ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก…รัฐบาล vs แบงค์ชาติ.

แทบจะเดิมพันชีวิตเลยกับการงัดข้อกันในประเด็น"ลดดอกเบี้ย"ร้องไห้จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเงืนดิจืตัลก็ตามที) ส่วนเหตุผลแต่ละฝ่ายที่ออกมาสาดใส่กันคุณด้วยกับฝ่ายไหน ส่วนตัวไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์แต่ก็คิดว่าดอกเบี้ยสูงมันมีผลกระทบชาวบ้านประชาชนระดับกลางลงล่างอย่างชัดเจน จะเห็นว่า"หนี้ภาคครัวเรือนจะแตะ 90% ของ GDP แล้ว(16 ล้านล้าน)ชัดเจนว่ากำไรของแบงค์แต่ละไตรมาสเป็นหมทานล้าน(รวยลูกเดียว)ชาวบ้านต้องแบกไว้ตลอดมันเป็นบริบทสังคมที่เอาเปรียบและก่อให้เกิดปัญหาต่างตามมา(ช่องว่างระหร่างรวยจนห่างกันมาก)  แม้จะไม่ได้ชอบรัฐบาลนี้แต่ก็เห็นด้วยกับปัญหานี้คืออยากให้ลดดอกเบี้ยครับ!.
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 24
ขณะนี้มีแค่ 6 ประเทศในโลกเท่านั้น ที่มีดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่าไทยคือ

Japan 0.00%-0.10% (มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 1,290.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 2 ของโลก)
Switzerland 1.5% (มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 868.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่อันดับ 3 ของโลก)
Taiwan 2.00% (มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 568.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่อันดับ 6 ของโลก)

Botswana 2.4%   (ประเทศในอัฟริกากลาง ประชากร 2.3 ล้านคน มีทุนสำรอง 5.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
Seychelles 2.00% (ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ประชากร ราว 1 แสนคน มีทุนสำรอง 0.546 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
Fiji 0.25% (ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ประชากรราว 9 แสนคน มีทุนสำรอง 1.065 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

นอกจากนั้นสุงกว่าไทยหมดทั้งโลก เช่น

สหรัฐอเมริกา         5.5%
สหภาพยุโรป         4.5%
อังกฤษ         5.25%
สวีเดน         4.00%
ฮังการี         7.75%
แคนาดา         5.00%
เม็กซิโก         11.0%
บราซิล         10.75%
ชิลี         6.50%
อาร์เยนติน่า         60.00%
รัสเซีย         16.00%
ตุรกี         50.00%
ออสเตรเลีย         4.35%
นิวซีแลนด์         5.5%
ซาอุดิอาระเบีย     6.0%
อินเดีย         6.5%
ปากีสถาน         22%
จีน         3.45%
เกาหลีใต้         3.5%

ในอาเซียนก็สูงกว่าไทยทุกประเทศได้แก่

ฟิลิปปินส์         6.50%
อินโดนีเซีย         6.25%
เวียดนาม         4.5%
สิงคโปร์         3.69%
มาเลเซีย         3.00%

ถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจัดได้ว่าต่ำมาก ๆ แล้ว ยังเป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ดั่งที่นักการเมืองไทย ซึ่งเป็นรัฐบาลพูด ............ ธนาคารกลางอีก 188 ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็คือเกือบทุกประเทศในโลก ก็เป็นอุปสรรคหมด แหละครับ

สำหรับหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 91% ของจีดีพีนั้น ก็เป็นประชาชนไปกู้เงินจากธนาคารมาซื้อบ้าน ซื้อรถ บัตรเครดิต ฯลฯ ซึ่งชาวบ้านก็สมัครใจทำเองทั้งนั้น เพื่อสนอง ตัณหา กิเลส ความทะยานอยาก ของตนเอง มิได้มีใครไปบังคับให้ทำ

ตอนไปทำสัญญากู้เงินกับธนาคารก็รู้อยู่แล้วว่า อัตราดอกเบี้ยมันลอยตัว มีขึ้นมีลง ตามสภาพเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ถ้าเห็นว่าดอกเบี้ยมันสูงมากก็อย่าไปกู้เงินธนาคารซิ ไม่ใช่กู้มาแล้วทำสัญญาแล้ว มาเรียกร้องให้ลด ทั้ง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยนั้น ก็อยู่ในระดับต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอยู่แล้ว

ส่วนลูกค้าแต่ละคนจะได้รับดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของลูกค้าคนนั้น ธนาคารแต่ละแห่งมีภาระหนี้เสียไม่เท่ากัน ช่องว่างของเงินฝากและเงินกู้ของแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้เสียด้วย

เห็นส่วนมากชอบเอาตัวเลขที่เรียกว่า ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) มาเล่นกัน

NIM =  (รายได้ดอกเบี้ยรวม – ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) / สินทรัพย์ทั้งหมดที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยเฉลี่ย

จะเห็นว่า NIM นั้น กล่าวถึงแค่ อัตราผลต่างของตอกเบี้ยรับ กับ ดอกเบี้ยจ่าย แต่ว่ายังไม่ได้หักภาระหนี้เสียของธนาคารออกไปเลย ธนาคารขนาดเล็กจะมี NIM สูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่ เพราะลูกค้าของธนาคารขนาดเล็กจะเสี่ยงสูง จึงต้องมีดอกเบี้ยสูงตามไปด้วย

เมื่อเป็นกำไรสุทธิแล้ว จะเห็นว่า ธนาคารมีกำไรเป็นหมื่น ๆ ล้าน ก็เอาตัวเลขตัวนี้ มาเล่นประโคมข่าวกัน โดยที่ไม่ดูว่าธนาคารต้องลงทุนไปกี่หมื่นล้านกว่าจะได้ผลตอบแทนมาขนาดนี้ ถ้าไปดูบัญชีของธนาคาร จะเห็นว่า อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 3 ปีย้อนหลัง อยู่ระหว่าง 5.5%-9% เท่านั้น ทำให้ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารก็ยังทรง ๆ ตัวอยู่ ไม่ขึ้น ไม่ลง

หนี้สินครัวเรือนของไทยสูงมาก เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นต่ำมานาน เนื่องจากสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป ทำ QE รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จำต้องมีนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำเสอดคล้องกับต่างประเทศ รวมถึงตอบสนองวิกฤตโรคระบาด covid-19 ด้วย

ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคาร ในตลาดหลักทรัพยแห่งประเทศไทย เห็นกำไรเยอะเป็นหมื่น ๆ ล้าน ที่สื่อเอามาเล่นกัน แต่ดัชนีหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน
ความคิดเห็นที่ 13
ดอกเบี้ยไทย ถ้าเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก ถือว่าต่ำแล้วครับ
- ไทย 2.5%
- สหรัฐ 5.5%
- อังกฤษ 5.25%
- อินเดีย 6.5%
- จีน 3.45%
https://www.investing.com/central-banks/


ปัญหาตอนนี้คือ

ดอกเบี้ยเราต่ำกว่าสหรัฐมาก ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ย ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐจะเยอะขึ้น เงินทุนจะยิ่งไหลออก ต่างชาติจะขายเงินบาทและเงินบาทเราก็จะด้อยค่าลงเรื่อยๆ ตอนนี้ทะลุ 36 บาท/USD ไปแล้ว ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยไม่อยากจะคิดว่าค่าเงินเราจะเหลือเท่าไหร่ สินค้าอุปโภคบริโภคที่เรานำเข้าก็จะแพงขึ้น กระทบกับประชาชนหนักกว่าเดิม

(ดอกสหรัฐเขาตั้ง 5.5% เราแค่ 2.5% ขายเงินบาทไปซื้อ USD แล้วเอาไปฝาก bank สหรัฐไม่ดีกว่ารึ)

บางคนจะมีคำถามว่าทำไม ญี่ปุ่น ดอกเบี้ยแค่ 0.1% แต่เงินเยนเขาตอนนี้อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 34 ปีไปแล้ว

จริงๆบาทเราควรอ่อนมากกว่านี้เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยไทยสหรัฐเยอะมาก แต่ส่วนนึงก็เป็นเพราะทุนสำรองระหว่างประเทศเราเยอะ ผลงานก็มาจากแบงก์ชาตินี่แหละที่ไปซื้อทองคำมาตุนตลอด 5 ปีก่อนหน้านี้ ราคาทองตอนนี้ก็อย่างที่เห็น

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_foreign-exchange_reserves
https://www.prachachat.net/finance/news-1509972

ยังไงแบงก์ชาติเขาก็ต้องลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเขารอให้ FED (สหรัฐ) ลดลงก่อน ณ วันนี้ 6 พ.ค. 2024 มีแนวโน้มว่าปีนี้ FED จะลด 2 ครั้ง เดี๋ยวแบงก์ชาติก็ต้องลดตาม ไม่ต้องห่วง แต่ถ้า FED (สหรัฐ) ไม่ลดก็ยากที่ แบงก์ชาติจะลดเพราะดอกเบี้ยเราต่ำกว่าเขามากเกินไป


หนี้ภาคครัวเรือนจะแตะ 90% ของ GDP
- หนี้ครัวเรือนมาจากประชาชนเราๆเนี่ยแหละที่ไป กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ แบงก์ชาติไม่ได้เป็นคนไปกู้ ไม่เกี่ยวกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่