องค์การนาซาจับมือโนเกีย เตรียมส่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4G ขึ้นไปติดตั้งบนดวงจันทร์ ให้สามารถเล่นเน็ตได้แม้อยู่นอกโลก
ทุกวันนี้ “อินเทอร์เน็ต” กลายเป็นเครื่องมือหลักของผู้คนทั่วโลกในการเข้าถึงความบันเทิงและความรู้ต่าง ๆ ตามต้องการ
แต่หากวันหนึ่งในอนาคตอันใกล้หรือไกลมนุษย์ต้องย้ายไปอยู่ที่ดวงจันทร์เราจะยังเล่นอินเทอร์เน็ตได้อยู่หรือไม่?
การเล่นอินเทอร์เน็ตได้แม้ไม่อยู่บนโลกไม่ใช่เรื่องที่อยู่ไกลขนาดนั้น
เพราะขณะนี้องค์การอวกาศนาซา (NASA) และโนเกีย (Nokia)
บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติฟินแลนด์กำลังวางแผนร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนดวงจันทร์
โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อช่วยวางรากฐานสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์บนดาวเคราะห์ดวงอื่น
จรวด SpaceX ซึ่งมีกำหนดออกเดินทางในปีนี้ (ยังไม่ได้รับการยืนยันวันที่แน่นอน)
จะบรรทุกเครือข่ายอินเทอรเน็ต 4G ธรรมดาไปยังดวงจันทร์ด้วย
จากนั้นจะติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ และทดลองการควบคุมระยะไกลจากโลก
วอลต์ เองเกลุนด์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีอวกาศของนาซา
กล่าวว่า “ความท้าทายแรกในการติดตั้งและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือการมีอุปกรณ์เซลลูลาร์ซึ่งต้องตรงตามข้อกำหนดด้านขนาด น้ำหนัก และพลังงานที่เหมาะสม ตลอดจนต้องใช้งานโดยไม่ต้องใช้ช่างเทคนิค”
และเสริมว่า สภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์ยังทำให้เกิดความท้าทายหลายประการ ทั้งสภาวะ อุณหภูมิ และการแผ่รังสีที่รุนแรง
ระบบเครือข่าย 4G ที่จะนำขึ้นไปบนดวงจันทร์ครั้งนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Bell Labs ของโนเกีย
โดยใช้ส่วนประกอบเชิงพาณิชย์ที่มีจำหน่ายทั่วไป มันจะถูกขนไปบนยานลงจอดที่ผลิตโดยบริษัท Intuitive Machines ของสหรัฐฯ
การเชื่อมต่อการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตยังเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับโครงการ “อาร์เทมิส” (Artemis) ของนาซา
ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์ในทศวรรษนี้
เองเกลุนด์บอกว่า ปัจจุบัน นักบินอวกาศพูดคุยกันผ่านทางวิทยุ
แต่นาซาต้องการระบบการสื่อสารบนดวงจันทร์ที่สามารถรองรับวิดีโอความละเอียดสูงและข้อมูลวิทยาศาสตร์ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภารกิจของอาร์เทมิสมีความซับซ้อนมาก
“ความสามารถในการสื่อสารบนดวงจันทร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาร์เทมิส สำคัญพอ ๆ กับองค์ประกอบภารกิจอื่น ๆ เช่น พลังงาน น้ำดื่ม และอากาศสำหรับหายใจ” เอนเงลุนด์กล่าว
เขาเสริมว่า “ในที่สุดแล้ว ความพยายามนี้จะช่วยสร้างเครือข่ายการสื่อสารบนดวงจันทร์ที่สามารถทำให้นักสำรวจของเราสามารถส่งสัญญาณข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับมา หารือกับฝ่ายควบคุมภารกิจ และพูดคุยกับครอบครัวของพวกเขา ราวกับว่าพวกเขากำลังอยู่บนโลกเดินไปตามถนนพร้อมโทรศัพท์มือถือ”
หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ มันจะสามารถวางรากฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตนอกโลกที่ไม่ต่างจากอินเทอร์เน็ตบนโลกได้
อุปกรณ์ส่วนบุคคลสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายดังกล่าวได้
ทำให้ชาวอาณานิคมในอวกาศสามารถใช้สมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงแอปและบริการทั้งหมดได้ไม่ต่างจากคนที่อยู่บนโลก
แหล่งที่มา :
https://www.facebook.com/photo/?fbid=879193277583714&set=a.646092957560415
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/222449
นอกโลกก็เล่นเน็ตได้? นาซาเตรียมติดตั้งอินเทอร์เน็ต 4G บนดวงจันทร์
องค์การนาซาจับมือโนเกีย เตรียมส่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4G ขึ้นไปติดตั้งบนดวงจันทร์ ให้สามารถเล่นเน็ตได้แม้อยู่นอกโลก
ทุกวันนี้ “อินเทอร์เน็ต” กลายเป็นเครื่องมือหลักของผู้คนทั่วโลกในการเข้าถึงความบันเทิงและความรู้ต่าง ๆ ตามต้องการ
แต่หากวันหนึ่งในอนาคตอันใกล้หรือไกลมนุษย์ต้องย้ายไปอยู่ที่ดวงจันทร์เราจะยังเล่นอินเทอร์เน็ตได้อยู่หรือไม่?
การเล่นอินเทอร์เน็ตได้แม้ไม่อยู่บนโลกไม่ใช่เรื่องที่อยู่ไกลขนาดนั้น
เพราะขณะนี้องค์การอวกาศนาซา (NASA) และโนเกีย (Nokia)
บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติฟินแลนด์กำลังวางแผนร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนดวงจันทร์
โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อช่วยวางรากฐานสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์บนดาวเคราะห์ดวงอื่น
จรวด SpaceX ซึ่งมีกำหนดออกเดินทางในปีนี้ (ยังไม่ได้รับการยืนยันวันที่แน่นอน)
จะบรรทุกเครือข่ายอินเทอรเน็ต 4G ธรรมดาไปยังดวงจันทร์ด้วย
จากนั้นจะติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ และทดลองการควบคุมระยะไกลจากโลก
วอลต์ เองเกลุนด์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีอวกาศของนาซา
กล่าวว่า “ความท้าทายแรกในการติดตั้งและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือการมีอุปกรณ์เซลลูลาร์ซึ่งต้องตรงตามข้อกำหนดด้านขนาด น้ำหนัก และพลังงานที่เหมาะสม ตลอดจนต้องใช้งานโดยไม่ต้องใช้ช่างเทคนิค”
และเสริมว่า สภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์ยังทำให้เกิดความท้าทายหลายประการ ทั้งสภาวะ อุณหภูมิ และการแผ่รังสีที่รุนแรง
ระบบเครือข่าย 4G ที่จะนำขึ้นไปบนดวงจันทร์ครั้งนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Bell Labs ของโนเกีย
โดยใช้ส่วนประกอบเชิงพาณิชย์ที่มีจำหน่ายทั่วไป มันจะถูกขนไปบนยานลงจอดที่ผลิตโดยบริษัท Intuitive Machines ของสหรัฐฯ
การเชื่อมต่อการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตยังเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับโครงการ “อาร์เทมิส” (Artemis) ของนาซา
ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์ในทศวรรษนี้
เองเกลุนด์บอกว่า ปัจจุบัน นักบินอวกาศพูดคุยกันผ่านทางวิทยุ
แต่นาซาต้องการระบบการสื่อสารบนดวงจันทร์ที่สามารถรองรับวิดีโอความละเอียดสูงและข้อมูลวิทยาศาสตร์ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภารกิจของอาร์เทมิสมีความซับซ้อนมาก
“ความสามารถในการสื่อสารบนดวงจันทร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาร์เทมิส สำคัญพอ ๆ กับองค์ประกอบภารกิจอื่น ๆ เช่น พลังงาน น้ำดื่ม และอากาศสำหรับหายใจ” เอนเงลุนด์กล่าว
เขาเสริมว่า “ในที่สุดแล้ว ความพยายามนี้จะช่วยสร้างเครือข่ายการสื่อสารบนดวงจันทร์ที่สามารถทำให้นักสำรวจของเราสามารถส่งสัญญาณข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับมา หารือกับฝ่ายควบคุมภารกิจ และพูดคุยกับครอบครัวของพวกเขา ราวกับว่าพวกเขากำลังอยู่บนโลกเดินไปตามถนนพร้อมโทรศัพท์มือถือ”
หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ มันจะสามารถวางรากฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตนอกโลกที่ไม่ต่างจากอินเทอร์เน็ตบนโลกได้
อุปกรณ์ส่วนบุคคลสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายดังกล่าวได้
ทำให้ชาวอาณานิคมในอวกาศสามารถใช้สมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงแอปและบริการทั้งหมดได้ไม่ต่างจากคนที่อยู่บนโลก
แหล่งที่มา :
https://www.facebook.com/photo/?fbid=879193277583714&set=a.646092957560415
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/222449