จขกท. เคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับการงดเว้นราชการทหารของศาสนาต่างๆ ของศาสนาอิสลามที่ได้รับงดเว้นคือผู้ที่เป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ประจำมัสยิด วันนี้เลยอยากสอบถามเกี่ยวกับสามตำแหน่งนี้ครับ
1. สามตำแหน่งนี้ถ้าจำไม่ผิดเคยอ่านจาก พรบ. การบริหารกิจการอิสลามว่าต้องเป็นสัปบุรุษประจำมัสยิดมาก่อน เลยอยากทราบว่าหลังจากที่เป็นแล้วต้องมีเกณฑ์ความรู้ใดอีกบ้างถึงจะได้เป็น
2. ตำแหน่งอิหม่ามจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีอายุมาก เท่าที่เห็นอิหม่ามส่วนใหญ่มักจะอายุประมาณ 40 ขึ้นไป และมักเป็นผู้นำชุมชนมุสลิมนั้นๆ ด้วย
3. ทำไมตำแหน่งอิหม่าม ผู้นำมัสยิด กับคอเต็บ ผู้เทศน์ประจำมัสยิดถึงต้องเป็นคนละคน เพราะตามความเข้าใจของ จขกท. สองตำแหน่งนี้น่าจะต้องมีความรู้ทางศาสนาระดับหนึ่ง อิหม่ามในฐานะผู้นำอาจต้องรู้มากกว่า และผู้ที่เป็นอิหม่ามก็อาจเทศน์สอนได้
4. คอเต็บ นี่ภาษาอะไร อาหรับหรือมลายู (คำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลามในภาษาไทยส่วนหนึ่งมาจากภาษามลายู) เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร เพราะจะลองเสิร์ชหาดูแล้วไม่ทราบคำศัพท์
5. โต๊ะครู กับ Ulama ต่างกันอย่างไร แล้วคอเต็บในฐานะนักเทศน์นี่สามารถเป็นโต๊ะครูหรือ Ulama ได้หรือไม่
6. เคยฟังรายการของคุณโตคุณตาล หลายครั้งถ้าสองท่านนี้ไม่ทราบ แกบอกให้ถามผู้รู้ คำว่า "ผู้รู้" ในทางอิสลามคือต้องมีความรู้ระดับไหน
7. ตำแหน่งบิหลั่น ผู้ประกาศเรียกคนมาทำศาสนกิจ (อะซาน) นี่ต้องรู้ศาสนาระดับไหน แล้วทำไมถึงใช้คำนี้ เพราะคำอาหรับใช้คำว่า Muezzin สำหรับผู้ทำหน้าที่นี้ ที่เรียกบิหลั่นไม่แน่ใจว่าของไทยเรียกตามชาติไหน แต่เดาว่าน่าจะเรียกตามนามท่านบิล้าล (Bilal ibn Rabah) หนึ่งในซอฮาบะฮฺผู้ใกล้ชิดท่านนบีซึ่งท่านนบีได้แต่งตั้งท่านบิล้าลเป็นคนทำหน้าที่ Muezzin ท่านแรก
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ เนื่องจาก จขกท. ไม่ได้เป็นมุสลิม หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับต่างศาสนา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
สอบถามเกี่ยวกับตำแหน่งอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น
1. สามตำแหน่งนี้ถ้าจำไม่ผิดเคยอ่านจาก พรบ. การบริหารกิจการอิสลามว่าต้องเป็นสัปบุรุษประจำมัสยิดมาก่อน เลยอยากทราบว่าหลังจากที่เป็นแล้วต้องมีเกณฑ์ความรู้ใดอีกบ้างถึงจะได้เป็น
2. ตำแหน่งอิหม่ามจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีอายุมาก เท่าที่เห็นอิหม่ามส่วนใหญ่มักจะอายุประมาณ 40 ขึ้นไป และมักเป็นผู้นำชุมชนมุสลิมนั้นๆ ด้วย
3. ทำไมตำแหน่งอิหม่าม ผู้นำมัสยิด กับคอเต็บ ผู้เทศน์ประจำมัสยิดถึงต้องเป็นคนละคน เพราะตามความเข้าใจของ จขกท. สองตำแหน่งนี้น่าจะต้องมีความรู้ทางศาสนาระดับหนึ่ง อิหม่ามในฐานะผู้นำอาจต้องรู้มากกว่า และผู้ที่เป็นอิหม่ามก็อาจเทศน์สอนได้
4. คอเต็บ นี่ภาษาอะไร อาหรับหรือมลายู (คำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลามในภาษาไทยส่วนหนึ่งมาจากภาษามลายู) เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร เพราะจะลองเสิร์ชหาดูแล้วไม่ทราบคำศัพท์
5. โต๊ะครู กับ Ulama ต่างกันอย่างไร แล้วคอเต็บในฐานะนักเทศน์นี่สามารถเป็นโต๊ะครูหรือ Ulama ได้หรือไม่
6. เคยฟังรายการของคุณโตคุณตาล หลายครั้งถ้าสองท่านนี้ไม่ทราบ แกบอกให้ถามผู้รู้ คำว่า "ผู้รู้" ในทางอิสลามคือต้องมีความรู้ระดับไหน
7. ตำแหน่งบิหลั่น ผู้ประกาศเรียกคนมาทำศาสนกิจ (อะซาน) นี่ต้องรู้ศาสนาระดับไหน แล้วทำไมถึงใช้คำนี้ เพราะคำอาหรับใช้คำว่า Muezzin สำหรับผู้ทำหน้าที่นี้ ที่เรียกบิหลั่นไม่แน่ใจว่าของไทยเรียกตามชาติไหน แต่เดาว่าน่าจะเรียกตามนามท่านบิล้าล (Bilal ibn Rabah) หนึ่งในซอฮาบะฮฺผู้ใกล้ชิดท่านนบีซึ่งท่านนบีได้แต่งตั้งท่านบิล้าลเป็นคนทำหน้าที่ Muezzin ท่านแรก
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ เนื่องจาก จขกท. ไม่ได้เป็นมุสลิม หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับต่างศาสนา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น