เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.prachachat.net/world-news/news-1553468
ติดตามข่าวสารน่าสนใจมากมายได้ที่
https://www.prachachat.net
คอลัมน์ : ชีพจรเศรษฐกิจโลก
ผู้เขียน : ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถอีวีลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ในสหรัฐอเมริกายอดส่งมอบรถอีวีไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนในภาคพื้นยุโรปซึ่งกระแสการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดอยู่ในระดับสูงกว่าที่อื่น ๆ ยอดขายอีวีก็ลดลงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถึง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023
รายงานผลประกอบการของ “เทสลา” บริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมอีวีสำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ก็ออกมาย่ำแย่ ลดลงทั้งในแง่ของยอดขายและในแง่ของรายได้ มูลค่าหุ้นของบริษัทหายไปมากถึง 330,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2024 เป็นต้นมา
ทำนองเดียวกันกับ “อีวี สตาร์ตอัพ” อีกอย่างน้อย 5 บริษัท ซึ่งเคยมีมูลค่ารวมกันเกือบ ๆ 400,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ตอนนี้หดหายไปหลงเหลือเพียงแค่ 58,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ยักษ์ใหญ่ในวงการรถยนต์ของโลก ซึ่งเคยแข่งกันกระโจนเข้าสู่ตลาดอีวีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พากันเหยียบเบรกกันอุตลุด “ฟอร์ด” ประกาศชะลอแผนการลงทุนมูลค่า 12,000 ล้านดอลลาร์ออกไป ในขณะที่ “เมอร์เซเดส-เบนซ์” ออกมายอมรับว่า เป้าที่เคยตั้งไว้ว่าจะขายรถอีวีให้ได้มากพอ ๆ กับรถใช้น้ำมันภายในปี 2025 ต้องยืดยาวออกไปอีก 5 ปี เป็นปี 2030 เลยทีเดียว
คำถามที่น่าสนใจก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมรถอีวีกันแน่ เป็นเพราะถูกผู้ใช้รถยนต์ปฏิเสธ เนื่องจากเทคโนโลยียังดีไม่พอ ไปไหนไม่ได้ไกล แถมยังราคาแพงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันแบบเดิม ๆ อยู่มากหรือไม่
หากการชะลอตัวอย่างรุนแรงครั้งนี้เกิดจากปัจจัยดังกล่าวจริง อนาคตของรถอีวีก็ไม่น่าจะสดใสเหมือนอย่างที่เคยคาดคิดกันเอาไว้หรืออย่างไรกัน
แต่ผู้สันทัดกรณีในอุตสาหกรรมรถยนต์กลับไม่คิดเช่นนั้น ต่างพากันคาดหวังว่า อีกไม่ช้าไม่นานความต้องการรถอีวีจะกลับมาอีกครั้ง แม้จะไม่หวือหวาเหมือนช่วง “เห่อเทคโนโลยี” กันในตอนแรกก็ตาม แต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอีวีทรงตัวอยู่ได้และยืนหยัดต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว
ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ภาวะชะลอตัวในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฏจักรของตลาด ยอดขายรถอีวีในปี 2021 และ 2022 เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะบรรดาผู้บริโภคที่มีเงินสดอยู่ในมือซื้อหากันเป็นว่าเล่นในช่วงดังกล่าว
หลังจากนั้น เกิดปัญหาอัตราดอกเบี้ยตามมา เพราะผู้ที่ซื้อรถยนต์เมื่อ 2 ปีก่อนจ่ายดอกเบี้ยอยู่ในระดับไม่ถึง 5% ขณะที่เวลานี้จำเป็นต้องจ่ายแพงขึ้นเป็นกว่า 8%
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมหาศาลนั้นเป็นปัญหาแน่นอน ในเมื่อรถอีวีโดยรวมในเวลานี้ เทียบแล้วยังราคาแพงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันแบบดั้งเดิมอยู่ระหว่าง 40-60%
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่องราคารถไม่น่าจะเป็นปัญหาอยู่นานนัก ตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาของลิเทียมลดต่ำลง ส่งผลให้แบตเตอรี่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอีวีลดต่ำลงตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่น รถอเนกประสงค์ที่เป็นอีวี เมื่อ 5 ปีที่แล้วราคาสูงลิ่ว เทียบกับเอสยูวีใช้น้ำมันทั่วไปแล้วแพงกว่า 2-3 เท่าตัว พอมาถึงปีนี้ก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป อาทิ รถอีวีอย่าง ฟอร์ด เอฟ-150 ไลต์นิง ตอนนี้ราคาขายในสหรัฐอเมริกาเหลือไม่ถึง 40,000 ดอลลาร์ แพงกว่าเวอร์ชั่นใช้น้ำมันเพียงแค่ 4,000 ดอลลาร์เท่านั้นเอง
รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่า ปัจจุบันรถอีวีขนาดเล็กในจีนราคาถูกกว่ารถใช้น้ำมัน โดยราคาอยู่ที่แค่ 2 ใน 3 ของราคารถยนต์ขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมันเท่านั้นเอง
ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการก็คือ การที่บรรดานักลงทุนเลิก “เห่อ” และไม่ได้เทเม็ดเงินเป็นพัน ๆ ล้านลงไปในอุตสาหกรรมอีวี จะเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมนี้ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยการขยายฐานลงไปสู่ “Mass Market” ไม่ได้เป็นตลาด “จำเพาะ” ที่สุดโต่งทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด
ผลสำรวจล่าสุดของ AlixPartners บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอเมริกัน พบว่าผู้ซื้อรถยนต์ในจีนถึง 97% ระบุชัดเจนว่ารถคันต่อไปที่ตนซื้อจะเป็น “รถอีวี”
ในขณะที่ราว 70% ของคนอเมริกัน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และเยอรมนี ระบุว่าจะหันมาพิจารณารถอีวีจากจีน หากราคาต่ำกว่ารถแบบเดียวกันจากที่ไม่ใช่ของจีนถึง 20% ซึ่งใกล้เคียงกับส่วนต่างของราคาในความเป็นจริงแล้วในเวลานี้
เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า “อีวี” ยังมีอนาคตและยังคงเป็นที่ต้องการ รอฟื้นตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นเอง... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/world-news/news-1553468
เกิดอะไรขึ้นกับอุตฯ รถอีวี ตลาดชะลอตัว-ค่ายยักษ์เบรกลงทุน
https://www.prachachat.net/world-news/news-1553468
ติดตามข่าวสารน่าสนใจมากมายได้ที่
https://www.prachachat.net
คอลัมน์ : ชีพจรเศรษฐกิจโลก
ผู้เขียน : ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถอีวีลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ในสหรัฐอเมริกายอดส่งมอบรถอีวีไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนในภาคพื้นยุโรปซึ่งกระแสการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดอยู่ในระดับสูงกว่าที่อื่น ๆ ยอดขายอีวีก็ลดลงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถึง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023
รายงานผลประกอบการของ “เทสลา” บริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมอีวีสำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ก็ออกมาย่ำแย่ ลดลงทั้งในแง่ของยอดขายและในแง่ของรายได้ มูลค่าหุ้นของบริษัทหายไปมากถึง 330,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2024 เป็นต้นมา
ทำนองเดียวกันกับ “อีวี สตาร์ตอัพ” อีกอย่างน้อย 5 บริษัท ซึ่งเคยมีมูลค่ารวมกันเกือบ ๆ 400,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ตอนนี้หดหายไปหลงเหลือเพียงแค่ 58,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ยักษ์ใหญ่ในวงการรถยนต์ของโลก ซึ่งเคยแข่งกันกระโจนเข้าสู่ตลาดอีวีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พากันเหยียบเบรกกันอุตลุด “ฟอร์ด” ประกาศชะลอแผนการลงทุนมูลค่า 12,000 ล้านดอลลาร์ออกไป ในขณะที่ “เมอร์เซเดส-เบนซ์” ออกมายอมรับว่า เป้าที่เคยตั้งไว้ว่าจะขายรถอีวีให้ได้มากพอ ๆ กับรถใช้น้ำมันภายในปี 2025 ต้องยืดยาวออกไปอีก 5 ปี เป็นปี 2030 เลยทีเดียว
คำถามที่น่าสนใจก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมรถอีวีกันแน่ เป็นเพราะถูกผู้ใช้รถยนต์ปฏิเสธ เนื่องจากเทคโนโลยียังดีไม่พอ ไปไหนไม่ได้ไกล แถมยังราคาแพงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันแบบเดิม ๆ อยู่มากหรือไม่
หากการชะลอตัวอย่างรุนแรงครั้งนี้เกิดจากปัจจัยดังกล่าวจริง อนาคตของรถอีวีก็ไม่น่าจะสดใสเหมือนอย่างที่เคยคาดคิดกันเอาไว้หรืออย่างไรกัน
แต่ผู้สันทัดกรณีในอุตสาหกรรมรถยนต์กลับไม่คิดเช่นนั้น ต่างพากันคาดหวังว่า อีกไม่ช้าไม่นานความต้องการรถอีวีจะกลับมาอีกครั้ง แม้จะไม่หวือหวาเหมือนช่วง “เห่อเทคโนโลยี” กันในตอนแรกก็ตาม แต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอีวีทรงตัวอยู่ได้และยืนหยัดต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว
ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ภาวะชะลอตัวในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฏจักรของตลาด ยอดขายรถอีวีในปี 2021 และ 2022 เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะบรรดาผู้บริโภคที่มีเงินสดอยู่ในมือซื้อหากันเป็นว่าเล่นในช่วงดังกล่าว
หลังจากนั้น เกิดปัญหาอัตราดอกเบี้ยตามมา เพราะผู้ที่ซื้อรถยนต์เมื่อ 2 ปีก่อนจ่ายดอกเบี้ยอยู่ในระดับไม่ถึง 5% ขณะที่เวลานี้จำเป็นต้องจ่ายแพงขึ้นเป็นกว่า 8%
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมหาศาลนั้นเป็นปัญหาแน่นอน ในเมื่อรถอีวีโดยรวมในเวลานี้ เทียบแล้วยังราคาแพงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันแบบดั้งเดิมอยู่ระหว่าง 40-60%
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่องราคารถไม่น่าจะเป็นปัญหาอยู่นานนัก ตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาของลิเทียมลดต่ำลง ส่งผลให้แบตเตอรี่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอีวีลดต่ำลงตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่น รถอเนกประสงค์ที่เป็นอีวี เมื่อ 5 ปีที่แล้วราคาสูงลิ่ว เทียบกับเอสยูวีใช้น้ำมันทั่วไปแล้วแพงกว่า 2-3 เท่าตัว พอมาถึงปีนี้ก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป อาทิ รถอีวีอย่าง ฟอร์ด เอฟ-150 ไลต์นิง ตอนนี้ราคาขายในสหรัฐอเมริกาเหลือไม่ถึง 40,000 ดอลลาร์ แพงกว่าเวอร์ชั่นใช้น้ำมันเพียงแค่ 4,000 ดอลลาร์เท่านั้นเอง
รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่า ปัจจุบันรถอีวีขนาดเล็กในจีนราคาถูกกว่ารถใช้น้ำมัน โดยราคาอยู่ที่แค่ 2 ใน 3 ของราคารถยนต์ขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมันเท่านั้นเอง
ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการก็คือ การที่บรรดานักลงทุนเลิก “เห่อ” และไม่ได้เทเม็ดเงินเป็นพัน ๆ ล้านลงไปในอุตสาหกรรมอีวี จะเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมนี้ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยการขยายฐานลงไปสู่ “Mass Market” ไม่ได้เป็นตลาด “จำเพาะ” ที่สุดโต่งทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด
ผลสำรวจล่าสุดของ AlixPartners บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอเมริกัน พบว่าผู้ซื้อรถยนต์ในจีนถึง 97% ระบุชัดเจนว่ารถคันต่อไปที่ตนซื้อจะเป็น “รถอีวี”
ในขณะที่ราว 70% ของคนอเมริกัน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และเยอรมนี ระบุว่าจะหันมาพิจารณารถอีวีจากจีน หากราคาต่ำกว่ารถแบบเดียวกันจากที่ไม่ใช่ของจีนถึง 20% ซึ่งใกล้เคียงกับส่วนต่างของราคาในความเป็นจริงแล้วในเวลานี้
เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า “อีวี” ยังมีอนาคตและยังคงเป็นที่ต้องการ รอฟื้นตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นเอง... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/world-news/news-1553468