ช่วงนี้น้อง ๆ ใกล้จะเรียนจบและเข้าสู่โลกของการทำงาน และเริ่มมองหางานแรกกัน หลายคนก็อาจมีคำถามขึ้นมาในหัวว่าเราจะเลือกงานจากอะไรบ้าง ค่าตอบแทนอย่างเดียวพอไหม อ่านแค่ Job Description ผ่าน ๆ แล้วกดสมัครงานเลยได้รึเปล่า หรือต้องหาข้อมูลอะไรเพิ่มเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจอีก สำหรับที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการหางานหรือมีประสบการณ์ในการทำงานไม่มาก วันนี้ JobThai Tips มีลิสต์ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเลือกงานมาฝาก
1. ชื่อตำแหน่งและความรับผิดชอบ
ตอนหางานหลายคนก็จะเสิร์ชหางานที่เปิดรับจากชื่อตำแหน่งอยู่แล้ว แต่พอดูรายละเอียดงานไปหลาย ๆ ตำแหน่งก็อาจเกิดอาการขี้เกียจอ่าน Job Description เพราะคิดว่าตำแหน่งเดียวกัน ความรับผิดชอบก็คงคล้าย ๆ กัน แต่ JobThai อยากบอกว่า Job Description เป็นสิ่งที่คนทำงานควรอ่านให้ละเอียดทุกครั้ง (ห้ามอ่านผ่าน ๆ นะ!) เพราะถึงจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน แต่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ดังนั้นอย่าลืมตรวจเช็กให้แน่ใจว่าตำแหน่งที่เราสนใจต้องรับผิดชอบหน้าที่อะไรบ้าง และเป็นหน้าที่ที่สัมพันธ์กันกับชื่อตำแหน่งใช่ไหม เพราะบางตำแหน่งก็อาจต้องทำหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ตำแหน่งกราฟิกดีไซเนอร์ แต่ภาระงานนอกจากการออกแบบภาพกราฟิกแล้วยังรวมไปถึงการตอบข้อความในช่องทางโซเชียลมีเดียด้วย
2. สถานที่ทำงาน
ที่ตั้งของบริษัทเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งบริษัทอยู่ไกล เวลาในการเดินทางก็ยิ่งมากขึ้น ค่าเดินทางก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย ดังนั้นก่อนเลือกงาน อย่าลืมดูว่าระยะทางไปบริษัทไกลจากที่พักของเราแค่ไหน วิธีการเดินเป็นยังไง ต้องต่อรถกี่ต่อ ใช้เวลาเดินทางนานไหม และค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมแล้วเท่าไหร่ นอกจากนี้อย่าลืมเช็กดูว่างานที่เราสนใจต้องเข้าออฟฟิศกี่วัน ทำงานในรูปแบบ Hybrid Working รึเปล่า เพราะถ้าไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน เราก็สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มากขึ้น ส่วนใครสนใจงานแบบ Work from Home ดูได้
ที่นี่
3. วันและเวลาทำงาน
นอกจากสถานที่แล้ว อย่าลืมดู Working Hours หรือจำนวนวันและเวลาที่ต้องทำงานด้วย เพราะแต่ละตำแหน่ง แต่ละบริษัทก็มีระยะเวลาทำงานที่ไม่เหมือนกัน บางงานอาจเริ่มงานตอน 8 โมงและเลิกงานตอน 5 โมง บางงานก็อาจเริ่มตอน 10 โมงและเลิกตอน 1 ทุ่ม ส่วนเรื่องวันบางคนอาจตั้งธงเอาไว้ในใจแล้วว่าจะเลือกงานที่ได้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น แต่บางคนก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าต้องทำงาน 6 วัน ทำงานเสาร์เว้นเสาร์ หรือทำงาน 5 วัน แต่ได้หยุดในวันอื่นที่ไม่ใช่วันเสาร์-อาทิตย์แทน เพราะฉะนั้นก็อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดส่วนนี้ให้ดี จะได้เลือกงานที่ตอบโจทย์ตัวเองได้
4. เงินเดือน
เราควรพิจารณาดูว่าค่าตอบแทนที่ได้สัมพันธ์กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไหม และจำนวนเงินที่เราได้ถือว่าอยู่ใน Range เงินเดือนเฉลี่ยที่คนในสายงานเดียวกันได้รับรึเปล่า ที่สำคัญที่สุดคือเงินเดือนของเราต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าที่พักอาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าจิปาถะอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือบางคนก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระที่บ้านด้วย ดังนั้นก่อนเลือกงาน ลองคำนวณดูก่อนว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเราประมาณเท่าไหร่ และเงินเดือนที่เราได้รับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้ไหม มีพอเหลือเก็บรึเปล่า
5. สวัสดิการ
คนทำงานหลายคนอาจเทความสนใจไปที่เงินเดือนแล้วมองข้ามสวัสดิการไป แต่ JobThai อยากบอกว่าเดี๋ยวนี้หลาย ๆ บริษัทได้เพิ่มสวัสดิการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเพื่อแข่งขันกันดึงดูดผู้สมัคร บางงานที่เงินเดือนดูน่าสนใจน้อยกว่า แต่พอลองพิจารณาสวัสดิการควบคู่กันด้วยแล้วก็อาจกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจขึ้นมา เพราะสวัสดิการสามารถทดแทนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ เช่น บางบริษัทมีสวัสดิการอาหารกลางวันให้กับพนักงาน ทำให้ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง หรือบางบริษัทก็มีประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุให้ ก็ช่วยเสริมความมั่นคงและความมั่นใจให้เราได้ว่าถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมา เราก็มีประกันของบริษัทที่ช่วยซัปพอร์ตอยู่
6. ประวัติบริษัทและชื่อเสียงองค์กร
ก่อนจะสมัครงานที่ไหน เราควรหาข้อมูลดูด้วยว่าบริษัทนั้นเป็นยังไง เปิดมานานแค่ไหน เทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในธุรกิจเดียวกันแล้ว บริษัทที่เราสนใจมีแนวโน้มเติบโตดีรึเปล่า สถานะทางการเงินเป็นยังไง เคยปลดพนักงานมาก่อนไหม เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าบริษัทนั้นมีความมั่นคงดี ไม่ได้เสี่ยงล้มละลาย ถ้าศึกษาดูแล้วไม่เจอประวัติที่น่าเป็นห่วงอะไรก็อาจลองพิจารณาถึงเรื่องชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กรต่อ เพราะบางคนก็มองหา Connectionในการทำงานหรือต้องการงานที่ช่วยต่อยอดในอนาคตได้ ซึ่งการที่เราได้ทำงานในองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียง มีภาพลักษณ์และประวัติดีมายาวนาน ก็ช่วยทำให้เรซูเม่ของเราน่าสนใจมากขึ้น กลายเป็นแคนดิเดตที่ดึงดูดเมื่อสมัครงานที่ต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การได้ทำงานในบริษัทใหญ่ก็อาจช่วยเปิดโอกาสให้เราได้รู้จักกับคนใหม่ ๆ และมี Connection ที่กว้างขวางขึ้นด้วย หรือบางบริษัทอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือมีชื่อที่คุ้นหู แต่พอได้ลองหาข้อมูลดูแล้วเราอาจจะพบว่าเขาเป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจของเขา หรืออาจจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดี
สำหรับวิธีการหาข้อมูลองค์กรก็ไม่ยากเลย ถ้าบริษัทให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์องค์กรหรือ Employer Branding ก็มักจะทำเว็บไซต์บริษัทเพื่อนำเสนอตัวเองว่าทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีผลิตภัณฑ์หรือให้บริการแบบไหน ให้เราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ รวมถึงมีการเปิดโซเชียลมีเดียเพื่อลงคอนเทนต์อัปเดตข่าวสารอยู่สม่ำเสมอว่ามีการจัดกิจกรรมอะไรภายในองค์กรบ้าง บรรยากาศในการทำงานเป็นยังไง พนักงานที่นี่มีความสุขกับการทำงานไหม แคนดิเดตและคนภายนอกจะได้เห็นภาพไลฟ์สไตล์ในการทำงานของบริษัท นึกออกว่าถ้าได้เข้าไปทำงานที่นี่จะได้เจอกับอะไรบ้าง หรือถ้าเป็นบริษัทที่ลงประกาศงานกับทาง JobThai เอง เราก็มีหน้า Company Profile ที่ให้องค์กรได้เล่าประวัติความเป็นมา บอกสินค้าหรือบริการขององค์กร ฝากช่องทางติดต่อต่าง ๆ และนำเสนอความเป็นตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นถ้าสนใจบริษัทไหนอยู่ก็อย่าลืมเช็กรายละเอียดของบริษัทนั้น ๆ ดูก่อนนะ
7. วัฒนธรรมองค์กร
แม้ตำแหน่งและหน้าที่จะถูกใจ แต่ถ้าเข้าไปทำงานแล้วดันไม่ถูกกับวัฒนธรรมองค์กร ก็อาจทำให้เรารู้สึกเข้ากับบริษัทไม่ได้ สุดท้ายก็จบด้วยการลาออก ดังนั้นเราควรทำการบ้านก่อนว่าเป้าหมายขององค์กรที่เราจะสมัครเข้าไปคืออะไร บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องไหน และวัฒนธรรมองค์กรตรงกับความเป็นตัวเรารึเปล่า ถ้าไม่ตรงกันก็อาจทำให้เราไม่มีความสุขกับการทำงานได้ เช่น ถ้าเราเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ชอบทำงานแบบสามารถโต้แย้งและออกความคิดเห็นได้โดยไม่ยึดเอาแต่ความเห็นของคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเท่านั้น แต่องค์กรที่เราสนใจมีวัฒนธรรมแบบ Hierarchy Culture ที่เน้นระบบอาวุโส ก็มีโอกาสสูงที่เราจะเข้าไปแล้วไม่แฮปปี้
8. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการทำงาน
การทำงานจะออกมาดีและราบรื่นได้ก็ต่อเมื่อมีอุปกรณ์รองรับ ดังนั้นเวลาสมัครงานที่ไหน เราควรเช็กดูด้วยว่าองค์กรมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำงานให้ เราไม่ต้องเตรียมเอง เช่น เมาส์ปากกาสำหรับสายงานออกแบบ คอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูง ๆ รองรับการทำงานสำหรับสายงานตัดต่อ โทรศัพท์สำหรับพนักงานขายหรือสายงานบริการลูกค้า และถ้าเราเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการแยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน อย่าลืมเช็กดูด้วยว่าบริษัทที่เราสนใจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสื่อสารสำหรับการทำงานโดยเฉพาะ เช่น Microsoft Teams, Slack หรือ Discord ไม่ใช้ LINE ในการคุยงาน จะได้ไม่รู้สึกขุ่นเคืองใจในอนาคต โดยถ้าลองหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตดูแล้วไม่เจอคำตอบ ก็อาจเก็บคำถามนี้เอาไว้ถามในช่วงสัมภาษณ์งานดูก็ได้
9. ความยืดหยุ่นในการทำงานและ Work-life Balance
เมื่อเรามีข้อมูลเกี่ยวกับ Working Hours ระยะเวลาที่ใช้เดินทางไป-กลับออฟฟิศในแต่ละวัน รูปแบบและแนวทางในการทำงาน รวมถึงจำนวนวันลาต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว เราก็ลองเอาข้อมูลทั้งหมดนี้มาพิจารณาดูว่าบริษัทมี Work-life Balance อย่างที่เราต้องการไหม ถ้าเราต้องทำงานในองค์กรนี้ เรามีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวและพักผ่อนเพียงพอรึเปล่า สามารถลาหยุดติดกันหลาย ๆ วันได้ไหม องค์กรมีวัฒนธรรมที่พนักงานต้อง Stand by ตอบข้อความเรื่องงานนอกเวลางานรึเปล่า เพราะแต่ละคนมีจุดที่โอเคและไม่โอเคแตกต่างกัน ดังนั้นอย่าลืมพิจารณาในจุดนี้ด้วย
10. โอกาสเติบโตและความก้าวหน้าในอาชีพ
เมื่อพูดถึงความก้าวหน้า หลายคนอาจคิดถึงแต่การเลื่อนตำแหน่ง ได้ปรับจาก Junior เป็น Senior หรือระดับอื่น ๆ ที่สูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วความก้าวหน้าในการทำงานไม่ใช่แค่การเลื่อนตำแหน่งเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเติบโตในแง่ของทักษะด้วย เช่น ถ้าบริษัทมีพื้นที่ให้เราได้ลองอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ ก็จะช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และมีประสบการณ์มากขึ้น นอกจากนี้บางบริษัทยังมีสวัสดิการสนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงาน มีการส่งไปลงเรียนคอร์สเรียนเสริมทักษะต่าง ๆ หรือมีการจัด Workshop เพื่อเทรนให้กับพนักงานในองค์กรด้วย เมื่อเรามีความสามารถมากขึ้น เราก็นำไปต่อยอดในการสมัครงานที่อื่นในตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเรียกค่าตอบแทนได้มากขึ้น
11. บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
ออฟฟิศเป็นที่ที่เราต้องเข้าไปใช้เวลานั่งทำงานวันละหลายชั่วโมง ดังนั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นอีกปัจจัยที่เราไม่ควรมองข้าม ถ้าเราได้ทำงานในออฟฟิศที่มีการตกแต่งสวยงาม สีสันสบายตา พื้นที่กว้างขวางเพียงพอ โต๊ะทำงานไม่อัดกันเบียดเสียด มีแสงสว่างพอเหมาะ และมีมุมให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานบ้าง มู้ดในการทำงานก็จะดีขึ้น ช่วยให้เรามีความสุขกับการทำงานขึ้นแน่นอน
12. หัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
แม้เราจะแฮปปี้กับงานหรือองค์กรแค่ไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘คน’ เป็นปัจจัยที่แทบจะส่งผลกับการทำงานมากที่สุด หลายคนยอมลาออกจากงานที่ได้เงินเดือนสูงหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงเพราะเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกงานไหน อย่าลืมพิจารณาดูว่าสังคมในที่ทำงานนั้นเป็นยังไง สไตล์การทำงานหรือวิธีการสื่อสารภายในทีมเป็นยังไงบ้าง บางองค์กรมีการทำ Blog หรือคอนเทนต์สัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงาน โดยให้พนักงานแชร์วิธีที่ทีมใช้จัดการปัญหาต่าง ๆ เล่าว่าเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าทีมเป็นยังไง คอยช่วยเหลือซัปพอร์ตในการทำงานไหม เราก็อาจลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มตรงนี้ดู หรืออาจลองดูในโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ของบริษัทประกอบด้วยก็ได้ ว่าถ้าเราได้เข้าไปทำงานในองค์กร เราจะได้ทำงานร่วมกับใครบ้าง แต่ละคนมี Background ยังไง ถ้าได้ทำงานด้วยกัน เราสามารถเรียนรู้อะไรจากเขาได้ไหม หรือถ้าได้ไปถึงขั้นตอนสัมภาษณ์งานกับคนที่จะมาเป็นหัวหน้างานของเรา เราก็อาจจะลองสังเกตบุคลิกและลักษณะนิสัยของคนที่สัมภาษณ์เราดูก็ได้ว่าเป็นยังไงบ้าง
ในการเลือกงานบางคนต้องการเลือกงานที่ได้เงินเดือนสูง บางคนเน้นงานที่ออฟฟิศอยู่ใกล้บ้าน บางคนตั้งเป้าว่าจะเลือกทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น การเทน้ำหนักไปที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมากไปไม่ใช่เรื่องผิด แต่ JobThai แนะนำว่าเราควรมององค์ประกอบอื่น ๆ ให้รอบด้านด้วย เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ซึ่งลิสต์ทั้ง 12 ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหางานที่ดีครบทั้ง 12 ข้อ แต่อยากให้ลองเรียงลำดับว่าปัจจัยไหนที่เราให้น้ำหนักมากที่สุด งานที่เราจะเลือกต้องมีสิ่งนี้ และปัจจัยไหนที่เราเฉย ๆ มีก็ดี แต่ขาดไปก็ไม่เป็นไร เสร็จแล้วเราก็จะพอเห็นภาพว่าเรากำลังมองหางานแบบไหนอยู่ จะได้ตัดสินใจเลือกงานที่เหมาะและตอบโจทย์ชีวิตตัวเองได้
12 ลิสต์ที่ควรดูก่อนสมัครงานกับบริษัท
1. ชื่อตำแหน่งและความรับผิดชอบ
ตอนหางานหลายคนก็จะเสิร์ชหางานที่เปิดรับจากชื่อตำแหน่งอยู่แล้ว แต่พอดูรายละเอียดงานไปหลาย ๆ ตำแหน่งก็อาจเกิดอาการขี้เกียจอ่าน Job Description เพราะคิดว่าตำแหน่งเดียวกัน ความรับผิดชอบก็คงคล้าย ๆ กัน แต่ JobThai อยากบอกว่า Job Description เป็นสิ่งที่คนทำงานควรอ่านให้ละเอียดทุกครั้ง (ห้ามอ่านผ่าน ๆ นะ!) เพราะถึงจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน แต่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ดังนั้นอย่าลืมตรวจเช็กให้แน่ใจว่าตำแหน่งที่เราสนใจต้องรับผิดชอบหน้าที่อะไรบ้าง และเป็นหน้าที่ที่สัมพันธ์กันกับชื่อตำแหน่งใช่ไหม เพราะบางตำแหน่งก็อาจต้องทำหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ตำแหน่งกราฟิกดีไซเนอร์ แต่ภาระงานนอกจากการออกแบบภาพกราฟิกแล้วยังรวมไปถึงการตอบข้อความในช่องทางโซเชียลมีเดียด้วย
2. สถานที่ทำงาน
ที่ตั้งของบริษัทเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งบริษัทอยู่ไกล เวลาในการเดินทางก็ยิ่งมากขึ้น ค่าเดินทางก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย ดังนั้นก่อนเลือกงาน อย่าลืมดูว่าระยะทางไปบริษัทไกลจากที่พักของเราแค่ไหน วิธีการเดินเป็นยังไง ต้องต่อรถกี่ต่อ ใช้เวลาเดินทางนานไหม และค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมแล้วเท่าไหร่ นอกจากนี้อย่าลืมเช็กดูว่างานที่เราสนใจต้องเข้าออฟฟิศกี่วัน ทำงานในรูปแบบ Hybrid Working รึเปล่า เพราะถ้าไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน เราก็สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มากขึ้น ส่วนใครสนใจงานแบบ Work from Home ดูได้ที่นี่
3. วันและเวลาทำงาน
นอกจากสถานที่แล้ว อย่าลืมดู Working Hours หรือจำนวนวันและเวลาที่ต้องทำงานด้วย เพราะแต่ละตำแหน่ง แต่ละบริษัทก็มีระยะเวลาทำงานที่ไม่เหมือนกัน บางงานอาจเริ่มงานตอน 8 โมงและเลิกงานตอน 5 โมง บางงานก็อาจเริ่มตอน 10 โมงและเลิกตอน 1 ทุ่ม ส่วนเรื่องวันบางคนอาจตั้งธงเอาไว้ในใจแล้วว่าจะเลือกงานที่ได้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น แต่บางคนก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าต้องทำงาน 6 วัน ทำงานเสาร์เว้นเสาร์ หรือทำงาน 5 วัน แต่ได้หยุดในวันอื่นที่ไม่ใช่วันเสาร์-อาทิตย์แทน เพราะฉะนั้นก็อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดส่วนนี้ให้ดี จะได้เลือกงานที่ตอบโจทย์ตัวเองได้
4. เงินเดือน
เราควรพิจารณาดูว่าค่าตอบแทนที่ได้สัมพันธ์กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไหม และจำนวนเงินที่เราได้ถือว่าอยู่ใน Range เงินเดือนเฉลี่ยที่คนในสายงานเดียวกันได้รับรึเปล่า ที่สำคัญที่สุดคือเงินเดือนของเราต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าที่พักอาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าจิปาถะอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือบางคนก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระที่บ้านด้วย ดังนั้นก่อนเลือกงาน ลองคำนวณดูก่อนว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเราประมาณเท่าไหร่ และเงินเดือนที่เราได้รับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้ไหม มีพอเหลือเก็บรึเปล่า
5. สวัสดิการ
คนทำงานหลายคนอาจเทความสนใจไปที่เงินเดือนแล้วมองข้ามสวัสดิการไป แต่ JobThai อยากบอกว่าเดี๋ยวนี้หลาย ๆ บริษัทได้เพิ่มสวัสดิการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเพื่อแข่งขันกันดึงดูดผู้สมัคร บางงานที่เงินเดือนดูน่าสนใจน้อยกว่า แต่พอลองพิจารณาสวัสดิการควบคู่กันด้วยแล้วก็อาจกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจขึ้นมา เพราะสวัสดิการสามารถทดแทนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ เช่น บางบริษัทมีสวัสดิการอาหารกลางวันให้กับพนักงาน ทำให้ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง หรือบางบริษัทก็มีประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุให้ ก็ช่วยเสริมความมั่นคงและความมั่นใจให้เราได้ว่าถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมา เราก็มีประกันของบริษัทที่ช่วยซัปพอร์ตอยู่
6. ประวัติบริษัทและชื่อเสียงองค์กร
ก่อนจะสมัครงานที่ไหน เราควรหาข้อมูลดูด้วยว่าบริษัทนั้นเป็นยังไง เปิดมานานแค่ไหน เทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในธุรกิจเดียวกันแล้ว บริษัทที่เราสนใจมีแนวโน้มเติบโตดีรึเปล่า สถานะทางการเงินเป็นยังไง เคยปลดพนักงานมาก่อนไหม เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าบริษัทนั้นมีความมั่นคงดี ไม่ได้เสี่ยงล้มละลาย ถ้าศึกษาดูแล้วไม่เจอประวัติที่น่าเป็นห่วงอะไรก็อาจลองพิจารณาถึงเรื่องชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กรต่อ เพราะบางคนก็มองหา Connectionในการทำงานหรือต้องการงานที่ช่วยต่อยอดในอนาคตได้ ซึ่งการที่เราได้ทำงานในองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียง มีภาพลักษณ์และประวัติดีมายาวนาน ก็ช่วยทำให้เรซูเม่ของเราน่าสนใจมากขึ้น กลายเป็นแคนดิเดตที่ดึงดูดเมื่อสมัครงานที่ต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การได้ทำงานในบริษัทใหญ่ก็อาจช่วยเปิดโอกาสให้เราได้รู้จักกับคนใหม่ ๆ และมี Connection ที่กว้างขวางขึ้นด้วย หรือบางบริษัทอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือมีชื่อที่คุ้นหู แต่พอได้ลองหาข้อมูลดูแล้วเราอาจจะพบว่าเขาเป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจของเขา หรืออาจจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดี
สำหรับวิธีการหาข้อมูลองค์กรก็ไม่ยากเลย ถ้าบริษัทให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์องค์กรหรือ Employer Branding ก็มักจะทำเว็บไซต์บริษัทเพื่อนำเสนอตัวเองว่าทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีผลิตภัณฑ์หรือให้บริการแบบไหน ให้เราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ รวมถึงมีการเปิดโซเชียลมีเดียเพื่อลงคอนเทนต์อัปเดตข่าวสารอยู่สม่ำเสมอว่ามีการจัดกิจกรรมอะไรภายในองค์กรบ้าง บรรยากาศในการทำงานเป็นยังไง พนักงานที่นี่มีความสุขกับการทำงานไหม แคนดิเดตและคนภายนอกจะได้เห็นภาพไลฟ์สไตล์ในการทำงานของบริษัท นึกออกว่าถ้าได้เข้าไปทำงานที่นี่จะได้เจอกับอะไรบ้าง หรือถ้าเป็นบริษัทที่ลงประกาศงานกับทาง JobThai เอง เราก็มีหน้า Company Profile ที่ให้องค์กรได้เล่าประวัติความเป็นมา บอกสินค้าหรือบริการขององค์กร ฝากช่องทางติดต่อต่าง ๆ และนำเสนอความเป็นตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นถ้าสนใจบริษัทไหนอยู่ก็อย่าลืมเช็กรายละเอียดของบริษัทนั้น ๆ ดูก่อนนะ
7. วัฒนธรรมองค์กร
แม้ตำแหน่งและหน้าที่จะถูกใจ แต่ถ้าเข้าไปทำงานแล้วดันไม่ถูกกับวัฒนธรรมองค์กร ก็อาจทำให้เรารู้สึกเข้ากับบริษัทไม่ได้ สุดท้ายก็จบด้วยการลาออก ดังนั้นเราควรทำการบ้านก่อนว่าเป้าหมายขององค์กรที่เราจะสมัครเข้าไปคืออะไร บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องไหน และวัฒนธรรมองค์กรตรงกับความเป็นตัวเรารึเปล่า ถ้าไม่ตรงกันก็อาจทำให้เราไม่มีความสุขกับการทำงานได้ เช่น ถ้าเราเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ชอบทำงานแบบสามารถโต้แย้งและออกความคิดเห็นได้โดยไม่ยึดเอาแต่ความเห็นของคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเท่านั้น แต่องค์กรที่เราสนใจมีวัฒนธรรมแบบ Hierarchy Culture ที่เน้นระบบอาวุโส ก็มีโอกาสสูงที่เราจะเข้าไปแล้วไม่แฮปปี้
8. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการทำงาน
การทำงานจะออกมาดีและราบรื่นได้ก็ต่อเมื่อมีอุปกรณ์รองรับ ดังนั้นเวลาสมัครงานที่ไหน เราควรเช็กดูด้วยว่าองค์กรมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำงานให้ เราไม่ต้องเตรียมเอง เช่น เมาส์ปากกาสำหรับสายงานออกแบบ คอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูง ๆ รองรับการทำงานสำหรับสายงานตัดต่อ โทรศัพท์สำหรับพนักงานขายหรือสายงานบริการลูกค้า และถ้าเราเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการแยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน อย่าลืมเช็กดูด้วยว่าบริษัทที่เราสนใจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสื่อสารสำหรับการทำงานโดยเฉพาะ เช่น Microsoft Teams, Slack หรือ Discord ไม่ใช้ LINE ในการคุยงาน จะได้ไม่รู้สึกขุ่นเคืองใจในอนาคต โดยถ้าลองหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตดูแล้วไม่เจอคำตอบ ก็อาจเก็บคำถามนี้เอาไว้ถามในช่วงสัมภาษณ์งานดูก็ได้
9. ความยืดหยุ่นในการทำงานและ Work-life Balance
เมื่อเรามีข้อมูลเกี่ยวกับ Working Hours ระยะเวลาที่ใช้เดินทางไป-กลับออฟฟิศในแต่ละวัน รูปแบบและแนวทางในการทำงาน รวมถึงจำนวนวันลาต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว เราก็ลองเอาข้อมูลทั้งหมดนี้มาพิจารณาดูว่าบริษัทมี Work-life Balance อย่างที่เราต้องการไหม ถ้าเราต้องทำงานในองค์กรนี้ เรามีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวและพักผ่อนเพียงพอรึเปล่า สามารถลาหยุดติดกันหลาย ๆ วันได้ไหม องค์กรมีวัฒนธรรมที่พนักงานต้อง Stand by ตอบข้อความเรื่องงานนอกเวลางานรึเปล่า เพราะแต่ละคนมีจุดที่โอเคและไม่โอเคแตกต่างกัน ดังนั้นอย่าลืมพิจารณาในจุดนี้ด้วย
10. โอกาสเติบโตและความก้าวหน้าในอาชีพ
เมื่อพูดถึงความก้าวหน้า หลายคนอาจคิดถึงแต่การเลื่อนตำแหน่ง ได้ปรับจาก Junior เป็น Senior หรือระดับอื่น ๆ ที่สูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วความก้าวหน้าในการทำงานไม่ใช่แค่การเลื่อนตำแหน่งเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเติบโตในแง่ของทักษะด้วย เช่น ถ้าบริษัทมีพื้นที่ให้เราได้ลองอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ ก็จะช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และมีประสบการณ์มากขึ้น นอกจากนี้บางบริษัทยังมีสวัสดิการสนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงาน มีการส่งไปลงเรียนคอร์สเรียนเสริมทักษะต่าง ๆ หรือมีการจัด Workshop เพื่อเทรนให้กับพนักงานในองค์กรด้วย เมื่อเรามีความสามารถมากขึ้น เราก็นำไปต่อยอดในการสมัครงานที่อื่นในตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเรียกค่าตอบแทนได้มากขึ้น
11. บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
ออฟฟิศเป็นที่ที่เราต้องเข้าไปใช้เวลานั่งทำงานวันละหลายชั่วโมง ดังนั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นอีกปัจจัยที่เราไม่ควรมองข้าม ถ้าเราได้ทำงานในออฟฟิศที่มีการตกแต่งสวยงาม สีสันสบายตา พื้นที่กว้างขวางเพียงพอ โต๊ะทำงานไม่อัดกันเบียดเสียด มีแสงสว่างพอเหมาะ และมีมุมให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานบ้าง มู้ดในการทำงานก็จะดีขึ้น ช่วยให้เรามีความสุขกับการทำงานขึ้นแน่นอน
12. หัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
แม้เราจะแฮปปี้กับงานหรือองค์กรแค่ไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘คน’ เป็นปัจจัยที่แทบจะส่งผลกับการทำงานมากที่สุด หลายคนยอมลาออกจากงานที่ได้เงินเดือนสูงหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงเพราะเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกงานไหน อย่าลืมพิจารณาดูว่าสังคมในที่ทำงานนั้นเป็นยังไง สไตล์การทำงานหรือวิธีการสื่อสารภายในทีมเป็นยังไงบ้าง บางองค์กรมีการทำ Blog หรือคอนเทนต์สัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงาน โดยให้พนักงานแชร์วิธีที่ทีมใช้จัดการปัญหาต่าง ๆ เล่าว่าเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าทีมเป็นยังไง คอยช่วยเหลือซัปพอร์ตในการทำงานไหม เราก็อาจลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มตรงนี้ดู หรืออาจลองดูในโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ของบริษัทประกอบด้วยก็ได้ ว่าถ้าเราได้เข้าไปทำงานในองค์กร เราจะได้ทำงานร่วมกับใครบ้าง แต่ละคนมี Background ยังไง ถ้าได้ทำงานด้วยกัน เราสามารถเรียนรู้อะไรจากเขาได้ไหม หรือถ้าได้ไปถึงขั้นตอนสัมภาษณ์งานกับคนที่จะมาเป็นหัวหน้างานของเรา เราก็อาจจะลองสังเกตบุคลิกและลักษณะนิสัยของคนที่สัมภาษณ์เราดูก็ได้ว่าเป็นยังไงบ้าง
ในการเลือกงานบางคนต้องการเลือกงานที่ได้เงินเดือนสูง บางคนเน้นงานที่ออฟฟิศอยู่ใกล้บ้าน บางคนตั้งเป้าว่าจะเลือกทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น การเทน้ำหนักไปที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมากไปไม่ใช่เรื่องผิด แต่ JobThai แนะนำว่าเราควรมององค์ประกอบอื่น ๆ ให้รอบด้านด้วย เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ซึ่งลิสต์ทั้ง 12 ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหางานที่ดีครบทั้ง 12 ข้อ แต่อยากให้ลองเรียงลำดับว่าปัจจัยไหนที่เราให้น้ำหนักมากที่สุด งานที่เราจะเลือกต้องมีสิ่งนี้ และปัจจัยไหนที่เราเฉย ๆ มีก็ดี แต่ขาดไปก็ไม่เป็นไร เสร็จแล้วเราก็จะพอเห็นภาพว่าเรากำลังมองหางานแบบไหนอยู่ จะได้ตัดสินใจเลือกงานที่เหมาะและตอบโจทย์ชีวิตตัวเองได้