างทางการเมืองไปขัง สังคมไทยได้อะไรขึ้นมา ตนคิดว่ามีแต่จะทำให้สังคมแก้ปัญหาทางการเมืองที่เรื้อรังไม่จบสักที” นาย
รังสิมันต์ กล่าว
"ชัยธวัช" ยันหลังยื่นคำชี้แจงศาลรธน.คดียุบพรรค ต้นมิ.ย. จะแถลงประเด็นข้อต่อสู้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8239053
“ชัยธวัช” ยันหลังยื่นคำชี้แจงศาลรธน.คดียุบพรรค ต้นมิ.ย. จะแถลงประเด็นข้อต่อสู้ให้ปชช.รับรู้ ลั่นพร้อมรับผลทุกสถานการณ์ ชี้จัดงานก้าวไกลบิ๊กแบง คิกออฟการทำงานฝ่ายค้านเชิงรุก-เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล มอง 1 ปีรัฐสอบไม่ผ่าน
เมื่อวันที่ 18 พ.ค. นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึง กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลายื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาคดียุบพรรค ฐานกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เป็นครั้งที่ 3 อีก 15 วัน ว่า ได้ตรวจดูคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและได้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว สำหรับยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตามกำหนดระยะเวลาก่อนหน้านี้ แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลา ตามที่ฝ่ายกฎหมายยื่นไป ก็จะได้มีเวลาทบทวนให้ดีที่สุด ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายไปอีก 15 วัน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ดังนั้นช่วงต้นเดือนมิถุนายนก็จะครบกำหนดในการต้องยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลังจากยื่นอย่างเป็นทางการไปแล้วพรรคก้าวไกลจะแถลงต่อสาธารณะอีกครั้ง เพื่ออธิบายประเด็นข้อต่อสู้ของพรรคก้าวไกลให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ หลังจากนั้นต้องรอดูว่าศาลจะอนุญาต ให้ไต่สวนหรือไม่อย่างไร จะเรียกพยานมาให้ข้อมูล เพิ่มเติมต่อศาลหรือไม่
ส่วนได้ประเมินผลลัพธ์ที่จะออกมาหรือไม่นั่น หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวยืนยันว่า แม้ก่อนหน้านี้จะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญให้เรายุติการกระทำ แต่ไม่ได้เท่ากับว่าจะพิจารณายุบพรรคได้เลยตามอัตโนมัติ เพราะเป็นคนละคดีกัน คนละกฎหมายกัน การพิจารณาให้ยุติการกระทำกับการพิจารณาให้ยุบพรรคมีรายละเอียด ในแง่ข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้ของพรรคก้าวไกล ที่เห็นว่ามีเหตุผล ที่จะไม่พิจารณายุบพรรคในกรณีนี้ส่วน ผลคำวินิจฉัยของศาลจะออกมาอย่างไร พรรคก้าวไกลก็ต้องเตรียมรับกับทุกสถานการณ์
นาย
ชัยธวัช ยังกล่าวถึงการจัดกิจกรรม Policy Fest ครั้งที่ 1 ก้าวไกลบิ๊กแบง ในวันที่ 19พ.ค.ว่า เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่ได้วางเป้าหมายของพรรค ในการเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก แม้จะเป็นฝ่ายค้านแต่งานสำคัญมากๆ คือการเตรียมพร้อมที่จะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศหลังจากนี้ ดังนั้นจะยกระดับการทำงานเชิงนโยบายเข้มข้นมากขึ้น เพื่อลงรายละเอียดให้พรรคมีความพร้อมบริหารประเทศในระดับปฏิบัติให้ได้เมื่อประชาชนไว้วางใจ
ส่วนการจัดงานของพรรคก้าวไกลเป็นเพราะต้องการตอบโต้หรือบลัฟกลับพรรคเพื่อไทย ที่มีการแถลง 10 เดือนที่ไม่รอทำต่อให้เต็ม10 หรือไม่นั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้นเพราะงานของพรรคก้าวไกลกำหนดไว้นานแล้ว เลื่อนไปล่าช้ากว่าเดิมที่ควรจะเป็น เพราะติดจังหวะเวลาเรื่องคดีในศาลรัฐธรรมนูญ เลื่อนมาหลายครั้งเดิมตั้งใจจะจัดใหญ่กว่านี้ใช้เวลา 2-3วัน เมื่อเลื่อนไปเลื่อนมา จึงย่อขนาดลง แต่ถือเป็นการคิกออฟการทำงานนโยบายอย่างจริงจังของพรรคหลังจากนี้
นาย
ชัยธวัช ยังประเมินการทำงานของรัฐบาลหลังผ่านการเลือกตั้ง มา 1 ปีแล้วว่า ในสายตาพรรคฝ่ายค้านและในสายตาของประชาชน ที่จับสัญญาณความรู้สึกโดยทั่วไปและสัญญาณจากสื่อมวลชน ต้องยอมรับว่าประชาชนคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยยะสำคัญในทางเศรษฐกิจ และการเมืองจากรัฐบาลชุดใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดใหม่ยังสอบไม่ผ่าน จึงเป็นโจทย์สำคัญว่าหลังจากนี้ความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้น รัฐบาลจะนำพาประเทศไปทางไหน ยุทธศาสตร์จะเป็นอย่างไร มีโรดแมปอย่างไร รัฐบาลต้องพยายามมากกว่านี้ และเมื่อจุดเริ่มต้นของรัฐบาลมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองด้วยก็ยิ่ง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ รัฐบาลต้องทำงานหนักขึ้น
โอฬาร เลคเชอร์ จากพฤษภา 35 ถึง รธน.60 วนลูปวงจรเดิม ชี้สมัคร ส.ว.ต้องควัก 2,500 สร้างข้อจำกัด กีดกันปชช. https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4582557
โอฬาร ลั่น 32 ปี พฤษภา 35 ยังกลับมาวงจรอุบาทว์ คาใจสมัคร ส.ว.ต้องจ่าย 2,500 ออกแบบซับซ้อน สร้างข้อจำกัด สกัดประชาชนมีส่วนร่วม
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 211 (ห้องศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการจัดงานเสวนารำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535 ในหัวข้อ ‘
การเลือก ส.ว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย’
ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ในวาระครบ 32 ปี พฤษภาคมประชาธรรม ตนคิดว่าดวงวิญญาณของวีรชนเหล่านั้น ถ้ามองเห็นคงภูมิใจไม่น้อย เพราะการต่อสู้ เมื่อ 32 ปีที่แล้ว สุดท้ายก็กลับมาอยู่ที่จุดเดิม คือการอยู่ในวงจรอุบาทว์
“
สถานการณ์ปัจจุบันก็เป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ คนรุ่นพฤษภาทมิฬพยายามที่คิดจะหาทางออกร่วมกันในวงจรนี้ คล้ายกับตอนนี้ตั้งรัฐบาล 8 เดือน เรายังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม ตรงความขัดแย้ง เราเห็นสัญญาณบางอย่างของการรัฐประหาร เราเริ่มเห็นศักยภาพที่ไม่แน่นอน และมีวงจรเดียวกัน คือ การร่างรัฐธรรมนูญ” รศ.ดร.โอฬารกล่าว
รศ.ดร.
โอฬาร กล่าวต่อไปว่า ย้อนกลับไปที่หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งคิดว่าหลายท่านคงอยู่ในเหตุการณ์นี้ และส่วนใหญ่ได้รับบทเรียนของพฤษภาทมิฬ
1. ความไร้เสถียรภาพทางการการเมืองของรัฐบาล โดยมีการปฏิวัติ รัฐประหาร และการยุบสภา
2. ปัญหาเรื่องการธรรมาภิบาลของรัฐบาล โดยมีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง
3. ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหานี้ ทำให้ทุกคนในสังคมในขณะนั้น นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางกิจกรรมเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสถียรภาพรัฐบาล เรื่องธรรมาภิบาลของรัฐบาล เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีคุณูปการเยอะ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
รศ.ดร.
โอฬาร กล่าวต่อว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญของคนชั้นกลาง แต่ทำให้เห็นกระบวนการการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ปี 2440 -2540 มีการก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งถูกชะงักตอนรัฐประหารปี 2557
“
ในปี 2540 การเลือกตั้ง ส.ว. ทุกคนอยากให้ ส.ว. มีความยึดโยงกับประชาชน ต้องการให้ ส.ว.เป็นสถาบันทางการเมืองแห่งหนึ่งที่จะช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ เพื่อแก้ปัญหาธรรมาภิบาลในการใช้อำนาจของรัฐบาลและการเลือกองค์กรอิสระ เพราะฉะนั้นองค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยให้กระบวนการทางการเมือง มีธรรมาภิบาลมากขึ้นในการตรวจสอบในหลายๆ ด้าน แต่ผลรูปธรรมที่เราเห็นในรัฐธรรมนูญปี 2540 คือเกิดการเลือกตั้ง ส.ว. ที่ใช้ฐาน ส.ส. ประจำจังหวัด ในการเลือกตั้งของตระกูลการเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สภาผัวเมีย นำไปสู่ปัญหาเรื่องการแต่งตั้งองค์กรอิสระที่ถูกตั้งคำถามว่าเพื่อตอบรัฐบาลในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เลยมีข้อจำกัดขึ้นมา” รศ.ดร.
โอฬารกล่าว
รศ.ดร.
โอฬาร กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2540 – ปัจจุบัน มี ส.ว.ที่แตกต่างกันก็จริง แต่สังคมไทยอาจตั้งคำถามไปด้วยว่า เรามี ส.ว. ไว้ทำไม บางครั้งเราพบว่าในแต่ละเรื่องบทบาทหน้าที่ของ ส.ว. ถูกใช้ในทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ทำให้อาจจะไม่ตรงไปตรงมา
สำหรับวิธีการได้มาของ ส.ว. ชุดนี้ ออกแบบในการไปสร้างข้อจำกัดและสร้างความซับซ้อนให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกยากต่อการเข้าถึง ซึ่งการออกแบบให้ซับซ้อน เป็นการกีดกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยปริยาย ส่วนหลักการในเรื่องโอกาสและความเสมอภาคนั้น การได้มาของ ส.ว. มีปัญหา ผู้สมัครที่มีสิทธิ์ในการเลือกต้องจ่ายมาก่อน 2,500 บาท
“
อาจจะไม่เยอะสำหรับคนมีเงินเดือน แต่สำหรับชาวบ้าน หรือชาวนา ที่อยากมีส่วนร่วม 2,500 บาท อาจจะเป็นเงินทั้งเดือนของเขาก็ได้ ผมคิดว่า เป็นการสร้างข้อจำกัดและโอกาสของประชาชนที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งอำนาจ
หลักการต่อมา เรื่องศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ การได้มาของ ส.ว. มีปัญหาต่อหลักการประชาธิปไตย ถึงแม้จะพยายามใช้ฐานสาขาอาชีพ ซึ่งถ้าใช้ฐานสาขาอาชีพ ต้องสร้างการเลือกตั้งตามฐานสัดส่วนที่แท้จริง ให้ทุกคนได้เลือก เพื่อสร้างตัวแทนที่ยึดโยงกับฐานสาขาอาชีพ
ในขณะที่ การสร้างข้อจำกัดในความเสมอภาคเช่นนี้ ทำให้เกิดโอกาสที่จะสร้าง ส.ว. จัดตั้งได้ง่าย และทำให้คนที่มีโอกาส มี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่มีเงิน 2. กลุ่มคนที่มีชื่อเสียง 3.กลุ่มคนที่มีโอกาส
JJNY : โรมลั่นสู้ยิบแน่│"ชัยธวัช"ยันหลังยื่นแจงศาลรธน.│โอฬารวนลูปวงจรเดิม│สนามบินมิวนิกในเยอรมนีต้องเลื่อนเที่ยวบิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4582539
‘โรม’ ยืนยัน 44 ส.ส. ก้าวไกล เสนอแก้ไขม.112 ทำไปตามหน้าที่ บอก หากพบใช้กม.กลั่นแกล้ง พร้อมสู้ถึงที่สุด ระบุยิ่งจับคนเห็นต่างเข้าคุก ทำปัญหาการเมืองยิ่งไม่ถูกแก้
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เรียก นายคารม พลพรกลาง สมาชิกพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะอดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. เป็นพยานสอบกรณีส.ส. พรรค ก.ก. เสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า ยืนยันว่า การทำหน้าที่ของพวกเรา เป็นการทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามในการยื่นแก้ไขกฎหมาย ก็เป็นการทำหน้าที่อย่างไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งตนคิดว่า คงมีขั้นตอนทางกฎหมายที่เราในฐานะส.ส. ต้องพิสูจน์ในข้อเท็จจริง สุดท้ายหากมีการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบทำตามกฎหมายในการกลั่นแกล้ง เราก็ไม่ยอม เราก็ต้องสู้จนถึงที่สุดเช่นเดียวกัน
ส่วนที่ นายคารม ระบุว่า ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวให้นิรโทษกรรมผู้ที่มีคดีตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งจะทำให้ส.ส. ที่ลงชื่อแก้ไขกฎหมาย ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ด้วย นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนคิดว่า การนิรโทษกรรมแล้ว อาจจะมีส.ส. บางส่วนได้ประโยชน์จากตรงนี้ เราต้องแยกกัน การนิรโทษกรรมคดีการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่เราเพิ่ง จะพูดเป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว ตนว่า เรื่องนี้เราไม่ควรเอามาเชื่อมโยงว่า เป็นเรื่องผลประโยชน์อะไร ถามว่ามีคนจำนวนมากหรือไม่ ที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหา 112 ตลอดระยะเวลาการรัฐประหารในปี 2549 เป็นต้นมา
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ประเด็นหลักเราต้องยอมรับว่า หากมีคนถูกดำเนินคดีมากขนาดนี้ ต้องถามต่อว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยเกิดความขัดแย้งหรือไม่ ดังนั้นการเสนอของพรรคก.ก. ก็เสนอว่าอย่าเพิ่งระบุข้อหาอะไรในการนิรโทษกรรมเลย เพราะเราทราบว่า การนิรโทษกรรม เป็นกระบวนการที่ใช้เวลา จำเป็นต้องมีการพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ เราอยากเริ่มด้วยการตั้งต้นว่า หากมีแรงจูงใจทางการเมือง ไม่ว่าคดีอะไรก็จะมีโอกาสที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรมได้หมด แต่ในทางปฏิบัติ เราต้องอาศัยการพูดคุย การนิรโทษกรรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ อย่างการกำหนดเงื่อนไขบางอย่าง ที่จะพอช่วยให้สังคมกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง
“ถามตรงๆ เอาคนที่เป็นนักกิจกรรมการเมือง เอาคนที่มีความเห็นต่างทางการเมืองไปขัง สังคมไทยได้อะไรขึ้นมา ตนคิดว่ามีแต่จะทำให้สังคมแก้ปัญหาทางการเมืองที่เรื้อรังไม่จบสักที” นายรังสิมันต์ กล่าว
"ชัยธวัช" ยันหลังยื่นคำชี้แจงศาลรธน.คดียุบพรรค ต้นมิ.ย. จะแถลงประเด็นข้อต่อสู้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8239053
“ชัยธวัช” ยันหลังยื่นคำชี้แจงศาลรธน.คดียุบพรรค ต้นมิ.ย. จะแถลงประเด็นข้อต่อสู้ให้ปชช.รับรู้ ลั่นพร้อมรับผลทุกสถานการณ์ ชี้จัดงานก้าวไกลบิ๊กแบง คิกออฟการทำงานฝ่ายค้านเชิงรุก-เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล มอง 1 ปีรัฐสอบไม่ผ่าน
เมื่อวันที่ 18 พ.ค. นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึง กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลายื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาคดียุบพรรค ฐานกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เป็นครั้งที่ 3 อีก 15 วัน ว่า ได้ตรวจดูคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและได้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว สำหรับยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตามกำหนดระยะเวลาก่อนหน้านี้ แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลา ตามที่ฝ่ายกฎหมายยื่นไป ก็จะได้มีเวลาทบทวนให้ดีที่สุด ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายไปอีก 15 วัน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ดังนั้นช่วงต้นเดือนมิถุนายนก็จะครบกำหนดในการต้องยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลังจากยื่นอย่างเป็นทางการไปแล้วพรรคก้าวไกลจะแถลงต่อสาธารณะอีกครั้ง เพื่ออธิบายประเด็นข้อต่อสู้ของพรรคก้าวไกลให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ หลังจากนั้นต้องรอดูว่าศาลจะอนุญาต ให้ไต่สวนหรือไม่อย่างไร จะเรียกพยานมาให้ข้อมูล เพิ่มเติมต่อศาลหรือไม่
ส่วนได้ประเมินผลลัพธ์ที่จะออกมาหรือไม่นั่น หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวยืนยันว่า แม้ก่อนหน้านี้จะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญให้เรายุติการกระทำ แต่ไม่ได้เท่ากับว่าจะพิจารณายุบพรรคได้เลยตามอัตโนมัติ เพราะเป็นคนละคดีกัน คนละกฎหมายกัน การพิจารณาให้ยุติการกระทำกับการพิจารณาให้ยุบพรรคมีรายละเอียด ในแง่ข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้ของพรรคก้าวไกล ที่เห็นว่ามีเหตุผล ที่จะไม่พิจารณายุบพรรคในกรณีนี้ส่วน ผลคำวินิจฉัยของศาลจะออกมาอย่างไร พรรคก้าวไกลก็ต้องเตรียมรับกับทุกสถานการณ์
นาย ชัยธวัช ยังกล่าวถึงการจัดกิจกรรม Policy Fest ครั้งที่ 1 ก้าวไกลบิ๊กแบง ในวันที่ 19พ.ค.ว่า เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่ได้วางเป้าหมายของพรรค ในการเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก แม้จะเป็นฝ่ายค้านแต่งานสำคัญมากๆ คือการเตรียมพร้อมที่จะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศหลังจากนี้ ดังนั้นจะยกระดับการทำงานเชิงนโยบายเข้มข้นมากขึ้น เพื่อลงรายละเอียดให้พรรคมีความพร้อมบริหารประเทศในระดับปฏิบัติให้ได้เมื่อประชาชนไว้วางใจ
ส่วนการจัดงานของพรรคก้าวไกลเป็นเพราะต้องการตอบโต้หรือบลัฟกลับพรรคเพื่อไทย ที่มีการแถลง 10 เดือนที่ไม่รอทำต่อให้เต็ม10 หรือไม่นั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้นเพราะงานของพรรคก้าวไกลกำหนดไว้นานแล้ว เลื่อนไปล่าช้ากว่าเดิมที่ควรจะเป็น เพราะติดจังหวะเวลาเรื่องคดีในศาลรัฐธรรมนูญ เลื่อนมาหลายครั้งเดิมตั้งใจจะจัดใหญ่กว่านี้ใช้เวลา 2-3วัน เมื่อเลื่อนไปเลื่อนมา จึงย่อขนาดลง แต่ถือเป็นการคิกออฟการทำงานนโยบายอย่างจริงจังของพรรคหลังจากนี้
นายชัยธวัช ยังประเมินการทำงานของรัฐบาลหลังผ่านการเลือกตั้ง มา 1 ปีแล้วว่า ในสายตาพรรคฝ่ายค้านและในสายตาของประชาชน ที่จับสัญญาณความรู้สึกโดยทั่วไปและสัญญาณจากสื่อมวลชน ต้องยอมรับว่าประชาชนคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยยะสำคัญในทางเศรษฐกิจ และการเมืองจากรัฐบาลชุดใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดใหม่ยังสอบไม่ผ่าน จึงเป็นโจทย์สำคัญว่าหลังจากนี้ความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้น รัฐบาลจะนำพาประเทศไปทางไหน ยุทธศาสตร์จะเป็นอย่างไร มีโรดแมปอย่างไร รัฐบาลต้องพยายามมากกว่านี้ และเมื่อจุดเริ่มต้นของรัฐบาลมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองด้วยก็ยิ่ง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ รัฐบาลต้องทำงานหนักขึ้น
โอฬาร เลคเชอร์ จากพฤษภา 35 ถึง รธน.60 วนลูปวงจรเดิม ชี้สมัคร ส.ว.ต้องควัก 2,500 สร้างข้อจำกัด กีดกันปชช. https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4582557
โอฬาร ลั่น 32 ปี พฤษภา 35 ยังกลับมาวงจรอุบาทว์ คาใจสมัคร ส.ว.ต้องจ่าย 2,500 ออกแบบซับซ้อน สร้างข้อจำกัด สกัดประชาชนมีส่วนร่วม
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 211 (ห้องศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการจัดงานเสวนารำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535 ในหัวข้อ ‘การเลือก ส.ว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย’
ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ในวาระครบ 32 ปี พฤษภาคมประชาธรรม ตนคิดว่าดวงวิญญาณของวีรชนเหล่านั้น ถ้ามองเห็นคงภูมิใจไม่น้อย เพราะการต่อสู้ เมื่อ 32 ปีที่แล้ว สุดท้ายก็กลับมาอยู่ที่จุดเดิม คือการอยู่ในวงจรอุบาทว์
“สถานการณ์ปัจจุบันก็เป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ คนรุ่นพฤษภาทมิฬพยายามที่คิดจะหาทางออกร่วมกันในวงจรนี้ คล้ายกับตอนนี้ตั้งรัฐบาล 8 เดือน เรายังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม ตรงความขัดแย้ง เราเห็นสัญญาณบางอย่างของการรัฐประหาร เราเริ่มเห็นศักยภาพที่ไม่แน่นอน และมีวงจรเดียวกัน คือ การร่างรัฐธรรมนูญ” รศ.ดร.โอฬารกล่าว
รศ.ดร.โอฬาร กล่าวต่อไปว่า ย้อนกลับไปที่หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งคิดว่าหลายท่านคงอยู่ในเหตุการณ์นี้ และส่วนใหญ่ได้รับบทเรียนของพฤษภาทมิฬ
1. ความไร้เสถียรภาพทางการการเมืองของรัฐบาล โดยมีการปฏิวัติ รัฐประหาร และการยุบสภา
2. ปัญหาเรื่องการธรรมาภิบาลของรัฐบาล โดยมีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง
3. ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหานี้ ทำให้ทุกคนในสังคมในขณะนั้น นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางกิจกรรมเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสถียรภาพรัฐบาล เรื่องธรรมาภิบาลของรัฐบาล เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีคุณูปการเยอะ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
รศ.ดร.โอฬาร กล่าวต่อว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญของคนชั้นกลาง แต่ทำให้เห็นกระบวนการการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ปี 2440 -2540 มีการก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งถูกชะงักตอนรัฐประหารปี 2557
“ในปี 2540 การเลือกตั้ง ส.ว. ทุกคนอยากให้ ส.ว. มีความยึดโยงกับประชาชน ต้องการให้ ส.ว.เป็นสถาบันทางการเมืองแห่งหนึ่งที่จะช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ เพื่อแก้ปัญหาธรรมาภิบาลในการใช้อำนาจของรัฐบาลและการเลือกองค์กรอิสระ เพราะฉะนั้นองค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยให้กระบวนการทางการเมือง มีธรรมาภิบาลมากขึ้นในการตรวจสอบในหลายๆ ด้าน แต่ผลรูปธรรมที่เราเห็นในรัฐธรรมนูญปี 2540 คือเกิดการเลือกตั้ง ส.ว. ที่ใช้ฐาน ส.ส. ประจำจังหวัด ในการเลือกตั้งของตระกูลการเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สภาผัวเมีย นำไปสู่ปัญหาเรื่องการแต่งตั้งองค์กรอิสระที่ถูกตั้งคำถามว่าเพื่อตอบรัฐบาลในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เลยมีข้อจำกัดขึ้นมา” รศ.ดร.โอฬารกล่าว
รศ.ดร.โอฬาร กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2540 – ปัจจุบัน มี ส.ว.ที่แตกต่างกันก็จริง แต่สังคมไทยอาจตั้งคำถามไปด้วยว่า เรามี ส.ว. ไว้ทำไม บางครั้งเราพบว่าในแต่ละเรื่องบทบาทหน้าที่ของ ส.ว. ถูกใช้ในทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ทำให้อาจจะไม่ตรงไปตรงมา
สำหรับวิธีการได้มาของ ส.ว. ชุดนี้ ออกแบบในการไปสร้างข้อจำกัดและสร้างความซับซ้อนให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกยากต่อการเข้าถึง ซึ่งการออกแบบให้ซับซ้อน เป็นการกีดกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยปริยาย ส่วนหลักการในเรื่องโอกาสและความเสมอภาคนั้น การได้มาของ ส.ว. มีปัญหา ผู้สมัครที่มีสิทธิ์ในการเลือกต้องจ่ายมาก่อน 2,500 บาท
“อาจจะไม่เยอะสำหรับคนมีเงินเดือน แต่สำหรับชาวบ้าน หรือชาวนา ที่อยากมีส่วนร่วม 2,500 บาท อาจจะเป็นเงินทั้งเดือนของเขาก็ได้ ผมคิดว่า เป็นการสร้างข้อจำกัดและโอกาสของประชาชนที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งอำนาจ
หลักการต่อมา เรื่องศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ การได้มาของ ส.ว. มีปัญหาต่อหลักการประชาธิปไตย ถึงแม้จะพยายามใช้ฐานสาขาอาชีพ ซึ่งถ้าใช้ฐานสาขาอาชีพ ต้องสร้างการเลือกตั้งตามฐานสัดส่วนที่แท้จริง ให้ทุกคนได้เลือก เพื่อสร้างตัวแทนที่ยึดโยงกับฐานสาขาอาชีพ
ในขณะที่ การสร้างข้อจำกัดในความเสมอภาคเช่นนี้ ทำให้เกิดโอกาสที่จะสร้าง ส.ว. จัดตั้งได้ง่าย และทำให้คนที่มีโอกาส มี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่มีเงิน 2. กลุ่มคนที่มีชื่อเสียง 3.กลุ่มคนที่มีโอกาส