แท็บเล็ตไอแพดจำเป็นไหมสำหรับเรียนมัธยม ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไงก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนและคุณครูที่สอนด้วยครับ แต่วันนี้ผมจะมาบอกเล่าประสบการณ์เผื่อใครจะใช้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบว่า ควรจะซื้อหรือไม่ซื้อดี
อ่า...ถ้าขี้เกียดอ่านคำอธิบายอันเวิ่นเว้อของผม โปรดเลื่อนไปล่างสุดเพื่ออ่านสรุป
ครับก็ในกรณีของผมนั้นเรียนอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัด สายวิทย์คณิต ช่วงม.ต้นนั้นผมไม่มีไอแพดหรือแท็บเล็ตใช้ ซึ่งถ้าถามว่าสำคัญไหม ส่วนตัวผมว่ามันไม่ได้สำคัญหรือจำเป็นอะไรเลยครับ อาจจะมีส่วนช่วยบ้างสำหรับคนที่ทำงานออนไลน์อย่างแคนวาหรือตัวต่อ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่จะใช้คอมโรงเรียนหรือไม่ก็กลับไปทำที่บ้านครับ ในส่วนการเรียนนั้นใช้หนังสือเรียนเป็นหลักครับ เกือบจะ 80% ทางครูไม่อนุญาตให้นำไอแพดขึ้นมาขณะเรียน อีก 20% ที่เหลือครูเป็ดโอกาสให้อย่างอิสระครับไม่ว่าคุณจะจดลงหนังสือ สมุด ไอแพด หรือเรียนไปก่อนหน้าเฉพาะในรายวิชานั้น ห้องของผมมีเด็ก 40 คน สัดส่วนของคนที่มีแท็บเล็ตหรือไอแพดจะมีประมาณ 10+ ครับ
ตัดมาที่ฝั่ง ม.ปลาย อย่างที่บอกไปตอนต้นผมอยู่สายวิทย์ดังนั้นวิชาเรียนจึงเพิ่มขึ้นจากตอน ม.ต้นมาก และวิชาที่มันเพิ่มขึ้นมาแน่ๆคือ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ซึ่งทุกคนคงได้เจออยู่แล้วแม้จะอยู่ต่างสาย(สายศิลป์จะเจอปีละตัว ต่างจากสายวิทย์ที่เจอปีละ 3 ตัวพร้อมกันทุกเทอมTT) ในคาบแรกของการเปิดเทอมผมประเดิมด้วยวิชาชีววิทยา ครูได้แจกหนังสือและสอนตามปกติ แต่...เป็นเนื้อหาในสไลด์ที่หนังสือไม่มี!!! แน่นอนครับคาบนั้นทั้งคาบมีแค่คนที่มีไอแพดหรือแท็บเล็ตเท่านั้นที่สามารถเรียนและเข้าใจกับมันได้ คนที่ไม่มีก็ได้แต่นั่งฟังอย่างเดียวเท่านั้น และเรื่องตลกที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ในคาบวันนั้นมีคนที่พกไอแพดแท็บเล็ตมาสิบกว่าคน แต่คาบถัดมาในวิชาเดียวกันนั้นมีคนนำอุปกรณ์มาเพิ่มเป็นสามสิบกว่าคน จนครูเองยังทักเลยว่า "คาบที่แล้วเหมือนไม่เยอะขนาดนี้นะ พวกเธอไปขอให้ผู้ปกครองซื้อให้รึเปล่า" พวกผมก็ได้แต่มองหน้ากัน เพราะสาเหตุที่หลายคนพึ่งไปถอยมาเมื่อเย็นวานหลังจบคาบก็เพราะครูนั่นแหละที่เป็นสาเหตุหลัก ในวิชาเคมีครูโรเอกสารมาให้ครบเสร็จสรรพในคาบแรก แต่ในบทต่อๆไปก็แล้วแต่สะดวกว่าใครอยากได้ไฟล์ หรืออยากให้ครูโรมาให้ ส่วนฟิสิกส์นั้นครูก็มีเอกสารอีก แต่!! เอกสารจะได้หลังจากสอนไปแล้ว 3-4 คาบ หมายความว่าคนที่มีอุปกรณ์ก็สามารถเรียนไปพร้อมครูได้เลย แต่ในส่วนของคนที่ไม่มีก็ต้องมาทำความเข้าใจตามหลังเพื่อกว่าอีก 3-4 คาบ ในส่วนของวิชาอื่นอย่าพูดถึงเลย นอกจากภาษาไทยกับอังกฤษบ้างคาบแล้วหนังสือนั้นไม่ได้แตะ ผมยังเคืองอยู่เลยว่าผมจะจ่ายเงินค่าหนังสือทำไมตั้งมากมายในเมื่อจะใช้แต่เอกสาร(ออนไลน์)กันแบบนี้
ถามว่าถ้าไม่มีจะเรียนได้ไหม ต้องบอกก่อนเลยครับว่าผมเองก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนในห้องที่ไม่มีเหมือนกัน ซึ่งผมก็ผ่านมันมาได้ครับแต่ลำบากกว่าคนอื่นหลายเท่า เหตุผลคือ คนที่มีสามารถนั่งจดพร้อมฟังครูอธิบายได้ในเวลาเดียวกัน และอ่านทบทวนอีกที่ก่อนสอบ แต่ผมที่ไม่มีนั้นในคาบได้แต่นั่งมองกระดานและฟังครูอธิบายเพียงเท่านั้น สำหรับน้อง ม.ต้น ที่กำลังจะขึ้นมาสู่ ม.ปลาย อาจคิดว่าแค่ฟังๆไปเดี๋ยวก็เข้าใจเองเหมือนตอนม.ต้น แต่ผมขอบอกเลยว่ามันต่างกันแบบสุดขั้ว ผมพูดได้เต็มปากเลยครับว่าแค่ฟังครูอธิบายเพียงครั้งเดียวมันไม่พอให้เข้าใจครับ เหตุผลคือนอกจากเนื้อหาจะไม่มีในหนังสือแล้ว ยังไม่มีในสไลด์ด้วย!!?! ...ใช่ครับ ในส่วนนี้เราต้องเขียนเอง(สำหรับคนที่มีน่ะนะ) แถมถ้าคิดว่าแค่วิชาเดียวเองเหมือนตอน ม.ต้น คุณคิดผิดครับ เพราะถ้าคุณขึ้นมาคุณจะได้เรียน 3 ตัวดังที่กล่าวมาข้างต้น นั่นคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ตัวละ 2 ชั่วโมง/ครั้ง 2 ครั้ง/สัปดาห์ รวมเป็นถ้าคุณไม่มีล่ะก็คุณต้องนั่งว่างๆมองสไลด์และฟังครูอธิบายอย่างเดียว 12 ชั่วโมง/สัปดาห์ นี่ยังไม่นับวิชาอื่นอีกนะครับเนี่ย จากประสบการณ์คนที่ทำมาก่อนอย่างผม บอกเลยครับว่ามันเหนื่อยและไม่สนุกเลยขนาดไหน ไม่ต่างจากนั่งฟังพระเทศน์เลยครับเวลา 2 ชั่วโมงเนี่ย แล้วดีไม่ดีระหว่างมองกระดาษอยู่คุณอาจโดนดึงสายตาไปยังจอของเพื่อนข้างหน้าที่มันเปิดหนังดูได้อีก บันเทิงเลยล่ะทีนี้แค่เพ่งสมาธิฟังครูอย่างเดียวยังไม่พอยังต้องเพ่งแบบ ×2 ×3 เพื่อไม่ให้โดนหน้าจอเพื่อนดูดความสนใจไปอีก มันเหนื่อยและแทบจะไม่เข้าใจเลยล่ะครับ แต่ผมก็สามารถผ่านมาได้โดยการขอสไลด์ที่เพื่อนเขียนส่งมาให้ผมเพื่ออ่านก่อนสอบเอาครับ แต่ก็นั่นแหละครับมันคือของที่คนอื่นเขียน ฟังครูบ้าง ไม่ฟังครูบ้าง เนื้อหามันไม่ได้ครบและเน้นในส่วนที่จำเป็นเท่าที่ควร แถมคุณต้องมานั่งอ่านสไลด์และลายมือเพื่อนที่เขียนด้วยจอขนาดสิบกว่านิ้วด้วยจอโทรทัศน์อันเท่าฝ่ามือ นึกสภาพเรียนเรื่องเซลล์ที่มีภาพเซลล์เล็กๆหลายๆภาพอัดแน่นในหน้าเดียว แล้วยังต้องเขียนอธิบายต่างๆนานาในภาพเล็กๆแต่ละภาพนั่นอีก คนเขียนจอใหญ่ยังซูมแล้วซูมอีก ไอผมที่นั่งอ่านในจอเล็กๆมันต้องนั่งซูมขนาดไหนกว่าจะปะติดปะต่อภาพและคำอธิบายพวกนั้นได้ แล้วมันก็จะมีงานแบบที่ให้คุณสรุปเนื้อหาทั้งหมดลงในหนึ่งหน้ากระดาษ หนึ่งบทที่เรียนกันหนึ่งเดือน ให้สรุปส่งในหนึ่งคาบ ใช่ครับไอ้คนที่ไม่มีอย่างผมก็เขียนจนมือหงิกกันจนจบคาบ ส่วนคนที่มีนั้นน่ะหรอหวานหมูมันเลยครับ มันก็อปเนื้อหาในสไลด์ว่างแปะ ว่างแปะ พร้อมภาพพร้อมสี เอาคะแนนเต็มกันไปเลย
ผมสรุปตามความเห็นส่วนตัวได้ว่า
ม.ต้น - ไม่จำเป็น ต่อให้มีก็ดีแต่ไม่มีก็ไม่เป็นไร
ม.ปลาย - จำเป็น แต่ไม่ถึงขนาดถ้าไม่มีแล้วจะเรียนไม่ได้เลย เพียงแต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการที่มีอยู่
*ทั้งนี่เป็นเพียงประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวทั้งสิ้น โปรดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจ
แท็บเล็ตไอแพดจำเป็นไหมสำหรับเรียนมัธยม
อ่า...ถ้าขี้เกียดอ่านคำอธิบายอันเวิ่นเว้อของผม โปรดเลื่อนไปล่างสุดเพื่ออ่านสรุป
ครับก็ในกรณีของผมนั้นเรียนอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัด สายวิทย์คณิต ช่วงม.ต้นนั้นผมไม่มีไอแพดหรือแท็บเล็ตใช้ ซึ่งถ้าถามว่าสำคัญไหม ส่วนตัวผมว่ามันไม่ได้สำคัญหรือจำเป็นอะไรเลยครับ อาจจะมีส่วนช่วยบ้างสำหรับคนที่ทำงานออนไลน์อย่างแคนวาหรือตัวต่อ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่จะใช้คอมโรงเรียนหรือไม่ก็กลับไปทำที่บ้านครับ ในส่วนการเรียนนั้นใช้หนังสือเรียนเป็นหลักครับ เกือบจะ 80% ทางครูไม่อนุญาตให้นำไอแพดขึ้นมาขณะเรียน อีก 20% ที่เหลือครูเป็ดโอกาสให้อย่างอิสระครับไม่ว่าคุณจะจดลงหนังสือ สมุด ไอแพด หรือเรียนไปก่อนหน้าเฉพาะในรายวิชานั้น ห้องของผมมีเด็ก 40 คน สัดส่วนของคนที่มีแท็บเล็ตหรือไอแพดจะมีประมาณ 10+ ครับ
ตัดมาที่ฝั่ง ม.ปลาย อย่างที่บอกไปตอนต้นผมอยู่สายวิทย์ดังนั้นวิชาเรียนจึงเพิ่มขึ้นจากตอน ม.ต้นมาก และวิชาที่มันเพิ่มขึ้นมาแน่ๆคือ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ซึ่งทุกคนคงได้เจออยู่แล้วแม้จะอยู่ต่างสาย(สายศิลป์จะเจอปีละตัว ต่างจากสายวิทย์ที่เจอปีละ 3 ตัวพร้อมกันทุกเทอมTT) ในคาบแรกของการเปิดเทอมผมประเดิมด้วยวิชาชีววิทยา ครูได้แจกหนังสือและสอนตามปกติ แต่...เป็นเนื้อหาในสไลด์ที่หนังสือไม่มี!!! แน่นอนครับคาบนั้นทั้งคาบมีแค่คนที่มีไอแพดหรือแท็บเล็ตเท่านั้นที่สามารถเรียนและเข้าใจกับมันได้ คนที่ไม่มีก็ได้แต่นั่งฟังอย่างเดียวเท่านั้น และเรื่องตลกที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ในคาบวันนั้นมีคนที่พกไอแพดแท็บเล็ตมาสิบกว่าคน แต่คาบถัดมาในวิชาเดียวกันนั้นมีคนนำอุปกรณ์มาเพิ่มเป็นสามสิบกว่าคน จนครูเองยังทักเลยว่า "คาบที่แล้วเหมือนไม่เยอะขนาดนี้นะ พวกเธอไปขอให้ผู้ปกครองซื้อให้รึเปล่า" พวกผมก็ได้แต่มองหน้ากัน เพราะสาเหตุที่หลายคนพึ่งไปถอยมาเมื่อเย็นวานหลังจบคาบก็เพราะครูนั่นแหละที่เป็นสาเหตุหลัก ในวิชาเคมีครูโรเอกสารมาให้ครบเสร็จสรรพในคาบแรก แต่ในบทต่อๆไปก็แล้วแต่สะดวกว่าใครอยากได้ไฟล์ หรืออยากให้ครูโรมาให้ ส่วนฟิสิกส์นั้นครูก็มีเอกสารอีก แต่!! เอกสารจะได้หลังจากสอนไปแล้ว 3-4 คาบ หมายความว่าคนที่มีอุปกรณ์ก็สามารถเรียนไปพร้อมครูได้เลย แต่ในส่วนของคนที่ไม่มีก็ต้องมาทำความเข้าใจตามหลังเพื่อกว่าอีก 3-4 คาบ ในส่วนของวิชาอื่นอย่าพูดถึงเลย นอกจากภาษาไทยกับอังกฤษบ้างคาบแล้วหนังสือนั้นไม่ได้แตะ ผมยังเคืองอยู่เลยว่าผมจะจ่ายเงินค่าหนังสือทำไมตั้งมากมายในเมื่อจะใช้แต่เอกสาร(ออนไลน์)กันแบบนี้
ถามว่าถ้าไม่มีจะเรียนได้ไหม ต้องบอกก่อนเลยครับว่าผมเองก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนในห้องที่ไม่มีเหมือนกัน ซึ่งผมก็ผ่านมันมาได้ครับแต่ลำบากกว่าคนอื่นหลายเท่า เหตุผลคือ คนที่มีสามารถนั่งจดพร้อมฟังครูอธิบายได้ในเวลาเดียวกัน และอ่านทบทวนอีกที่ก่อนสอบ แต่ผมที่ไม่มีนั้นในคาบได้แต่นั่งมองกระดานและฟังครูอธิบายเพียงเท่านั้น สำหรับน้อง ม.ต้น ที่กำลังจะขึ้นมาสู่ ม.ปลาย อาจคิดว่าแค่ฟังๆไปเดี๋ยวก็เข้าใจเองเหมือนตอนม.ต้น แต่ผมขอบอกเลยว่ามันต่างกันแบบสุดขั้ว ผมพูดได้เต็มปากเลยครับว่าแค่ฟังครูอธิบายเพียงครั้งเดียวมันไม่พอให้เข้าใจครับ เหตุผลคือนอกจากเนื้อหาจะไม่มีในหนังสือแล้ว ยังไม่มีในสไลด์ด้วย!!?! ...ใช่ครับ ในส่วนนี้เราต้องเขียนเอง(สำหรับคนที่มีน่ะนะ) แถมถ้าคิดว่าแค่วิชาเดียวเองเหมือนตอน ม.ต้น คุณคิดผิดครับ เพราะถ้าคุณขึ้นมาคุณจะได้เรียน 3 ตัวดังที่กล่าวมาข้างต้น นั่นคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ตัวละ 2 ชั่วโมง/ครั้ง 2 ครั้ง/สัปดาห์ รวมเป็นถ้าคุณไม่มีล่ะก็คุณต้องนั่งว่างๆมองสไลด์และฟังครูอธิบายอย่างเดียว 12 ชั่วโมง/สัปดาห์ นี่ยังไม่นับวิชาอื่นอีกนะครับเนี่ย จากประสบการณ์คนที่ทำมาก่อนอย่างผม บอกเลยครับว่ามันเหนื่อยและไม่สนุกเลยขนาดไหน ไม่ต่างจากนั่งฟังพระเทศน์เลยครับเวลา 2 ชั่วโมงเนี่ย แล้วดีไม่ดีระหว่างมองกระดาษอยู่คุณอาจโดนดึงสายตาไปยังจอของเพื่อนข้างหน้าที่มันเปิดหนังดูได้อีก บันเทิงเลยล่ะทีนี้แค่เพ่งสมาธิฟังครูอย่างเดียวยังไม่พอยังต้องเพ่งแบบ ×2 ×3 เพื่อไม่ให้โดนหน้าจอเพื่อนดูดความสนใจไปอีก มันเหนื่อยและแทบจะไม่เข้าใจเลยล่ะครับ แต่ผมก็สามารถผ่านมาได้โดยการขอสไลด์ที่เพื่อนเขียนส่งมาให้ผมเพื่ออ่านก่อนสอบเอาครับ แต่ก็นั่นแหละครับมันคือของที่คนอื่นเขียน ฟังครูบ้าง ไม่ฟังครูบ้าง เนื้อหามันไม่ได้ครบและเน้นในส่วนที่จำเป็นเท่าที่ควร แถมคุณต้องมานั่งอ่านสไลด์และลายมือเพื่อนที่เขียนด้วยจอขนาดสิบกว่านิ้วด้วยจอโทรทัศน์อันเท่าฝ่ามือ นึกสภาพเรียนเรื่องเซลล์ที่มีภาพเซลล์เล็กๆหลายๆภาพอัดแน่นในหน้าเดียว แล้วยังต้องเขียนอธิบายต่างๆนานาในภาพเล็กๆแต่ละภาพนั่นอีก คนเขียนจอใหญ่ยังซูมแล้วซูมอีก ไอผมที่นั่งอ่านในจอเล็กๆมันต้องนั่งซูมขนาดไหนกว่าจะปะติดปะต่อภาพและคำอธิบายพวกนั้นได้ แล้วมันก็จะมีงานแบบที่ให้คุณสรุปเนื้อหาทั้งหมดลงในหนึ่งหน้ากระดาษ หนึ่งบทที่เรียนกันหนึ่งเดือน ให้สรุปส่งในหนึ่งคาบ ใช่ครับไอ้คนที่ไม่มีอย่างผมก็เขียนจนมือหงิกกันจนจบคาบ ส่วนคนที่มีนั้นน่ะหรอหวานหมูมันเลยครับ มันก็อปเนื้อหาในสไลด์ว่างแปะ ว่างแปะ พร้อมภาพพร้อมสี เอาคะแนนเต็มกันไปเลย
ผมสรุปตามความเห็นส่วนตัวได้ว่า
ม.ต้น - ไม่จำเป็น ต่อให้มีก็ดีแต่ไม่มีก็ไม่เป็นไร
ม.ปลาย - จำเป็น แต่ไม่ถึงขนาดถ้าไม่มีแล้วจะเรียนไม่ได้เลย เพียงแต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการที่มีอยู่
*ทั้งนี่เป็นเพียงประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวทั้งสิ้น โปรดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจ