JJNY : แรงงานตั้งขบวนพรึบ จ่อลุยทำเนียบ│เปิดใจ ว่าที่ผู้สมัคร สว.│ให้ยึดความจำเป็นลูกจ้าง│จับตาความเสี่ยงไข้หวัดนกในโคนม

แรงงานตั้งขบวนพรึบ จ่อลุยทำเนียบ เพลงปลุกใจกระหึ่มอนุสาวรีย์ ปชต.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4553714

 
แรงงานตั้งขบวนพรึบ จ่อลุยทำเนียบ เพลงปลุกใจกระหึ่มอนุสาวรีย์ ปชต.
 
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรวมตัวนัดหมายเดินขบวนของกลุ่มแรงงานเนื่องในวันแรงงานสากล อาทิ สมาพันธ์สมาฉันท์แรงงานไทย, สมาพันธรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), เครือข่ายขับเคลื่อนชุมชนสมานฉันท์แรงงานข้ามชาติ, กลุ่มสหภาพแรงงาน อ้อมน้อย อ้อมใหญ่, สหภาพแรงงงานวิสาหกิจการกีฬาแห่งประเทศไทย, พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้าง สังกัด สธ., กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก, สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
ทั้งนี้ จะมีการเคลื่อนขบวนในเวลา 09.00 น. มุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล


 
เปิดใจ ว่าที่ผู้สมัคร สว. อยากเห็นปชต.ก้าวหน้า ติง กติกาซับซ้อน-ไม่เป็นธรรม
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8210598

เปิดใจ ว่าที่ผู้สมัครสว.ชุดใหม่ หวังอยากเห็นประชาธิปไตยก้าวหน้า-นำความรู้ความสามารถแก้ปัญหาประเทศ ติง กติกาซับซ้อน-ไม่เป็นธรรม
 
วันที่ 30 เม.ย.67 ที่ห้องประชุมชั้น 1 อาคารข่าวสด บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงเปิดตัวแคมเปญ “มติชน : สว.ชุดใหม่ Thailand-Select” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของสื่อในเครือ ได้แก่ มติชน, มติชนทีวี, มติชนสุดสัปดาห์, ข่าวสด, ศูนย์ข้อมูลมติชน หรือ MIC โดยบรรดาว่าที่ผู้สมัคร สว. และว่าที่ผู้สมัครเป็นโหวตเตอร์ สว. ได้ให้สัมภาษณ์เปิดใจถึงสาเหตุในการลงสมัครครั้งนี้
 
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย
 
โดยนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย อดีตรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กล่าวว่า ปัจจุบันตนยังเป็นสูตินรีแพทย์ และเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในระดับปริญญาโท ตอนแรกตนไม่ได้คิดจะลงสมัครสว. เพราะคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่แล้ว แต่เนื่องด้วยคุณสมบัติกำหนดให้ผู้ลงสมัครสว. มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
 
นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนก็คล้ายกับประชาชนทุกคนที่รักประชาธิปไตย ตนอยากจะเห็นภาพประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า ไม่ได้หยุดนิ่งมานานอย่างทุกวันนี้ และในเมื่อออกแบบกติกามาเช่นนี้ ตนมองว่าทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึง ตนในฐานะประชาชนคนหนึ่งจึงอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลงสมัคร และเลือกสว.ในครั้งนี้
 
นายวสันต์ รื่นรมย์
 
ขณะที่ นายวสันต์ รื่นรมย์ เกษตรกร เจ้าของ “ฟาร์มรื่นรมย์” กล่าวว่า สาเหตุที่ตนลงสมัคร สว. เนื่องจากมองว่าอาชีพหลักของคนไทย คือ เกษตรกร แต่เรื่องกฎหมายที่จะเข้ามาสนับสนุน และช่วยเหลือทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยดีขึ้นนั้นน้อยมาก ถ้าความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น ประเทศไทยก็จะมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
 
นายวิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล
 
ด้าน นายวิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล กรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการบริหารบริษัท คาร์มาร์ท (KAMART) กล่าวว่า ตนลงสมัครเป็นโหวตเตอร์ สว. ในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม สาเหตุที่ลงสมัคร เพราะผิดหวังจากการปฏิบัติหน้าที่ของสว.ในการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งสว.มีส่วนในการกำหนดความเป็นนายกฯ มากกว่าสส.ที่เลือกตั้งมา ตนจึงตั้งใจเป็นโหวตเตอร์ เลือกสว.ที่มีคุณสมบัติเป็นอิสระ
 
นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับกติกาการเลือกสว.นั้น รัฐธรรมนูญระบุว่าอาชีพเดียวกันเลือกกันเอง แต่เมื่อกติกาออกมากลายเป็นรอบแรกเลือกกันเอง ส่วนรอบสองอาชีพอื่นมาเลือกเรา ก็เป็นกติกาที่แปลกๆ แต่ถ้าทุกคนช่วยกันเป็นโหวตเตอร์และมีความเป็นอิสระ ไม่ว่าภายใต้กติกาใดก็ตาม ขอให้มีการเลือกตั้ง มีการคัดสรร ก็ยังดีกว่าได้กติกาที่เป็นเผด็จการ
 
นายศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์
 
ด้าน นายศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลง กล่าวว่า ตนลงสมัคร สว. กลุ่มศิลปวัฒนธรรม การกีฬา สาเหตุที่ลงสมัคร เพราะสว.เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่สามารถเลือกตั้งได้โดยง่าย ต้องมาสมัครถึงจะมีสิทธิโหวตสว. จึงรู้สึกว่าซับซ้อนกว่าเลือกตั้งสส. ทำไมประชาชนถึงเลือกไม่ได้ ซึ่งมันเหลือช่องเล็กๆ อยู่หนึ่งรู คือ จ่ายเงิน 2,500 บาท มาสมัครสว. ตนจึงเลือกทางนี้
 
นายศิรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกติกาเลือกสว.นั้น ส่วนตัวรู้สึกว่ามันซับซ้อนเกินไป มันแทบจะเท่ากับจับสลากอยู่แล้ว ตนมองว่าไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครสว.ทั่วไปและประชาชนโดยตรง รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
 
แม้ว่าความคิดความเชื่อทางการเมืองของคุณจะเป็นแบบใด แต่ถ้าคุณคิดจะเข้ามามีส่วนร่วมกับการสมัครสว.หรือเลือกสว. คุณจะพบกับความสับสนอลหม่านซับซ้อนซ่อนเงื่อน เทียบเท่ากับคนอื่นๆ ที่เป็นประชาชนเหมือนคุณ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ทำไมต้องกีดกันประชาชนออกมา” นายศิรศักดิ์ กล่าว


 
ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานชี้ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกี่ครั้งไม่สำคัญ ให้ยึดความจำเป็นลูกจ้าง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4553560

ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานชี้ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกี่ครั้งไม่สำคัญ ให้ยึดความจำเป็นลูกจ้าง
 
ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ “มติชน” เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคมของทุกปี กรณีกระทรวงแรงงานประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นครั้งที่ 3 ว่า ในความเห็นส่วนตัว มองว่าประกาศกี่ครั้งไม่สำคัญ เพียงแต่การประกาศในครั้งที่ผ่านมา ที่มีผลบังคับเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2567 เกณฑ์การปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นได้ทำลายหลักการของค่าจ้างขั้นต่ำ คือ 1.การปรับค่าจ้างขึ้นในบางพื้นที่ บางอำเภอ ทั้งๆ ที่ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้นๆ ต่างก็มีค่าครองชีพไม่ต่างกัน และ 2.การปรับขึ้นเฉพาะกิจการที่ทำเงินได้
 
ทั้งสองอย่างนี้เป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำโดยอาศัยความพร้อมของเจ้าของกิจการ แต่ตามหลักการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะต้องดูจากความจำเป็นของลูกจ้างเป็นตัวตั้ง ถ้าหากเขาเดือดร้อน เจ้าของกิจการก็ต้องจ่ายเงินให้เพียงพอต่อปากท้องของลูกจ้าง อย่างในครอบครัวเดียวกัน คนหนึ่งทำงานในกิจการที่มีการเติบโต อีกคนอยู่ในกิจการที่ไม่เติบโต แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่บ้านเดียวกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน แต่ค่าจ้างกลับไม่เท่ากัน เพราะเอาความพร้อมของนายจ้างเป็นตัวกำหนด แบบนี้ไม่ใช่ค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้าจ่ายตามกำลังของนายจ้าง แบบนี้เรียกว่า การขึ้นเงินเดือนตามปกติของนายจ้าง ไม่ใช่ค่าจ้างขั้นต่ำ” ศาสตราภิชาน แล กล่าว
 
ศาสตราภิชาน แล กล่าวอีกว่า วันนี้กระบวนการแรงงานควรใส่ใจประเด็นนี้ให้มาก เพราะไม่เช่นนั้นการขึ้นค่าจ้างจะกลายเป็นการยึดตามกำลังจ่ายของนายจ้างเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ปากท้องของลูกจ้างเป็นตัวตั้งอีกต่อไป นอกจากนั้น นายจ้างหลายคนยังเอาค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นค่าจ้างขั้นสูงของแรงงาน จะเห็นได้ว่า แรงงานหลายคนทำงานหลายปี แต่เงินค่าจ้างก็ยังได้เท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ
 
ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้มีตัวเลขในการกำหนดค่าจ้างที่ต่ำที่สุดที่นายจ้างต้องจ่าย หากจ่ายต่ำกว่านั้น จะผิดกฎหมาย แต่กลับกลายเป็นนายจ้างหลายคนเอาตัวเลขนั้นมาเป็นค่าจ้างขั้นสูงของแรงงาน ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังมีความสำคัญอยู่ แต่หลักการถูกบิดเบือนไปมาก โดยเฉพาะหลักเกณฑ์คำนวณค่าจ้างขั้นต่ำที่เอาตัวเลขทางเศรษฐกิจมาเป็นตัวกำหนด แต่หากดูในรายละเอียด พบว่าคนที่มีกำลังซื้อมาก ก็จะได้สินค้าในราคาที่ต่ำลง เช่น แรงงานที่รายได้น้อย มีเงินซื้อข้าวสารได้ทีละลิตร ในขณะที่คนมีรายได้สูง สามารถซื้อข้าวได้เป็นกระสอบ ซึ่งราคากระสอบก็ถูกกว่าราคาลิตร สิ่งเหล่านี้ต้องนำมาคิด เพราะถ้าดูค่าการเติบโตของจีดีพีประเทศที่สูงขึ้นจากรายได้ของนายทุน แต่ขณะที่จีดีพีของชาวบ้านไม่ได้ขึ้นตาม ดังนั้น เราต้องคุยกันในรายละเอียดมากขึ้น เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำก็ต้องมี แต่ไม่ใช่ยึดเป็นค่าจ้างขั้นสูง ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีการเรียกร้องของลูกจ้าง” ศาสตราภิชานแลกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่