หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ

พื้นที่แห่งการพบปะสังสรรค์และการเรียนรู้ในโลกของศิลปะร่วมสมัย
A public space for art and culture

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
เลขที่ 939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 02-214-6630-8
โทรสาร : 02-214-6639
เว็บไซต์ : http://www.bacc.or.th/
อีเมล : info.bacc.bkk@gmail.com
วันและเวลาทำการ
เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 20.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ และช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์)
สำนักงาน เปิดบริการ เวลา 09.30-18.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ยกเว้นการจัดกิจกรรมและการแสดงเป็นกรณีพิเศษ
การเดินทาง
รถประจำทางสาย  15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204
รถประจำทางปรับอากาศสาย  501, 508, 529
รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออกที่ 3
เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า ประตูน้ำ ขึ้นที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง

แต่วันนี้เรามีไกด์ตัวน้อยนำเที่ยวโดยรถไฟฟ้าครับ  ต่อรถไฟฟ้าซะจนมึน  
เริ่มจากสายสีม่วง ไป น้ำเงิน ต่อเขียว 5555++

ที่นี่รับฝากกระเป๋านะครับคนไทยแค่ยื่นบัตรประชาชนก็ได้ลูกกุญแจตามหมายเลขกุญแจครับ  (ฟรี)

แต่ที่แน่ๆฃงสถานีนี้ครับ สนามกีฬาแห่งชาติ ออกทางออกนี้ก็เลี้ยวซ้ายเข้าตึกเลย
สะดวกครับ


 มาเล่นเปียโน ปล่อยจินตนาการผ่านเสียงดนตรีไปกับ campaign ’Love Piano‘ @bacc    
.
#หอศิลปกรุงเทพฯ ชวนทุกคนมาเล่นเปียโน Yamaha Upright ที่ออกแบบโดย Pomme Chan ณ ชั้น 3 หอศิลปกรุงเทพฯ พร้อมชวนคุณมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญด้วยการถ่ายภาพหรืออัดวิดีโอกับเปียโน พร้อมอัพลงโซเชียลและติดแฮชแท็ก #LovePianoYamaha #YamahaPianoThailand เพื่อลุ้นรับรางวัลจำนวน 5 รางวัล ตั้งแต่วันนี้ - 19 พฤษภาคม 2567


เสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567  #หอศิลปกรุงเทพฯ เปิดเวทีสาธารณะ ร่วมรับฟังความคิดเห็น และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศิลปะ เพื่อศิลปินและคนทำงานในวงการศิลปะ ไปกับกิจกรรม ”คนศิลปะได้อะไรจาก(ร่าง)พระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (พ.ร.บ. THACCA) และ มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้อง“
.
 พบกับผู้ร่วมกิจกรรม ได้แก่
1. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
2. เสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านศิลปะ
3. ศ.พรรัตน์ ดำรุง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านศิลปะ
4. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านศิลปะ
5. ชลิดา เอื้อบำรุงจิต คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านภาพยนตร์
6. เจน สงสมพันธุ์ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านหนังสือ
.
 ร่วมด้วย
7. ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต คณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯ
8. มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินภาพถ่าย/ผู้กำกับภาพยนตร์/คณะกรรมการบริหารหอศิลปกรุงเทพฯ
และเครือข่ายศิลปิน คนศิลปะอีกมากมาย
.
 ดำเนินรายการโดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Director / BIPAM
*หมายเหตุ: รายชื่อวิทยากร/ผู้ร่วมกิจกรรมอยู่ระหว่างการประสานงาน อาจมีเพิ่มเติม
.
 กำหนดการกิจกรรม
13.30 น. ลงทะเบียน
14.00 น. คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที รองประธานมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวต้อนรับ
14.15 น. ผู้ดำเนินรายการกล่าวแนะนำวิทยากรและเปิดเวที ฟัง คิด และเสนอความเห็น “คนศิลปะได้อะไรจาก(ร่าง)พระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (พ.ร.บ. THACCA) และ มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้อง”
16.00 น. Q&A
16.30 น. ผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็น / รองประธานมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร / บันทึกภาพร่วมกัน
.
 หมายเหตุ 
* กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า
** กิจกรรมมีการถ่ายทอดสดผ่าน facebook live : BACC หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
.
 กิจกรรม ”คนศิลปะได้อะไรจาก(ร่าง)พระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (พ.ร.บ. THACCA) และ มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้อง“ จัดกิจกรรมในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 #หอศิลปกรุงเทพฯ
(กิจกรรมจากเพจ Facebook)

มาชมรูปต่อภายในกันเลยครับ


จุดนี้ น้องสนใจเป็นพิเศษ ลูกสีขาวคือโฟม เวลามีเสียงลูกกลมๆก็จะลอย


ส่วนนี้ก็ฝีมือการถ่ายจากไกด์ตัวน้อย...

Early Years Project #7: A change In the paradigm จัดแสดงผลงาน 8 ศิลปินรุ่นใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการ Early Years Project โดยได้สะท้อนเรื่องราวของสังคมไทยในปัจจุบัน ผ่านมุมมองของศิลปินแต่ละคนที่มีพื้นหลังและประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ชมผลงานในนิทรรศการตั้งแต่วันนี้ – 12 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 7 #หอศิลปกรุงเทพฯ
บรรยากาศถ่ายจากชั้นบนครับ..

การพบเจอสิ่งใด นั่นคือการเรียนรู้ครับ




นิทรรศการ กรุงเทพฯ ๒๔๒ เป็นหนึ่งในโครงการที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นำเสนอประเด็นทางสังคม (social issue) มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทางสังคมใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ และสื่อศิลปะร่วมสมัยเปิดเผยความคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และ การสนับสนุนการมีส่วนทางสังคมและชุมชน ตลอดจนการผลักดันกระบวนการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ (cross-disciplinary) ในการขยายความคิดรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยที่ท้าทายแก่สาธารณะ โดยเชิญศิลปิน นักสร้างสรรค์ นักกิจกรรม และนักวิจัย จากหลากหลายสาขา สะท้อนมุมมองเมืองในฐานะพลเมืองกรุงเทพฯ ผ่านเลนส์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำรวจความเปลี่ยนแปลง ปรากฏการณ์ปัจจุบัน ผลกระทบ โอกาส คุณค่า ตลอดจนความหวัง ร่วมกันเขียนบทต่อไปให้แก่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ ผ่านการนำเสนอ สร้างความตระหนัก และการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การลงมือทำร่วมไปกับผู้ชม ผ่านการนำมุมมองที่หลากหลาย อาทิ SATHU x Thaipologic, กรณ์ นียะพันธ์, โกศล ขจีไกรลาส, ณัฐทพงศ์ รัตนโชคสิริกูล, ขวัญชัย ลิไชยกุล, ซากุยะ อาโอยากิ, มนุษย์กรุงเทพฯ, ภากร มุสิกบุญเลิศ & พชร จิราธิวัฒน์ (วิเวกา + เวเฮเมนท์), บางกอกบานฉ่ำ, นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ, Wishulada, Design for Disasters (D4D), Uninspired by current events, หอภาพยนตร์ x Rolling Wild และ Edutainment & Socio-interaction Computing Lab (ESIC Lab) ร่วมกันนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ คลังข้อมูล กิจกรรม สื่อศิลปะร่วมสมัย แก่สาธารณะ โดยภัณฑารักษ์ทั้งสามท่าน ได้แก่ ลักขณา คุณาวิชยานนท์, ประคำกรอง วชิรวรภักดิ์ และ กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ คัดสรรสาระบริบทเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเมือง+พลเมือง และทำไปสู่การร่วมกันสร้างคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมร่วมกัน
.



สำรวจเมืองกรุงเทพฯ ผ่านนิทรรศการ "กรุงเทพฯ ๒๔๒"    
.
#หอศิลปกรุงเทพฯ ชวนคุณมาชมนิทรรศการกรุงเทพฯ ๒๔๒ นำเสนอผลงานจากศิลปิน นักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาที่มาร่วมกันมองเมืองในฐานะพลเมืองกรุงเทพฯ สำรวจความเปลี่ยนแปลง บริบทของเมือง ผ่านเลนส์ทางประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสื่อศิลปะร่วมสมัย
.
นิทรรศการกรุงเทพฯ ๒๔๒ จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ - 19 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 #หอศิลปกรุงเทพฯ




ลาไปด้วยภาพนี้ครับ
ขอบคุณที่รับชมครับ / Tin
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่