แผงขายหมูปิดระนาว พ่อค้า โอด รับต้นทุนหน้าฟาร์มไม่ไหว ต้องขยับราคาหน้าเขียง
https://www.matichon.co.th/region/news_4544106
แผงขายหมูปิดระนาว พ่อค้า โอด รับต้นทุนหน้าฟาร์มไม่ไหว ต้องขยับราคาหน้าเขียง
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ แผงหมูสดตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา พบว่ามีการปิดแผงหมูแล้ว นายอภิชาติ พคพงษ์พันธ์ อายุ 60 ปี พ่อค้าเขียงหมูในตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง เปิดเผย ว่า ขณะนี้ในตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง เหลือแผงหมู แค่ 3-4 แผงจากเดิมที่มี 6-8 แผง หลังจากที่สถานการณ์ราคาหมูปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
โดยรอบแรกกลางเดือนเมษายน ปรับขึ้น กิโลกรัมละ 160 บาท รอบที่ 2 เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ปรับขึ้น กิโลกรัมละ 180 บาท ปรับขึ้นอีก 20 บาท ทำให้ปัจจุบันราคาขายส่งหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท เป็นต้นทุนที่สูงมากตั้งแต่คลุกคลีในวงการหมูมา 30 ปี ทำให้ขายยากและไม่สามารถปรับขึ้นตามแผงหมูที่ไปส่งตามแผงหมูได้ จึงต้องแบกภาระขายส่งในราคาเดิม กิโลกรัมละ 160 บาท เพราะลูกค้าตามแผงหมูต่างบ่นว่าหมูแพงขายยาก
จากราคาดังกล่าว เมื่อทางต้นน้ำปรับราคาขึ้น แผงก็จำเป็นต้องปรับราคาขายอีกชนิดละ 5 บาทต่อกิโลกรัม โดยหมูเนื้อแดงขึ้นจาก 140 บาท เป็น 160 บาท สันนอก จากกิโลกรัมละ 140 เป็น 160 บาท เนื้อหมูสามชั้น จากกิโลกรัมละ 160 เป็น 180 บาท กระดูกซี่โครงหมู จากกิโลกรัมละ 140 เป็น 160 บาท ตับหมู จากกิโลกรัมละ 110 เป็น 130 บาท หมูบด จากกิโลกรัมละ 130 เป็น 150 บาท
ทสท.แซะรบ.เสียเวลากับดิจิทัลวอลเลตมานานมาก
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_708303/
ทสท.จี้รัฐบาลชี้แจงการใช้คืนเงินงบประมาณดิจิทัลวอลเลต ไม่ใช่ “ศึกษา” ไปเรื่อยๆ แซะเราเสียเวลากับนโยบายนี้มานานมาก
นาย
ปริเยศ อังกูรกิตติ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย แสดงความเห็นหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 23 เมษายน 2567 ถึงการแถลงข่าวร่วมกันของคณะรัฐมนตรีในกรณีดิจิตอลวอลเลตว่า แม้ในการแถลงข่าวจะยืนยันว่าเห็นชอบในหลักการ แต่คงจะเป็นการดีกว่าหากคณะรัฐมนตรีให้รายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้ ในรูปแบบของมติ ครม. ที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าทำแน่
ทั้งนี้ นาย
ปริเยศยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องเตรียมตอบคำถามสังคมหากกฤษฎีกาหรือหน่วยงานใดๆที่รัฐบาลสอบถามไปได้ให้ความเห็นว่าอาจมีข้อติดขัดในการดำเนินนโยบาย เพราะเนื่องจากมีการแถลงข่าวร่วมกันของ ครม.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเอกสารมติครม.ที่ยืนยันว่าจะดำเนินการนโยบายนี้ ควรต้องมาให้ทันวันที่ 30 เมษายนนี้ ตามที่นายกเศรษฐาได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะต้องได้ข้อสรุปในเดือนเมษายน
“
แม้พรรคไทยสร้างไทยจะไม่เห็นด้วยในรูปแบบของการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และพยายามเสนอทางเลือกที่ดีกว่า แต่หากรัฐบาลยืนยันว่าจะเดินหน้าก็ต้องมีมติครม.ออกมาให้ชัดเจน และควรชี้แจงด้านการใช้คืนเงินงบประมาณ รวมถึงระบบการดำเนินโยบาย ไม่ใช่เพียงใช้คำว่า “ศึกษา” ไปเรื่อยๆ หรือสั่งการไปเรื่อยๆ แบบนี้ ซึ่งผลสุดท้ายถ้าเราเห็นเอกสารมติ ครม. ชัดเจนว่าไม่ใช่เพียงแค่การรับทราบหลักการ ประเทศจะได้เดินหน้าเสียที เพราะรัฐบาลเสียเวลากับนโยบายนี้มานานมาก” นาย
ปริเยศ กล่าว
กกต.ตอบข้อหารือลักษณะต้องห้ามชิงส.ว. พ้นสมาชิกพรรคการเมืองกี่วันถึงลงสมัครได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4544052
กกต.ตอบข้อหารือลักษณะต้องห้ามชิงส.ว. พ้นสมาชิกพรรคการเมืองกี่วันถึงลงสมัครได้
เมื่อวันที่ 25 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารข่าวตอบข้อหารือเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 3 ประเด็น ดังนี้
1. กรณีเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ออกจากการเป็นสมาชิกกี่วัน
2. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
3. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ.2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่สอง พ.ศ.2566 ข้อ 16 และ ข้อ 18 วรรคสอง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องลาออกในวันรับสมัครหรือไม่ และกี่วัน
โดยสำนักงานกกต. มีความเห็น ดังนี้
1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 มาตรา 14 (21) กำหนดว่า ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลซึ่งสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครตามมาตรา 14 (21) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 กำหนดคำนิยามคำว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า 1.นายกรัฐมนตรี 2.รัฐมนตรี 3.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.สมาชิกวุฒิสภา 5.ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง 6.ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา กรณีตามข้อหารือเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงเทียบเคียงจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
3. ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปลักษณะของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐไว้ โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมายรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย ดังนั้น บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ควรหารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อวินิจฉัยว่าตำแหน่งคณะกรรมการชุมชนอยู่ในความหมายของคำว่าเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามแนวคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.matichon.co.th/politics/news_4544052
JJNY :พ่อค้าโอดรับต้นทุนหน้าฟาร์มไม่ไหว│ทสท.แซะรบ.เสียเวลา│กกต.ตอบลักษณะต้องห้ามชิงส.ว.│ยูเออีทุ่ม 2หมื่นล.“เร่งซ่อมแซม”
https://www.matichon.co.th/region/news_4544106
แผงขายหมูปิดระนาว พ่อค้า โอด รับต้นทุนหน้าฟาร์มไม่ไหว ต้องขยับราคาหน้าเขียง
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ แผงหมูสดตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา พบว่ามีการปิดแผงหมูแล้ว นายอภิชาติ พคพงษ์พันธ์ อายุ 60 ปี พ่อค้าเขียงหมูในตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง เปิดเผย ว่า ขณะนี้ในตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง เหลือแผงหมู แค่ 3-4 แผงจากเดิมที่มี 6-8 แผง หลังจากที่สถานการณ์ราคาหมูปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
โดยรอบแรกกลางเดือนเมษายน ปรับขึ้น กิโลกรัมละ 160 บาท รอบที่ 2 เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ปรับขึ้น กิโลกรัมละ 180 บาท ปรับขึ้นอีก 20 บาท ทำให้ปัจจุบันราคาขายส่งหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท เป็นต้นทุนที่สูงมากตั้งแต่คลุกคลีในวงการหมูมา 30 ปี ทำให้ขายยากและไม่สามารถปรับขึ้นตามแผงหมูที่ไปส่งตามแผงหมูได้ จึงต้องแบกภาระขายส่งในราคาเดิม กิโลกรัมละ 160 บาท เพราะลูกค้าตามแผงหมูต่างบ่นว่าหมูแพงขายยาก
จากราคาดังกล่าว เมื่อทางต้นน้ำปรับราคาขึ้น แผงก็จำเป็นต้องปรับราคาขายอีกชนิดละ 5 บาทต่อกิโลกรัม โดยหมูเนื้อแดงขึ้นจาก 140 บาท เป็น 160 บาท สันนอก จากกิโลกรัมละ 140 เป็น 160 บาท เนื้อหมูสามชั้น จากกิโลกรัมละ 160 เป็น 180 บาท กระดูกซี่โครงหมู จากกิโลกรัมละ 140 เป็น 160 บาท ตับหมู จากกิโลกรัมละ 110 เป็น 130 บาท หมูบด จากกิโลกรัมละ 130 เป็น 150 บาท
ทสท.แซะรบ.เสียเวลากับดิจิทัลวอลเลตมานานมาก
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_708303/
ทสท.จี้รัฐบาลชี้แจงการใช้คืนเงินงบประมาณดิจิทัลวอลเลต ไม่ใช่ “ศึกษา” ไปเรื่อยๆ แซะเราเสียเวลากับนโยบายนี้มานานมาก
นายปริเยศ อังกูรกิตติ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย แสดงความเห็นหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 23 เมษายน 2567 ถึงการแถลงข่าวร่วมกันของคณะรัฐมนตรีในกรณีดิจิตอลวอลเลตว่า แม้ในการแถลงข่าวจะยืนยันว่าเห็นชอบในหลักการ แต่คงจะเป็นการดีกว่าหากคณะรัฐมนตรีให้รายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้ ในรูปแบบของมติ ครม. ที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าทำแน่
ทั้งนี้ นายปริเยศยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องเตรียมตอบคำถามสังคมหากกฤษฎีกาหรือหน่วยงานใดๆที่รัฐบาลสอบถามไปได้ให้ความเห็นว่าอาจมีข้อติดขัดในการดำเนินนโยบาย เพราะเนื่องจากมีการแถลงข่าวร่วมกันของ ครม.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเอกสารมติครม.ที่ยืนยันว่าจะดำเนินการนโยบายนี้ ควรต้องมาให้ทันวันที่ 30 เมษายนนี้ ตามที่นายกเศรษฐาได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะต้องได้ข้อสรุปในเดือนเมษายน
“แม้พรรคไทยสร้างไทยจะไม่เห็นด้วยในรูปแบบของการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และพยายามเสนอทางเลือกที่ดีกว่า แต่หากรัฐบาลยืนยันว่าจะเดินหน้าก็ต้องมีมติครม.ออกมาให้ชัดเจน และควรชี้แจงด้านการใช้คืนเงินงบประมาณ รวมถึงระบบการดำเนินโยบาย ไม่ใช่เพียงใช้คำว่า “ศึกษา” ไปเรื่อยๆ หรือสั่งการไปเรื่อยๆ แบบนี้ ซึ่งผลสุดท้ายถ้าเราเห็นเอกสารมติ ครม. ชัดเจนว่าไม่ใช่เพียงแค่การรับทราบหลักการ ประเทศจะได้เดินหน้าเสียที เพราะรัฐบาลเสียเวลากับนโยบายนี้มานานมาก” นายปริเยศ กล่าว
กกต.ตอบข้อหารือลักษณะต้องห้ามชิงส.ว. พ้นสมาชิกพรรคการเมืองกี่วันถึงลงสมัครได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4544052
กกต.ตอบข้อหารือลักษณะต้องห้ามชิงส.ว. พ้นสมาชิกพรรคการเมืองกี่วันถึงลงสมัครได้
เมื่อวันที่ 25 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารข่าวตอบข้อหารือเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 3 ประเด็น ดังนี้
1. กรณีเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ออกจากการเป็นสมาชิกกี่วัน
2. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
3. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ.2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่สอง พ.ศ.2566 ข้อ 16 และ ข้อ 18 วรรคสอง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องลาออกในวันรับสมัครหรือไม่ และกี่วัน
โดยสำนักงานกกต. มีความเห็น ดังนี้
1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 มาตรา 14 (21) กำหนดว่า ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลซึ่งสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครตามมาตรา 14 (21) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 กำหนดคำนิยามคำว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า 1.นายกรัฐมนตรี 2.รัฐมนตรี 3.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.สมาชิกวุฒิสภา 5.ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง 6.ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา กรณีตามข้อหารือเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงเทียบเคียงจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
3. ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปลักษณะของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐไว้ โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมายรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย ดังนั้น บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ควรหารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อวินิจฉัยว่าตำแหน่งคณะกรรมการชุมชนอยู่ในความหมายของคำว่าเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามแนวคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4544052