ไม่รู้ว่าใครมีความเห็นยังไงบ้างครับ
-------------
นิทานเรื่องนี้มีชื่อน่ารักว่า: “เด็กน้อยขี่จักรยาน 3 ล้อ”
ขณะนี้มีเด็ก 4 ขวบ ที่เพิ่งหัดขี่จักรยาน 3 ล้อ แต่เสนอตัวกระโดดขึ้นไปขี่ฮอนด้าเวฟ ไม่ใช่ 100 ด้วยแต่เป็น 125 และที่สำคัญที่สุดคือขี่ไปเจอทางแยกตรงถนนใหญ่ แทนที่จะต้องเลี้ยวขวา แต่เลี้ยวซ้ายไปเจอรถบรรทุก มีคำถามง่ายๆ แค่ 3 คำถาม คือ
คำถาม
1. ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ในยุโรปทั้งทวีป และประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แล้วทำไมเขาถึงขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนั้นจนถึงทุกวันนี้ ต่างจากเด็ก 4 ขวบ ที่กำลังขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ย?
2. ถ้าลดดอกเบี้ย ใส่เงินเข้าไปในระบบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคิดบ้างไหม จะเกิดอะไรขึ้นในทางลบและคุ้มมากกว่าทางบวกหรือไม่ และจะทำได้จริงหรือไม่ สำหรับประเทศไทยในขณะนี้?
3. การรักษาวินัยทางด้านการก่อหนี้ของภาครัฐเป็นหน้าที่ใคร ใครเป็นคนทำให้ขาดดุล และธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปช่วยลดได้ไหม? หรืออย่างไร ประเทศที่เจริญแล้วหน้าที่ของธนาคารชาติคืออะไร?
คำตอบ
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังผ่านการอัดฉีดเงินเข้าระบบไม่ว่าจะเป็นการจับจ่าย แจกหรือลงทุน แต่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย คือการสร้างเสรีภาพทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืด อัตราแลกเปลี่ยน ผ่านการอัดฉีดหรือ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาถึงแม้เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจะถดถอยธนาคารชาติก็ขึ้นดอกเบี้ยอยู่ดีเพราะต้องการควบคุมเงินเฟ้อ
ประเทศที่เจริญแล้วก็ทำกันอย่างนี้ ส่วนประเทศที่ต้องกู้ IMF ก็จะทำในสิ่งที่เด็กน้อยเสนอมา
2. ยังงงเล็กน้อยแต่พยายามจะตอบคำถามเท่าที่เข้าใจ ซึ่งคือหากรัฐบาลสามารถควบคุมดูแลได้ จะสามารถลดภาระหนี้สาธารณะหรือควบคุมได้
หนี้สาธารณะเกิดขึ้นจากการเก็บภาษีได้น้อยกว่ารายได้ ไม่ค่อยเข้าใจว่าเกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างไร หรือถ้าหมายความว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ลองดูประเทศญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำกว่า 1.0% กระตุ้นได้ไหม ประเทศไทยมากที่สุดก็ลบได้ 0.25% จะทำให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนเพิ่มหรือไม่
ในทางลบตอนนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีมูลค่าต่ำจนการนำเข้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน จะทำให้ต้นทุนเพิ่มและกำลังการซื้อขายของประชาชน อันนี้ยังไม่พูดถึงเงินที่ไหลออก
3. ข้อนี้ยิ่งงง การควบคุมธนาคารแห่งประเทศไทยจะช่วยลดหนี้สาธารณะได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ผู้ก่อหนี้มาจากรัฐบาล โดยเก็บภาษีได้น้อยกว่าการใช้จ่ายลงทุน
เห็นเรื่องแบงก์ชาติกำลังมา เลยอยากจะแชร์เรื่อง เด็กน้อยขี่จักรยาน 3 ล้อ ที่ส่งต่อกันมาครับ
-------------
นิทานเรื่องนี้มีชื่อน่ารักว่า: “เด็กน้อยขี่จักรยาน 3 ล้อ”
ขณะนี้มีเด็ก 4 ขวบ ที่เพิ่งหัดขี่จักรยาน 3 ล้อ แต่เสนอตัวกระโดดขึ้นไปขี่ฮอนด้าเวฟ ไม่ใช่ 100 ด้วยแต่เป็น 125 และที่สำคัญที่สุดคือขี่ไปเจอทางแยกตรงถนนใหญ่ แทนที่จะต้องเลี้ยวขวา แต่เลี้ยวซ้ายไปเจอรถบรรทุก มีคำถามง่ายๆ แค่ 3 คำถาม คือ
คำถาม
1. ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ในยุโรปทั้งทวีป และประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แล้วทำไมเขาถึงขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนั้นจนถึงทุกวันนี้ ต่างจากเด็ก 4 ขวบ ที่กำลังขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ย?
2. ถ้าลดดอกเบี้ย ใส่เงินเข้าไปในระบบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคิดบ้างไหม จะเกิดอะไรขึ้นในทางลบและคุ้มมากกว่าทางบวกหรือไม่ และจะทำได้จริงหรือไม่ สำหรับประเทศไทยในขณะนี้?
3. การรักษาวินัยทางด้านการก่อหนี้ของภาครัฐเป็นหน้าที่ใคร ใครเป็นคนทำให้ขาดดุล และธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปช่วยลดได้ไหม? หรืออย่างไร ประเทศที่เจริญแล้วหน้าที่ของธนาคารชาติคืออะไร?
คำตอบ
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังผ่านการอัดฉีดเงินเข้าระบบไม่ว่าจะเป็นการจับจ่าย แจกหรือลงทุน แต่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย คือการสร้างเสรีภาพทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืด อัตราแลกเปลี่ยน ผ่านการอัดฉีดหรือ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาถึงแม้เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจะถดถอยธนาคารชาติก็ขึ้นดอกเบี้ยอยู่ดีเพราะต้องการควบคุมเงินเฟ้อ
ประเทศที่เจริญแล้วก็ทำกันอย่างนี้ ส่วนประเทศที่ต้องกู้ IMF ก็จะทำในสิ่งที่เด็กน้อยเสนอมา
2. ยังงงเล็กน้อยแต่พยายามจะตอบคำถามเท่าที่เข้าใจ ซึ่งคือหากรัฐบาลสามารถควบคุมดูแลได้ จะสามารถลดภาระหนี้สาธารณะหรือควบคุมได้
หนี้สาธารณะเกิดขึ้นจากการเก็บภาษีได้น้อยกว่ารายได้ ไม่ค่อยเข้าใจว่าเกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างไร หรือถ้าหมายความว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ลองดูประเทศญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำกว่า 1.0% กระตุ้นได้ไหม ประเทศไทยมากที่สุดก็ลบได้ 0.25% จะทำให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนเพิ่มหรือไม่
ในทางลบตอนนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีมูลค่าต่ำจนการนำเข้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน จะทำให้ต้นทุนเพิ่มและกำลังการซื้อขายของประชาชน อันนี้ยังไม่พูดถึงเงินที่ไหลออก
3. ข้อนี้ยิ่งงง การควบคุมธนาคารแห่งประเทศไทยจะช่วยลดหนี้สาธารณะได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ผู้ก่อหนี้มาจากรัฐบาล โดยเก็บภาษีได้น้อยกว่าการใช้จ่ายลงทุน