สถานการณ์แบบเดียวกับที่เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีนมีผลต่อไทยและประเทศอาเซียน เขื่อน Grand Ethiopian Renaissance Dam (GERD) ในประเทศเอธิโอเปียก็ส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน 2 ประเทศคือประเทศอียิปต์และประเทศซูดาน
แม่น้ำไนล์ส่วนที่เรียกว่า บลูไนล์ (Blue Nile) มีต้นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปีย เส้นทางหลักไหลขึ้นเหนือมาสิ้นสุดที่ประเทศอียิปต์ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งน้ำจืดแหล่งเดียวที่อียิปต์ต้องพึ่งพา เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ GERD สร้างขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำไนล์ตอนต้น (Blue Nile) ในประเทศเอธิโอเปีย กำลังการผลิตสูงสุด 6,000 เมกะวัตต์ เริ่มต้นสร้างขึ้นเมื่อปี 2011 ในช่วงนั้นอียิปต์เองกำลังวุ่นวายกับสถานการณ์ Arab Spring ในประเทศตัวเองอยู่ การควบคุมระดับน้ำในเขื่อน บวกกับสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาได้ยากขึ้น ทำให้อียิปต์กังวลต่อสถานการณ์น้ำในประเทศตัวเองอย่างมาก
มีการเจรจาหาข้อตกลงเกี่ยวกับการปิด-เปิด หรือการควบคุมระดับน้ำของเขื่อนมาหลายครั้งระหว่างอียิปต์กับเอธิโอเปีย แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่เคยได้ข้อสรุปที่น่าพอใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ในช่วงหลังอียิปต์พยายามใช้หลักเกณฑ์หรือเข้าหาทางนานาชาติเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ ขณะที่เอธิโอเปียหาเสียงสนับสนุนจากทางสหภาพแอฟริกาด้วยกัน (African Union)
กำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนนี้มากพอสำหรับใช้ในประเทศและส่งออกไปยังอียิปต์และซูดานได้ แต่ระบบโครงสร้าง สายส่งในประเทศยังไม่ครอบคลุมมากพอที่จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพได้
ปัจจุบันอียิปต์มีฐานทัพอยู่ในโซมาเลีย ส่วนเอธิโอเปียนั้นมีข้อตกลงความเข้าใจกับกลุ่ม Somaliland ในการขอใช้พื้นที่ทางทะเลในอ่าวเอเดน
สรุปเนื้อหามาจากบทความนี้ :
https://climate-diplomacy.org/magazine/conflict/politics-grand-ethiopian-renaissance-dam
เขื่อน GERD กับผลกระทบต่ออียิปต์และซูดาน
แม่น้ำไนล์ส่วนที่เรียกว่า บลูไนล์ (Blue Nile) มีต้นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปีย เส้นทางหลักไหลขึ้นเหนือมาสิ้นสุดที่ประเทศอียิปต์ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งน้ำจืดแหล่งเดียวที่อียิปต์ต้องพึ่งพา เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ GERD สร้างขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำไนล์ตอนต้น (Blue Nile) ในประเทศเอธิโอเปีย กำลังการผลิตสูงสุด 6,000 เมกะวัตต์ เริ่มต้นสร้างขึ้นเมื่อปี 2011 ในช่วงนั้นอียิปต์เองกำลังวุ่นวายกับสถานการณ์ Arab Spring ในประเทศตัวเองอยู่ การควบคุมระดับน้ำในเขื่อน บวกกับสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาได้ยากขึ้น ทำให้อียิปต์กังวลต่อสถานการณ์น้ำในประเทศตัวเองอย่างมาก
มีการเจรจาหาข้อตกลงเกี่ยวกับการปิด-เปิด หรือการควบคุมระดับน้ำของเขื่อนมาหลายครั้งระหว่างอียิปต์กับเอธิโอเปีย แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่เคยได้ข้อสรุปที่น่าพอใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ในช่วงหลังอียิปต์พยายามใช้หลักเกณฑ์หรือเข้าหาทางนานาชาติเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ ขณะที่เอธิโอเปียหาเสียงสนับสนุนจากทางสหภาพแอฟริกาด้วยกัน (African Union)
กำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนนี้มากพอสำหรับใช้ในประเทศและส่งออกไปยังอียิปต์และซูดานได้ แต่ระบบโครงสร้าง สายส่งในประเทศยังไม่ครอบคลุมมากพอที่จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพได้
ปัจจุบันอียิปต์มีฐานทัพอยู่ในโซมาเลีย ส่วนเอธิโอเปียนั้นมีข้อตกลงความเข้าใจกับกลุ่ม Somaliland ในการขอใช้พื้นที่ทางทะเลในอ่าวเอเดน
สรุปเนื้อหามาจากบทความนี้ : https://climate-diplomacy.org/magazine/conflict/politics-grand-ethiopian-renaissance-dam